เหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธของข้าพเจ้า

April 30, 2021 shantideva edit 0

หนึ่งในคำถามที่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าสนใจที่สุดคำถามหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้าและตอบยากมากที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า คือ “เหตุใดข้าพเจ้าจึงนับถือศาสนาพุทธ” คำถามนี้เป็นประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นทั้งจากผู้คนที่รู้จักซึ่งพยายามชักชวนให้ข้าพเจ้าเข้ารีตในความเชื่อของเขา ไปจนถึงรุ่นพี่ที่น่าเคารพนับถือซึ่งไม่มีความเชื่อในศาสนาใดๆ ว่าทำไมข้าพเจ้าจึงไม่ไปนับถือศาสนาอื่นอย่าง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู อื่นฯ หรือเลือกจะเป็น เอทิสต์ ไม่ก็เป็น คนไม่นับถือศาสนา ทำไมต้องเจาะจงเลือกที่จะสัทธาในคำสอนของตถาคต-สมณโคดม แม้ในเบื้องแรกข้าพเจ้าไม่อาจจะตอบคำถามคนเหล่านั้นว่าเหตุใดข้าพเจ้าจึงนับถือในพุทธศาสนา แต่สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าแน่ใจอย่างแน่นอนเลยก็คือการนับถือศาสนาพุทธของข้าพเจ้านั้นมิใช่การเชื่อตามๆกันจากบรรพบุรุษแต่อย่างใด คำถามนี้ในกาลต่อมาจึงเป็นคำถามที่ข้าพเจ้าต้องคบคิดถึงมันอยู่ตลอดและกว่าที่ข้าพเจ้าจะได้คำตอบก็กินเวลาไปกว่า 4-5 ปีแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณอุปนิสัยแบบเลนินน้อยของข้าพเจ้าที่พยายามสรรหาคำตอบอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะได้คำตอบที่มาจากเบื้องภายในใจและมีเหตุผลมีผลดีแล้วออกมาไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ก็ตามหรือแม้แต่ชั่วขีวิต โชคดีที่คำถามนี้ไม่ใช้คำถามที่ต้องใช้เวลาขบคิดนานขนาดนั้น

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

February 15, 2021 shantideva edit 0

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด ประโยชน์ปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการน้อมตนแก่พระเจ้าทั้งกาย วาจา และใจ ตามแบบอย่างพระศาสดาพระมุฮัมมัด และโองการที่พระเจ้ากำหนดไว้ ส่วนประโยชน์อื่นที่พึงได้รับมีดังนี้ 1.เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา2.เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง3.เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ4.เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี5.เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม6.เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี7.เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์

January 11, 2021 shantideva edit 0

ประวิติพระเยซูพระเยซูประสูติเมื่อ ปีค.ศ. 1 เป็นบุตรชายของนางมารีย์ และโยเซฟ ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ที่นาซาเรธ แคว้นกาลิลี นางมารีย์ ได้หมั้นหมายไว้กับโยเซฟ ก่อนที่จะได้อยู่กินด้วยกัน ได้มีทูตสวรรค์ คือ กาเบรียลเข้าบ้านมาหานางมารีย์แล้วกล่าวว่า “ดูเถิด เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย จงตั้งชื่อบุตรนั้นว่าเยซู” ฝ่ายโยเซฟเมื่อทราบว่ามารีย์ตั้งครรภ์แล้ว ก็ไม่คิดจะแพร่งพรายเรื่องนี้ จึงคิดจะถอนหมั้นอย่างลับๆ แต่มีทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “โยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของเจ้าเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิ์ในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” โยเซฟจึงทำตามคำนั้น คือได้รับนางมารีย์มาเป็นภรรยา แต่มิได้สมสู่กับเธอ ขณะที่นางมารีย์มีครรภ์แก่ใกล้กำหนดคลอด โยเซฟได้พาภรรยาไปยังเบธเลแฮมเพื่อจดทะเบียนสำมะโนครัวจากคำสั่งของจักรพรรดิ์ออกัสตัส และเนื่องจากไม่สามารถหาโรงแรมได้ พระกุมารจึงกำเนิดขึ้น ณ รางหญ้า นางมารีย์จึงนำผ้าพันกายพระกุมารเอาไว้ คืนนั้นทูตสวรรค์ปรากฏแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาจึงตกใจมาก แต่ทูตสวรรค์กล่าวว่า “อย่ากลัวไปเลย เรามาเพื่อประกาศข่าวดี คืนนี้เองในเมืองของกษัตริย์ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็นหลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมาร มีผ้าพันกายนอนอยู่ในรางหญ้า” บรรดาคนเลี้ยงแกะ และเหล่านักปราชญ์ที่เดินทางไปเรื่อย ๆ เดินไปยังคอกสัตว์และถวายเครื่องบรรณาการสามสิ่ง คือ ทองคำสำหรับกษัตริย์ กำยาน ( เครื่องหอมคุณภาพดี) มอบแด่นักบุญนักบวช และมดยอบ (ยางไม้มีกลิ่นหอม) สำหรับผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียชีวิต เมื่อกลับมาอยู่ที่นาซาเรธ ก็ได้รับการศึกษาตามสมควร ปรากฏว่าได้แสดงความเฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ประมาณ 30 ปี ได้เริ่มสั่งสอนตามลำพัง เรียกตนเองว่าบุตรพระเจ้า ชาวยิวที่นับถือจึงเชื่อกันว่า พระเยซู คือ พระเมสสิอาห์ที่พระเจ้าโปรดให้ลงมาเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ พระองค์ทำอัศจรรย์ต่างๆมากมาย เช่น ช่วยรักษาคนเจ็บ (ขับไล่ภูตผีปีศาจ) ทำให้คนตาบอดมองเห็นได้ และสามารถปลุกคนตายให้ฟื้นคืนชีพ แต่ชาวยิวกลุ่มหนึ่งที่เคร่งครัดในศาสนาเดิมโกรธแค้นว่าพระเยซูจะทำการแบ่งแยกศาสนา ทางข้าหลวงโรมันก็เห็นว่าพระเยซูจะก่อการปฏิรูปสังคมและซ่องสุมคน จึงทำให้พระเยซูถูกกุมตัวขึ้นศาล และถูกประหารชีวิตด้วยการตรึงไม้กางเขน พระองค์สิ้นพระชนม์ ณ เนินเขาโกลโกธา (Golgotha) นอกเมืองเยรูซาเล็ม ต่อมามีข่าวลือว่าพระเยซูทรงกลับฟื้นคืนชีพ และปรากฏตัวให้บรรดาสานุศิษย์ที่จงรักภักดีได้เห็น บรรดาสาวกจึงจัดตั้งเป็นกลุ่ม เพื่อสั่งสอนศาสนาตามแนวทางของพระคริสต์ไปตามที่ต่างๆ ต่อมาคริสต์ศาสนาจึงเป็นศาสนาที่สำคัญของโล

หลักคำสอนพื้นฐานศาสนาอิสลาม

หลักคำสอนพื้นฐานศาสนาอิสลาม

January 7, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาอิสลาม มีพิธีกรรม และหลักคำสอนเพื่อให้ปฏิบัติตามดังนี้หลักศรัทธา ๖ ประการ ได้แก่ 1.ศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์ มุสลิม เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ผู้เป็น มุสลิม จะต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว 2.ศรัทธาต่อเทพบริวารของพระอัลลอฮ์ (เทวทูต) คือ ผู้รับใช้พระเจ้าซึ่งมีจำนวนมากมีหน้าที่ต่างๆ กัน เทวทูตเป็นคนกลางทำหน้าที่สื่อสาร ระหว่างท่านนบีมุฮัมมัดกับพระเจ้า กล่าวคือ ท่านนบีมูฮัมมัด ได้รับโองการจากพระเจ้าโดยทางเทวทูต ซึ่งเรียกว่า “ มลาอีกะฮ์ ” เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น แต่สามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ตามบัญชาของพระอัลลอฮ์ 3.ศรัทธาในพระคัมภีร์ทั้งหลาย คือ คัมภีร์ที่พระเจ้าได้ประทานมาก่อนหน้านี้ 104 คัมภีร์ ซึ่งรวมทั้งคัมภีร์ของศาสนายูดาย และศาสนาคริสต์ แต่ให้ถือว่าคัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์สุดท้าย และสมบูรณ์ที่สุด ที่พระเจ้าได้ประทานพรลงมาให้แก่มนุษยชาติ โดยผ่านทางศาสดามุฮัมมัด 4.ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต ศาสนทูตเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่พระเจ้าได้เลือกสรรว่าเป็นคนดี เหมาะแก่การที่จะเป็นผู้ประกาศศาสนา ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตองค์สุดท้าย 5.ศรัทธาในวันพิพากษา คือ วันสุดท้ายของโลก ชาว มุสลิม เชื่อว่าโลกมีวันแตกดับ เมื่อถึงวันนั้นมนุษย์ทุกคนต้องตาย และจะถูกทำให้ฟื้นขึ้นมา เพื่อพิจารณาโทษ ด้วยการสอบสวนพิพากษาตามความดีความชั่วที่ตนได้กระทำไว้ 6.ศรัทธาในการกำหนดสภาวะของโลก และชีวิต ว่าเป็นไปตามเจตจำนงของพระอัลลอฮ์

คุรุศาสนาในศาสนาซิกข์

คุรุศาสนาในศาสนาซิกข์

December 23, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่ยึดมั่นและเชื่อถือในพระเจ้า (วาเฮ่คุรุ) เพียงพระองค์เดียวอย่างเคร่งครัดพระศาสดาคุรึนานักเทพ (คุรุนานักเดว) พระองค์ได้สอนหลักธรรมและแนวคิดใหม่ให้กับทุกคน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หลักธรรมและแนวคิดดังกล่าวมีดังนี้1.สอนให้ทุกคนรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้2.ชี้นำทางให้ทุกคนได้เข้าถึงพระเจ้าด้วยการดำรงชีวิตและด้วยการกระทำแต่คุณงานความดี3.การเข้าถึงธรรมมะและการทำรงชีวิตตามหลักสัจธรรม ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยิ่งยโส และความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นวิถีทางในการระลึกถึงพระเจ้าอย่างแท้จริง ศาสนาซิกข์เชื่อในเรื่ององการกลับชาติมาเกิดใหม่ มนุษย์ทุกคนควรพยายามอย่างที่สุดเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏจักรของชีวิตหรือการเวียนว่ายตายเกิดด้วยการหมั่นระลึกถึงพระเจ้าและการสวดมนต์ภาวนา โดยในศาสนาสิกข์เชื่อว่าพระเจ้าคือความจริงนั่นเซิ

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาพรามณ์ ฮินดู

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาพรามณ์ ฮินดู

December 16, 2020 shantideva edit 0

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกฮินดูเรียกรวมๆว่า นิยมะ มี ๑๐ ประการ คือ1.หรี ความละอายต่อการทำความชั่ว จำไว้เสมอว่าเคยทำผิดอะไรไว้ ยอมรับว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดและพยายามแก้ไขสิ่งที่ทำผิดนั้น กล่าวขอโทษจากใจจริงต่อคนที่ตนทำผิดทั้งทางกายทางวาจาและทางใจ 2.สันโตษะ ความสันโดษ ดำเนินชีวิตด้วยความพึงพอใจ ดำรงชีวิตที่ราบเรียบ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ยิ้มเสมอ ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณที่ตนมีสุขภาพดี รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเพื่อน รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณทรัพย์สมบัติ ไม่รู้สึกขัดข้องใจในสิ่งที่ตนไม่มี คิดว่าตัวเองที่แท้คือสิ่งเป็นนิรันดรที่อยู่ภายใน ไม่ใช่ใจ ไม่ร่างกาย ไม่ใช่ความรู้สึกที่ขึ้นๆลงๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 3.ทาน การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ถือว่าเงิน ๑ ใน ๑๐ ส่วนของเงินได้ทั้งหมดเป็นเงินของพระเป็นเจ้า จงบริจาคเงินส่วนนี้ให้แก่วัด อาศรม และองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาจิตใจ มีคติประจำใจว่า ไปวัดพร้อมด้วยของถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปพบอาจารย์(ทางศาสนา)ด้วยของบูชาคุณครูอาจารย์ บริจาคคัมภีร์ทางศาสนา ให้อาหารและให้สิ่งของแก่คนยากไร้ 4.อัสติกยะ มีศรัทธาแนบแน่น เชื่อในพระเป็นเจ้าอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย เชื่อมั่นในอาจารย์(ทางศาสนา) เชื่อในเส้นทางที่จะดำเนินไปสู่โมกษะหรือความพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในคำสอนของอาจารย์(ทางศาสนา) เชื่อในคัมภีร์ทางศาสนา เชื่อในประเพณีทางศาสนาที่สืบทอดกันต่อๆมา 5.อีศวรปูชนะ ปลูกฝังความภักดีต่อพระเป็นเจ้าด้วยการบูชาและทำสมาธิทุกวัน มีห้องพระไว้ในบ้าน ๑ ห้อง ถวายดอกไม้ ผลไม้ หรือ อาหาร แด่พระเป็นเจ้า เป็นประจำทุกวัน ท่องจำบทสวดสำหรับบูชาให้ได้ ทำสมาธิหลังจากการบูชา ก่อนออกจากบ้านให้ไปไหว้พระที่ห้องพระก่อน บูชาพระเป็นเจ้าด้วยใจที่เต็มไปด้วยความภักดี เปิดช่องภายในใจของตน ให้พระเป็นเจ้า ให้เทพและให้อาจารย์(ทางศาสนา) ส่งความกรุณาเข้ามาที่ตนและคนที่ตนรักได้ 6. สิทธานตศรวณะ ฟังคำสอนจากคัมภีร์ทางศาสนา ศึกษาคำสอนและรับฟังจากอาจารย์(ทางศาสนา)ที่วงศ์ตระกูลของตนเคารพนับถือ เลือกอาจารย์แล้วดำเนินตามเส้นทางที่อาจารย์นั้นสอน อย่าเสียเวลาลองผิดลองถูกในเส้นทางอื่นๆ 7.มติ พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นโดยพึ่งอาจารย์(ทางศาสนา)ให้เป็นผู้นำทาง แสวงหาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าจนกระทั่งเกิดความสว่างขึ้นในภายใน 8.วรตะ (vrata) ปฏิบัติพรตทางศาสนาโดยไม่พยายามหลีกเลี่ยง อดอาหารตามวันที่กำหนดไว้ทางศาสนา เดินทางไปไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปีละครั้ง 9.ชปะ ท่องมนตร์เป็นประจำทุกวัน สวดบทสวดที่อาจารย์ให้ไว้เป็นประจำทุกวัน อาบน้ำก่อนแล้วจึงสงบจิตสงบใจทำสมาธิพร้อมกับท่องมนตร์จนใจจดจ่ออยู่ที่มนตร์นั้นซึ่งจะทำให้ใจมีความสะอาดผุดผ่อง จงท่องมนตร์และสวดบทสวดตามคำสั่งของอาจารย์โดยเคร่งครัด ดำรงชีวิตโดยปราศจากความโกรธ การท่องมนตร์ของตนทำให้ธรรมชาติภายในใจมีความแข็งแกร่งขึ้น จงให้การท่องมนตร์นั้นขจัดอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆออกไปจนทำให้ใจหยุดนิ่ง 10.ตปัส บำเพ็ญตบะตามคำแนะนำของอาจารย์ เพื่อขจัดความชั่วหรือกิเลสออกไปจากใจ และเพื่อจุดไฟภายในให้ลุกขึ้น ทำให้ตนภายในเปลี่ยนเป็นตนใหม่ (เข้าถึงโมกษะ)

สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗

November 25, 2020 shantideva edit 0

สัปปุริสธรรม 7 ประการเป็นคุณธรรม ความดี ที่คอยกำหนดให้คนปฏิบัติดีด้วยธรรม 7 ประการของสัปปุริสธรรม ซึ่งทุกคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ และถือปฏิบัติได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าต้องปกครองผู้คนมากมาย ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนอื่น และตนต้องมีศีลธรรมอันดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ประกอบด้วยหลักธรรมที่ 7 ประการ คือ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

November 21, 2020 shantideva edit 0

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี ๑๐ ประการ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

ฆราวาสธรรม 4

ฆราวาสธรรม 4

November 18, 2020 shantideva edit 0

หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในการสร้างความสงบสุขในสังคม หากคนในสังคมทุกคนปฏิบัติตามหลักธรรมนี้แล้ว จะทำให้เกิดความสุข และความราบรื่นในชีวิต และยังทำให้องค์กรต่างๆปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่๑. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน๒. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น๓. ขันติ ความอดทนและให้อภัย๔. จาคะ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

สังคหวัตถุ ๔

สังคหวัตถุ ๔

November 14, 2020 shantideva edit 0

สังคหวัตถุ คือ เทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้๑. ทาน การให้๒. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน๓. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์๔. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง ประโยชน์ของสังคหวัตถุ ๔สังคหวัตถุ 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว อำนวยประโยชน์ที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรมดังต่อไปดังนี้ ช่วยให้บุคคลดำรงตนอยู่ได้ในสังคมด้วยความสุข เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ สมานไมตรีระหว่างกัน เป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้มีความเคารพนับถือกันตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเครื่องประสานองค์ประกอบต่างๆ ของสังคมให้คงรูปอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี ช่วยส่งเสริมศีลธรรมและป้องกันความประพฤติเสื่อมเสียในสังคม

พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร ๔

November 10, 2020 shantideva edit 0

พรหมวิหาร ๔ ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่ ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข๒. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ๓. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี๔. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔

November 7, 2020 shantideva edit 0

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความไม่สบาย กายไม่สบายใจ ทุกข์มี 2 ประเภท คือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความคิด ความแก่ ความตาย และทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า เป็นต้น สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี 3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละตัณหา มรรค คือ ความจริงว่าด้วยวิถีทางแห่งความดับทุกข์

ขันธ์ 5

ขันธ์ 5

November 3, 2020 shantideva edit 0

ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) เป็นหลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 โดยหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม) ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา ) ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร) ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้ สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ ๖)

วันเทโวโรหณะ

วันเทโวโรหณะ

October 31, 2020 shantideva edit 0

การตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นการตักบาตรเทโวนั้นเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษา ทุกวัดในไทยจะมีการจัดพิธีการตักบาตรเทโวนี้ โดยการตักบาตรเทโวนี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญของวันนี้จะเป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง คือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา

October 26, 2020 shantideva edit 0

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดการจำพรรษา 3 เดือน (นับแต่วันที่เข้าพรรษา) โดยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งในวันออกพรรษานี้ พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา จะเป็นการได้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเมื่อถึงวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนจะยังไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโวกิจกรรมวันออกพรรษา ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาตผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ร่วมกิจกรรม ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ อี ทั้งประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามสถานที่ราชการ สถานศึกษา และวัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยา ธรรมเกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป