“ไตรลักษณ์” คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ตามหลักศาสนาพุทธ

วันนี้ถึงคิวการคิดเป็นตามนัยพุทธธรรมข้อที่ 3 คือ คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดาหรือคิดแบบไตรลักษณ์
“ไตรลักษณ์” คืออะไร บางท่านอาจถามขึ้นมาอย่างนี้
ไม่แปลกดอกครับเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนา แม้ง่ายกว่าเรื่องนี้เยอะคนยังไม่รู้จักเลย
เมื่อเอ่ยคำยากๆ เช่น ไตรลักษณ์ ไตรสิกขา ย่อมจะ “เป็นงง” เป็นธรรมดา งงแล้วถามก็ดีไปอย่าง จะได้อธิบายให้หายงง แต่ส่วนมากงงแล้วเฉยนี่สิครับ ไม่รู้จะช่วยให้หายสงสัยได้อย่างไร คนไทยไม่มีนิสัยช่างซักช่างถามเสียด้วย
ลักษณะ 3 ประการที่ปรากฏแก่สังขารทั่วไปเหมือนๆ กันหมด ไม่มีสังขารไหนได้รับการยกเว้น เรียกว่า “ไตรลักษณ์”

ถามต่อไปว่า “สังขาร” คืออะไร

ตอบว่า สังขารคือ “สิ่งผสม” ทุกชนิดทุกอย่าง ทั้งที่มีใจครอง เช่น คน สัตว์ และไม่มีใจครอง เช่น ต้นไม้ ภูเขา สิ่งเหล่านี้ผสมขึ้นจากองค์ประกอบอย่างน้อยก็คือ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

ของผสมเหล่านี้เกิดมาแล้วก็แปรเปลี่ยนและดับสลายไปตามกาลเวลา ไม่มีสิ่งไหนจีรังยั่งยืน หาตัวตนหรือหาเจ้าของมิได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ถึงเวลามันก็แปรเปลี่ยนดับสลายไป

พูดภาษาพระก็ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระท่านจึงสอนให้หัดคิด หัดมองให้เห็นธรรมดาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

เมื่อเห็นว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ก็จะได้รู้จัก “ปลง” คือไม่ยึดมั่นถือมั่นเกินกว่าเหตุ เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นเกินกว่าเหตุ ก็ไม่มีความทุกข์

ความจริง ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความเศร้าโศก อะไรเหล่านี้ มันไม่มีความหมายอะไรสำหรับคนที่เข้าใจธรรมะ และปลงได้ คนที่ไม่เข้าใจ ปลงไม่ได้ต่างหาก ที่จะเป็นจะตายวันละไม่รู้กี่ร้อยกี่พันหน

พระพุทธศาสนาจึงสอนให้คิดให้เข้าใจความเป็นไปของธรรมดาตั้งแต่ต้นมือ เพื่อเตรียมใจไว้ทัน เมื่อประสบเข้ากับตัวเอง ไม่ใช่รอให้ถึงเวลานั้นแล้วค่อยคิด แบบ “เห็นโลงศพ ค่อยหลั่งน้ำตา” ไม่ฝึกไว้ก่อน ถึงเวลาเข้าจริงๆ มันคิดไม่ทันดอกครับ

สุภาษิตเอย คำพังเพยเอย ล้วนเป็นอุบายสอนให้ฝึกคิดรู้เท่าทันธรรมดาทั้งนั้น เช่น “ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ชีวิตนี้ไม่แน่ไม่นอน ตายแล้วเอาไปไม่ได้”

แม้กระทั่งไปฟังสวดศพที่วัด ก็ยังเห็นตาลปัตรพระ คำสอนเตือนใจคล้องจองตั้งแต่ต้นแถวถึงปลายแถว “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น”

ใครไม่รู้จักคิด และไม่ “ได้คิด” แต่ต้นมือ ถึงคราวประสบเข้ากับตัวเองจริงๆ จะตั้งตัวไม่ทัน กลายเป็นบ้าเป็นบอ หรือ “เบลอ” ได้ง่ายๆ

ดังเรื่องนางกีสาโคตรมีในสมัยพุทธกาล

นางมีบุตรน้อยกำลังน่ารักหนึ่งคน เคราะห์ร้ายที่ลูกน้อยเป็นไข้ตาย นางไม่ยอมรับว่าลูกตาย คือยังทำใจไม่ได้กับการตายของลูก จึงคิดหลอกตัวเองว่า “ไม่จริงๆ เป็นไปไม่ได้ ลูกข้ายังไม่ตาย” อะไรทำนองนั้น

นางอุ้มลูกน้อยเที่ยวตระเวนถามหายามาให้ลูกกิน เพื่อจะฟื้น ประชาชนต่างก็หาว่าผู้หญิงคนนี้บ้าแล้ว ลูกตายแล้วยังจะหายามาให้กิน ไม่มีคนตายที่ไหนมันฟื้นได้ดอก

นางเถียงว่า ลูกนางยังไม่ตาย เพียงแต่สลบไปเท่านั้น “จะรู้ว่าตายหรือไม่ ลองเอาสำลีแตะจมูกดูซิ มีลมหายใจออกมาไหม” ชาวบ้านคนหนึ่งแนะวิธี นางก็ไม่ยอมทำ กลัวว่าจะพบความจริง ปากก็เถียงว่า “ลูกข้ายังไม่ตาย ทำไมมาแช่งลูกข้า” ในที่สุดก็ไม่มีใครสนใจไยดีนาง เพราะเข้าใจว่านางบ้าแล้ว

วันหนึ่งบัณฑิตท่านหนึ่งบอกนางด้วยความสงสารว่า “เธอไปหาพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันวิหารสิ พระพุทธเจ้าท่านอาจบอกยาให้ลูกเธอฟื้นได้”

ได้ยินดังนั้น นางจึงรีบอุ้มศพลูกไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามว่า “พระองค์มียาทำให้ลูกชายหม่อมฉันฟื้นไหม”

พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ถ้าจะสอนให้นางคิด ให้รู้เท่าทันธรรมดา ว่าทุกอย่างเมื่อถึงเวลามันก็ดับสลาย นางก็คงคิดไม่ได้ หรือไม่ได้คิด เพราะไม่เคยฝึกฝนมาก่อน จึงทรงหาอุบายให้นางคิดได้ด้วยประสบการณ์ตรงของตน จึงตรัสว่าเว็บพนันออนไลน์