สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

• สำนวนท่องจำใช้คำและวลีซ้ำๆ ไม่ใช่สำนวนเขียนร้อยเรียง แสดงว่าเคยถูกใช้ท่องสวดมีมาตรฐานและมีคำร่วมความหมายเพื่อให้เนื้อความกระจ่าง
• ประเพณีสืบทอดผ่านปากเปล่าและความทรงจำล้วนๆ (มุขปาฐะ) ถูกจัดตั้งขึ้นในอินเดียมายาวนานมากแล้ว มีมาตรฐานเพื่อความชัดเจนและระบบท่องสวดเป็นหมู่เพื่อความแม่นยำ (ปัจจุบันยังมีพระสงฆ์ที่ท่องจำครบทั้งไตรปิฎกอยู่)
ภาษาบาลีเป็นภาษาอินเดียเหนือแม้จะถูกจารในลังกาเป็นคราแรกแต่ไม่ปรากฏอิทธิพลภาษาอินเดียใต้และลังกา (แสดงถึงท่าทีอนุรักษ์สูง)
• เนื้อหาสอดคล้องกับสภาพสังคมอินเดียยุคศตวรรษที่ 5-4 ก่อนศักราชสากล (ซึ่งถือว่าเป็นสมัยพุทธกาล) ไม่มีเค้ารอยเอ่ยถึงเทคโนโลยีและศิลปวิทยาการในยุคหลังกว่านั้นเพียงไม่กี่ศตวรรษ เช่น การก่อสร้างด้วยหิน การเขียน ไม่รู้จักเทพฮินดูที่นิยมในรุ่นหลังและไม่เอ่ยถึงดินแดนที่ห่างออกไปทางใต้
• เนื้อหาที่ชัดเจนและสมจริงในชีวิตประจำวัน ไม่มีอภินิหารที่เกินเลยชีวิตธรรมดามากเกินไปอย่างตำนานยุคหลัง
• มีเนื้อหาบางประการที่แปลกประหลาดและสวนกับแนวคิดของคนทั่วไป แสดงความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต เช่นปัญหาด้านสุขภาพของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการบริหารคณะสงฆ์ พระสาวกที่ไม่เชื่อฟัง พระพุทธะดูไม่ต่างจากภิกษุทั่วไป ฯลฯ (ซึ่งหากคัมภีร์ถูกแต่งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สร้างศรัทธาก็ไม่น่าจะใส่เนื้อหาเช่นนี้เข้ามา หรือถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงก็น่าจะตัดเนื้อหาพวกนี้ออกไป แต่การคงไว้สื่อถึงความอนุรักษ์อย่างจริงใจ)
• สภาพการเมืองในพระคัมภีร์ อินเดียแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ต่างๆ เช่น มคธ โกศล วัชชี อวันตี วังสะ ฯลฯ ต่างจากสมัยพระเจ้าอโศกเหลือเพียงอาณาจักรมคธที่รวบรวมอินเดียเป็นแผ่นเดียวสมบูรณ์ใน 2 ศตวรรษให้หลัง (แต่แคว้นโกศลกับวัชชีหลังพุทธกาลทันทีก็ไม่เหลือ ได้กลายเป็นมคธไปแล้ว) *เนื้อหาจึงไม่อาจเกิดหลังยุคพุทธกาลได้*
• เปรียบเทียบภายในพุทธศาสนาระหว่างนิกายซึ่งแยกไปนานกว่า 2,300 ปี รักษาในต่างภาษาคือบาลีและจีน รวมทั้งทิเบต สันสกฤต และอื่นๆที่ค้นพบใหม่ในโบราณคดี แม้เป็นของนิกายต่างกัน ต่างสายการสืบทอด แต่กลับปรากฏคัมภีร์ร่วมกัน หลักธรรมคำสอนและ พระสูตรเดียวกัน พระวินัยมีสาระเดียวกัน อันจะสืบสาวไปได้ว่าเป็นสิ่งที่มีมาก่อนยุคแยกนิกายและใกล้เคียงต้นกำเนิดพุทธที่สุด (ซึ่งก็มีเนื้อความสาระไม่ต่างไปจากพระสูตรและพระวินัยที่อยู่ในสายเถรวาทบาลี)
• ความสมานสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวของคำสอนจำนวนมากสื่อว่าต้องมาจากบุคคลเดียวเท่านั้น หรือต่อให้มีหลายผู้รวบรวมเรียบเรียงก็จะต้องมาจากแหล่งเดียวกัน