ปัญญาบารมี

July 12, 2019 shantideva 0

ในโพสที่แล้วเราพูดกันเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของกุงกาซังโปริมโปเช เรื่องปัญญากับบารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศซึ่งได้ขอให้เขียนบทความต่างๆนี้ใหม่เป็นภาษาอังกฤษ ผมก็จะทำตามนั้น แต่คงหลังจากโพสเรื่องนี้เสร็จสักระยะหนึ่ง คาสิโนออนไลน์ ริมโปเชได้พูดถึง “ปัญญาในบารมีหกประการ” ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติบารมีหกประการอย่างมีปัญญา ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้ารวดเร็วบรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ บารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา ในโพสนี้เราก็จะพูดถึงบารมีอีกสี่ประการที่เหลือ   ริมโปเชกล่าวว่าขันติบารมีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ฝึกฝนตนเองในแนวทางของพระโพธิสัตว์ หััวใจของการปฏิบัติตามเส้นทางนี้ก็คือ การมุ่งมั่นบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อให้มีความสามารถเต็มเปี่ยมในการช่วยเหลือสัตว์โลกให้ก้าวข้ามพ้นจากสังสารวัฏเข้าไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง อันได้แก่ฝั่งของพระนิพพาน การมีจิตใจที่มุ่งมั่นเช่นนี้เรียกว่า “โพธิจิต” และเนื่องจากเส้นทางเป็นเช่นนี้ สิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ก้ได้แก่การมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาและกรุณาแก่สรรพสัตว์ การมีจิตใจเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการฝึกปฏิบัติขันติบารมี ขันติบารมีได้แก่การที่เราฝึกฝนสั่งสมบ่มเพาะในจิตใจ ซึ่งจิตใจอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาและไม่ถือโกรธ ไม่มีจิตอาฆาตพยาบาทใดๆแม้แต่น้อยแตสัตว์โลก ไม่ว่าสัตว์โลกนั้นจะมาให้ร้ายหรือทำร้ายเรามากเพียงใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าขันติบารมีเป็นแก่นกลางของการปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ก็ว่าได้ ริมโปเชได้กล่าวถึงข้อเขียนของท่านศานติเทวะใน “วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า อันความโกรธนั้นหากเกิดขึ้นแม้เพียงชั่ววูบเดียว ก็อาจทำลายบุญบารมีที่ตนเองได้สั่งสมมาเป็นเวลาอันนับชาติไม่ถ้วน แต่หากความโกรธวูบเดียวนั้นก็จะเหมือนกับเพลิงที่เผาผลาญบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาให้หายไปหมดสิ้นในเวลาชั่วพริบตา ริมโปเชเล่าว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ก่อนที่ทิเบตจะแตกแก่จีนไม่นาน มีพระอาจารย์รูปหนึ่งปฏิบัติธรรมจนมองเห็นอนาคตได้ ท่านได้มองเห็นอนาคตอันน่ากลัวที่ทิเบตจะต้องได้รับและก็ได้กล่าวตักเตือนผู้คนถึงภัยคุกคามที่กำลังมาเยือน เมื่อท่านกล่าวเช่นนี้ก็มีคนผู้หนึ่งคนไม่ได้ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ เมื่อเขาได้ยินว่าทิเบตจะประสบภัยหายนะอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็เกิดความโกรธเป็นกำลัง และก็ได้ลุกขึ้นมาชกหน้าพระอาจารย์ท่านนี้เข้าอย่างแรง พระอาจารย์มิได้ตอบโต้ใดๆ และก็มิได้มีความรู้โกรธเคืองใดๆ ตรงกันข้ามท่านกลับกล่าวขึ้นว่าท่านได้ปฏิบัติธรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ไม่มีโอกาสได้ฝึกขันติบารมีอย่างจริงๆจัง เพิ่งมีคราวนี้นี่แหละที่ได้มีโอกาสปฏิบัติบารมีข้อนี้อย่างจริงจัง การปฏิบัติขันติบารมีมิได้หมายความเพียงแค่ว่า เมื่อมีใครมาทำร้ายเรา เราจะไม่ทำร้ายตอบและข่มความโกรธขึ้นในใจไว้ แต่หมายความว่าเมื่อเกิดอะไรร้ายแรงหรือเจ็บปวดแก่ตัวเรา เราจะรับเอาความเจ็บปวดนั้นไว้ และมองความเจ็บปวดนั้นว่าเป็นครูของเรา ที่มาช่วยเหลือเราให้เดินทางไปบนเส้นทางแห่งโพธิจิตอย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายเรา แต่เมื่อเกิดเรื่องร้ายแรงหรือความเจ็บปวดขึ้น เราก็จะไม่เสียใจหรือร้องโวยวายว่าเหตุใดโรคร้ายกับความเจ็บปวดนี้จึงเกิดแก่เรา ทำไมคนอื่นถึงไม่เป็นบ้าง ทำไมต้องมาเป็นเรา การคิดเช่นนี้สวนทางกับการฝึกปฏิบัติขันติบารมีอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดว่าทำไมต้องเป็นเราที่เกิดมาเจ็บป่วยตรงนี้ เราก็คิดว่าความเจ็บป่วยและเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการกระทำในอดีต ซึ่งสัตว์โลกที่ยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏทุกตัวตนต้องประสบทั้งสิ้น แทนที่เราจะมาเสียใจหรือโกรธเคืองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราน่าจะมองความเจ็บปวดนี้ว่าเป็นบททดสอบที่มาทดสอบว่า เราผ่านการปฏิบัติหัวช้อขันติบารมีหรือยัง การปฏิบัติเช่นนี้ที่ประกอบไปด้วยความเข้าใจแจ้งถึงบทบาทหน้าที่และความสำคัญยิ่งของโพธิจิตและแนวทางของพระโพธิสัตว์ ก็คือการปฏิบัติขันติบารมีด้วยปัญญาอันยิ่งนั่นเอง

ปัญญากับบารมีหก

June 11, 2019 shantideva 0

  ในโพสที่แล้วเราพูดกันเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของกุงกาซังโปริมโปเช เรื่องปัญญากับบารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศซึ่งได้ขอให้เขียนบทความต่างๆนี้ใหม่เป็นภาษาอังกฤษ ผมก็จะทำตามนั้น แต่คงหลังจากโพสเรื่องนี้เสร็จสักระยะหนึ่ง คาสิโนออนไลน์ ริมโปเชได้พูดถึง “ปัญญาในบารมีหกประการ” ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติบารมีหกประการอย่างมีปัญญา ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้ารวดเร็วบรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ บารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา ในโพสนี้เราก็จะพูดถึงบารมีอีกสี่ประการที่เหลือ ริมโปเชกล่าวว่าขันติบารมีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ฝึกฝนตนเองในแนวทางของพระโพธิสัตว์ หััวใจของการปฏิบัติตามเส้นทางนี้ก็คือ การมุ่งมั่นบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อให้มีความสามารถเต็มเปี่ยมในการช่วยเหลือสัตว์โลกให้ก้าวข้ามพ้นจากสังสารวัฏเข้าไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง อันได้แก่ฝั่งของพระนิพพาน การมีจิตใจที่มุ่งมั่นเช่นนี้เรียกว่า “โพธิจิต” และเนื่องจากเส้นทางเป็นเช่นนี้ สิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ก้ได้แก่การมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาและกรุณาแก่สรรพสัตว์ การมีจิตใจเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการฝึกปฏิบัติขันติบารมี ขันติบารมีได้แก่การที่เราฝึกฝนสั่งสมบ่มเพาะในจิตใจ ซึ่งจิตใจอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาและไม่ถือโกรธ ไม่มีจิตอาฆาตพยาบาทใดๆแม้แต่น้อยแตสัตว์โลก ไม่ว่าสัตว์โลกนั้นจะมาให้ร้ายหรือทำร้ายเรามากเพียงใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าขันติบารมีเป็นแก่นกลางของการปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ก็ว่าได้ ริมโปเชได้กล่าวถึงข้อเขียนของท่านศานติเทวะใน “วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า อันความโกรธนั้นหากเกิดขึ้นแม้เพียงชั่ววูบเดียว ก็อาจทำลายบุญบารมีที่ตนเองได้สั่งสมมาเป็นเวลาอันนับชาติไม่ถ้วน แต่หากความโกรธวูบเดียวนั้นก็จะเหมือนกับเพลิงที่เผาผลาญบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาให้หายไปหมดสิ้นในเวลาชั่วพริบตา ริมโปเชเล่าว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ก่อนที่ทิเบตจะแตกแก่จีนไม่นาน มีพระอาจารย์รูปหนึ่งปฏิบัติธรรมจนมองเห็นอนาคตได้ ท่านได้มองเห็นอนาคตอันน่ากลัวที่ทิเบตจะต้องได้รับและก็ได้กล่าวตักเตือนผู้คนถึงภัยคุกคามที่กำลังมาเยือน เมื่อท่านกล่าวเช่นนี้ก็มีคนผู้หนึ่งคนไม่ได้ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ เมื่อเขาได้ยินว่าทิเบตจะประสบภัยหายนะอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็เกิดความโกรธเป็นกำลัง และก็ได้ลุกขึ้นมาชกหน้าพระอาจารย์ท่านนี้เข้าอย่างแรง พระอาจารย์มิได้ตอบโต้ใดๆ และก็มิได้มีความรู้โกรธเคืองใดๆ ตรงกันข้ามท่านกลับกล่าวขึ้นว่าท่านได้ปฏิบัติธรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ไม่มีโอกาสได้ฝึกขันติบารมีอย่างจริงๆจัง เพิ่งมีคราวนี้นี่แหละที่ได้มีโอกาสปฏิบัติบารมีข้อนี้อย่างจริงจัง การปฏิบัติขันติบารมีมิได้หมายความเพียงแค่ว่า เมื่อมีใครมาทำร้ายเรา เราจะไม่ทำร้ายตอบและข่มความโกรธขึ้นในใจไว้ แต่หมายความว่าเมื่อเกิดอะไรร้ายแรงหรือเจ็บปวดแก่ตัวเรา เราจะรับเอาความเจ็บปวดนั้นไว้ และมองความเจ็บปวดนั้นว่าเป็นครูของเรา ที่มาช่วยเหลือเราให้เดินทางไปบนเส้นทางแห่งโพธิจิตอย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายเรา แต่เมื่อเกิดเรื่องร้ายแรงหรือความเจ็บปวดขึ้น เราก็จะไม่เสียใจหรือร้องโวยวายว่าเหตุใดโรคร้ายกับความเจ็บปวดนี้จึงเกิดแก่เรา ทำไมคนอื่นถึงไม่เป็นบ้าง ทำไมต้องมาเป็นเรา การคิดเช่นนี้สวนทางกับการฝึกปฏิบัติขันติบารมีอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดว่าทำไมต้องเป็นเราที่เกิดมาเจ็บป่วยตรงนี้ เราก็คิดว่าความเจ็บป่วยและเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการกระทำในอดีต ซึ่งสัตว์โลกที่ยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏทุกตัวตนต้องประสบทั้งสิ้น แทนที่เราจะมาเสียใจหรือโกรธเคืองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราน่าจะมองความเจ็บปวดนี้ว่าเป็นบททดสอบที่มาทดสอบว่า เราผ่านการปฏิบัติหัวช้อขันติบารมีหรือยัง การปฏิบัติเช่นนี้ที่ประกอบไปด้วยความเข้าใจแจ้งถึงบทบาทหน้าที่และความสำคัญยิ่งของโพธิจิตและแนวทางของพระโพธิสัตว์ ก็คือการปฏิบัติขันติบารมีด้วยปัญญาอันยิ่งนั่นเอง บารมีหัวข้อต่อไปได้แก่วิริยบารมี วิริยะก็คือความพากเพียร ท่านศานติเทวะกล่าวว่าความพากเพียรนี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงความไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก และตั้งใจจริงที่จะทำให้สำเร็จ แต่ยังหมายถึงการมีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่ท้อถอยแม้งานข้างหน้าจะยากเย็นเพียงใด วิริยบารมีจึงไปควบคู่กับขันติบารมีในแง่นี้ การดูว่าผู้ปฏิบัติคนใดเกิดมีวิริยบารมีแล้วก็คือดูว่าเขามีจิตใจที่เบิกบานในการปฏิบัติของเราหรือไม่ หรือว่าปฏิบัติไปเพียงเพราะถูกบังคับ หรือเพราะมีจิตปรารถนาเป้าหมายอื่นใดอันไม่ใช่เป้าหมายทางธรรม เช่นบางคนปฏิบัติธรรมเพราะอยากขึ้นสวรรค์ แบบนี้ริมโปเชบอกว่าไม่ใช่ตัวอย่างที่ถูกต้องของวิริยบารมี จริงอยู่คนที่อยากขึ้นสวรรค์นั้นอาจมีความขยันขันแข็งในการปฏิบัติมาก แต่เนื่องจากแรงจูงใจและเป้าหมายของเขาไม่ถูกต้อง เขาจึงไม่มีจิตใจที่เบิกบานอย่างแท้จริง การจะมีจิตใจที่เบิกบานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆของการปฏิบัตินั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมาจากความเข้าใจที่ถูกต้องถ่องแท้เกี่ยวกับเป้าหมายของการปฏิบัติ และความสำคัญของการปฏิบัตินี้ ซึ่งก็คือปัญญาในวิริยบารมี บารมีประการที่ห้าได้แก่การปฏิบัติสมาธิ หรือเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “ฌานบารมี” (ภาษาสันสกฤตว่า “ธฺยานปารมิตา”) ฌานบารมีหรือการปฏิบัติสมาธิในที่นี้ได้แก่การปฏิบัติสมถสมาธิ จิตใจของเราจะจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ริมโปเชกล่าวว่าแนวทางหนึ่งของการปฏิบัติได้แก่การนั่งสมาธิมองดูองค์พระพุทธรูป หรือไม่ก็มองดอกบัวสีน้ำเงิน เป้าหมายคือให้จิตใจแน่วแน่จดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น ริมโปเชได้เน้นถึงความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติสมาธิสองแบบ คือแบบที่ถูกต้องกับไม่ถูกต้อง ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิธีการทำสมาธิว่าถูกหรือไม่ถูก แต่อยู่ที่เป้าหมายและแรงจูงใจในการปฏิบัติเป็นสำคัญ หากเป้าหมายถูกต้อง คือปฏิบัติสมาธิไปเพื่อให้เข้าถึงความสามารถที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ในพ้นจากสังสารวัฏ ก็จะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่หากเป็นเป้าหมายอื่น เช่นเป้าหมายส่วนตัวของตนเอง เช่นปฏิบัติไปเพื่ออยากขึ้นสวรรค์ ก็จะเป็น “มิจฉาสมาธิ” คือสมาธิที่ไม่ถูกต้อง ริมโปเชเล่าถึงพระญาติของพระพุทธเจ้าท่านหนึ่ง ชื่อว่าพระนันทะ พระนันทะเป็นพระภิกษุที่หลงติดยึดกับรูปรสกลิ่นเสียงเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าต้องการให้พระนันทะถอนตัวออกจากเรื่องเหล่านี้ ในขณะนั้นพระนันทะกำลังหลงรูปของผุ้หญิงคนหนึ่งเป็นอย่างมาก เชื่อว่าผู้หญิงคนนี้เป็นคนที่สวยที่สุดไม่มีใครเสมอเหมือน พระพุทธเจ้าทรงถามพระนันทะว่าอยากเห็นคนที่สวยกว่านี้เป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือไม่ พระนันทะบอกผู้หญิงแบบนั้นไม่มีอยู่ในโลก พระพุทธเจ้าบอกว่ามี แล้วก็พาพระนันทะไปท่องเที่ยวบนสวรรค์ ซึ่งบนนั้นมีผู้หญิงเป็นจำนวนมากที่สวยกว่าผู้หญิงของพระนันทะคนนั้นอย่างที่เปรียบเทียบกันไม่ได้ พระนันทะเมื่อเห็นสาวงามบนสวรรค์แล้วก็เกิดจิตใจอยากครอบครองสาวๆเหล่านั้น และก็ลืมผู้หญิงคนเดิมเสียสนิท เมื่อกลับมายังโลกพระนันทะก็ตั้งใจปฏิบัติสมาธิอย่างแข็งขันด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นว่า จะไปเสวยสุขกับสาวงามบนสวรรค์เมื่อถึงเวลา แต่พระพุทธเจ้าก็พาพระนันทะไปท่องเที่ยวบนสวรรค์อีก และก็เร่งเวลาให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นแก่เทพบุตรเทพธิดาบนสวรรค์ เมื่อเทพเหล่านี้หมดบุญต้องออกจากสวรรค์ เทพเหล่านี้เมื่อรู้ว่าตนเองจะไม่ได้อยู่บนสวรรค์อีกต่อไป ก็เกิดอาการเศร้าโศกเสียใจต่างๆนานา ด้วยผลกรรมของความรู้สึกเช่นนี้เหล่าเทวดาจึงต้องไปเกิดในนรกภูมิ พระนันทะเห็นเช่นนี้แล้วจึงมองเห็นว่า ความสวยงามของมนุษย์หรือเทพธิดานั้นเป็นของลวงตาเท่านั้น ไม่มีสาระอะไร ท่านจึงตั้งใจปฏิบัติ คราวนี้ไปตามแนวทางที่ถูกต้อง และในท้ายที่สุดท่านก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์อีกรูปหนึ่ง คาสิโนออนไลน์