นิกายของศาสนาพุทธ

นิกายของศาสนาพุทธ

February 1, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาทและมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานถือว่าตนเป็นยานพิเศษโดยเฉพาะ ต่างจากมหายาน เถรวาท หรือ หีนยาน (แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติจะเป็นไปตามพระไตรปิฎก นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว และกัมพูชา ส่วนที่นับถือเป็นส่วนน้อยพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเขมร), บังกลาเทศ (ในกลุ่มชนเผ่าจักมา และคนในสกุลพารัว) และทางตอนบนของมาเลเซีย (ในหมู่ผู้มีเชื้อสายไทย) มหายาน (แปลว่า ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, เวียดนามและสิงคโปร์ พบเป็นประชาชนส่วนน้อยในประเทศเนปาล (ซึ่งอาจพบว่านับถือร่วมกับศาสนาอื่นด้วย) ทั้งยังพบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ พบมากในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน, ประเทศภูฏาน, มองโกเลีย และดินแดนในการปกครองรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐตูวา และคัลมืยคียานอกจากนี้เป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีร์ ประเทศอินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน (ในเขตบัลติสถาน)

เทวราชาผู้เปี่ยมด้วยพระบารมี!! ความเชื่อโบราณ “พระมหากษัตริย์ไทย” ทรงเป็นดั่ง “องค์สมมติเทพของพระนารายณ์” อวตารลงมาดูแลทุกข์สุขของปวงประชา!!

March 12, 2020 shantideva edit 0

เราท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินคำว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพ ซึ่งทุกคนต่างก็ยอมรับโดยไม่มีข้อแม้ เพราะ เป็นเรื่องของการเทิดพระเกียรติยกย่อง ให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือปุถุชนธรรมดา และความเชื่อเช่นนี้ ก็ไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาใดๆต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราชาวไทย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถอธิบายได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป มิใช่สิ่งงมงาย ล้าหลัง และการสร้างองค์พระนารายณ์ประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระบรมศพพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เรามีความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็น องค์สมมติเทพของพระนารายณ์ อวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญในโลกมนุษย์ ตามความเชื่อโบราณ สมัยกรุงศรีอยุธยามีการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชโดยสมบูรณ์แบบคืออำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวโดยเชื่อถือตามคติพราหมณ์ตามแบบพวกเขมรว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ฐานะของกษัตริย์จึงเป็น “สมมติเทพ” ทรงมีอำนาจที่จะกำหนดชะตาชีวิตของใครก็ได้จึง เรียกระบบการปกครองนี้ว่า“ระบบเทวสิทธิ์”(Divine Right) ลักษณะการปกครองเป็นแบบนายปกครองบ่าวหรือ “เจ้าปกครองไพร่ ฐานะของกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างไกลกันข้าราชบริพารเป็นสื่อกลางระหว่างกษัตริย์ และประชาชน จึงเกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาขึ้นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาเกิดขึ้นเพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องให้พลเมืองทุกคนอยู่ในสังกัดของเจ้าขุนมูลนายเพื่อว่าเมื่อมีศึกสงครามพระมหากษัตริย์จะได้สั่งการให้เจ้าขุนมูลนายเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยทำสงครามป้องกันบ้านเมืองได้ คติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยว่าตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งคติความเชื่อดังกล่าวนี้ถือว่าพระมหากษัตริย์ก็คือร่างอวตารของเทพเจ้าที่ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อปกครองคนในชาติให้เกิดความสุขสงบความร่มเย็น โดยเทพเจ้าที่ว่านั้นก็เป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เรียกกันว่าพระตรีมูรติ โดยแบ่งการปรากฏออกเป็น 3 มหาเทพ คือ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์

ครุฑกับนาคตำนานแค้นสองเผ่าพันธุ์

July 2, 2019 shantideva 0

ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เล่าว่า ในครั้งบรรพกาลยังมีมหาเทพฤษีองค์หนึ่งนามว่า พระกัศยปมุนี ซึ่งเป็นฤษีที่มีฤทธิ์เดชมากและเป็นผู้ให้กำเนิดเทพอีกหลายองค์จนถูกเรียก ขานว่า พระกัศยปเทพบิดร พระองค์มีชายาหลายองค์ โดยในบรรดาชายาทั้งหลายนั้นมีชายาสององค์ซึ่งเป็นพี่น้องกันนามว่า วินตาและกัทรุ นางทั้งสองได้ขอพรให้กำเนิดบุตรจากพระกัศยป โดยนางกัทรุได้ขอพรว่าขอให้มีบุตรจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอบุตรเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา ซึ่งเมื่อนางคลอดบุตร ก็ปรากฏว่าออกมาเป็นไข่สองฟอง ด้วยความทนรอดูหน้าบุตรไม่ไหว นางจึงทุบไข่ฟองหนึ่งและปรากฏเป็นเทพบุตรที่มีกายเพียงครึ่งบนชื่อ อรุณ อรุณเทพบุตรโกรธมารดาที่ทำให้ตนออกจากไข่ก่อนกำหนดจนมีร่างกายไม่ครบ จึงสาปให้มารดาของตนต้องเป็นทาสนางกัทรุโดยกำหนดให้บุตรคนที่สองของนางเป็น ผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่ฟองที่สองออกมาดู และรอจนถึงกำหนด จนเมื่อไข่ฟักออกมา ก็ปรากฏเป็น พญาครุฑ ซึ่งเมื่อแรกเกิดนั้นก็มีร่างกายขยายออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตายามกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกคราใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้ท้าพนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ (บางตำราก็ว่าม้าทรงรถของพระอาทิตย์) ที่เกิดเมื่อคราวกวนเกษียรสมุทรและเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาว ส่วนนางกัทรุทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้พ่นพิษใส่จนม้าเป็นสีดำ) นางวินตาไม่ทราบในอุบายนี้เลยยอมแพ้ จนต้องเป็นทาสของนางกัทรุถึงห้าร้อยปี ภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบถึงสาเหตุที่มารดาต้องตกเป็นทาส จึงไปเจรจาขอให้พวกนาคยอมปล่อยมารดาตน พวกนาคจึงสั่งให้พญาครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้เพื่อแลกกับอิสรภาพของนางวินตา พญาครุฑจึงบินไปสวรรค์ไปเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาและเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ ร้อนถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์ต้องมาช่วยขวางครุฑไว้และต่อสู้กัน ทว่าต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึก โดยพระวิษณุทรงให้พรแก่ครุฑว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะและให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่า พระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะเป็นพาหนะของพระวิษณุและเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปัก บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า จากนั้น พญาครุฑก็นำหม้อน้ำอมฤตลงมา ทว่าพระอินทร์ได้ตามมาขอคืน พญาครุฑก็บอกว่าตนจำต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้เหล่านาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้น จากการเป็นทาสและให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง จากนั้นครุฑได้เอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคาและได้ทำน้ำอมฤตหยดบน หญ้าคา 2-3 หยด (ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาให้เป็นอิสระ ขณะที่เหล่านาคพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อเตรียมมาดื่มน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็รีบมานำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้พวกนาคไม่ได้กิน พวกนาคจึงเลียที่ใบหญ้าคาด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว (เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้) แม้ว่าจะไถ่ตัวมารดากลับมาได้แล้ว แต่พญาครุฑยังแค้นใจที่พวกนาคใช้เล่ห์กลจนมารดาของตนต้องตกเป็นทาส ทำให้พญาครุฑและเหล่าลูกหลานรุ่นต่อมา ตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกนาค โดยเหล่าครุฑจะโฉบลงมายังมหาสมุทรและโฉบนาคไปฉีกท้องจิกกินมันเปลวและทิ้ง ร่างไร้ชีวิตของนาคตกลงมหานที ข้างฝ่ายพวกนาคนั้นแม้จะพยายามต่อสู้แต่ก็ไม่อาจสู้ไหวจึงพากันเลื้อยหนีไป หลบภัยยังสะดือทะเล แต่ก็ถูกครุฑใช้ปีกโบกสะบัดจนน้ำลดแห้งและจับนาคไปฉีกท้องกิน เหล่านาคจึงพยายามกลืนหินใหญ่ลงท้องเพื่อถ่วงตัวให้หนัก ครุฑตนใดไม่รู้อุบายเวลาโฉบลงจับนาคก็ถูกหินที่นาคกลืนลงไปถ่วงน้ำหนักจนบิน ขึ้นไม่ไหวและจมน้ำตายส่วนครุฑที่รู้อุบายนี้ก็จะจับนาคทางหางและเขย่าจนนาค ต้องคายหินออกมา และนี่เองคือเรื่องราวความพยาบาทของพญาครุฑและพญานาค สองเผ่าพันธุ์สัตว์เทพเจ้าในตำนาน

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

May 13, 2019 shantideva 0

มื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

พระอินทร์

พระอินทร์ ผู้ปกครองสวรรค์และอภิบาลโลก

April 22, 2019 shantideva 0

พระอินทร์ เป็นเทวราช ตามคติในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน มีหน้าที่ปกครองสวรรค์และอภิบาลโลก ถือกำเนิดขึ้นในสมัยฤคเวท ต่อมาในสมัยที่ตรีมูรติอุบัติขึ้น พระอินทร์ก็ถูกลดบทบาทลงและเริ่มมีพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น กระทั่งกลายเป็นเทวดาชั้นรองจากมหาเทพตรีมูรติในปัจจุบัน แต่ในรามเกียรติ์ พระอินทร์มีภรรยาชื่อนางกาลอัจนา

พระแม่ธรณี เทพีผู้ค้ำจุนโลก

April 13, 2019 shantideva 0

พระแม่ธรณี หรือพระศรีวสุนธรา เป็นเทพแห่งพื้นแผ่นดินที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์, ฮินดู และพุทธศาสนา โดยให้ความเคารพนับถือว่า “แผ่นดิน” เป็นจุดก่อเกิดสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เปรียบเสมือน “มารดา” ผู้หล่อเลี้ยงโลก จึงได้รับยกย่องว่าเป็น “เทพีผู้ค้ำจุนโลก” ความสำคัญใน “การบูชาพระแม่ธรณี”

ท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช

April 12, 2019 shantideva 0

ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก

พระพิรุณ เทพเจ้าแห่งฝน

April 12, 2019 shantideva 0

พระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ

หนุมาน

หนุมาน (Hanuman) ลิงเผือกที่มีฤทธิ์มาก

April 10, 2019 shantideva 0

หนุมาน (Hanuman) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเผือก จึงมีสีขาวเป็นสีประจำกาย เมื่อสำแดงฤทธิ์จะมี 4 หน้า 8 มือ หาวเป็นดาวเป็นเดือน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะประจำกายอื่น ๆ อีก เช่น สวมกุณฑล มีขนเพชร มีเขี้ยวเป็นแก้ว และ หาวเป็นดาวเป็นเดือน ดังกลอนตอนที่หนุมานเกิดว่า ลอยอยู่ตรงพักตร์ชนนี รัศมีโชติช่วงในเวหา