ศานติเทวะ (Shantideva)

ศานติเทวะ

ประวัติของอาจารย์ ศานติเทวะ (Shantideva)

เกิดเมื่อ: พ.ศ. 1228, ประเทศอินเดีย
เสียชีวิตเมื่อ: พ.ศ. 1306, ประเทศอินเดีย
ได้รับอิทธิพลจาก: พระโคตมพุทธเจ้า, นาคารชุนะ, จันทรกีรติ

      ศานติเทวะ เป็นปราชญ์ชาวอินเดีย กวีและผู้แต่ง โพธิจรรยาอวตาร ว่าด้วยการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์สิบบท ศานติเทวะมีวรรณะพราหมณ์ประวัติของอาจารย์ ศานติเทวะ

      ศานติเทวะ เป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าชีวิตของท่านเริ่มต้นด้วยการเป็นเจ้าชาย ประสูติในเบงกอล (Bengal)

      แต่ต่อมาได้สละราชสมบัติและเริ่มออกแสวงหาคุรุทางจิตจิตวิญญาณ ได้เรียนรู้ศึกษาจากคุรุหลายท่าน จนในที่สุดก็ได้มาศึกษา ปฏิบัติ เรียนรู้ศาสตร์ทั้งหลายอย่างสมบูรณ์ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ดังทีสุดในยุคนั้น เล่ากันต่อว่าอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว โดยได้ร่ำเรียนถ่ายทอดวิชาโดยตรงจากพระโพธิสัตต์ซึ่งจะมาสอนในตอนกลางคืน และด้วยเหตุที่อาจารย์ศานติเทวะดำเนินชีวิตอย่างสมถะและถ่อมตัวที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีใครสนใจและไม่มีใครเห็นว่าอาจารย์ศานติเทวะเป็นบุคคลพิเศษที่บรรลุธรรมแล้วคนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยนาลันทาต่างพากันคิดว่า ศานติเทวะเป็นคนต่ำต้อย ไร้ค่า ไม่ทำตัวให้เกิดประโยชน์ อันใดต่อมหาวิทยาลัยสงฆ์เลย มีแต่จะทำให้อาหารของสงฆ์สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์เท่านั้น 

      จนกระทั่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้มาประชุมกันและเห็นพ้องต้องกันว่า ” อาหารและปัจจัยของหมู่สงฆ์ต้องถูกจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แตะพระรูปนี้(หมายถึงพระอาจารย์ศานติเทวะ) กลับทำตัวไร้ค่ามีแต่กินและนอนเท่านั้น แสดงว่าพระรูปนี้ต้องสะสมกรรมชั่วมานาน และกำลังจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้นเราต้องหาทางกำจัดเขาให้ออกไปจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ของเรา”

      ในทุก ๆ เดือนที่มีการประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ที่เหล่าอาจารย์จะต้องมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ด้วยความไม่รู้ที่ว่าแท้จริงแล้วอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว เนื่องจากลักษณะภายนอกที่ดูต่ำต้อยที่ท่านแสดงออก สงฆ์เหล่านั้นจึงวางแผนกันว่าจะนิมนต์ให้ศานติเทวะขึ้นอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ซึ่งเชื่อว่าอาจารยืศานติเทวะจะต้องทำไม่ได้ และจะต้องรุ้สึกอับอายเป็นอย่างมาก สุดท้ายต้องออกไปจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้

      จากการที่เหล่าสงฆ์ได้ร่วมกันวางแผนที่จะกลั่นแกล้งอาจารย์ศานติเทวะให้ได้รับความอับอาย ด้วยการนิมนต์ให้ท่านขึ้นมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม และเพื่อจะทำให้อาจารย์ศานติเทวะรู้สึกอับอายมากขึ้น สงฆ์เหล่านั้นก็จงใจตั้งธรรมาสน์ให้สูง แล้วนิมนต์อาจารย์ศานติเทวะขึ้นนั่งแสดงธรรม ซึ่งท่านก็ตอบรับคำนิมนต์นั้น

      แต่ทันทีที่ท่านเอื้อมมือไปแตะธรรมมาสน์นั่นเอง ธรรมาสน์ที่เคยสูงก็กลับค่อย ๆ เลื่อนลดต่ำลงมาให้อาจารย์ศานติเทวะขึ้นนั่งได้อย่างสะดวก แล้วก็หันกลับไปถามเหล่าสงฆ์ว่า

พวกท่านต้องการจะฟังพระสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือ จะฟังอะไรใหม่ ๆ

      เหล่าสงฆ์พากันประหลาดใจอย่างมาก แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าอาจารย์ศานติเทวะไม่มีความรู้ใด ๆ จึงพากันขอให้ท่านแสดงอรรถกถาของตัวท่านเอง และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำสอนใน”โพธิสัตตวจรรยาวตาร” และเมื่อท่านแสดงจนถึงบทที่ว่าด้วยปัญญา ตัวท่านก็ลอยสูงขึ้น สูงขึ้นไปในอากาศจนกระทั่งหายลับไป เมื่อเหล่าสงฆ์ได้ฟังคำสอนเรื่อง “โพธิสัตตวจรรยาวตาร” ก็รู้สึกเสียใจที่คิดและแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่ออาจารย์ศานติเทวะ จึงพากันออกตามหาท่านแต่ก็ล้มเหลว

      จนกระทั่งก็มีผู้ไปพบอาจารย์ศานติเทวะบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง ผู้คนและคณะสงฆ์ที่ออกตามหาก้พากันไปเฝ้าดู และสังเกตุเห็นว่ามีกวางตัวหนึ่งเดินหายเข้าไปในถ้ำที่อาจารย์ศานติเทวะพำนักอยู่ โดยไม่กลับออกมาอีกเลย ทุกคนจึงพากันคิดว่าอาจารย์ศานติเทวะต้องฆ่ากวางเพื่อเอาเนื้อมากินแน่ จึงพากันเดินขึ้นไปบนถ้ำเพื่อจะเข้าไปทำร้ายท่าน แต่เมื่อถึงปากทางเข้าถ้ำ ปรากฎว่ามีกวางจำนวนมากมายตบแต่งด้วยเครื่องประดับอันสวยงามพากันเดินออกมาจากถ้ำโดยมีอาจารย์ศานติเทวะเดินตามมารั้งท้าย

      แท้ที่จริงแล้ว การที่กวางเหล่านั้นหายเข้าไปในถ้ำเป็นเวลานาน ๆ ก้เพื่อไปฟังธรรมจากอาจารย์ศานติเทวะนั่นเอง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายและเหล่าสงฆ์ต่างก็รู้สึกละอายใจ และพากันไปสารภาพผิดต่ออาจารย์ศานติเทวะและขอให้อาจารย์ศานติเทวะเมตตาถ่ายทอดธรรมให้นับตั้งแต่นั้นมา

      สำหรับคำสอนในเรื่อง โพธิสัตตวจรรยาวตาร ของอาจารย์ศานติเทวะนี้ ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะคำสอนในเรื่องการสอนโพธิจิต อันเป็นรากฐานที่สำคัญสู่เส้นทางเดินแห่งโพธิสัตตมรรค ถึงยุคสมัยก่อนนั้น ไม่เคยมีใครได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย

      อย่างไรก็ตามคำสอนโพธิสัตตวจรรยาวตารก็มิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน เพียงแต่โพธิสัตตวจรรยาวตารนี้เป็นอรรถกถาอาจารย์ศานติเทวะตามความรู้และการปฏิบัติตามที่ท่านได้ทำมา

ในบทนำของโพธิสัตตวจรรยาวตาร อาจารย์ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า

อรรถกถาเหล่านี้อาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่อย่างน้อยที่สุดอรรถกถาเหล่านี้เอื้อประโยชน์อย่างสูงต่อตัวอาตมา และสารธารแห่งจิตของอาตมา

      การที่อาจารย์ศานติเทวะกล่าวเช่นนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นวิถีแห่งอาจารย์เชิงพุทธธิเบตที่จะพยายามลดทิฐิมานะ ยึดมั่นในอัตตาตัวตนของตนเองออกเสียและยกย่องผู้อื่นด้วยความนอบน้อมถ่อมตนเพื่อเป็นหนทางในการช่วยขจัดทิฐิมานะหยิ่งทะนงในอัตตาตัวตนออกไปเสีย

goldenslot

ดูหนังออนไลน์