การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)
การปริวรรตอักษร หรือการเขียนคำทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงอักษรหรืออักขรวิธีจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เมื่อปริวรรตแล้วสามารถแปลงกลับเป็นอักษรหรืออักขรวิธีเดิมได้ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก และใกล้เคียงอักขรวิธีการเขียนเดิมให้ได้มากที่สุด เช่น การปริวรรตอักษรโรมันภาษาอังกฤษ มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการปริวรรตอักษรภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็น

ปกติแล้วการปริวรรตอักษรคือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำหรืออักษรต่ออักษร การปริวรรตอักษรได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำปริวรรตอักษรได้ ดังนั้นจึงมีการกำหนดหลักการปริวรรตอักษรที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย

ความหมายอย่างแคบของการปริวรรตอักษรคือ การปริวรรตอักษรแบบถอดอักษร (transliteration)นั้นเป็นการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา เนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้มากที่สุด การปริวรรตอักษรเป็นการถอดอักษร ต่างจากการถอดเสียง (transcription) ซึ่งเป็นการจับคู่เสียงอ่านของภาษาหนึ่ง ๆ ไปยังรูปแบบการเขียนของอีกภาษาที่ใกล้เคียงที่สุด

ถึงแม้ว่าระบบการถอดอักษรส่วนใหญ่จะยังคงจับคู่อักษรต้นฉบับกับอักษรในภาษาเป้าหมายที่ออกเสียงคล้ายกันในบางคู่ ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงเหมือนกันทั้งสองภาษา การถอดอักษรก็อาจแทบจะเหมือนกับการถอดเสียง