พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งปัญญา (องค์ปฐมบูชา)

พระพิฆเนศ

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश ทมิฬ: பிள்ளையார் อังกฤษ: Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ[1] (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพใน ศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง

พระพิฆเนศ

ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย รวมทั้งพระพิฆเนศซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ดูได้จากการพบรูปสลักพระพิฆเนศในเทวสถานตามเมืองต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศไทย โดยมีหลักฐานการค้นพบเทวรูปบูชาพระพิฆเนศที่เก่าแก่ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้นว่าเทวรูปบูชานั้นสลักจากหิน ค้นพบทางแถบจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

พระพิฆเนศ

คนไทยถือว่าพระพิฆเนศเป็นที่เคารพสักการะในฐานะบรมครูแห่งศิลปวิทยาการ 18 ประการ โดยคนไทยยอมรับในพระพิฆเนศให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศเป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใด ๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการ กรมศิลปากร และ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ถือเอาพระพิฆเนศเป็นตราสัญลักษณ์

ศาลพระพิฆเนศ เซ็นทรัลเวิลด์

ศาลพระพิฆเนศ เซ็นทรัลเวิลด์ ณ บริเวณลานด้านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

พระพิฆเนศ เป็นพระโอรสของ พระศิวะ และ พระปารวตี มีพระวรกายเป็นมนุษย์ มีพระเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็น “วิฆเนศ” นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรคสามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และยังหมายถึงทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ พระวรกายที่อ้วนพีนั้นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พระเศียรที่เป็นช้างหมายถึงทรงมีปัญญามาก พระเนตรที่เล็กคือสามารถมองแยกแยะสิ่งถูกผิด พระกรรณและพระนาสิกที่ใหญ่หมายถึงทรงมีสัมผัสพิจารณาที่ดีเลิศ พระพิฆเนศทรงมีหนูเป็นพระสหาย (บางก็ว่าเป็นพระพาหนะ) ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิดที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน

จากคติความเชื่อที่ว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ โดยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ด้วยความเลื่อมใสของพระองค์ที่มีต่อพระพิฆเนศ จนถึงขนาดที่ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระพิฆเนศขึ้น ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้ง วรรณคดีสโมสร ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อ กรมศิลปากร เกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรม โดยตรากรมศิลปากร ใช้เป็นรูปพระพิฆเนศประทับลวดลายกนกลักษณะคล้ายเมฆ ทรงถือปาศะครอบน้ำวัชระและทันตะอยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยดวงแก้ว 7 ดวง หมายถึงศิลปวิทยา 7 อย่างที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกรมศิลปากร และต่อมายังได้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร[2][3] วิทยาลัยช่างศิลป และ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ลักษณะของพระพิฆเนศ

ลักษณะของพระพิฆเนศ

มีพระวรกายเป็นมนุษย์เพศชาย อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีพระเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว (ถูกขวานปรศุรามหักเสียงา) สีพระวรกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง) มี 4 พระกร พระหัตถ์ขวาบนทรงตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงขันน้ำมนต์เป็นกะโหลกศีรษะมนุษย์

หนูมุสิกะ

ทรงมีหนูมุสิกะเป็นพระสหาย (บางก็ว่าเป็นพระพาหนะ)

ในคราวที่ พระศิวะ เสด็จไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระปารวตี เนื่องจากประทับอยู่พระองค์เดียวเลยเกิดความเหงา และมีพระประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์ และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนัก จึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่พระศิวะเสด็จออกไปตามพระกิจต่าง ๆ มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงน้ำในพระตำหนักด้านในนั้น

พระพิฆเนศ ก่อนได้เศียรเป็นช้าง

พระศิวะเสด็จกลับมาและเมื่อจะเสด็จเข้าไปด้านใน ก็ทรงถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากมิทรงทราบว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกัน พระศิวะก็มิทรงทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระปารวตีทรงเสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ทรงถูกขัดพระทัยก็ทรงพิโรธและทรงตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้ พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กหนุ่มนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใคร เพราะตนกำลังทำตามพระบัญชาของพระปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของพระศิวะจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป

พระศิวะ-พระแม่ปราวตี-พระกุมารกาลติเกยะ-พระพิฆเนศ

ในขณะนั้นเองพระปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วโลกก็จะออกมาจากด้านนอกและไปถึงโลกแห่งความตายและร่างทรงได้รับความนิยมในขณะเดียวกัน และตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมเด็กได้ลงคอโดยเฉพาะเมื่อได้ยินเสียงพระนางตัดพ้อต่อไม่ว่าจะเป็นพระศิวะก็ตรั ว่าจะทำให้เด็กกลับมาใหม่ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นมาได้ไม่นานและยิ่งใกล้เข้ามาทุกเช้าแล้วต่างก็ยิ่งมีรูปทรงกระเพื่อมที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อได้เห็นเช่นนั้นแล้วพระศิวะจึงทรงได้ทรงเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ในพระคริสต์และพระเยซูเจ้าที่ทรงนำมาซึ่งความทุกข์ยาก ช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่องให้เป็นเทพที่สูงที่สุดและขนานนามว่า “พระพิฆเนศ

เนื่องจากพระพิฆเนศมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่น ๆ นั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ดังนี้

  • พระเศียรของพระองค์ หมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต
  • พระวรกาย แสดงถึงการที่ทรงเป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี
  • พระเศียรช้าง แสดงถึงความเฉลียวฉลาด
  • เสียงดัง ที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า “โอม” (ॐ) ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล
  • พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้างที่หักครึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์ มหาภารตะ ให้ ฤๅษีวยาส และเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละ
  • พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง ทรงป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก
  • อีกพระหัตถ์ทรงลูกประคำ แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  • ขนมโมทกะ หรือขนมลัฑฑูในงวง เป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความหวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเอง เพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่น ๆ
  • พระกรรณที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัด หมายความว่าพระองค์ทรงพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา
  • งูที่พันอยู่รอบพระอุทร แสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ
  • หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะ แสดงถึงความไม่ถือพระองค์ และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก

เทศกาลคเณศจตุรถี

เทศกาลคเณศจตุรถี

เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระองค์ทรงชนะอสูร เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน

เทศกาลคเณศจตุรถี

เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬารเพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่าง ๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่เทวรูปนับร้อยนับพันองค์

เทศกาลคเณศจตุรถี

ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี เป็นต้น แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล

เทศกาลคเณศจตุรถี

เทศกาลคเณศจตุรถี และพิธีกรรมต่าง ๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ “เอกวีสติ ปัตรบูชา” หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน