บทที่ ๖ ความอดทน

บทที่ ๖ ความอดทน

      ในบทนี้กล่าวถึงความสำคัญของความอดทนในการสร้างโพธิจิตให้บังเกิดขึ้นกับตนเอง โดยอาจารย์ ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า ” ความดีงามอันประเสริฐที่ได้สั่งสมมาจากการถวายความเคารพแด่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และความ โอบอ้อมอารี เป็นเวลานับพันกัป สิ่งเหล่านั้นจะถูกทำลายลงในชั่วขณะแห่งความโกรธ

      ดังนั้น ไม่มีความชั่วร้ายใดรุนแรงเท่ากับความโกรธ และไม่มีกำแพงใดดีเท่าความอดทน ดังนั้นข้าจึงควรเพียรพยายามโดยวิธีต่างๆ เพื่อมีสมาธิอยู่กับความอดทน ” นั่นคือความอดทนนั้น เป็นความดีงามอันประเสริฐ และเป็นการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอันเลิศ ที่คอยปกป้องตัวเรา และนำเราให้ซึมซับกับคุณลักษณะอันงดงามแฝงไว้อยู่ในสรรพสิ่งรอบกาย ขณะความโกรธและความเกลียดชังนั้น กลับนำมาซึ่งความเร่าร้อน ทุกข์ทรมาณตั้งแต่ในขณะปัจจุบันนี้ จนถึงชีวิตหน้าเลยทีเดียว

      ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ลองสังเกตุเวลาที่เราโกรธ ในชั่วขณะ นั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่ความสุขและสันติจะบังเกิดขึ้นในจิตใจ ในใจจะเต็มไปด้วยความรุ่มร้อน จะส่งผลมาถึงทางกายทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้น รู้สึกเครียด ไม่สบายกายไม่สบายใจไปเลย ในทันที และหากความโกรธนี้ได้รับการสั่งสม มากเข้า ๆ จะประทับไว้ในจิต จนกลายเป็น อุปนิสัยที่โกรธง่ายเกลียดง่ายด้วยแล้ว ในทางตันตระกล่าวกันว่า ความโกรธความเกลียดชังนี้ จะสั่งสมจนนำไปสู่ความทุกข์ทรมาณถึงชีวิตหน้าเลยทีเดียว

      อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความโกรธ ความเกลียดชัง เป็นความชั่วร้ายอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาทาง จิตวิญญาณของตัวเรา แต่มิได้หมายความว่ามันจะมีอานุภาพที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราจะขจัดมัน ไปได้ ดังนั้น อาจารย์ศานติเทวะจึงสั่งสอนไว้ว่า ให้เพียรปฏิบัติความอดทนเพื่อการสร้างสม บารมี โดยเริ่มปฏิบัติด้วยความอดทนต่อ สิ่ง เล็กๆ น้อยๆ ก่อน จากนั้นค่อย ๆ ขยายความ อดทน อดกลั้นต่ออุปสรรคหรือความทุกข์ยากใด ๆ ที่ยิ่งใหญ่ขึ้น โดยวิธีนี้จะค่อยพัฒนาตัวเรา ต่อการปฏิบัติเพื่อสร้างสมขันติบารมีที่ยิ่งใหญ่ขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อใดก็ตามที่อุปสรรคหรือความทุกข์ยากบังเกิดขึ้นกับตัวเรา

      จงอย่าได้ กล่าวโทษผู้อื่น เพราะหากเรามีความมานะพยายามเพื่อความเป็นอิสระไม่ผูกมัดตนอยู่กับประโยชน์ ทางวัตถุ และเกียรติยศ อุปสรรคและความทุกข์ยากเหล่านั้นก็เหมือนดั่งประตูที่เปิดใหเราได้ ฝึกฝนสู่ภาคปฏิบัติโดยแท้ เพราะโดยปกติแล้วยามใดก็ตามที่มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิต ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมมองย้อนว่าปัญหาหรือความผิดพลาดเหล่านั้น เกิดจากตนเองแต่มัก จะโยน ปัญหาหรือความผิดพลาดเหล่านั้นให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ย่อมนำมาซึ่ง ความโกรธ ความเกลียดชัง และสถานะการณ์เลวที่ร้ายลงยิ่งขึ้น ไปอีก แต่หากลองตั้งสติแล้ว มองย้อนไปใหม่ว่า สิ่งเหล่านั้นคือปัจจัยแห่งความอดทน เพราะเมื่อใดที่เกิดความท้อแท้ใจ ความหยิ่งยโสยึดมั่นในอัตตาตัวตนก็จะมลายไปด้วย แต่หากเราล้มเหลวที่จะอดทนต่อภาวะที่ ไม่พึงปรารถนา ก็เท่ากับว่าตัวเราเองเท่านั้นที่เป็นผู้ขัดขวางตนเอง ที่จะปฏิบัติเพื่อการสร้างสม บารมี ที่จะได้รับชัยชนะในการละวางความทุกข์ยากได้ทั้งปวง