บทที่ ๔ ความตระหนัก
ในบทที่ ๔ นี้ ความตระหนัก แสดงการพยายามตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้มั่นคงตามแนวโพธิสัตต์ มรรค เพราะหลังจากที่เราตั้งปณิธานที่จะน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์ ถือสัจจะตามโพธิสัตต์ศีล เพื่อยัง ประโยชน์ แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงแล้วในบทที่ ๓ จากนั้นเราต้องนำปณิธานของเราไปสู่ภาคปฏิบัติอย่าง แท้จริง
เมื่อเราได้ศึกษาคุณค่าแห่งโพธิจิต จนเกิดความศรัทธาที่จะดำเนินตามครรลองของวิถีโพธิสัตต์ เราควรมี การสำรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งสภาพและจิตของเรา พร้อม ๆ กับหมั่นเพียรศึกษาเพิ่มเติมด้วยความมีปัญญา เพื่อให้เข้าใจและตระหนักอย่างถ่องแท้ถึง คุณความดีแห่งโพธิจิตและโพธิสัตต์มรรค เพราะคงไม่ใช่เรื่อง ฉลาดเลย หากเราจะเกิดความศรัทธาและเลือกที่จะปฏิบัติตามโพธิสัตต์มรรคเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เนื่อง จากเพียงเพราะเชื่อตามคำชักชวนของผู้อื่นโดยไม่มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ ดังนั้นสำหรับผู้มีปัญญาแล้ว เมื่อได้ใช้ปัญญาของตนศึกษาพิจารณา จนเกิดศรัทธาที่จะน้อมรับโพธิจิต ตั้งมั่นอยู่บนวิถีโพธิสัตต์ย่อม ไม่คิดหวนคืนกลับ จุดนี้เองคือความสำคัญยิ่งของการตั้งมั่นอยู่บนวิถีนี้
ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจรับโพธิสัตต์ศีล เราควรจะศึกษาและตรวจสอบตัวเราให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น และ เมื่อตัดสินใจที่จะก้าวเดินต่อไปตามวิถีนี้แล้ว ก็ต้องพยายามตระหนักในตนเองที่จะไม่หวนกลับ เพราะ เมื่อเราได้ตัดสินใจที่จะมุ่งสู่การตรัสรู้เพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ และตั้งมั่นที่จะถือศีลโพธิสัตต์ แต่ต่อ มากลับประพฤติ ตนผิด ไปจากปณิธานอันงามสง่าของตน แต่เรายังได้ทรยศต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง เพราะ เราได้ผิดสัญญาที่จะปกป้อง และปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากห้วงทุกข์
นั่นคือผู้ที่อยู่บนวิถีโพธิสัตต์ย่อมพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผองเพื่อน สรรพสัตว์์ือย่างมีปัญญา และการ ที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นได้ ก็จำเป็นที่จะต้องหมั่นศึกษาเพิ่มเติมและตรวจสอบทั้งสภาพกายและจิต ของตนเองให้เกิดความตระหนักอยู่เสมอที่จะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และพยายามที่จะไม่ก่อ อกุศลกรรมแก่ผู้ใด