กุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ ๑๐

November 28, 2020 shantideva edit 0

กุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งกรรมดี ทางทำดี ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ 10 ประการ 1.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง2.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย3.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามทั้ง 3 นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก 4.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ5.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด6.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ7.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อทั้ง 4 นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมทั้ง 3 นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก

สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗

November 25, 2020 shantideva edit 0

สัปปุริสธรรม 7 ประการเป็นคุณธรรม ความดี ที่คอยกำหนดให้คนปฏิบัติดีด้วยธรรม 7 ประการของสัปปุริสธรรม ซึ่งทุกคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ และถือปฏิบัติได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าต้องปกครองผู้คนมากมาย ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนอื่น และตนต้องมีศีลธรรมอันดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ประกอบด้วยหลักธรรมที่ 7 ประการ คือ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

November 21, 2020 shantideva edit 0

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี ๑๐ ประการ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

ฆราวาสธรรม 4

ฆราวาสธรรม 4

November 18, 2020 shantideva edit 0

หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในการสร้างความสงบสุขในสังคม หากคนในสังคมทุกคนปฏิบัติตามหลักธรรมนี้แล้ว จะทำให้เกิดความสุข และความราบรื่นในชีวิต และยังทำให้องค์กรต่างๆปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่๑. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน๒. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น๓. ขันติ ความอดทนและให้อภัย๔. จาคะ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

สังคหวัตถุ ๔

สังคหวัตถุ ๔

November 14, 2020 shantideva edit 0

สังคหวัตถุ คือ เทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้๑. ทาน การให้๒. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน๓. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์๔. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง ประโยชน์ของสังคหวัตถุ ๔สังคหวัตถุ 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว อำนวยประโยชน์ที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรมดังต่อไปดังนี้ ช่วยให้บุคคลดำรงตนอยู่ได้ในสังคมด้วยความสุข เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ สมานไมตรีระหว่างกัน เป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้มีความเคารพนับถือกันตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเครื่องประสานองค์ประกอบต่างๆ ของสังคมให้คงรูปอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี ช่วยส่งเสริมศีลธรรมและป้องกันความประพฤติเสื่อมเสียในสังคม

พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร ๔

November 10, 2020 shantideva edit 0

พรหมวิหาร ๔ ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่ ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข๒. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ๓. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี๔. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔

November 7, 2020 shantideva edit 0

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความไม่สบาย กายไม่สบายใจ ทุกข์มี 2 ประเภท คือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความคิด ความแก่ ความตาย และทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า เป็นต้น สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี 3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละตัณหา มรรค คือ ความจริงว่าด้วยวิถีทางแห่งความดับทุกข์

ขันธ์ 5

ขันธ์ 5

November 3, 2020 shantideva edit 0

ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) เป็นหลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 โดยหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม) ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา ) ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร) ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้ สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ ๖)