บทที่ ๑ ประโยชน์แห่งโพธิจิต
ในบทแรกนี้ อาจารย์ศานติเทวะ ได้กล่าวถึงคุณค่าของการได้เกิดมามีชีวิตเป็นมนุษย์ และเราควรใช้ชีวิต ของการเป็นมนุษย์นี้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุดพร้อมกันนั้นที่ได้เริ่มเกริ่นนำถึงโพธิจิต(Bodhichitta) อรรถกถา กล่าวไว้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วนนั้น เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง นัก ดังนั้น ในเมื่อเวลานี้เราต่างพากันโชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เราที่ควรจะใช้ชีวิต ใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์ ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง และที่สำคัญเมื่อเป็นมนุษย์แล้วโอกาสที่จะใช้ร่างกายนี้ไปกระทำความชั่วที่มีอยู่ตลอดเวลา
จนกระทั่งโอกาสที่คิดจะกระทำดีที่ดูน้อยลงไปยิ่งนักหากไม่มีสติรู้เท่าทัน แต่บางครั้ง เราก็มีความคิดที่ดี ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความกรุณาขององค์พระพุทธเจ้าที่ คอยอำนวยอวยพร หรืออาจจะเป็นผลแห่งกรรมดีที่เราเคยสั่งสมมา แต่ความคิดดีงามเช่นนี้ บ่อยครั้ง ที่เปรียบได้กับค่ำคืนอันมืดมิดที่ไร้แม้แสงจันทร์แสงดาว ทันใดนั้นก็เกิดฟ้าแลบให้เราได้เห็นความจริง ของสรรพสิ่งเพียงชั่ววินาทีเดียว
จากนั้นก็คืนสู่ความมืดมิดอีกครั้งหนึ่ง ชีวิตในแต่ละวันของเราที่เปรียบ ได้ดุจเดียวกัน อกุศลนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ จนพลังแห่งคุณธรรมในตัวเรานั้นมันอ่อนแอยากที่ จะเกิด ดุจเดียวกับแสงแห่งสายฟ้าแลบที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่ววินาทีเดียว แต่ยามใดที่คุณธรรมในตัวเรายังเกิดขึ้นเราต้องหล่อหลอมพลังแห่งคุณธรรมเข้ากับทุกขณะจิตของควาคิดและการกระทำ นี่แหละคือจุดเปลี่ยนแห่งชีวิตของเราเอง พลังอกุศลกรรมนั้นยิ่งใหญ่จนยากที่เราจะขจัด เพราะตัวเราเองเป็นผู้สั่งสมมันมานานแสนนาน ขณะที่กุศลกรรมนั้นเรากลับสั่งสมไว้เพียงให้มีพลังปรากฎ ดุจสายฟ้าแลบในชั่วขณะเดียว
ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขจัดพลังอกุศลกรรมนั้นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาและปัญญาแห่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ทรงสั่งสอนเราถึงวิธี การเอาชนะพลังอกุศล ด้วยการสร้างสรรค์โพธิจิตอันสมบูรณ์ที่จะเพียรและยึดมั่นในการตรัสรู้ เพราะนอก จากโพธิจิตอันสมบูรณ์แล้วยากที่จะมีพลังคุณธรรมอื่นใดที่จะเอาชนะพลังแห่งอกุศลที่สั่งสมมานานแสน นานได้ เปรียบได้กับการพยายามที่จะจุดไฟเผาพุ่มไม้ที่กองทับถมสูงเท่าภูเขาด้วยเพียงแค่ไม้ขีดไฟหยิบมือเดียว
พลังแห่งโพธิจิต นั้นล้ำลึกเพราะด้วยโพธิจิตนี้เองที่สามารถแปรเปลี่ยนเราผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาสู่การเป็น ผู้ตรัสรู้ แปรเปลี่ยนกายเนื้อของมนุษย์สู่กายแห่งพุทธะที่ไม่มีพลังคุณธรรมอื่นใดจะเทียมเท่า อาจได้เปรียบ กว่าคุณธรรมอื่น ๆ ที่สั่งสมนั้นที่เป็นเพียงต้นกล้วยที่เมื่อให้ผลแล้วจักต้องตายจากไป แต่พฤกษาแห่ง โพธิจิตนั้นจักผลิดอกออกผลไม่รู้จบตลอดไป โพธิจิตมีอยู่ 2 นัย คือ
โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) และ โพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้ ( Engaging Bodhichitta ) โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้เปรียบได้กับเมื่อเราต้องการที่จะเดินทางไปอเมริกา อันดับแรกเรามีความตั้งใจที่จะไป จากนั้นก็ตัดสินใจที่จะไป การตัดสินใจที่จะไปนี่เองคือโพธิจิตที่ยึดมั่น ในการตรัสรู้ ในทางปฏิบัติก็คือการตั้งปณิธาน ” เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ข้า ขอตั้งมั่นสู่การรู้แจ้ง ” โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta )
ก็เหมือนกับเราตัดสินใจแล้วที่จะไป เราชื้อตั๋วเครื่องบิน และขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทางและจากจุดนี้เองที่โพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้( Engaging Bodhichitta) เริ่ม ทำงานเมื่อการเดินทางเกิดขึ้นจริง ๆ ขณะที่เครื่องบินบินสู่จุดหมายนั้น เราก็เข้าไกล้การตรัสรู้มากขึ้น ๆ ทุก ที ตลอดเส้นทางสายการปฏิบัตินั้น เราจะค่อย ๆ สั่งสม คุณธรรมและปัญญา พร้อม ๆ กับ ขจัดพลังอกุศล จนกระทั่งได้ถึงจุดหมายปลายทางคือการบรรลุซึ่งการตรัสรู้นั่นเอง