พระภัททากัจจานาเถรี

พระภัททากัจจานาเถรี

March 9, 2021 shantideva edit 0

พระภัททากัจจานาเถรี หรือพระนามเดิม พระนางยโสธรา (พระนางพิมพา หรือ พระนางยโสธราพิมพา) เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณี และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด พระภัททากัจจานาเถรี ประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งนับพระนางเป็น 1 ในสหชาติทั้ง 7 ของพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วย* พระภัททากัจจานาเถรี หรือ พระนางยโสธรา* พระอานนท์* พระฉันนะ* พระกาฬุทายีเถระ* ม้ากัณฐกะ* ต้นพระศรีมหาโพธิ์*ขุมทรัพย์ทั้งสี่ พระนางยโสธราเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระมารดามีพระนามว่าพระนางอมิตาเทวี ประสูติในโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เมื่อแรกประสูติพระญาติทั้งหลายได้ทรงถวายพระนามว่า “ภัททากัจจานา” เพราะพระสรีระของพระองค์ มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์ พอมีพระชนม์ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีพระชนม์ 29 พรรษาได้ประสูติพระราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่าพระราหุล สนับสนุนข้อมูลโดย ดูซีรีย์ฝรั่ง netflix

พระปิณโฑลภารทวาชเถระ

March 5, 2021 shantideva edit 0

พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ชาวเมืองโกสัมพี ต่อมาอาศัยในกรุงราชคฤห์ นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญของ พระพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า ท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้บันลือสีหนาท ประวัติพระปิณโฑลภารทวาชเถระ เดิมเป็นพราหมณ์ในพระนครโกสัมพี แคว้นวังสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ปุโรหิต ของพระเจ้าอุเทน ชื่อว่า ภารทวาชโคตร ท่านมีชื่อตามโคตรของท่านว่า ภารทวาชมาณพ เมื่อเจริญวัย ได้ศึกษาเล่าเรียน จนจบไตรเภท ได้ตั้งตนเป็นอาจารย์บอกศิลปวิทยาแก่มาณพทั้ง 500 คน ต่อมาท่านได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงอบรมท่านให้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในการบริโภค ด้วยอุบายวิธี แต่นั้นท่านจึงเริ่มบำเพ็ญความเพียร ตั้งอารมณ์วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ได้อภิญญา ๖ ในวันบรรลุพระอรหัต ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย ในมรรคหรือผล การไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในภัต ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสาร

March 2, 2021 shantideva edit 0

พระปรมาภิไธย : พระเจ้าพิมพิสารพระอิสริยยศ : พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธราชวงศ์ : ราชวงศ์หรยังกะครองราชย์ : 50 ปีก่อน พ.ศ. – 2 ปีก่อน พ.ศ.รัชกาล : 52 ปีรัชกาลก่อน : พระเจ้าภัททิยะรัชกาลถัดไป : พระเจ้าอชาตศัตรูวัดประจำพระองค์ : วัดเวฬุวันมหาวิหารพระราชสมภพ : ราว 558 ก่อน ค.ศ.สวรรคต : ราว 491 ก่อน ค.ศ. ณ คุกหลวงเมืองราชคฤห์ (ถูกทำรัฐประหาร)พระราชบิดา : พระเจ้าภัททิยะพระอัครมเหสี : เวเทหิพระราชบุตร : พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี มีพระอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระโคตมพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ได้พระกนิษฐา ของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรส นามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู)

พระเจ้าสุทโธทนะ

พระเจ้าสุทโธทนะ

February 26, 2021 shantideva edit 0

พระเจ้าสุทโธทนะ หรือเรียกกันอีกนามว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์ สุทรรศน์ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ เป็นพุทธบิดาของ พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุ กับพระนางกัญจนามีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจาก พระสิทธัตถราชกุมาร ประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายา ก็สวรรคต พระสุทโธทนะ จึงอภิเษกสมรสใหม่ กับพระนางมหาปชาบดี หรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐา ร่วมชนนี กับพระนาง สิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ มีพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมืองประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวัง ที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์

สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)

สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)

February 22, 2021 shantideva edit 0

นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี นางเป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาส พร้อมถาดทองคำ แก่พระโคตมพุทธเจ้า หลังพระพุทธเจ้าได้เสวย ข้าวมธุปายาสแล้วจึงขึ้นประทับ ณ โพธิบัลลังก์ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ก่อนประกาศธรรมอันประเสริฐแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ ต่อมาบุตรชายคนโตสุชาดานามว่า ยสะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนนางสุชาดาและสะใภ้ก็บรรลุโสดาบัน เช่นกัน นางสุชาดาเป็นอุบาสิกาคนแรกในพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าทรงยกย่อง นางสุชาดาเป็นเอตทัคคะผู้ถึงสรณะก่อน นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีการ สันนิษฐานถึงที่ตั้งของบ้านนางสุชาดาคือสุชาตาสถูปในหมู่บ้านพักเราร์ใกล้พุทธคยา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวง ต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนางโดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ1.ขอให้ได้สามีที่มีบุญ มีทรัพยสมบัติ และชาติสกุลเสมอกัน2.ขอให้มีบุตรคนแรกเป็นชาย ถวายข้าวมธุปายาส ขณะนั้นพระโคตมโพธิสัตว์เลิก อัตตกิลมถานุโยค หันมาเสวยพระกระยาหาร หวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ต้นไทรนั้น ผินพระพักตร์ ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็น ปริมณฑลดูงามยิ่งนัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงเป็นเทวดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับเครื่องพลีกรรม จึงมิได้เข้าไปทำความสะอาดดังที่ตั้งใจมา รีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดาโดยด่วนฝ่ายนางสุชาดาจึงรีบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงาม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูล ศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดี สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา มานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

February 19, 2021 shantideva edit 0

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราช ธิดาในพระเจ้าอัญชนาธิป ราชแห่งกรุง เทวทหะ แคว้นโกลิยะ และเป็นพระขนิษฐ ภคินี(น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็น พระพุทธมารดา ดังนั้นพระนาง มหาปชาบดีโคตมี จึงเป็นพระมาตุจฉาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ทรงเป็นภิกษุณี รูปแรกในพระพุทธศาสนา และทรงได้ เรียนกรรมฐาน และทรงปฏิบัติอ ย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศ กว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน) พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวช ต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูร ญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้ สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลี และประทับอยู่ที่ กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยเหล่า นางสากิยานี จำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนา ที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยัง กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านาง สากิยานี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออก หลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือ ครุธรรม 8 ซึ่งพระนาง มหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านาง สากิยานี หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี ได้ทรงเรียนกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน และปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน

พระราหุล

พระราหุล

February 12, 2021 shantideva edit 0

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทาน ออกมาว่า “ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง” แปลว่า “‘ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้น แล้ว” หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ ไว้กับ ภริยา และ ชีวิต ฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมาร ทรงตั้งพระนาม โอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า “ราหุล” อันแปลว่า “บ่วง” คุณธรรมที่ควรยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง มีความอดทนเป็นเยี่ยม คือบรรพชาตั้งแต่อายุ 7 ปี ต้องอดอาหารในเวลาวิกาล ตั้งแต่ เที่ยงจนถึงรุ่งเช้า ตามปกติของพระภิกษุสามเณรในสมัยพุทธกาล เป็นผู้ว่าง่ายถ่อมตน ไม่ถือตัว เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

February 8, 2021 shantideva edit 0

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการจัดพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ในรัชกาลที่ 10งานพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ได้จัดขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น. ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับแจ้งการพิจารณาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ว่าทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระมหามุณีวงศ์ วัดราชบพิธ ขึ้นรับตำแหน่งดังกล่าวท่านนายกรัฐมนตรี จึงได้ชี้แจงให้สื่อมวลชนได้ทราบโดยทั่วกันในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ประวัติ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20ชื่อเดิมของสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ชื่อว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดในครอบครัวที่มีอาชีพค้าขายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ณ ต. บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี มีโยมบิดาชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อ นางตาล ประสัตถพงศ์ เข้าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ต.โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี การบรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2480 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท)เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) และมีพระกรรมวาจาจารย์ คือ พระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) ตำแหน่งปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม กรรมการคณะธรรมยุต กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) แม่กองงานพระธรรมทูต สมณศักดิ์ พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

ประวัติพระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า

February 4, 2021 shantideva edit 0

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ได้ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ พระโกณฑัญญะบรรลุเป็นพระโสดาบัน และกราบทูลขอบวช นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้เสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปเป็นเวลานานกว่า 45 พรรษา จนกระทั่งปรินิพพาน ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยสลับกัน เนื่องจากการส่งเสริมของผู้มีอำนาจปกครองในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาพรวมแล้ว พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา โดยศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในเอเชียกลาง จีน เกาหลี ในขณะที่ศาสนาพุทธได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในญี่ปุ่น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น และได้มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ “องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก” สนับสนุนข้อมูลโดย  ดูหนังออนไลน์

พระสีวลีเถระ

พระสีวลีเถระ

January 28, 2021 shantideva edit 0

พระสีวลีเถระ หรือพระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมาก ด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น เอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก พระสีวลีเถระในความเชื่อของคนไทย เนื่องจากพระสีวลีเถระเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก คนไทยเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาพระสีวลีเถระแล้ว จะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งคนไทยก็เชื่ออีกว่าเคยมีผู้หนึ่งเคยได้รับมาแล้วในสมัยพุทธกาลก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเกิดในตระกูลพ่อค้ามีนามว่า สุภาวดี นางได้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และนับถือพระสีวลีเถระเป็นอย่างยิ่ง เมื่อแม่นางได้ฟังธรรมจนลึกซึ้ง พระสีวลีก็ให้ศีลและให้พรว่า”จงเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน เงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมาสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยเถิด” หลังจากที่นางสุภาวดีได้รับพรจากพระสีวลีเถระแล้ว ไม่ว่านางและผู้เป็นบิดามารดาจะไปค้าขายที่ใด ก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีแต่กำไรหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป ซึ่งนางสุภาวดีนั้นได้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือนางกวักนั่นเอง

คัมภีร์ศาสนาอิสลา

คัมภีร์ศาสนาอิสลา

January 4, 2021 shantideva edit 0

ในคัมภีร์อัลกุรอาน “แท้จริงศาสนาแห่งอัลเลาะห์นั้น คือ ศาสนาอิสลาม” แสดงว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ศาสนา ที่มนุษย์ตั้งขึ้น คำสอนในศาสนาอิสลา ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดามูฮำหมัด พระศาสดามูฮำหมัด มิได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามขึ้น พระองค์ เป็นเพียงผู้รับเอา ศาสนาอิสลาม อันเป็นของพระอัลเลาะห์ มาประกาศเผยแพร่แก่มนุษยชาติเท่านั้น ศาสนาอิสลามมีคำสอนว่า พระอัลเลาะห์ ทรงสร้างโลก และสรรพสิ่งในจักรวาล ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกของโลก คือ อาดัมและเฮาวาฮ์ (อาดัมกับอีวา หรืออีฟ ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์) พระองค์ได้ตรัสว่า “โออาดัม เจ้าและพรรยาของเจ้า จงพำนักอยู่ในสวรรค์ และเจ้าทั้งสองจงกินของในนั้นได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องหวงห้าม ตามที่เจ้าทั้งสองต้องการ แต่จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้ เพื่อเจ้าทั้งสอง จะได้ไม่เป็นพวกทรยศ” แต่แล้วมารร้าย ก็ได้ใช้อุบายหลอกลวง ให้มนุษย์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระผู้เป็นเจ้า พระอัลเลาะห์ จึงทรงขับไล่ อาดัม และเฮาวาฮ์ไม่ให้อยู่ในสวรรค์ ให้ลงมาอยู่ ณ หน้าแผ่นดิน พระผู้เป็นเจ้า ทรงส่งพระศาสนทูต (รอซูล) ลงมาสั่งสอนมนุษย์เป็นครั้งคราว ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากพระอัลเลาะห์ให้มาเป็นพระศาสนทูต นับแต่อาดัม ซึ่งถือว่าเป็นพระศาสนทูต คนแรก จนถึงพระศาสดามูฮำหมัด ศาสดาคนสุดท้าย มีจำนวนมากด้วยกัน แต่ที่ระบุชื่ออยู่ในพระคัมภีร์อัลกรุรอานนั้น มี 25 ท่าน ในจำนวนนี้ ที่จัดว่าเป็น พระศาสนทูต มี 5 ท่าน คือ นูห์ หรือโนอา อิบรอฮิม หรืออับราฮัม มูซา หรือโมเสส (ศาสดาของศาสนายิว) ฮีซา หรือเยซู (ศาสนดาของศาสนาคริสต์ มูฮำหมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม)

คำภีร์ ศาสนาพรามณ์ฮินดู

คำภีร์ ศาสนาพรามณ์ฮินดู

December 6, 2020 shantideva edit 0

คัมภีร์พระเวท มี 3 คัมภีร์ เรียกว่า “ไตรเวท” คือ1.ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย บรรดาเทพเจ้าที่ปรากฏในฤคเวทสัมหิตามีจำนวน 33 องค์ ทั้ง 33 องค์ ได้จัดแบ่งตามลักษณะของที่อยู่เป็น 3 กลุ่ม คือ เทพเจ้าที่อยู่ในสวรรค์ เทพเจ้าที่อยู่ในอากาศ และเทพเจ้าที่อยู่ในโลกมนุษย์ มีจำนวนกลุ่มละ 11 องค์ 2.ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยสูตรสำหรับใช้ในการประกอบยัญพิธียชุเวทสัมหิตา แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ2.1 ศุกลชุรเวท หรือ ยชุรเวทขาว ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์ หรือคำสวดและสูตรที่ต้องสวด2.2 กฤษณยชุรเวท หรือ ยชุรเวทดำ ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบยัญพิธีบวงสรวง ตลอดทั้งคำอธิบายในการประกอบพิธีอีกด้วย 3.สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท ในจำนวนนี้มีเพียง 75 บท ที่มิได้ปรากฏในฤคเวท ส่วนอาถรรพเวท หรือที่เรียกกันว่า อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่างๆ อาถรรพเวท (Atharvaveda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์ คาถาต่างๆ ต่อมาคัมภีร์ทั้งสี่ได้กลายมาเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่รวมพระเจ้าในทุกสิ่งอย่างจึงปรากฏว่า มีพระเจ้ามากมาย

บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา !!

March 19, 2020 shantideva edit 0

พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาสอินทปัญโญ) พุทธทาสภิกขุหรือพระธรรมโกศาจารย์ นามเดิมเงาะพานเกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในวันอาทิตย์ที่ ๒๙๔ พ.ย. ๔๔ พรรษาพานเรียงอ. ไชยาจ. สุราษฎร์ธานีอุปถัมภ์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคมพ. ศ. .๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้นน. ธ . เอก, ป.ธ. ๓ ได้รับการจัดสวนที่อ. ไชยาเมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา “พุทธทาส” แทนนามเดิม แต่ท่านมาแล้วพุทธทาสภิกขุอุทิศตนรับการปล่อยตัวจากการแผ่รังสีแห่งศาสนาอิสลาม วันพฤหัสบดีที่ ๓ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) พระโพธิญาณเถระ หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านก่อ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อุปสมบทแล้วท่านได้อุทิศตนศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง แล้วจึงจาริกออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร จนเมื่อได้เวลาอันสมควร คือ พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกลับมาก่อตั้งวัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสีที่บ้านเกิด โดยมีท่านเองเป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้เริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา แก่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้ก่อตั้งวัดป่านานาชาติเพื่อเป็นวัดนานาชาติสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา นับแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันวัดหนองป่าพงมีสาขาอยู่ทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐ สาขา หลวงปู่ชามรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ นับว่าเป็นพระมหาเถระที่มีผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ) พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ) นามเดิม พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อ เมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์ ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้ เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสิ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เมื่ออายุ 16 ปี หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ รอนแรมไปในป่า เป็นเวลาเดือนกว่า จึงถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ไปบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์ลุย บ้านดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมชั้นตรี ได้ในปีที่มีอายุครบ ๒๐ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง อุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี นับเป็นลูกศิษย์ ที่สำคัญยิ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต องค์หนึ่ง ท่านได้อุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญธรรมด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน หลวงปู่ฯ ได้บำเพ็ญกรณียกิจ …..อ่านต่อ

ศาสดาของศาสนาพุทธ

July 6, 2019 shantideva 0

ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ และเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา มีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ จวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน

พระพุทธทาสภิกขุ

บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา(พระพุทธทาสภิกขุ)

July 4, 2019 shantideva 0

พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ เริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม ที่ อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา “พุทธทาส” แทนนามเดิมนับแต่นั้นมา ท่านพุทธทาสภิกขุอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงแก่มรภาพอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ ก.ค. ๒๕๓๖ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย