พระเจ้าสุทโธทนะ

พระเจ้าสุทโธทนะ

February 26, 2021 shantideva edit 0

พระเจ้าสุทโธทนะ หรือเรียกกันอีกนามว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์ สุทรรศน์ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ เป็นพุทธบิดาของ พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุ กับพระนางกัญจนามีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจาก พระสิทธัตถราชกุมาร ประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายา ก็สวรรคต พระสุทโธทนะ จึงอภิเษกสมรสใหม่ กับพระนางมหาปชาบดี หรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐา ร่วมชนนี กับพระนาง สิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ มีพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมืองประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวัง ที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์

สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)

สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)

February 22, 2021 shantideva edit 0

นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี นางเป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาส พร้อมถาดทองคำ แก่พระโคตมพุทธเจ้า หลังพระพุทธเจ้าได้เสวย ข้าวมธุปายาสแล้วจึงขึ้นประทับ ณ โพธิบัลลังก์ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ก่อนประกาศธรรมอันประเสริฐแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ ต่อมาบุตรชายคนโตสุชาดานามว่า ยสะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนนางสุชาดาและสะใภ้ก็บรรลุโสดาบัน เช่นกัน นางสุชาดาเป็นอุบาสิกาคนแรกในพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าทรงยกย่อง นางสุชาดาเป็นเอตทัคคะผู้ถึงสรณะก่อน นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีการ สันนิษฐานถึงที่ตั้งของบ้านนางสุชาดาคือสุชาตาสถูปในหมู่บ้านพักเราร์ใกล้พุทธคยา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวง ต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนางโดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ1.ขอให้ได้สามีที่มีบุญ มีทรัพยสมบัติ และชาติสกุลเสมอกัน2.ขอให้มีบุตรคนแรกเป็นชาย ถวายข้าวมธุปายาส ขณะนั้นพระโคตมโพธิสัตว์เลิก อัตตกิลมถานุโยค หันมาเสวยพระกระยาหาร หวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ต้นไทรนั้น ผินพระพักตร์ ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็น ปริมณฑลดูงามยิ่งนัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงเป็นเทวดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับเครื่องพลีกรรม จึงมิได้เข้าไปทำความสะอาดดังที่ตั้งใจมา รีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดาโดยด่วนฝ่ายนางสุชาดาจึงรีบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงาม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูล ศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดี สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา มานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

February 19, 2021 shantideva edit 0

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราช ธิดาในพระเจ้าอัญชนาธิป ราชแห่งกรุง เทวทหะ แคว้นโกลิยะ และเป็นพระขนิษฐ ภคินี(น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็น พระพุทธมารดา ดังนั้นพระนาง มหาปชาบดีโคตมี จึงเป็นพระมาตุจฉาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ทรงเป็นภิกษุณี รูปแรกในพระพุทธศาสนา และทรงได้ เรียนกรรมฐาน และทรงปฏิบัติอ ย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศ กว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน) พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวช ต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูร ญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้ สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลี และประทับอยู่ที่ กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยเหล่า นางสากิยานี จำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนา ที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยัง กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านาง สากิยานี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออก หลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือ ครุธรรม 8 ซึ่งพระนาง มหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านาง สากิยานี หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี ได้ทรงเรียนกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน และปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

February 15, 2021 shantideva edit 0

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด ประโยชน์ปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการน้อมตนแก่พระเจ้าทั้งกาย วาจา และใจ ตามแบบอย่างพระศาสดาพระมุฮัมมัด และโองการที่พระเจ้ากำหนดไว้ ส่วนประโยชน์อื่นที่พึงได้รับมีดังนี้ 1.เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา2.เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง3.เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ4.เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี5.เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม6.เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี7.เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

พระราหุล

พระราหุล

February 12, 2021 shantideva edit 0

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทาน ออกมาว่า “ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง” แปลว่า “‘ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้น แล้ว” หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ ไว้กับ ภริยา และ ชีวิต ฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมาร ทรงตั้งพระนาม โอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า “ราหุล” อันแปลว่า “บ่วง” คุณธรรมที่ควรยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง มีความอดทนเป็นเยี่ยม คือบรรพชาตั้งแต่อายุ 7 ปี ต้องอดอาหารในเวลาวิกาล ตั้งแต่ เที่ยงจนถึงรุ่งเช้า ตามปกติของพระภิกษุสามเณรในสมัยพุทธกาล เป็นผู้ว่าง่ายถ่อมตน ไม่ถือตัว เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

February 8, 2021 shantideva edit 0

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการจัดพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ในรัชกาลที่ 10งานพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ได้จัดขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น. ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับแจ้งการพิจารณาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ว่าทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระมหามุณีวงศ์ วัดราชบพิธ ขึ้นรับตำแหน่งดังกล่าวท่านนายกรัฐมนตรี จึงได้ชี้แจงให้สื่อมวลชนได้ทราบโดยทั่วกันในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ประวัติ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20ชื่อเดิมของสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ชื่อว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดในครอบครัวที่มีอาชีพค้าขายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ณ ต. บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี มีโยมบิดาชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อ นางตาล ประสัตถพงศ์ เข้าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ต.โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี การบรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2480 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท)เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) และมีพระกรรมวาจาจารย์ คือ พระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) ตำแหน่งปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม กรรมการคณะธรรมยุต กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) แม่กองงานพระธรรมทูต สมณศักดิ์ พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

ประวัติพระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า

February 4, 2021 shantideva edit 0

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ได้ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ พระโกณฑัญญะบรรลุเป็นพระโสดาบัน และกราบทูลขอบวช นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้เสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปเป็นเวลานานกว่า 45 พรรษา จนกระทั่งปรินิพพาน ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยสลับกัน เนื่องจากการส่งเสริมของผู้มีอำนาจปกครองในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาพรวมแล้ว พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา โดยศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในเอเชียกลาง จีน เกาหลี ในขณะที่ศาสนาพุทธได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในญี่ปุ่น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น และได้มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ “องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก” สนับสนุนข้อมูลโดย  ดูหนังออนไลน์

นิกายของศาสนาพุทธ

นิกายของศาสนาพุทธ

February 1, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาทและมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานถือว่าตนเป็นยานพิเศษโดยเฉพาะ ต่างจากมหายาน เถรวาท หรือ หีนยาน (แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติจะเป็นไปตามพระไตรปิฎก นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว และกัมพูชา ส่วนที่นับถือเป็นส่วนน้อยพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเขมร), บังกลาเทศ (ในกลุ่มชนเผ่าจักมา และคนในสกุลพารัว) และทางตอนบนของมาเลเซีย (ในหมู่ผู้มีเชื้อสายไทย) มหายาน (แปลว่า ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, เวียดนามและสิงคโปร์ พบเป็นประชาชนส่วนน้อยในประเทศเนปาล (ซึ่งอาจพบว่านับถือร่วมกับศาสนาอื่นด้วย) ทั้งยังพบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ พบมากในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน, ประเทศภูฏาน, มองโกเลีย และดินแดนในการปกครองรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐตูวา และคัลมืยคียานอกจากนี้เป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีร์ ประเทศอินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน (ในเขตบัลติสถาน)