วันสำคัญทางพุทธศาสนา

November 28, 2019 shantideva 0

วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่มีความสำคัญเพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา และยังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วยวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

กัลยาณมิตรกับความเป็นพระโพธิสัตว์

November 18, 2019 shantideva 0

พระบรมโพธิสัตว์แต่ละพระองค์ กว่าจะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านต้องสร้างบารมี ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันทีเดียว ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเองและคนอื่นเรื่อยมา ด้วยปณิธานอันยิ่งใหญ่และมุ่งมั่นนั้น ท่านจึงยอมสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งทรัพย์สินภายนอก และทรัพย์ภายใน คือ อวัยวะ เลือด เนื้อ แม้กระทั่งชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ คือ ญาณหยั่งรู้ ในสรรพศาสตร์ ที่เป็นเหตุให้รู้แจ้งโลกทั้งปวง การสร้างบารมีของท่านถึงกับมีอุปมาไว้ว่า ในเส้นทางการสร้างบารมี แม้จะมีถ่านเพลิงร้อนระอุตลอดเส้นทางมาขวางกั้น หรือจะมีทะเลเพลิง ลุกโพลงโชติช่วงจนมองไม่เห็นฝั่ง แต่หากรู้ว่าจุดหมายปลายทางข้างหน้า คือ ฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นบรมสุข ท่านก็จะอดทนฝ่าฟันข้ามไป เพื่อแลกกับการได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะยอมสละทุกสิ่ง เพื่อพระสัทธรรมอันประเสริฐ” ตั้งแต่นั้นมาก็สร้างบารมีเรื่อยมาโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากจนได้บรรลุอภิสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นศาสดาเอกของโลก การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งปรารถนาพุทธภูมิอยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งนิพพานนั้น เพียงแค่คิดก็ยากแล้ว ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร จากนั้นต้องยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำ หมั่นตอกยํ้าซํ้าเดิม ในมโนปณิธาน ที่แน่วแน่ ไม่ได้คำนึงถึงเวลาว่าอีกกี่เดือน กี่ปี กี่ภพ กี่ชาติจึงจะสมปรารถนา ท่านสร้างบารมี อย่างไร้กาลเวลา บารมีแก่รอบเมื่อไรก็สมปรารถนาเมื่อนั้นพระโพธิสัตว์จึงเป็นบุคคลที่มีใจเหนือกว่ามนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะทำทานก็ทำแบบทุ่มเทสุดหัวใจ ชาวโลกส่วนใหญ่นั้นอยากได้ แต่ท่านอยากให้ ให้ได้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิตเป็นทาน พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุดยอดนักเสียสละของโลกและจักรวาล การรักษาศีลหรือเจริญภาวนา ก็ทุ่มเทจนตลอดชีวิต เพียรพยายามมานับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้รู้ว่าหนทางสู่ความเป็นพระพุทธเจ้านั้นยัง อีกยาวไกล อย่างไรก็ตามขณะที่สร้างบารมีอยู่นั้น มีพระโพธิสัตว์จำนวนไม่น้อยที่เกิดท้อถอยในระหว่างทาง เพราะยังเป็นประเภทอนิยตโพธิสัตว์ คือ เห็นว่าการรื้อสัตว์ขนสัตว์ช่างยากเย็นแสนเข็ญจริงๆ จึงปรารถนาเป็นเพียงพระอัครสาวกบ้าง พระอริยสาวกบ้าง ซึ่งการสร้างบารมีไม่ยาวนานมาก เพียงให้ได้หมดกิเลสเป็นพระอสีติมหาสาวกใช้เวลาอย่างน้อย 100,000 กัป พระอัครสาวกก็ใช้เวลา 1 อสงไขย กับ 100,000 กัป ท่านได้สร้างบารมีเช่นนั้นมายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกระทั่งเกิดอุปมาว่า ท่านได้สละเลือดเนื้อและชีวิต เฉพาะที่เป็นเลือดก็มากกว่าน้ำในท้องทะเลมหาสมุทร สละเนื้อเป็นทานมากกว่าแผ่นดิน บนพื้นชมพูทวีป ที่ควักลูกนัยน์ตาก็มากกว่าดวงดาวบนท้องฟ้า และที่ตัดศีรษะบูชาธรรม มากยิ่งกว่าผลมะพร้าวในชมพูทวีป นั่นคือข้อความที่อุปมาไว้ ท่านทำเช่นนั้นนับภพนับชาติกันไม่ถ้วน จากการศึกษาประวัติ การสร้างบารมีของท่านที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติอันยาวนานของ พระพุทธองค์เท่านั้น อันที่จริง พระพุทธองค์ทรงสร้างบารมีมานานถึง 20 อสงไขย แสนมหากัป โดย 8 อสงไขยแรก เพียงคิดอยากเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ยังไม่กล้าบอกใคร เมื่อความคิดดี ติดแน่นอยู่ที่ศูนย์กลางกายมากเข้า ก็เปล่งวาจาบอกคนรอบข้าง เมื่อพบพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ท่านจะเข้าไปกราบนมัสการ ทำบุญกุศลกับ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วกราบทูลถึงความปรารถนาดีของตัวท่านเองว่า อยากจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตบ้าง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็จะทรงชื่นชมอนุโมทนา และทรงอวยพรให้ท่านสมหวังดัง ใจปรารถนาเรื่อยมา ท่านได้พบพระพุทธเจ้ามามากมายหลายพระองค์ แต่ยังไม่ได้รับคำยืนยันหรือ คำพยากรณ์ใดๆ อย่างไรก็ตามท่านก็สร้างบารมีอย่างไม่ย่อท้อ ครั้นครบ 16 อสงไขย ในสมัยที่ท่านเป็นสุเมธดาบส ท่านได้นอนทอดร่างเป็นสะพาน เพื่อให้พระทีปังกรพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตขีณาสพเดินข้ามโคลนตมไป ท่านจึงได้รับ คำพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าพระองค์แรกว่า อีก 4 อสงไขยแสนมหากัป สุเมธดาบสจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สมณโคดมและหลังจากนั้นมาอีก 4 อสงไขยแสนมหากัป เมื่อบารมีของท่านเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ก็สมปรารถนา ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นยอดกัลยาณมิตรของโลก สมดังพุทธพยากรณ์ทุกประการ ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ต้องรักในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเป็นชีวิตจิตใจควบคู่ไปด้วย จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย ในขณะเดียวกัน ผู้ที่รักในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร มีใจประกอบด้วยมหากรุณา คอยทำหน้าที่แนะนำมหาชนให้เดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง ชักชวนให้ละจากบาปอกุศล ทำความดีทุกอย่าง และชักชวนให้มาประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสมาธิเจริญภาวนา แสดงว่าเป็นผู้มีหัวใจของพระบรมโพธิสัตว์ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ มีสิทธิ์ปรารถนาพุทธภูมิ และดำเนินตามปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายในปางก่อน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาจะสูงส่งหรือยิ่งใหญ่สักเพียงใด ก็จะได้เท่า

วันอัฏฐมีบูชา

October 7, 2019 shantideva 0

  วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำแห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”     ประวัติความเป็นมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่ ความสำคัญ โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล พิธีอัฏฐมีบูชา การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, …..อ่านต่อ

วันอาสาฬหบูชา

October 5, 2019 shantideva 0

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา     ดังนั้นธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้น ชมพูทวีปในสมัยโบราณกำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภท ทั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียนในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘    ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา …..อ่านต่อ

พระโพธิสัตว์ หัวใจของโพธิสัตว์ ที่สุดของความเสียสละ

September 20, 2019 shantideva 0

บทบารมี 30 ทัศ คือ คุณสมบัติของ พระโพธิสัตว์ ตามคติเถรวาทซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ศรีลังการวมทั้งบังกลาเทศ และตอนนี้ก็ถูกรื้อฟื้นคืนกลับมาใหม่ในประเทศอินเดีย ประเทศในแถบที่เราเรียกกันว่าสุวรรณภูมิหรืออินโดจีน เป็นประเทศที่โอบกอดเอาพระพุทธศาสนาไว้หลังจากที่สูญหายไปจากผืนแผ่นดินมาตุภูมิ คือประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ในแถบเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทยเรานี้ เป็นพระพุทธศาสนาสายเถรวาท และในคติแบบเถรวาท ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องผ่านการบำเพ็ญบารมี ซึ่งช่วงที่บำเพ็ญบารมีนั้นเราเรียกว่าเป็นพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรัสรู้ ผู้ที่ตั้งปณิธานว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันหนึ่งข้างหน้า และทันทีที่ตั้งปณิธานและได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จากนั้นเป็นต้นไปจนกระทั่งถึงนาทีก่อนตรัสรู้ เราเรียกท่านว่า “พระโพธิสัตว์” เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ก็จะต้องมีจรรยาของพระโพธิสัตว์ อะไรคือจรรยาของพระโพธิสัตว์ คำตอบก็คือบารมี 10 ทัศนั่นเอง บารมี 10 ทัศหรือบารมี 10 ประการนั้น แต่ละประการจะต้องบำเพ็ญ 3 ระดับ คือระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงสุด เช่น ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี ทานบารมีหรือบารมีขั้นต้น เช่น ให้ข้าวให้ของ ให้เงินให้ทอง ให้เสื้อผ้า ให้ข้าวปลาอาหาร ทานอุปบารมี เช่น ให้อวัยวะ บริจาคดวงตา บริจาคเลือด บริจาคไตอุทิศร่างกายหลังจากตัวเองล่วงลับดับขันธ์ ทานปรมัตถบารมีเป็นบารมีขั้นอุกฤษฏ์หรือขั้นสูงสุด เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน ได้แก่การยกชีวิตตัวเองให้เป็นทานเพื่อความอยู่รอดของคนอื่น ซึ่งทำได้ยากมาก เพราะต้องวางชีวิตของตัวเองเป็นเดิมพัน ฉะนั้น ในทุกภพทุกชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยชาตินั้น ท่านก็จะบำเพ็ญบารมีเหล่านี้จึงได้เห็นบางภพบางชาติที่ท่านอุทิศชีวิตของตัวเองเพื่อให้ผู้ที่ยังเหลือมีชีวิตรอด อาตมภาพขออธิบายเรื่องพระโพธิสัตว์ผ่านนิทานเรื่องหนึ่ง ดังนี้ พระชาติหนึ่งได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร ณ ที่แห่งนี้มีต้นมะม่วงอยู่ต้นหนึ่งในปีหนึ่งมะม่วงจะสุกหนึ่งครั้ง พญาวานรก็พาหมู่คณะขึ้นไปเด็ดมากิน อยู่มาวันหนึ่ง มะม่วงผลหนึ่งหลุดตกลงไปในลำธาร ไหลละล่องท่องน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พระราชาสรงสนานอยู่กับข้าราชบริพาร ทรงพบเห็นมะม่วงจึงหยิบมาเสวยทันทีที่พระชิวหากระทบรสชาติของมะม่วงก็ถึงกับทรงรำพึงออกมาว่า “ทำไมช่างโอชารสถึงเพียงนี้” จึงมีรับสั่งให้เสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารส่งจารบุรุษตามน้ำขึ้นไปจนถึงถิ่นของพญาวานร เมื่อเจอแล้วทรงยกกองทัพยาตราขึ้นไป เพื่อจะไปดูว่าต้มะม่วงที่มีผลแสนโอชารสนั้นอยู่ตรงไหน เมื่อขึ้นไปถึง เหล่าวานรพากันแตกตื่นตกใจหนีไม่ทัน กองทัพของพระราชาแวดล้อมต้นมะม่วงไว้ เหล่านายทหารง้างคันศรปล่อยลูกธนูหลุดจากแล่งพุ่งไปทิ่มแทงวานรตายไปกว่าครึ่ง พระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้นตัดสินใจบำเพ็ญปรมัตถบารมีให้ชีวิตเป็นทานเห็นว่าถ้าปล่อยให้หนีกันตามสัญชาตญาณคงจะตายกันทั้งหมดเป็นแน่ พระโพธิสัตว์จึงทรงตัดสินใจใช้พละกำลังของตัวเองกระโดดข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อจะขึงเถาวัลย์กับคาคบไม้ของฝั่งนั้น แต่ปรากฏว่าเถาวัลย์สั้นขึงไม่ถึง เหลืออีกประมาณสักหนึ่งช่วงตัวตีว่าหนึ่งวา พญาวานรก็เลยเอาตัวเองทำเป็นเชือกหนึ่งช่วงตัวนั้น โดยใช้ขาข้างหนึ่งเกาะกิ่งไม้ฝั่งโน้นไว้ และใช้มืออีกสองข้างขึงเชือกดึงจนตึงจนสุดศักยภาพของเชือกเส้นนั้น แล้วก็ร้องเรียกให้บริษัทบริวารห้อยโหนผ่านเส้นเชือกนั้นข้ามแม่น้ำจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่ง ทรงอุทิศตนด้วยการวางชีวิตเป็นเดิมพัน ให้บริษัทบริวารเหยียบตัวเองแทนเส้นเชือก ระหว่างนั้นพระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นความเสียสละของพระโพธิสัตว์ เกิดธรรมสังเวชอันใหญ่หลวงว่า “เราเป็นถึงพระราชาก็ยังไม่มีภาวะผู้นำถึงขนาดนี้ ดูพญาวานรตัวนี้สิ ยังมีภาวะผู้นำสูงกว่าเราซึ่งเป็นพระราชามหากษัตริย์เสียอีก” พระราชาทรงสลดพระทัยเหลือประมาณ จึงมีรับสั่งให้ข้าราชบริพารหยุด ประหัตประหารพญาวานร และนี่ก็คือพระชาติหนึ่งที่พระโพธิสัตว์อุทิศชีวิตเป็นทานเรียกว่า บำเพ็ญปรมัตถบารมี ฉะนั้น ที่เรามาสวดมนต์กันทุกเช้าทุกเย็นนี้ ถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีและปฏิบัติให้เป็น เราทุกคนก็กำลังเดินอยู่บนหนทางของพระโพธิสัตว์แล้ว ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติบารมีครบทั้ง 10 ประการก็ได้ ปฏิบัติเพียงทานข้อเดียว ก็ทำให้ได้รับอานิสงส์กว้างไกลไพศาล ทานในเบื้องต้นเป็นการกำจัดความตระหนี่ ในเบื้องกลางจะช่วยยกระดับคุณภาพจิต และในเบื้องสูงทำให้เราลอยพ้นจากการเห็นแก่ตัว การให้โดยไม่มีอัตตาของตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องในทุกมิตินับเป็นทานบารมีขั้นสูง เพราะเป็นการให้โดยไม่หวังว่าจะได้รับอะไรตอบแทน ดังหนึ่งต้นจันทน์หรือไม้จันทน์หอมนั่นเอง ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มงคล ปราชญ์ท่านหนึ่งเขียนว่า อันธรรมดาของไม้จันทน์-หอมนั้น เมื่อยังยืนต้นเป็นไม้ใหญ่ไพรระหงก็ให้ร่มให้เงาแก่มนุษย์และนกหนูหูปีกที่ได้บินมาพึ่งพาอาศัย ครั้นใครคนใดคนหนึ่งที่ได้มาพึ่งพาร่มเงานั้นเกิดอึดอัดขัดเคืองมีความโกรธต่อต้นจันทน์ ยกขวานขึ้นมาจามสองสามฉับ แล้วแบกขวานหนีไปแทนที่ต้นจันทน์จะโกรธเคือง ก็ยังอุตส่าห์ ให้กลิ่นหอมติดขวานไปอีก…นี่ละคือจรรยาของพระโพธิสัตว์ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งนิยามจรรยาของพระโพธิสัตว์เอาไว้ง่าย ๆ ว่าอัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาคือลักษณะของมหาบุรุษ ใครก็ตามที่เห็นคนอื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอดรนทนไม่ได้ ต้องลุขึ้นมาหาทางช่วยเหลือเกื้อกูลโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คนคนนั้นเราเรียกว่ามีอัชฌาศัย ของมหาบุรุษ มหาบุรุษก็คือคนที่เป็นมหาษัทก็คือผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์ เราทุกคนสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้ในชีวิตนี้ ขอเพียงเรามีจิตวิญญาณของการเป็นพระโพธิสัตว์ นั่นคือ เห็นคนอื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอดรนทนไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือตามแต่ศักยภาพของตัวเองจะทำได้ ที่เรามาสวดมนต์กันทุกเช้าทุกเย็นนี้ถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีและปฏิบัติให้เป็นเราทุกคนก็กำลังเดินอยู่บนหนทางของพระโพธิสัตว์แล้ว

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

September 19, 2019 shantideva 0

การพิจารณาความหมายของศาสนา นักวิชาการได้แบ่งองค์ประกอบของศาสนาเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย 1. ผู้ก่อตั้ง หรือ ศาสดา ซึ่งผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบวชเป็นโยคีสิตธัตถะแล้วศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาโมกขธรรมจนค้นพบสัจธรรม ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย แล้วประกาศศาสนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 2. หลักคำสอน หรือศาสนธรรม ทุกศาสนาต้องมีหลักคำสอนเป็นสารัตถะ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัต ิในการดำเนินชีวิตในสังคมและหาเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ทางพุทธศาสนาเรียก นิพพาน หลักคำสอนของศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม โดยมีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นคัมภีร์ เรียกว่าพระไตรปิฎก นักบวช สาวก 3. นักบวช สาวก หรือ ศาสนบุคคล ศาสนาพุทธได้มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการปฏิบัติ การศึกษาและการเผยแผ่ของพระสงฆ์ เป็นหลัก 4. ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน หมายถึงผู้ที่เลื่อมใส พระรัตนตรัย แล้วศึกษาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5. ศาสนสถาน ศาสานวัตถุ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ที่ปรากฎในพุทธประวัติ อันได้แก่สังเวชชนียสถาน หรือสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น 6. พิธีกรรม หรือพุทธศาสนพิธี หมายถึงกิจกรรม ของพุทธบริษัทต้องปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อาทิ การอุปสมบท การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน หรือในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตกลงว่า “พราหมณ์” หรือ “ฮินดู” หรือชื่ออะไรกันแน่?

September 7, 2019 shantideva 0

“ชื่อ” ศาสนาที่มักใช้ว่าพราหมณ์-ฮินดูในงานเขียนของผม ต้องใช้พราหมณ์หรือฮินดูกันแน่? แล้วต่างกันยังไง? ทำไมไม่ใช้สักอัน หรือต้องใช้ทั้งสองอัน? คำถามที่ดูพื้นๆ แต่ไม่พื้นนี้ ถูกยกมาถามโดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เมื่อครั้งที่ท่านส่งคำถามมาถึงผม จากเดิมที่ผมไม่ได้คิดมาก่อนว่าคำถามนี้น่าจะตอบและสำคัญ เพราะมันช่วยให้เห็นความเป็นมาและความซับซ้อนในตัวเองของศาสนาฮินดู และที่ยิ่งไปกว่านั้น คนฮินดูในอินเดียเองกลับไม่เรียกศาสนาของตนว่าศาสนาฮินดูด้วยซ้ำ ซึ่งชวนให้งุนงงยิ่งขึ้นไปอีก ปกติการใช้ชื่อศาสนา มักใช้ชื่อของศาสดาหรือสิ่งที่ศาสนานั้นเคารพ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาไชนะ หรือไม่ก็ใช้คำที่ถูกเลือกมาแล้ว เช่น อิสลาม ที่หมายถึงสันติ ในอินเดีย มักเรียกศาสนาด้วยคำว่า “ธรรม” (ธรฺม) เช่น เรียกพุทธศาสนาว่า เพาทธธรรม ศาสนาไชนะว่า ไชนธรรม โดยคำว่าธรรม มีความหมายหลายนัย หมายถึงศาสนา หลักคำสอน การปฏิบัติตามหน้าที่ หรือหมายถึงหลักจริยธรรมทางศาสนาก็ได้ คำว่าธรรม มาจากธาตุ “ธฺรี” หมายถึง ทรงไว้ รักษาไว้ ชาวฮินดูในอินเดียเรียกศาสนาของตนเองว่า “สนาตนธรรม” ซึ่งหมายถึงศาสนาอันมีมาแต่โบราณไม่เปลี่ยนแปลง (สนาตนะ ไม่เปลี่ยนแปลง, เก่าแก่) เพราะเขาเชื่อว่าศาสนาของตนเองนั้นมีมาแต่โบราณกาล ในเชิงประวัติศาสตร์ก็ว่าตั้งแต่สมัยพระเวท (vedic period) คือสามพันห้าร้อยปีถึงสี่พันปีที่แล้ว ในทางตำนานก็ว่าสืบทอดจากพระวิษณุมายังบรมฤษีและกษัตริย์ต่างๆ จนมาถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ นอกจาก “สนาตนธรรม” ที่มักใช้กันอย่างเป็นทางการแล้ว จึงมีการเรียกว่า “ไวทิกธรรม” ซึ่งหมายถึง “ศาสนาพระเวท” อันหมายถึงหมวดคำสอนโบราณของฮินดู หรือมีผู้เรียกว่า “วิษณุธรรม” เพราะเชื่อว่าศาสนานี้สืบทอดมาจากพระวิษณุก็มี ผมเคยเห็นผ่านตาคลับคล้ายคลับคลาว่า มีชื่อ “อารยธรรม” ในเอกสารของกรมการศาสนาในบ้านเราด้วย และใช้เป็นชื่อทางการ เห็นท่านว่าเรียกชื่อนี้ เพราะถือว่าศาสนานี้มาจากชาวเผ่า “อารยัน” ซึ่งคือคนกลุ่มที่นำพระเวทมาสู่ดินแดนอินเดีย ส่วนคำที่เราคุ้นเคยกันอย่างพราหมณ์-ฮินดูนั้น นักวิชาการอินเดียเห็นว่าที่จริงสองคำนี้อาจแยกกันได้ เพราะแสดงถึงพัฒนาการคนละช่วงเวลาของศาสนา ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism) ในเอ็นไซโคลพีเดียบริเตนนิกา หมายถึงศาสนาฮินดูโบราณ ซึ่งอยู่ในยุคพระเวทราวหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ศาสนาพราหมณ์เน้นความสำคัญของผู้ประกอบพิธีที่เรียกว่า “พราหมณ์” เน้นความสำคัญของการประกอบพิธีกรรมที่ปรากฏในพระเวท และบูชาเทพเจ้าที่ปรากฏในพระเวท ในช่วงศตวรรษที่สิบเก้า นักภารตวิทยากำหนดคำนี้เพื่อแสดงถึงพัฒนาการของศาสนาที่จะกลายมาเป็นศาสนาฮินดูในภายหลังหรือแสดงว่าเป็นศาสนาที่อาจแยกออกมาได้จากฮินดู แต่ชาวฮินดูส่วนมากถือว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาเดียวกันกับฮินดู ศาสนาฮินดู (Hinduism) ถ้าอธิบายในเชิงประวัติศาสตร์ นักวิชาการเห็นว่าเริ่มต้นขึ้นในราว 550 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตกอยู่ในช่วงใกล้เคียงพุทธกาล การเปลี่ยนแปลงจากพราหมณ์มาสู่ฮินดู โดยหลักใหญ่คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าในพระเวทมาสู่การนับถือเทพเจ้าที่สำคัญ “มหาเทพ” สององค์ได้แก่พระวิษณุและพระศิวะ และการท้าทายอำนาจของพราหมณ์ การให้ความสำคัญของการสละโลกซึ่งปรากฏในคัมภีร์อุปนิษัท กระนั้นชื่อ “ฮินดู” (Hindu) กลับไม่ปรากฏในเอกสารโบราณของศาสนาฮินดูเอง เพราะชื่อนี้ไม่ได้เป็นภาษาสันสกฤตแท้ แต่เพี้ยนมาจากคำ “สินธุ” (Sindhu) ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำทางตอนเหนือของอินเดียและอารยธรรมในลุ่มน้ำนั้นในภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษานี้มักเปลี่ยน ส เป็น ห เช่น อสูร เป็น อหูร คำ “ฮินดู” ปรากฏในราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลในจารึกของกษัตริย์ดาริอุสที่หนึ่งแห่งเปอร์เซีย มีความหมายเชิงภูมิศาสตร์ถึงกลุ่มคนที่อาศัยในลุ่มน้ำสินธุ มิได้หมายถึงศาสนาและความเชื่อใด ในบันทึกของพระเสวียนจ้าง ราวคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด กล่าวว่าคำนี้เป็นชื่อประเทศ ซึ่งมาจากชื่อของพระจันทร์ (อินทุ – Indu) หลังจากนั้น “ฮินดู” ยังคงมีความหมายในทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม กว่าคำว่าฮินดูจะหมายถึงศาสนาฮินดู ก็ตกล่วงมาถึงราวคริสต์ศตวรรษที่สิบสี่แล้ว โดยปรากฏในวรรณกรรมของฝ่ายมุสลิม โปรดสังเกตนะครับว่า ฮินดูเป็นการเขียนตามเสียง (Hindu) ที่จริงหากเขียนตามตัวอักษรควรเขียนว่า “หินทู” แต่ในบ้านเราไม่คุ้นเคยและไม่มีใครใช้ ดังนั้น ฮินดู-ฮินด์-อินเดีย คำนี้มาจากรากเดียวกันนะครับ มีความหมายเชื่อมโยงกัน และที่สำคัญ ถูกเรียกโดย “คนอื่น” (เปอร์เซีย ชาวมุสลิมอื่น และฝรั่ง) ดังนั้น ความสำนึกว่าชื่อศาสนาของตนเองโดนเรียกโดยคนอื่นจึงทำให้ชาวฮินดูพยายามไม่เรียกศาสนาของตนเองว่าฮินดู แต่ใช้ “สนาตนธรรม” ดังที่กล่าวมา แต่เอาเข้าจริงแล้ว แม้คำว่าสนาตนธรรมจะมีปรากฏในคัมภีร์โบราณ เช่น มนูสมฤติและภาควัตปุราณะ โดยมีความหมายถึงกฎเกณฑ์ของจักรวาล แต่คำนี้ถูกเน้นย้ำและรณรงค์ให้ใช้ในความหมายถึงศาสนาฮินดู ช่วงการปฏิรูปศาสนาต้นศตวรรษที่สิบเก้า ภายใต้ขบวนการศาสนาและชาตินิยมอินเดีย เพื่อปฏิเสธการใช้คำจากภาษาและวัฒนธรรมอื่น ศาสนาฮินดูจึงไม่มีคำเรียกที่เป็นทางการใช้ร่วมกันมาตั้งแต่โบราณ โดยมากมักเป็นแต่คำเรียกกลุ่มก้อน นิกาย หรือขบวนการทางศาสนาเสียมากกว่า ในเมืองไทยนี่ก็ซับซ้อนไม่แพ้กันครับ เราไม่น่าจะรู้จัก “ศาสนาฮินดู” เพราะเราเรียกศาสนานี้ว่า “ไสย” มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ไสยศาสน์ (ไม่ใช่ไสยศาสตร์นะครับ) หมายถึงศาสนาพราหมณ์ และใช้เรียกมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที่สี่ยังเรียกเทวรูปพราหมณ์ เทวรูปพระไสยศาสตร์ (ตามคำสะกดเก่า) อยู่เลย ส่วนคำฮินดู หรือพราหมณ์ฮินดู แม้มีปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ไม่ได้ใช้ในความหมายถึงศาสนาใด แต่ใช้เรียกคนจากอินเดียภาคเหนือ …..อ่านต่อ

วันแห่งความรักในพระพุทธศาสนา

September 6, 2019 shantideva 0

วันแห่งความรัก ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนั้น ทุกคนมักจะคุ้นเคยกับวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับคนหนุ่มสาว ที่ต่างฝ่ายจะเตรียมมอบของขวัญพิเศษ หรือแสดงความรักต่อกันในวันนี้ โดยหวังว่า จะได้รับความพึงพอใจจากคนที่ตนรัก และเป็นการแสดงความรักเพื่อตอบสนองความปรารถนาองตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตามความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่รำลึกถึงนักบุญวาเลนไทน์ ผู้เสียสละชีวติตนเองเพื่อให้คนหนุ่มสาวได้แต่งงานกัน ในอดีตที่เคยห้ามไม่ให้คนหนุ่มสาวแต่งงานกัน เพราะต้องเกณฑ์ชายหนุ่มไปทำสงครามในทางพระพุทธศาสนา หากจะมองเอา วันแห่งความรักที่แท้จริง ก็คงเปรียบได้กับวัน มาฆบูชา ที่มีความสำคัญ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาตร คือ เป็นวันเพ็ญเดือน 3 ,มีพระสงฆ์ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย,พระสงฆ์ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนได้บบรลุธรรมเป็นอรหันต์รับอภิญญา 6, และเป็นพระสงฆ์ที่พระพุทธองค์เป็นผู้บรรพชาให้และที่สำคัญมากกว่านั้นคือ พระพุทธเจ้ายังได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ที่ถือว่าเป็นการวางรากฐานประกาศหลักธรรมไว้ให้กับพุทธศาสนิกชนคนรุ่นหลังได้นำมาศึกษาปฏิบัติ ว่าด้วยเรื่องของ หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ละชั่ว ทำดี (ทั้งกาย วาจา ใจ) ทำจิตใจให้ผ่องบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อป้องกัน แก้ปัญหาต่างๆ จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากหลักการนี้ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ความปรารถนาของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้มนุษยชาติได้พ้นทุกข์ และนี่คือ ความรักที่แท้จริงนอกจากนี้ ยังมีหลักธรรมที่สอนให้มนุษย์มีความรักในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ปราศจากเงื่อนไข ไม่หวังที่จะนำตนเองเป็นศูนย์กลางหรือการสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก แต่กลับมุ่งให้ประพฤติตนเพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการที่ต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม และให้เราเป็นที่พึ่งของผู้อื่น ตามหลักของ พรหมวิหาร 4 คือเมตตา คือ ความรักที่เกิดจากการมองแง่ดี ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข แม้จะไม่ใช่มิตรของตนเองกรุณา คือ การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ขณะที่มีความทุกข์ ด้วยความปรารถนาให้เค้าพ้นทุกข์ที่เขาประสบอยู่ ทั้งทางกายและทางใจมุฑิตา คือ การยินดีต่อผู้อื่นเมื่อทำความดี ประสบความสำเร็จ ปราศจากความอิจฉาริษยาอุเบกขา คือ การปล่อยวาง เมื่อเกิดความรักต่อกันแล้วต้องปล่อยวางและพึงระลึกอยู่เสมอว่า คนเราทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมรับผลแห่งความชั่ว ไม่ควรดีใจหรือเสียใจหรือซ้ำเติม ควรให้โอกาสได้ปรับปรุงตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมจากหลักธรรมดังกล่าว หากจะเปรียบน้ำที่บริสุทธิ์ใสเย็นเป็นที่พึ่งพาของสรรพสัตว์ในการดื่มกินดับกระหายร้อนฉันใด หลักธรรมของพระพุทธองค์ก็เปรียบเหมือนเครื่องขัดเกลาดับกิเลสของมนุษย์ ที่ดำรงชีวิตด้วยความทุกข์ทรมาน เพราะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่า วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรักที่แท้จริง ที่พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ เราในฐานะพุทธศาสนิกชน พึงนำเอาหลักธรรมนี้ มาน้อมนำสู่ตน เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ระดับบุคคลกับบุคคล ไปจนถึงครอบครัว สังคมและประเทศชาติด้วยการละเว้นการทุจริตทั้งปวง และมีความปรารถนาดีมีเมตตาต่อกัน

การปฏิรูปศาสนาในประเทศไทย(2): เรียนรู้จากประว้ติศาสตร์ศาสนาคริสต์และพุทธ

August 31, 2019 shantideva 0

เกริ่นนำ    บทความชุด “การปฏิรูปพุทธศาสนาในประเทศไทย” แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 ว่าด้วยภูมิหลังทางความคิดในการปฏิรูปพุทธศาสนาในประเทศไทย กล่าวถึงจินตภาพหรือจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีอิทธิพลต่อสำนึกเรื่องการปฏิรูปพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทยหรือรัฐไทย ตอนที่ 2 ว่าด้วยความหมายของการปฏิรูปศาสนา โดยพิจารณาหาความหมายและนัยสำคัญจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ศาสนาคือ สังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 (ค.ศ.1962-1965)   และย้อนไปดูสังคายนครั้งที่ 3 ของพุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย (ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ) ทั้งสองตอนนี้จะเป็นบทตั้งต้นเพื่อนำไปสู่ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิรูปศาสนาในประเทศไทยที่จะกล่าวถึงในตอนที่ 3-4   การปฏิรูปศาสนาคืออะไร จากสายตาคนนอก ปีเตอร์ แจ็คสัน (Peter Jackson) แบ่งพุทธศาสนาไทยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะชนชั้นในสังคมไทยคือ รูปแบบที่หนึ่ง  ได้แก่ “พุทธศาสนาของชนชั้นปกครอง” ซึ่งสนับสนุนโดยชนชั้นปกครองและชนชั้นสูง รูปแบบที่สอง ได้แก่ “พุทธศาสนาฝ่ายปฏิรูป” ที่ได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลาง รูปแบบที่สาม ได้แก่ “พุทธศาสนาแบบไสยศาสตร์” ที่ได้รับการสนับสนุนจากคนสามัญในทุกชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นล่างอันรวมถึงชาวนาและกรรมกรในเมือง [1] ตามความคิดนี้ พุทธศาสนาของชนชั้นปกครองมีลักษณะสำคัญคือเป็นพุทธศาสนาที่ได้รับการตีความให้สนับสนุนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่เน้นการตีความเชิงอภิปรัชญา โดยเฉพาะคำสอนเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ที่โยงกรรมในอดีตชาติให้สัมพันธ์กับความทุกข์ยากของผู้คนในปัจจุบัน บุคคลที่มีสถานภาพสูงสุดในทางสังคมคือผู้ที่สั่งสมบุญกุศลในอดีตชาติมาดีจึงควรจะได้เป็นผู้ปกครองประเทศ ซึ่งตามธรรมเนียมที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์เป็นบุคคลที่มีบุญบารมีมากที่สุดจึงอยู่ในสถานะที่สูงสุดของสังคม  เชื่อกันว่าแนวคิดนี้เป็นอิทธิพลของศาสนพราหมณ์จากอาณาจักรขอมที่มีต่อราชสำนักไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา และถือสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตามรูปแบบที่แจคสันแบ่งไว้ พุทธศาสนาของชนชั้นปกครองและพุทธศาสนาแบบไสยศาสตร์เป็นพุทธศาสนาที่ยังไม่ได้ปฏิรูป    ถ้าใช้เกณฑ์ช่วงเวลามาพิจารณา พุทธศาสนาซึ่งยังไม่ได้เข้าสู่การปฏิรูปนั้นได้แก่พุทธศาสนาที่นับถือกันมาก่อนช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ส่วนพุทธศาสนาแนวปฏิรูปที่กล่าวถึงในที่นี้หมายถึงพุทธศาสนาที่ได้รับการตีความใหม่ในช่วงเวลาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 หรือสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา หมายความว่า นับแต่ช่วงเวลานับแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา พุทธศาสนาไทยได้รับการปฏิรูปให้มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม ถ้าเช่นนั้นความหมายของการปฏิรูปที่กำลังพูดถึงอยู่นี้คืออะไร ? โดนาลด์ สเวเรอร์ (Donald K. Swearer) ได้ให้คำจำกัดความ “การปฏิรูปศาสนา” ไว้ว่า “การปฏิรูปจะพิจารณาถึงความรู้สมัยใหม่อย่างจริงจังแต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธศาสนา โดยพื้นฐานแล้วการปฏิรูปเป็นการตีความระบบศาสนาเสียใหม่ โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งระดับสังคมและระดับบุคคล  เมื่อมองจากทรรศนะของแนวคิดแบบเหตุผลนิยมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าการปฏิรูปเป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงหลักการที่สำคัญบางอย่างซึ่งหล่อหลอมสถาบันและวัฒนธรรมของศาสนาหนึ่งเพื่อว่าความจริงที่เป็นแก่นแท้ (และเป็นสากลด้วย) ของศาสนานั้นจะได้รับการตีความใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ที่เป็นอยู่จริง” [2] ตามคำนิยามนี้ “การปฏิรูปศาสนา” จะเกิดขึ้นเมื่อได้เผชิญหน้ากับความรู้สมัยใหม่ที่อาจทำให้ตั้งข้อสงสัยต่อระบบความรู้หรือแนวปฏิบัติเดิมของศาสนาว่า ยังเป็นระบบที่ใช้การได้หรือไม่ การปฏิรูปศาสนาจึงเกี่ยวข้องกับ “ความรู้ชนิดใหม่” ที่ปรากฏขึ้นในสถานการณ์นั้น ณ เวลานั้น ถ้าถือตามคำนิยามข้างบนไม่เพียงแต่ความรู้นั้นจะเป็นความรู้ใหม่ แต่ต้องเป็นความรู้ “สมัยใหม่” อีกด้วย ความรู้ที่มาใหม่ (และเป็นสมัยใหม่) เป็นความรู้ที่ทำให้รู้สึกไม่แน่นอนใจใน “ความรู้” ที่เคยยึดถือกันมาจนทำให้ศาสนิกชนต้องหันไปทบทวน “ความรู้เดิม” ของตนอย่างจริงจัง โดยการตั้งคำถามต่อข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาในยุคสมัย แล้วจินตนาการถึง “สภาพการณ์ใหม่” ที่เป็นความหวังของอนาคต  เมื่อพบว่าหลักการบางอย่างที่หล่อหลอมสถาบันและวัฒนธรรมศาสนา เป็นปัญหาหรืออุปสรคต่อการทำความเข้าใจ “ความจริง” ทางศาสนา ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง “หลักการ” ดังกล่าวนั้นเพื่อให้ “ความจริงที่เป็นแก่นแท้” (และเป็นสากล) ของศาสนานั้นได้รับการตีความใหม่ให้สอดคล้องกับ “สถานการณ์ใหม่” ที่เป็นอยู่จริง สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก ตัวอย่างที่จะสะท้อนคำนิยาม “การปฏิรูปศาสนา” ที่ว่านี้ได้ดีที่สุด น่าจะได้แก่ การปฏิรูปของศาสนจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเกิดขึ้นจากสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 (ค.ศ.1962-1965)  ดังที่เสรี พงศ์พิศ เขียนไว้ว่า  “สังคายนาวาติกันครั้งที่สองนับเป็นสังคายนา “สากล” ครั้งแรกในความหมายที่แท้จริง เพราะเป็นครั้งแรกที่พระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุมมาจากทั่วโลก และหัวข้อการพิจารณานั้นกินความครอบคลุมไปจนทั่วพระศาสนจักร ทั้งนี้เพราะทุกครั้งที่ผ่านมาดูเหมือนจะจำกัดอยู่แต่เพียงในยุโรปและประเทศตะวันตกเท่านั้น อีกทั้งประเด็นที่ได้รับการพิจารณาก็จำกัดอยู่ภายแวดวงภายในของพระศาสนจักรในตะวันตกเท่านั้น  จุดหมายของสังคายนาครั้งนี้คือการพิจารณาสภาพการณ์ของโลกปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มองดู “เครื่องหมายแห่งกาลเวลา” (Signs of Times) และพยายามหาคำตอบจากจุดยืนทางศาสนาให้กับสังคมปัจจุบัน โดยเลือกสรรประเด็นเรื่องที่เหมาะกับยุคสมัยมากที่สุดมาพิจารณา ซึ่งนับเป็นการเปิดแนวทางที่แตกต่างออกไปจากสังคายนาครั้งอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ เพราะไม่มีการพิจารณาประณามและ “กล่าวโทษ” คำสอนที่ผิด (Heresy) ใด ๆ หากแต่เป็นการริเริ่ม “เสวนา” (Dialogue) กับแนวคิดและวิถีชีวิตที่ต่างออกไปจากตนด้วยใจเปิดกว้างขึ้น” [3]  ความจริง การปฏิรูปศาสนาของศาสนจักรคาทอลิกนั้นเกิดขึ้นมาตลอดหลายศตวรรษ แต่สภาสังคายนาครั้งที่สองนี้น่าจะเป็นตัวอย่างการปฏิรูปศาสนาที่ล้ำสมัยที่สุดและทำให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปัจจุบันมีแนวคิดล้ำหน้ากว่าศาสนาใด ๆ ณ เวลานี้ก็ว่าได้ แนวคิดหลักในการประชุมสภาวาติกันครั้งที่สองคือ “aggiornamento” ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า “getting up to today” คือ “ลุกขึ้นสู่ปัจจุบัน” กล่าวได้ว่าศาสนจักรโรมันคาทอลิกในช่วงเวลานั้นกำลังถูกกระตุ้นให้ “ทันสมัย” [4] เจตนาสำคัญที่สุดคือต้องการทำให้ศาสนจักรเป็นเครื่องหมายที่เรียบง่าย น่าเชื่อถือและทุกคนเข้าใจได้ [5]  การสังคายนาจึงมุ่งจะ“ฟื้นฟูพลังของพระศาสนจักรและแสวงหารูปแบบใหม่ที่ถูกนำไปใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการปัจจุบัน” ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อโลกและต่อสถานภาพของศาสนจักรในโลกนี้ …..อ่านต่อ

ลักษณะพิเศษของพุทธศาสนาในจีน

August 29, 2019 shantideva 0

ประเทศอินเดียอันเป็นแหล่งกำเนิดของพุทธศาสนา พุทธศาสนาได้ผ่านระยะแห่งความ เจริญรุ่งเรืองมา 3 ระยะด้วยกัน คือ 1. ระยะความรุ่งเรืองของพุทธศาสนานานานิกายในสาวกยาน ในช่วง 5 ศตวรรษหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 2. ระยะความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาฝ่ายลัทธิมหายาน 3. ระยะความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาฝ่ายลัทธิตันตระยาน ส่วนในจีนนั้นพุทธศาสนาหาได้มีวิวัฒนาการตามขั้นตอนพุทธศาสนาในอินเดียไม่ ในจีนพุทธศาสนาแพร่ขยายออกไปพร้อม ๆ กับการแปลพระคัมภีร์ต่าง ๆ สู่ภาคภาษาจีนในช่วงที่พุทธศาสนาเริ่มแพร่เข้าสู่จีนนั้น เป็นช่วงที่พุทธศาสนามหายานกำลังเจิรญ รุ่งเรืองอยู่ในอินเดีย ดังนั้น พุทธศาสนาที่แพร่เข้าสู่จีนนั้น จึงเข้ามาพร้อม ๆ กันทั้งมหายานและหินยาน แต่ที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนคือลัทธิมหายาน ดังจะเห็นได้จากตัวเลขที่ว่า ตั้งแต่ปลายราชวงศ์ฮั่น จนถึงราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) ซึ่งนับได้เป็นเวลาพันห้าร้อยปี ได้มีการถ่ายทอดพระคัมภีร์ต่าง ๆ สู่ภาคภาษาจีนถึง 6,000 กว่าหมวด คัมภีร์เหล่านี้เป็นคัมภีร์มหายานเกือบทั้งหมด มีข้อที่น่าสังเกตข้อหนึ่ง คือ คัมภีร์ต่าง ๆ ที่มหายานในอินเดียยกย่องว่าสำคัญยิ่งยวด เช่น คัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาสูตร คัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ของนิกายศูนยวาทิน กับคัมภีร์สันธินิรโมจนสูตร และคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ของนิกายวิชญาณวาทินนั้น กลับไม่ได้รับความสนใจนักในจีน นิกายตันตระซึ่งพระวัชรโพธิและพระอโมฆวัชรนำเข้าสู่จีนในปี ค.ศ. 716 นั้น ก็ไม่ได้มีวิวัฒนาการเท่าที่ควร ตรงกันข้าม พระสูตรต่าง ๆ ที่ถือกันว่าไม่ค่อยสำคัญในอินเดีย เช่น มหาปรินนิรวาณสูตร วิมลเกียรตินิเทศสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร ลังกาวตารสูตร อมิตาภะสูตร (จุลสุขาวตีวยูหสูตร) กลับได้รับยกย่องบูชาอย่างสูงและเป็นที่เชื่อถือเลื่อมไสในหมู่พุทธศาสนิกชนในจีน ด้วยเหตุนี้ นิกายสัทธรรมปุณฑริก (เทียนไทจง) นิกายอวตังสก (หัวเอี้ยนจง) นิกายสุขาวดี (จิ้งถู่จง) และนิกายฌาณหรือเซ็น (ฉันจง) ซึ่งนับถือบูชาพระสูตรใดพระสูตรหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงมีวิวัฒนาการรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและกลายเป็นนิกายที่สำคัญที่มีผู้นับถือศรัทธายิ่งกว่านิกาย อื่น ๆ ซึ่งมีอยู่มากนิกายด้วยกันในจีน ดังนั้นพุทธศาสนาในจีน ถึงแม้ว่าจะเป็นศาสนาที่แพร่เข้าไปจากอินเดีย แต่อรรถสาระและภาพพจน์ก็มีลักษณะแตกต่างไป จากพุทธศาสนาในอินเดียมาก งานเขียนชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะพิเศษของพุทธศาสนาในจีนว่ามีอะไรบ้าง และอะไรเป็น รากฐานที่ก่อให้เกิดลักษณะพิเศษเหล่านี้ขึ้น ลักษณะพิเศษ 3 ประการของพุทธศาสนาในจีน ลักษณะพิเศ���ของพุทธศาสนาในจีน แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1.ลักษณะประนีประนอมกับลัทธิ – ศาสนาอื่น 2.ลักษณะปรองดองระหว่างพุทธนิกายด้วยกัน 3.ลักษณะความเรียบง่าย ลักษณะประนีประนอมกับลัทธิ – ศาสนาอื่น ในประเทศจีน ถ้าจะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธ กับลัทธิขงจื้อและศาสนาเต๋าแล้ว จะเห็นได้ว่าพุทธเป็นศาสนาที่มีลักษณะประนีประนอมกว่าอีก สองศาสนาของจีนเอง วิวัฒนาการเป็นพัน ๆ ปีของพุทธศาสนาในจีน ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะนี้ของพุทธได้อย่างชัดเจน พุทธศาสนาเมื่อแรกแพร่เข้าสู่จีนนั้น ต้องประสบอุปสรรครอบด้าน ต้องปะทะขับเคี่ยวและต่อสู้กับอารยธรรมดั้งเดิมของจีน กับอำนาจอันล้นฟ้าของจักรพรรดิ กับทฤษฎีและหลักปรัชญาของขงจื้อและศาสนาเต๋าตลอดมา แต่ถ้ามองโดยลักษณะรวมแล้ว จะเห็นว่า ชาวพุทธในจีนจะใช้วิธีประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม แล้วค่อย ๆ แทรกตัวเองเข้าเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของจีน มากกว่าที่จะปะทะกันถึงในขั้นแตกหัก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตลอดช่วงระยะเวลาเกือบสองพันปีที่ผ่านมา นอกจากในสมัยราชวงศ์สุยและถัง (ค.ศ. 581–907) ซึ่งเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่แล้ว ในรัชสมัยอื่น ๆ พุทธศาสนาจะอยู่ในฐานะเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนเท่านั้น ความหมายของคำว่าประนีประนอมในที่นี้ หมายถึงการยอมรับ การยินยอมคล้อยตามแนวคิดและทัศนคติจากภายนอก ซึ่งก็คือหลักทฤษฎีของขงจื้อและเต๋านั่นเอง พุทธศาสนาทำการประนีประนอมกับแนวคิดภายนอก ได้ดำเนินคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลง ของกระแสแนวคิดของสังคมแต่ละสมัย ดังนั้นจึงมีลักษณะของยุคสมัยอย่างเด่นชัด ดังเช่น ในสมัยฮั่นตะวันออก (ค.ศ.25–220) ถึงสมัยสามก๊ก (ค.ศ.220–280) เป็นช่วงที่ไสยศาสตร์ของเต๋าเจริญรุ่งเรืองมาก ชาวพุทธในจีนรวมทั้งพระอาจารย์ที่เดินทางเข้า ไปจากเมืองพุทธอื่น ๆ ได้พยายามศึกษาไสยศาสตร์ในยุคนั้นไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการดึงดูดใจผู้คนให้เกิดความสนใจในพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่เข้าไป พอเข้าสู้ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ.256–420) กับราชวงศ์หนานเป่ยเฉา (ค.ศ.420–589) ปรัชญาเสียนเซียะได้เข้าแทนที่ไสยศาสตร์เต๋า ชาวพุทธในจีนก็พยายามปรับปรุงตนให้สอดคล้องกับปรัชญาของเสียเซียะด้วยการนำเอาแนวคิด คำศัพท์ต่าง ๆ ของเสียเซียะมาอรรถาธิบายหลักปรัชญาปารมิตาสูตร การนำเอาหลักทฤษฎีความคิดของเต๋าและขงจื้อมาอรรถาธิบายหลักทฤษฎีและปรัชญาของพุทธนั้น มีให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น การเอาหลัก “อู๋อุ๋ย” ซึ่งมีความหมายว่าการคล้อยตามความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติมาอธิบายหลักนิพพานของพุทธ ซึ่งในทางเป็นจริงแล้ว ปรัชญาทั้งสองข้อนี้แตกต่างกันมาก แต่ชาวพุทธในจีนในสมัยนั้นก็พยายามที่จะอรรถาธิบายปรัชญาพุทธด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตนเอง ปักหลักลงได้บนแผ่นดินใหม่ผืนนีให้ได้ นักพุทธศาสตร์สมัยนั้น เวลาถ่ายทอดหรือเรียบเรียงพุทธคัมภีร์ออกสู่ภาคภาษาจีน ก็จะพยายามปรับให้ไม่ขัดต่อหลักของ ขงจื้อ ตัวอย่างเช่นในสิคาโลวาทสูตร ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก พี่กับน้อง ครูกับศิษย์ สามีกับภรรยา นายกับบ่าวว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเสมอภาคกัน เช่นนายกับบ่าว นายต้องให้ความนับถือบ่าว บ่าวต้องจงรักภักดีต่อนาย เป็นต้น แต่เมื่อพระอาจารย์อันลิเกาพระภิกษุชาวปาเธียร์แปลมาถึงข้อความตอนนี้ ก็ได้ตัดเนื้อหานี้ออก ทั้งนี้เพราะทัศนคติที่ว่านี้ขัดต่อความรับรู้ในความสัมพันธ์เหล่านี้ว่า ต้องมีลดหลั่นต่ำสูงตาม ประเพณีจีน นอกจากดำเนินนโยบายประนีประนอมดังได้กล่าวมาแล้ว ชาวพุทธในจีนก็ยังได้สร้าง หลักปรัชญาขึ้นใหม่ตามระบบความคิดดั้งเดิมของจีนเองอีกด้วย เช่น …..อ่านต่อ

นิพพาน บทสรุปของชีวิตในสังสารวัฏ ตอนที่ 4

August 24, 2019 shantideva 0

นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสุขอื่นที่ยิ่งกว่า   คุณลักษณะที่น่าปรารถนาของนิพพาน        คุณลักษณะพระนิพพาน มีกล่าวไว้จำนวนมากในพระไตรปิฎก แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะคุณลักษณะที่น่าปรารถนา อันมีอยู่ในพระนิพพาน ซึ่งพอจะเทียบเคียงกับความรู้สึกของคนโดยทั่วไปให้เข้าใจได้   1. นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสุขอื่นที่ยิ่งกว่า (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ, นิพฺพาน สุขา ปรํ นตฺถิ)        ความสุขเป็นสิ่งที่สรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่าล้วนปรารถนากันทั้งสิ้น ที่ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสน กระวนกระวายกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อต้องการหาความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุขที่ไม่กลับกลายเป็นทุกข์อีก แต่ก็ยังแสวงหากันไม่พบ ส่วนมากความสุขที่พบและคิดว่าเป็นสุขสุดยอดแล้ว แต่ก็กลับมีทุกข์เป็นผลตามมาจนได้ เนื่องด้วยว่าความสุขอย่างอื่นเป็นสุขอันเกิดจากเจตสิก คือ สุขเวทนาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้มีความสุข เพราะเสวยอารมณ์ที่ชอบใจอันเป็นโลกิยธรรม คือ กามสุขฝ่ายอกุศล-กุศล หรือฌานสุข อันเกิดจากสมาธิขั้นสูง ความสุขเหล่านี้เกิดจากตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันเป็นตัวสมุทัย คือ ตัวเหตุแห่งทุกข์เจือปนอยู่ สิ่งใดเกิดแต่ตัณหามีตัณหาเจือปนอยู่ สิ่งนั้นย่อมนำผู้นั้นวนกลับสู่กองทุกข์อีก เพราะมีกำหนดเวลาของการเสวยสุข ฉะนั้นจึงยังเป็นสุขที่ไม่แท้จริง        ส่วนนิพพานสุข เป็นสุขที่ไม่มีเวทนา ไม่มีตัณหาเจือปนปรุงแต่ง (อสังขตธรรม) สิ่งใดที่ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมเที่ยง ยั่งยืน เป็นอมตะ ดังนั้นสุขในนิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง        การจะหาความสุขจากการสัมผัสพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ แม้เป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะยาก แต่เราก็ไม่ควรจะละเลิกใฝ่หา เพราะตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นผู้มีอุปกรณ์ คือ กายกับจิตที่พร้อมจะสัมผัสนิพพานสุขในปัจจุบันชาติได้ ถ้าปฏิบัติได้ถูกวิธี แม้บุญบารมียังมิเต็มเปี่ยมที่จะบรรลุนิพพานสุขแท้จริงในชาตินี้ได้ แต่ขณะปฏิบัติจะได้รับความสุขที่พอให้เทียบเคียงกันได้กับความสุขในพระ นิพพานเป็นลำดับไป นั่นคือ การทำใจให้หยุดนิ่ง จนบรรลุสมาธิระดับฌานต่างๆ ตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ (ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นนิพพานโดยอ้อมหรือโดยเทียบเคียง แต่สัญญาเวทยิตนิโรธ จัดเป็นนิพพานโดยตรง เพราะเป็นความสุขแท้จริงเช่นเดียวกับในอายตนนิพพาน ที่สัมผัสได้ในปัจจุบันชาติ (อํ.อฏฐก. 23/251-255)     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกความสุขในระดับฌานสุขว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกความสุขในระดับฌานสุขว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน นิพพานเข้าถึงได้ในอัตภาพปัจจุบันนี้บ้าง สันทิฏฐิกนิพพาน นิพพานที่ผู้บรรลุพึงเห็นเองบ้าง อมตธรรมบ้าง นิโรธบ้าง เป็นต้น ในภาคปฏิบัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ได้กล่าวไว้ว่า   “ ฌานนั้นแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่ให้เสื่อม ไม่ให้สร่าง ไม่ให้หายไป อยู่ฌานนั้นร่ำไปเรียกว่าได้รับความสุข ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุขเยี่ยมยอดประเสริฐเลิศกว่าในโลกนี้นัก เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แล้วก็ลืมยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทีเดียว สิ่งอื่นไม่เหลือใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส        เอาใจรูปพรหมไปนั่งอยู่บนปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานลืมยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่มาเคาะใจทั้งหลับทั้งตื่น        สูงขึ้นไป สุขสูงขึ้นไปกว่านี้ เข้าถึงอรูปฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน        เมื่อไปถึงอรูปฌานเช่นนั้นละก็ ความยินดีในรูปฌานนั้น ติดอยู่ในรูปฌานนั้นหายไป หลุดไม่ติดเลย ก็ไปติดอยู่ในอากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญาย ตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ได้รับความสุขอยู่ 840,000 มหากัลป์        เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ขอบภพข้างบนนี่ สุขเลิศประเสริฐนัก ยอดสุขของในภพมีเท่านี้แหละ สูงกว่าไม่มี ยอดแล้วถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยอดสุขในภพแล้ว ไม่มีสุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป        ถ้าจะให้สุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ต้องไปสู่ มรรค ผล นิพพาน พวกมีธรรมกายไปสู่นิพพานได้ ก็ได้ไปสอบสวนสุขในนิพพานได้ เข้าไปในนิพพานได้ เป็นนิ่งอยู่ในนิพพานเสียนี่ รับสุขในนิพพาน ทีเดียว        เมื่อได้รับสุขชนิดนี้ในนิพพานแล้ว คนที่พูดมากๆ เงียบหมด ไม่พูดแล้ว ใจคอครึ้ม …..อ่านต่อ

ศาสนาคืออะไร ศาสนาหมายถึงอะไร

August 21, 2019 shantideva 0

คำว่า “ศาสนา” เป็นคำภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีใช้ศัพท์ว่า “สาสน” ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอน คำสั่ง หมายถึงศีลหรือวินัย คำสอน หมายถึงพระธรรม เรียกรวม ๆ กันว่า ศีลธรรม ส่วนคำว่าศาสนาในทางตะวันตกท่านใช้ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า “Religion” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “ Religio “ แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำนิยามไว้ว่า ศาสนา คือ “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักคือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ หลวงวิจิตรวาทการได้อธิบายความหมายของศาสนาไว้ว่า คำว่า “ศาสนา” ต้องเป็นเรื่องที่มีลักษณะดังนี้ ๑) เป็นสิ่งที่เชื่อถือโดยมีความศักดิสิทธิ์และไม่ใช่เชื่อถือเปล่า ๆ ต้องเคารพบูชาด้วย ๒) มีคำสอนทางศีลธรรมจรรยา และกฏเกณฑ์ ที่เกี่ยวกับความประพฤติเพื่อบรรลุผลอันดีงาม ๓) ปรากฏตัวผู้สอนผู้ตั้ง ผู้ประกาศ ที่รู้แน่นอน และยอมรับว่าเป็นความจริงประวัติศาสตร์ ๔) มีคณะบุคคลทำหน้าที่โดยเฉพาะสำหรับรักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนนั้น สืบต่อบุคคล คณะนี้เรียกว่า “พระ” หรือ “วรรณะ” ปละเป็นเพศพเศษต่างกับสามัญชนเรียกว่า “สมณเพศ” ๕) มีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Fidelity หมายความว่า ถ้าถือศาสนาหนึ่งแล้ว จะไปถือศาสนาอื่นไม่ได้ แม้แต่จะเคารพบูชาปูชนียวัตถุของศาสนาหรือลัทธิอื่นก็ถือว่าเป็นบาปใหญ่หลวงทีเดียว ความหมายของศาสนาตามที่กล่าวมานี้ มีลักษณะทั่ว ๆ ไปทั้งเทวนิยมและอเทวนิยมปน ๆ กันไป คือเป็นความเชื่อในเทพเจ้า บาปบุญ ปรมัตถธรรม ชีวิตปรโลก คำสั่งสอนในฐานะเป็นกฎศีลธรรม ที่มีศาสดาและคณะผู้ประกาศคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ศาสนิกจะละเลยไม่ได้ ท่านพุทธทาส ภิกขุ ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า “ศาสนาคือตัวการปฏิบัติหรือตัวการกระทำ อันเป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ หรือสิ่งที่สัตว์นั้น ๆ ไม่พึงปรารถนา” ความหมายของศาสนาตามที่ยกมานี้ หากกล่าวโดยภาพรวมแล้วจะเห็นชัดว่า ย่อมประกอบด้วยความเชื่อและเหตุผลที่เป็นระเบียบอันมนุษย์มองไม่เห็นและมีความดีสูงสุดที่มนุษย์สามารถปรับตัวเองให้กลมกลืนได้ศาสนา องค์ประกอบของศาสนา ศาสนาในฐานเป็นปรากฏการณ์ทางจิตและสังคม เป็นบ่อเกิดของคุณค่าและวัฒนธรรมและมีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น ซึ่งมีความลึกซึ้งและมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่ที่ถือว่าสำคัญที่สุดที ๕ ประการ คือ – ศาสดา คือผู้ตั้งศาสนาหรือผู้สอนดังเดิม – คัมภีร์ศาสนา คือที่รองรับหลักธรรมคำสอนในศสานั้นด้วย – นักบวช คือผู้ปฏิบัติตามคำสอน หรือผู้สืบทอดต่อศาสนา – ศาสนสถาน สถานที่สำคัญของศาสนา หรือปูชนียสถาน – สัญลักษณ์ เครื่องหมายแสดงออกของศาสนาด้านพิธีกรรมและปูชนียวัตถุ

ศีล 5 หลักปฏิบัติสำคัญของชาวพุทธ

August 18, 2019 shantideva 0

ศีล 5นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะในบ้านเรา หรือแม้แต่ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ศีล 5 นั้นถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สุด ตามมาด้วย ศีล 8 ศีล 10 ไปจนถึง ศีล 227 ข้อสำหรับผู้ที่ถือครองสมณะเป็นพระ ก่อนที่เราจะไปอ่านรายละเอียดของศีลทั้ง 5 ข้อ เรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำเนิดหลักปฏิบัติดังกล่าวตั้งแต่เมื่อครั้งพุทธกาล ที่ถือว่าหลักปฏิบัตินี้มีความเชื่อมโยงกัน และครอบคลุมการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างครบถ้วน ประวัติของศีล 5 จากหลักฐานที่ถูกค้นพบด้านประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั้น พบว่า “ศีล” เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสมสติราช ซึ่งมิอาจระบุช่วงปีที่เกิดได้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากแล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นการเกิดขึ้นของศีลข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์ จากนั้นศีลข้อที่ 3 จึงเกิดตามมา คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม ซึ่งเมื่อเกิดการประพฤติผิดในศีลทั้ง 2 ข้อแล้วจึงเกิดเป็นการโกหก หลอกลวง ไม่ยอมรับ ไม่ยอมสารภาพผิดต่อขึ้นมา จึงเกิดเป็นศีลข้อที่ 4 คือ ห้ามพูดเท็จ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากขึ้นถึงกับมีการฆ่าแกงกัน จึงเป็นที่มาของศีลข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ ส่วนศีลข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา ตามตำนานเล่าว่าเป็นการประพฤติที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ได้มีคนเดินทางไปพบน้ำขังบริเวณตามง่ามไม้ เมื่อสังเกตไปยังนก นกได้ดื่มน้ำนั้นเข้าไปแล้วเกิดอาการเมา พยายามจะตะเกียกตะกายบินขึ้นบนฟ้าไปให้ได้ คนที่พบจึงทดลองดื่มดูรู้สึกว่าสนุกดี จึงได้น้ำที่พบนั้นไปศึกษาส่วนประกอบ ต่อมาเมื่อศีลทั้ง 5 ข้อก็ได้กลายมาเป็นบทบัญญัติของบ้านเมือง และของเหล่าบัณฑิต ในบางยุค บางสมัยที่โลกนั้นได้เจริญขึ้นในด้านจิตใจ ศีล 5 ก็กลายเป็นธรรมะ ที่เรียกว่า กุรุธรรม หมายถึง ธรรมะของชาวแคว้นกุรุ ที่อยู่ในชมพูทวีปได้ยึดถือปฏิบัติกัน   เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะ พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงนำบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท โดยเริ่มต้นจากอุบาสก อุบาสิกา นับว่าศีล 5 นั้นเป็นเรื่อง่ายที่ยากต่อการปฏิบัติในหมู่ชาวไทย อาจเป็นเพราะว่าคนไทยนั้นมีความคุ้นเคยกับการปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับศีล 5 ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องมาจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ทำให้เมื่อมายึดถือศีล 5 ก็ไม่สามารถทำได้ทุกข้อ หรืออาจทำไม่ได้เลย ความหมายของศีล เมื่อเรารู้ความเป็นมาของหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ศีล 5 แล้ว ในความเป็นจริง เรารู้กันบ้างรึเปล่าว่า “ศีล” นั้น มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง ศีล คือ “เจตนาŽ” ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ) ศีล คือ “เจตสิกŽ” หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต 3 (ความโลภอยากได้ของผู้อื่น, มีจิตคิดพยาบาท, มีความเห็นผิด) ศีล คือ ความสำรวมระวังŽ ปิดกั้นความชั่ว ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามŽ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วทำให้ศีล 5 นั้นมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นการกำหนดหลักต่างๆ ขึ้นจากสามัญสำนึกที่รู้สึกตัวว่า เมื่อเรามีความรักตัวเอง ต้องการความสุข รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต คนอื่นๆ ก็ย่อมต้องรู้สึกและมีความต้องการเช่นเดียวกับเรา เหตุนี้เองถึงแม้ว่าโลกใบนี้จะไม่มีพุทธศาสนา หรือแม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ศีล 5 ก็มีอยู่ในการดำเนินชีวิตของเราอยู่แล้ว ฉะนั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีเหตุมีผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่สัตว์เดียรัจฉานไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงอาจเห็นได้ว่า เมื่อใดที่มนุษย์มีศีล 5 อย่างครบถ้วน ความเป็นมนุษย์จึงสมบูรณ์ กายเป็นปกติ วาจาก็เป็นปกติ เมื่อใดที่มนุษย์ขาดศีล 5 ไป ความเป็นมนุษย์ก็ลดลง   การประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 เห็นได้ว่า ศีล 5 นั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยสามารถแบ่งการประพฤติปฏิบัติได้เป็น 5 ข้อที่สามารถจำแนกความเป็นมนุษย์และสัตว์ได้อย่างชัดเจนได้ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1 ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ : ซึ่งโดยปกติของมนุษย์แล้วเราจะไม่ฆ่าแกงกันเอง นั่นเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ อาทิ เสือ หรือสิงโต ที่เวลาหิวก็จะไล่ล่าสัตว์อื่นเพื่อนำมาเป็นอาหารทันที นั่นจึงทำให้เราสามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ได้อย่างชัดเจน ข้อที่ 2 ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย : โดยปกติของมนุษย์แล้วจะไม่คิดขโมย หรือลักทรัพย์สินของใคร ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปธรรมจับต้องได้ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เพราะมนุษย์มีความรอบรู้ในเรื่องของ กรรมสิทธิ์ ว่านั่นของเรา ว่านี่ของเรา แต่กับสัตว์เดียรัจฉานนั้นไม่รู้ ยกตัวอย่าง เวลาที่สุนัขกำลังเห็นแมวกินปลาอยู่ ถ้ามันมีความคิดที่อยากได้มันก็จะเข้าไปแย่งเลยทันที ฉะนั้น ถ้าใครลักขโมย หรือจี้ปล้นทรัพย์สินของคนอื่นก็แสดงว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาได้สูญเสียไปแล้ว ข้อที่ 3 ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม : มนุษย์เป็นผู้ที่รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเอง รู้ถูกผิด …..อ่านต่อ

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชให้โอวาทเนื่องในวันวิสาขบูชา

August 15, 2019 shantideva 0

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้โอวาทเนื่องในวันวิสาขบูชา โดยให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยสติ ไม่ประมาท คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม นำพาสังคมหลุดพ้นทุกข์ภัย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้โอวาทธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ความว่า วันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 ที่องค์การสหประชาชาติประกาศเช่นนี้ ก็เพื่อยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ คล้ายวันตรัสรู้ และคล้ายวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตรงกันในวันเพ็ญวิสาขะ คือ เพ็ญเดือน 6 ในราตรีแห่งการเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โปรดประทานคำสอนสุดท้าย ที่เรียกว่า ปัจฉิมโอวาท แก่เราทั้งหลายว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” จากพระพุทธดำรัสนี้ ทรงสอนให้เราพิจารณาธรรม 2 ประการ คือ ให้พิจารณาตน มิให้มัวเมาลุ่มหลงตนเอง เพราะสังขารมิอาจยืนยงยาวนาน ต้องเสื่อมสลายไปตามกฎของธรรมชาติ และให้พิจารณางาน คือ ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยสติ ไม่ประมาท คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เนื่องในวันวิสาขบูชา ปีพุทธศักราช 2557 นี้ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายได้น้อมนำปัจฉิมโอวาทมาปฏิบัติ ด้วยความไม่หลงตนเอง มุ่งทำหน้าที่ด้วยความมีสติ ไม่เบียดเบียนกัน นำพาสังคมให้หลุดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

ประวัติศาสนาซิกข์

August 11, 2019 shantideva 0

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา ประวัติของศาสนาซิกข์ เริ่มต้นขึ้นโดยคุรุนานักเทพจิ คุรุศาสดาคนแรก ราวคริสต์ศตวรรศที่ 15 ในภูมิภาคปัญจาบทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย เมื่อเวลาผ่านไป การปฏิบัติตนในศาสนาได้ถูกทำให้เป็นแบบแผนมากขึ้นและเป็นระบบระเบียบโดยคุรุท่านต่อ ๆ มา โดยเฉพาะ คุรุโควินทสิงห์ เมื่อปี 1699[1] ศาสนิกชนกลุ่มแรกซึ่งล้วนมาจากภูมิหลังทางสังคมที่ต่างกัน รวมกันเป็นขาลสา (ਖ਼ਾਲਸਾ) โดย 5 คนแรกที่ได้เปลี่ยนศาสนาเข้ามานั้นเรียกว่า “ปัญจเปียร์” เป็นผู้เปลี่ยนศาสนาและรับคุรุโควินทสิงห์เข้ามาในสังคมขาลสา[2] ประวัติของศาสนาซิกข์เกี่ยวข้องมากกับประวัติศาสตร์ปัญจาบ ในสมัยจักรวรรดิโมกุล (1556 – 1707) ศาสนาซิกข์เกิดความไม่ลงรอยกับกฎหมายจักรวรรดิซึ่งเป็นมุสลิม ด้วยปัญหาทั้งทางการเมืองและความเชื่อของซิกข์ที่เพิ่มเติมนักบุญจากทั้งฮินดูและอิสลามเข้ามา คุรุซิกข์คนสำคัญถูกประหารชีวิตเพราะปฏิเสธที่จะเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[3] และเพราะต่อต้านการดำเนินคดีของจักรวรรดิต่อชาวซิกข์และชาวฮินดู[4][5][6][7][8][9] คุรุสองท่านที่ถูกประหารชีวิตและทรมานอย่างหนัก ได้แก่ คุรุอรชุน และ คุรุเตฆหบดูร์[10][11][12][13] รวมถึงบุคคลสำคัญในศาสนาที่ได้รับการเคารพจากศาสนิกชน เช่น Banda Bahadur, Bhai Mati Das, Bhai Sati Das และ Bhai Dayala[9][12][13] ดังนั้นศาสนาซิกข์จึงจัดตั้งกองทัพซิกข์ขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานของจักรวรรดิโมกุล การก่อเกิดขึ้นของ Sikh Confederacy ภายใต้ misl และ อาณาจักรซิกข์ นำการปกครองโดยมหาราชา รันจิต สิงห์ ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยความต้านทางทางศาสนาและแนวคิดพหุศาสนา (Religious pluralism) ร่วมกับชาวคริสต์ ฮินดู และมุสลิม ในตำแหน่งของอำนาจ การก่อตั้งอาณาจักรซิกข์นั้นถือเป็นจุดสูงสุดของศาสนาซิกข์ในเชิงการเมือง[14] ขณะที่อาณาจักรซิกข์ขยายอาณาเขตครอบคลุมกัศมีร์, Ladakh และ Peshawar ก็ทำให้มีศาสนิกชนเปลี่ยนศาสนามาเป็นซิกข์จำนวนมาก ด้วยจากทั้งความเกรงกลัวในอำนาจก็ดี หรือจากเหตุผลเชิงธุรกิจก็ดี[15]