บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา !!

พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาสอินทปัญโญ)

พุทธทาสภิกขุหรือพระธรรมโกศาจารย์
นามเดิมเงาะพานเกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในวันอาทิตย์ที่ ๒๙๔ พ.ย. ๔๔ พรรษาพานเรียงอ. ไชยาจ. สุราษฎร์ธานีอุปถัมภ์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคมพ. ศ. .๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้นน. ธ . เอก, ป.ธ. ๓ ได้รับการจัดสวนที่อ. ไชยาเมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา “พุทธทาส” แทนนามเดิม แต่ท่านมาแล้วพุทธทาสภิกขุอุทิศตนรับการปล่อยตัวจากการแผ่รังสีแห่งศาสนาอิสลาม วันพฤหัสบดีที่ ๓ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์”

พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท)

พระโพธิญาณเถระ หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑
ณ บ้านก่อ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อุปสมบทแล้วท่านได้อุทิศตนศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง แล้วจึงจาริกออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร จนเมื่อได้เวลาอันสมควร คือ พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกลับมาก่อตั้งวัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสีที่บ้านเกิด โดยมีท่านเองเป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้เริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา แก่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้ก่อตั้งวัดป่านานาชาติเพื่อเป็นวัดนานาชาติสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา นับแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันวัดหนองป่าพงมีสาขาอยู่ทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐ สาขา หลวงปู่ชามรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ นับว่าเป็นพระมหาเถระที่มีผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน

พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ)

พระพิศาลธรรมพาที

(พยอม กัลยาโณ) นามเดิม พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อ เมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์
ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้
เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย
เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน
เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที
เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน
ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน
ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ

ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสิ

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

นามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

เมื่ออายุ 16 ปี หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ รอนแรมไปในป่า เป็นเวลาเดือนกว่า จึงถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ไปบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์ลุย บ้านดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมชั้นตรี ได้ในปีที่มีอายุครบ ๒๐ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง อุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี นับเป็นลูกศิษย์ ที่สำคัญยิ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต องค์หนึ่ง ท่านได้อุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญธรรมด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน หลวงปู่ฯ ได้บำเพ็ญกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน และความเจริญมั่นคงแห่งพระศาสนา โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ และด้วยจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ผู้ที่เคยได้กราบนมัสการท่าน มักพูดในทำนองเดียวกันว่า ได้รับความอิ่มใจและเป็นบุญของเขาที่ได้มีโอกาสกราบนมัสการท่าน ทั้งนี้คงเป็นเนื่องจากบารมีธรรมที่หลวงปู่ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติมาและเมตตาจิต ที่หลวงปู่แผ่มายังบุคคลเหล่านั้นนั่นเอง

ท่านอาพาธหนักครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ และถึงแก่มรณะภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๒๑ นาฬิกาเศษ ของวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ ณ วัดถ้ำขาม อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๒๑ วัน

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ (พระผู้อุทิศชีวิตเพื่อศาสนาโดยมิเหน็ดเหนื่อย)

นามเดิม ปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๔๕๔ ณ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ แล้วตั้งต้นศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบชั้น น.ธ.เอก อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ ณ วัดนางลาด ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง ได้รับฉายาว่า “ปัญญานันทะ”

จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนสอบได้ชั้น ป.ธ.๔ และเริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังด้วยการเทศน์ ท่านปัญญานันทภิกขุกับท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความเคารพนับถือกันเสมือนหนึ่งเป็นพี่น้องในทางธรรม

ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเป็นองค์อุปถัมภ์วัดปัญญานันทาราม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ความโดดเด่นของท่านปัญญานันทภิกขุคือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างตรงไปตรงมาตามพระธรรมวินัย อันเป็นเหตุให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักเทศน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งซึ่งสังคมไทยเคยมีมา
มรณภาพ : 10 ตุลาคม 2550 สิริอายุรวม 96 ปี