ภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) โดยมีระดับวิวัฒนาการเก่าแก่ในระดับใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียนด้วยกัน คือภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ วรรณกรรมภาษาสันสกฤตพบการใช้ที่หลากหลาย ตั้งแต่เป็นวรรณคดี บทกวี บทละคร เป็นตำราทางวิชาการหลากหลายสาขา และเป็นใช้ทางศาสนา บันทึกบทสวด ปรัชญา หลักการทางศาสนา ทั้งในพบเอกสารทั้งใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธ เชน และ ซิกข์ ซึ่งในส่วนของ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูถือว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์

คำว่า สันสกฤต แปลว่า “กลั่นกรองแล้ว” ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่า “ปรากฤต” ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด ภาษา ภาษาพระเวท (Vedic Sanskrit) ที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท เมื่อราว 1,200 ปีก่อน ค.ศ. อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้น ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ราว 57 ปีก่อน พ.ศ. พราหมณ์ชื่อ “ปาณินิ” ชาวแคว้นคันธาระ ท่านเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามา หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้จะคละกับภาษาถิ่น ปาณินิได้ศึกษาและจัดเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บท ชื่อว่า “อัษฏาธยายี” ภาษาที่ปรับปรุงใหม่นี้เรียกว่า “ตันติสันสกฤต” หรือ สันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit) วรรณคดีสันสกฤตแบบแผนที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมากคือ มหาภารตะ และ รามายณะ ภาษาสันสกฤตอีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า ภาษาสันสกฤตผสม หรือ ภาษาสันสกฤตผสมในพุทธศาสนา (Buddhist Hybrid Sanskrit or Mixed Sanskrit) เป็นภาษาสันสกฤตยุคหลังถัดจากภาษาสันสกฤตแบบแผน พบในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งในนิกายสรรวาสติวาทและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน วรรณกรรมภาษาสันสกฤตพบการใช้ที่หลากหลาย มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องสามารถ แบ่งประเภทตามเนื้อหาได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆคือ

  1. อาคม(āgama) มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญา
  2. อิติหาส(itihāsa) มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือวีรชนและประเพณีที่สืบทอดกันมา
  3. ศาสตร์(śāstra) มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวิทยาการและงานวิชาการ
  4. กาวยะ(kāvya) กวีนิพนธ์หรือบทประพันธ์ที่อยู่ในรูปของศิลปะ

ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรสำหรับเขียนชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง แต่จะเขียนด้วยอักษรหลายชนิด อักษรเก่าแก่ที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น อักษรขโรษฐี อักษรพราหมี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันโดยทั่วไปนิยมเขียนภาษาสันสกฤตด้วยอักษรเทวนาครี ส่วนอักษรอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมในแต่ละท้องถิ่นในอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากอักษรที่ใช้ในอินเดีย มักจะเป็นตระกูลเดียวกัน จึงสามารถดัดแปลงและถ่ายทอด (Transliteration) ระหว่างชุดอักษรได้ง่าย แม้กระทั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชุดอักษรท้องถิ่นที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตได้ ยังมีจารึกโบราณภาษาสันสกฤตที่ใช้ อักษรปัลลวะ อักษรขอมโบราณ ในระดับสากลยังใช้อักษรโรมันเขียนภาษาสันสกฤตโดยมีมาตรฐานแตกต่างกันออกไปด้วย ตัวอย่างลักษณะการบันทึกแบบอักษรต่างๆ

ภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤต