บทที่ ๕ ความมีสติ

บทที่ ๕ ความมีสติ

      ความมีสติ เมื่อเราได้ตั้งมั่นที่จะปฏิบัติตนตามวิถีแห่งพระโพธิสัตต์ ยึดมั่นในครรลองแห่งโพธิสัตต์ศีล สิ่งที่เราต้องระวัง คือเราพึงรักษาจิตโดยตั้งใจ เพราะหากเรามิอาจรักษาจิตให้มีสติรู้ตัวได้แล้ว เราย่อมไม่อาจรักษาทางปฏิบัติ ของเราได้เช่นกัน

      หากเปรียบไปแล้ว จิตของเราเป็นได้ดั่งช้างตกมัน นำมาซึ่งอันตรายได้รอบด้าน เว้นเสียแต่ช้างตกมันใน จิตใจของเรานั้นจะถูกล่ามด้วยเชือกแห่งความมีสติรอบด้าน นั่นคือเราสามารถฝึกจิตของเราให้กำหราบ ช้างตกมันในใจเราได้ ก็มิมีสิ่งใดหรือผู้ใดจะมายั่วเย้าให้ช้างตกมันในจิตของเราเกิดขึ้นมาได้อีก

      ความทุกเร่าร้อนในขุมนรก และเปรตอสุรกายทั้งหลายนั้น จริง ๆ แล้ว เกิดขึ้นมาจากที่ใด ยังมีขุมนรกที่ มีผู้ลงทัณฑ์ และผู้ถูกลงทัณฑ์อยู่หรือไม่ ในเรื่องนี้อาจารย์ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า ใครเล่าตั้งใจสร้างอาวุธ ทั้งหลายในนรก ใครเล่าสร้างพื้นดินอันเป็นเหล็กเผาร้อน บรรดาผู้ลงทัณฑ์ และผู้ถูกลงทัณฑ์ในขุมนรก เกิดขึ้นจากที่ใด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครเป็นผู้สร้างเลย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำของอกุศลจิต ความทุกข์ในนรกนั้นมิใช่สิ่งใดเลยนอกจากความทุกข์ในจิตของเราเอง และการรู้แจ้งที่ไม่ได้อยู่แห่งหน ใดเลย นอกจากอยู่ภายในจิตเราเอง

      ดังนั้นภายในสามโลก จึงไม่มีสิ่งใดน่ากลัวไปกว่าจิตของเราเอง ด้วยจิตของเรานี้เองที่สามารถบันดาล ได้ทั้งนรกและสันติสุขของการรู้แจ้งให้บังเกิดขึ้นต่อเรา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความมีสติที่จะคอย ดูแลกำกับจิตของเรา ให้การกระทำใด ๆ ของเราที่จะตามมาเป็นไป แต่ในทางอันเป็นกุศลในที่สุด

      อาจารย์ศานติเทวะ กล่าวไว้ว่า ” ดุจดังผืนแผ่นดินที่เต็มไปด้วยกรวดหิน และขวากหนามยากยิ่งจะ ก้าวเดินไป แต่เราจะไปหนังสัตว์จำนวนมากให้เพียงพอได้อย่างไร เพื่อห่อหุ้มผิวโลกทั้งมวล แต่การ ใส่รองเท้าพื้นทำด้วยหนัง ก็มีผลเท่ากับห่อหุ้มผิวโลกทั้งมวลด้วยหนังเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะไปห้ามเหตุการณ์ภายนอกของสรรพสิ่งทั้งปวง แต่หากเราสามารถห้ามจิตของเราเองได้แล้ว เราจะต้องไปห้ามเหตุภายนอกทำไม

นั่นคือหากยามใดที่เราขาดสติแล้ว เราก็ตกอยู่ในความประมาท เมื่อเราอยู่ในความประมาท ก็ย่อม เป็นการง่ายที่จะก่ออกุศล และก้าวเดินไปหนทางที่ผิด ดังนั้นเราจึงพึงยึดมั่นและรักษาจิตโดยดี เพราะ หากเราไร้สติ ไร้วินัยในการรักษาจิตแล้ว การรักษาศีลข้ออื่น ๆ ก็ย่อมจะไร้ความหมาย และการมีสตินั้นควรจะมีอยู่ในทุกขณะจิตของการกระทำในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือ ใจ เพราะหากไร้ซึ่งสติแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของเราก็ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ทน รุ่มร้อนต่อตัวเราเองและผู้อื่นโดยง่าย