เข้าพรรษามหายานและทวาทศธูตะ

โดย…กรกิจ ดิษฐาน

เมื่อผมลองสำรวจตำราของตะวันตก พบว่าส่วนใหญ่ระบุว่าพุทธศาสนาฝ่ายมหายานไม่มีธรรมเนียมเข้าพรรษา แต่ที่จริงแล้วฝ่ายมหายานทั้งในทิเบต จีน จนถึงญี่ปุ่นต่างก็เข้าพรรษาเช่นเดียวกับฝ่ายเถรวาท มีระยะเวลา 3 เดือนเท่ากัน เพียงแต่กำหนดฤดูกาลต่างกันตามสภาพภูมิอากาศ

การเข้าพรรษาของมหายานเรียกว่า “เข้าพรต 3 เดือน” หรือ “การหยุดพักเพื่อสงบกายใจ” ในจีนน่าจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่พระวินัยของฝ่ายยานน้อยเข้ามา คือประมาณราชวงศ์ฮั่นจนถึงยุคหนานเป่ย (ศตวรรษที่ 3-6) ส่วนในญี่ปุ่นเริ่มธรรมเนียมเข้าพรรษาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7

อย่างที่กล่าวไปว่าเข้าพรรษาแต่ละนิกายและประเทศขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ จึงมีระยะเวลาที่ต่างกันไป

ตามบันทึกการจาริกไปดินแดนตะวันตกของพระถังซำจั๋ง กล่าวว่า พระสงฆ์ในชมพูทวีป มักเข้าพรรษาช่วงเดือนกลาง 5 ถึงกลางเดือน 8 หรือกลางเดือน 6 ถึงกลางเดือน 9 (ในไทยเดี๋ยวนี้มักเข้าเดือน 8 ไปออกเดือน 11) ประเทศเอเชียกลาง (ไซอิ๋ว) บางแห่ง เช่น แคว้นตุษร หรือ Tokhara (แถบซินเจียง) จะเข้าพรรษาระหว่างกลางเดือน 12 ปีเก่าจนถึงกลางเดือน 3 ปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพฤดูกาล ซึ่งฝนตกหนักในช่วงนั้น

ส่วนในจีนถือตามพระวินัยของนิกายธรรมคุปต์ โดยเข้าเดือน 5 ถึงเดือน 8 แต่ในทางปฏิบัติจีนและญี่ปุ่นนิยมเข้ากันกลางเดือน 4 จนถึงกลางเดือน 7 ที่แบ่งวันต่างกันคาดว่าเพราะต้องการให้ตรงกับการกำหนดฤดูกาลของอินเดีย ซึ่งมี 3 ฤดู ฤดูฝนมี 4 เดือน จึงแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 3 เดือนหน้า กับ 3 เดือนหลังไม่ก่อนไปกว่านี้ ไม่ช้าไปกว่านี้ ดูเหมือนว่าจะมีเดือน 7 คาบเกี่ยวเป็นหลักกลาง อย่างไรก็ตาม มีการตีความว่าจำต้องมีการเข้าพรรษาเดือนกลางด้วย ซึ่งกำหนดไว้ที่กลางเดือน 4 ถึงกลางเดือน 5 โดยไม่จำเป็นต้องครบ 3 เดือน แต่นักวิชาการบางท่านแย้งว่าคณาจารย์ตีความพระวินัยคลาดเคลื่อน เกมส์ยิงปลา