เหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธของข้าพเจ้า

April 30, 2021 shantideva edit 0

หนึ่งในคำถามที่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าสนใจที่สุดคำถามหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้าและตอบยากมากที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า คือ “เหตุใดข้าพเจ้าจึงนับถือศาสนาพุทธ” คำถามนี้เป็นประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นทั้งจากผู้คนที่รู้จักซึ่งพยายามชักชวนให้ข้าพเจ้าเข้ารีตในความเชื่อของเขา ไปจนถึงรุ่นพี่ที่น่าเคารพนับถือซึ่งไม่มีความเชื่อในศาสนาใดๆ ว่าทำไมข้าพเจ้าจึงไม่ไปนับถือศาสนาอื่นอย่าง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู อื่นฯ หรือเลือกจะเป็น เอทิสต์ ไม่ก็เป็น คนไม่นับถือศาสนา ทำไมต้องเจาะจงเลือกที่จะสัทธาในคำสอนของตถาคต-สมณโคดม แม้ในเบื้องแรกข้าพเจ้าไม่อาจจะตอบคำถามคนเหล่านั้นว่าเหตุใดข้าพเจ้าจึงนับถือในพุทธศาสนา แต่สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าแน่ใจอย่างแน่นอนเลยก็คือการนับถือศาสนาพุทธของข้าพเจ้านั้นมิใช่การเชื่อตามๆกันจากบรรพบุรุษแต่อย่างใด คำถามนี้ในกาลต่อมาจึงเป็นคำถามที่ข้าพเจ้าต้องคบคิดถึงมันอยู่ตลอดและกว่าที่ข้าพเจ้าจะได้คำตอบก็กินเวลาไปกว่า 4-5 ปีแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณอุปนิสัยแบบเลนินน้อยของข้าพเจ้าที่พยายามสรรหาคำตอบอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะได้คำตอบที่มาจากเบื้องภายในใจและมีเหตุผลมีผลดีแล้วออกมาไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ก็ตามหรือแม้แต่ชั่วขีวิต โชคดีที่คำถามนี้ไม่ใช้คำถามที่ต้องใช้เวลาขบคิดนานขนาดนั้น

ลังกาวตารสูตร

April 28, 2021 shantideva edit 0

ลังกาวตารสูตร (阿跋多羅寶經)  เป็นคัมภีร์หลัก (Text) ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นคัมภีร์หนึ่งในเก้าคัมภีร์ ซึ่งเป็น คัมภีร์สำคัญ ที่เรียกว่าสูตร สูตรหนึ่งนั้นมิใช่สั้นๆ เช่นที่เราเข้าใจกัน แต่เป็นหนังสือเล่มขนาดใหญ่ หรือคัมภีร์หนึ่งนั่นเอง ลังกาวตารสูตรพิมพ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อ ค.ศ. 1922 โดยท่าน Bunyin Nangio, M.A (oxon), D Litt Kyoto สูตรนี้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 443 โดยท่านคุณภัทรแห่งอินเดีย   เป็นครั้งที่สองเมื่อ  ค.ศ. 513 โดยท่านโพธรุจิ แห่งอินเดีย และครั้งที่สามเมื่อ ค.ศ. 700 โดยท่านศึกษานันทะ แห่งอินเดียเหมือนกัน เป็นสูตรว่าด้วยศีลธรรมล้วน ภาคที่แปดแห่งลังกาวตารสูตรนี้ กล่าวถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์โดยเฉพาะ เรียกว่า ภาคมางสภักษนปริวรรต จากข้อความในภาคนี้ ย่อมเป็นการพิสูจน์ไว้อย่างเต็มที่ ว่าสาวกในพระพุทธศาสนานิกายนี้จะเป็นบรรพชิต หรือฆราวาสก็ตาม จะไม่รับประทานเนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลย…

คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑๐

April 26, 2021 shantideva edit 0

ในปริเฉทที่ ๑๐ ท่านศานติเทวะ กล่าวโดยสรุป หลักการดำเนินชีวิตหรือขั้นตอนการเป็นพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์โพธิจรรยาวตารนั้น ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 4 ขั้นตอนคือ1. อนุตตรบูชา 2. โพธิจิต 3. การตั้งปณิธาน 4. การบําเพ็ญบารมี ต้นฉบับจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลได้รับอนุญาตจากผู้แปลให้เผยแพร่โดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยคงรูป๑๐ ปริณามนาปริจฺเฉโท ทศมะฯโพธิจรฺยาวตารํ เม ยทฺวิจินฺตยตะ ศุภมฺฯเตน สรฺเว ชนาะ สนฺตุ โพธิจรฺยาวิภูษณาะ๚๑๚สรฺวาสุ ทิกฺษุ ยาวนฺตะ กายจิตฺตวฺยถาตุราะฯเต ปฺราปฺนุวนฺตุ มตฺปุณฺไยะ สุขปฺราโมทฺยสาครานฺ๚๒๚อาสํสารํ สุขชฺยานิรฺมา ภูตฺเตษํา กทาจนฯโพธิสตฺตฺวสุขํ ปฺราปฺตํ ภวตฺววิรตํ ชคตฺ๚๓๚ยาวนฺโต นรกาะ เกจิทฺวิทฺยนฺเต โลกธาตุษุฯสุขาวตีสุขาโมทฺไยรฺโมทนฺตํา เตษุ เทหินะ๚๔๚ศีตารฺตาะ ปฺราปฺนุวนฺตูษฺณมุษฺณารฺตาะ สนฺตุ ศีตลาะฯโพธิสตฺตฺวมหาเมฆสํภไวรฺชลสาคไระ๚๕๚อสิปตฺรวนํ เตษํา สฺยานฺนนฺทนวนทฺยุติฯกูฏศาลฺมลิวฤกฺษาศฺจ ชายนฺตํา กลฺปปาทปาะ๚๖๚กาทมฺพการณฺฑวจกฺรวาก-หํสาทิโกลาหลรมฺยโศไภะฯสโรภิรุทฺทามสโรชคนฺไธ-รฺภวนฺตุ หฤทฺยา นรกปฺรเทศาะ๚๗๚โส’งฺคารราศิรฺมณิราศิรสฺตุตปฺตา จ ภูะ สฺผาฏิกกุฏฺฏิมํ สฺยาตฺฯภวนฺตุ สํฆาตมหีธราศฺจปูชาวิมานาะ สุคตปฺรปูรฺณาะ๚๘๚องฺคารตปฺโตปลศสฺตฺรวฤษฺฏิ-รทฺยปฺรภฤตฺยสฺตุ จ ปุษฺปวฤษฺฏิะฯตจฺฉสฺตฺรยุทฺธํ จ ปรสฺปเรณกฺรีฑารฺถมทฺยาสฺตุ จ ปุษฺปยุทฺธมฺ๚๙๚ปติตสกลมําสาะ กุนฺทวรฺณาสฺถิเทหาทหนสมชลายํา ไวตรณฺยํา นิมคฺนาะฯมม กุศลพเลน ปฺราปฺตทิวฺยาตฺมภาวาะสห สุรวนิตาภิะ สนฺตุ มนฺทากินีสฺถาะ๚๑๐๚ตฺรสฺตาะ ปศฺยนฺตฺวกสฺมาทิห ยมปุรุษาะ กากคฤธฺราศฺจ โฆราธฺวานฺตํ ธฺวสฺตํ สมนฺตาตฺสุขรติชนนี กสฺย เสามฺยา ปฺรเภยมฺฯอิตฺยูรฺธฺวํ เปฺรกฺษมาณา คคนตลคตํ วชฺรปาณิํ ชฺวลนฺตํทฤษฺฏฺวา ปฺราโมทฺยเวคาทฺวฺยปคตทุริตา ยานฺตุ เตไนว สารฺธมฺ๚๑๑๚ปตติ กมลวฤษฺฏิรฺคนฺธปานียมิศฺรา-จฺฉมิติ (?)นรกวหฺนิํ ทฤศฺยเต นาศยนฺตีฯกิมิทมิติ สุเขนาหฺลาทิตานามกสฺมา-ทฺภวตุ กมลปาเณรฺทรฺศนํ นารกาณามฺ๚๑๒๚อายาตายาต ศีฆฺรํ ภยมปนยต ภฺราตโร ชีวิตาะ สฺมะสํปฺราปฺโต’สฺมากเมษ ชฺวลทภยกระ โก’ปิ จีรีกุมาระฯสรฺวํ ยสฺยานุภาวาทฺวฺยสนมปคตํ ปฺรีติเวคาะ ปฺรวฤตฺตาะชาตํ สํโพธิจิตฺตํ สกลชนปริตฺราณมาตา ทยา จ๚๑๓๚ปศฺยนฺตฺเวนํ ภวนฺตะ สุรศตมุกุไฏรรฺจฺยมานางฺฆฺริปทฺมํการูณฺยาทารฺทฺรทฤษฺฏิํ ศิรสิ นิปติตาเนกปุษฺเปาฆวฤษฺฏิมฺฯกูฏาคาไรรฺมโนชฺไญะ สฺตุติมุขรสุรสฺตฺรีสหโสฺรปคีไต-รฺทฤษฺฏฺวาเคฺร มญฺชุโฆษํ ภวตุ กลกละ สําปฺรตํ นารกาณามฺ๚๑๔๚อิติ มตฺกุศไละ สมนฺตภทฺร-ปฺรมุขานาวฤตโพธิสตฺตฺวเมฆานฺฯสุขศีตสุคนฺธวาตวฤษฺฏี-นภินนฺทนฺตุ วิโลกฺย นารกาสฺเต๚๑๕๚ศามฺยนฺตุ เวทนาสฺตีวฺรา นารกาณํา ภยานิ จฯทุรฺคติภฺโย วิมุจฺยนฺตํา สรฺวทุรฺคติวาสินะ๚๑๖๚อนฺโยนฺยภกฺษณภยํ ติรศฺจามปคจฺฉตุฯภวนฺตุ สุขินะ เปฺรตา ยโถตฺตรกุเรา นราะ๚๑๗๚สํตรฺปฺยนฺตํา เปฺรตาะ สฺนาปฺยนฺตํา ศีตลา ภวนฺตุ สทาฯอารฺยาวโลกิเตศฺวรกรคลิตกฺษีรธาราภิะ๚๑๘๚อนฺธาะ ปศฺยนฺตุ รูปาณิ ศฤณฺวนฺตุ พธิราะ สทาฯครฺภิณฺยศฺจ ปฺรสูยนฺตํา มายาเทวีว นิรฺวฺยถาะ๚๑๙๚วสฺตฺรโภชนปานียํ สฺรกฺจนฺทนวิภูษณมฺฯมโนภิลษิตํ สรฺวํ ลภนฺตํา หิตสํหิตมฺ๚๒๐๚ภีตาศฺจ นิรฺภยาะ สนฺตุ โศการฺตาะ ปฺรีติลาภินะฯอุทฺวิคฺนาศฺจ นิรุทฺเวคา ธฤติมนฺโต ภวนฺตุ จ๚๒๑๚อาโรคฺยํ โรคิณามสฺตุ มุจฺยนฺตํา สรฺวพนฺธนาตฺฯทุรฺพลา พลินะ สนฺตุ สฺนิคฺธจิตฺตาะ ปรสฺปรมฺ๚๒๒๚สรฺวา ทิศะ ศิวาะ สนฺตุ สรฺเวษํา ปถิวรฺตินามฺฯเยน การฺเยณ คจฺฉนฺติ ตทุปาเยน สิธฺยตุ๚๒๓๚เนายานยาตฺรารูฒาศฺจ สนฺตุ สิทฺธมโนรถาะฯเกฺษเมณ กูลมาสาทฺย รมนฺตํา สห พนฺธุภิะ๚๒๔๚กานฺตาโรนฺมารฺคปติตา ลภนฺตํา สารฺถสํคติมฺฯอศฺรเมณ จ คจฺฉนฺตุ เจารวฺยาฆฺราทินิรฺภยาะ๚๒๕๚สุปฺตมตฺตปฺรมตฺตานํา วฺยาธฺยารณฺยาทิสํกเฏฯอนาถาพาลวฤทฺธานํา รกฺษํา กุรฺวนฺตุ เทวตาะ๚๒๖๚สรฺวากฺษณวินิรฺมุกฺตาะ ศฺรทฺธาปฺรชฺญากฤปานฺวิตาะฯอาการาจารสํปนฺนาะ …..อ่านต่อ

วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์

April 24, 2021 shantideva edit 0

หนังสือ “วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” แปลจาก โพธิจรรยาวตาร ของท่านศานติเทวะ มีวางจำหน่วยแล้วที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่แปด เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอแนะในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งตั้งปณิธานจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้อย่างเต็มที่ ในพระพุทธศาสนาแบบทิเบตทั้งหมดนั้น ไม่มีงานชิ้นใดเลยที่จะมีอิทธิพลหรือได้รับการยกย่องมากเท่ากับชิ้นนี้ และก็เป็นหนังสือหลักในการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของทิเบตทุกแห่งท่านศานติเทวะได้เสนอแนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการกล่าวถึงอานิสงส์ของโพธิจิต อันเป็นจิตที่มุ่งมั่นต่อการตรัสรู้เพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็เสนอการปฏิบัติบารมีหกประการอันเป็นวิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญาการแปลครั้งนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของอลันกับเวสนา วอลเลซ ซึ่งแปลจากฉบับภาษาสันสกฤตประกอบกับฉบับแปลภาษาทิเบตควบคู่กัน และเป็นอีกลำดับหนึ่งของหนังสือชุด “คำสอนจากมหาวิทยาลัยนาลันทา” ของมูลนิธิพันดารา

อัษฏมหาโพธิสัตว์ องค์ที่ ๘

April 22, 2021 shantideva edit 0

สันสกฤต : खगर्भ : Khagarbha : ขครฺภ (ขะครรภะ) หรือआकाशगर्भ : Ākāśagarbha : อากาศครฺภ (อากาศะครรภะ อากาศครรภ์ และ ขครรภ์ แปลว่า ครรภ์แห่งอากาศ อากาศ และ ข เป็นคำที่เป็นไวพจน์ต่อกัน ในความหมายว่า ความว่างเปล่า, พื้นที่ว่าง, อากาศ, ท้องฟ้า อากาศ ในที่นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่บรรยากาศในโลก ยังหมายถึง อวกาศ หรือช่องว่างอันไม่มีสิ้นสุดด้วย ส่วนคำว่า ครฺภ ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งโดยนัยยะหมายถึง สิ่งมีค่าที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี อากาศครรภ์ ยังมีนัยยะสื่อถึง ศูนยตา หรือ สุญญตา หรือ อนัตตา ความไม่มีตัวเป็นตนของสิ่งต่างๆ สิ่งทั้งหลายประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของมหายานด้วย พระอากาศครรภ์ ปรากฏพระนามใน วิมลเกียรตินิรเทศ กษิติครรภโพธิสัตตวปูรวปรณิธานสูตร คัมภีร์­โพธิจรรยาวตาร คัมภีร์ศึกษาสมุจจัย ของศานติเทวะ เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกันทั้งชื่อและคุณสมบัติกับ พระคคนคัญชะ ภายหลังพระคคนคัญชะ รวมเป็นกับพระอากาศครรภ์ นาม คคนคัญชะ จึงเป็นพระนามหนึ่งของ พระอากาศครรภ์ มีพระสูตรเอกเทศอยู่จำนวนหนึ่ง ชื่อ เช่น อากาศครรภสูตร มหาสันนิปาตมหาอากาศครรภโพธิสัตวปริปฤจฉาสูตร ภาวนาอากาศครรภโพธิสัตวสูตร และที่กล่าวก่อนหน้านี้คือ คคนคัญชปริปฤจฉาสูตร หรือ คคนคัญชสมาธิสูตร อารยคคนคัญชสูตร โดยมากเป็นพระสูตรที่โดดเด่นเกี่ยวกับการภาวนาสมาธิ และวิธีการสารภาพผิด(ปาปเทศนา)และการเริ่มโพธิจิตใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติในโพธิสัตวมรรค พระอากาศครรภ์ ยังเป็นพระโพธิสัตว์แห่งการปลงอาบัติ การสารภาพบาปและการกลับใจ พระโพธิสัตว์ผู้โปรดสัตว์ผู้กระทำชั่วให้กลับมาประพฤติธรรม คือในมหายาน มีวิธีการบูชาที่เรียกว่า อนุตตรบูชา หนึ่งในนั้นจะมีการสารภาพบาป สันสกฤตเรียก ปาปเทศนา ( पापदेशना : pāpadeśanā) หรือ ในไทยเรียก ขอขมากรรม นั้นเอง พระอากาศครรภ์ ยังอยู่ในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสมาธิ พระโพธิสัตว์แห่งความบริสุทธิ พระโพธิสัตว์แห่งการให้พร ความโชคดี ความสำเร็จ ความสุข ประเทศญี่ปุ่นนับถือในฐานะพระโพธิสัตว์แห่ง ความทรงจำ ความฉลาด ความรู้ภูมิปัญญา และเป็นพระโพธิสัตว์ผู้อุปถัมภ์ของช่างฝีมือและช่างศิลปะ พระอากาศครรภโพธิสัตว์ เป็นบุคลาธิษฐานแสดงถึง มหาสมาธิ (महासमाधि : Mahāsamādhi : มหาสมาธิ) ในมหายาน สมาธิ แตกต่างจากเถรวาทอยู่เรื่องหนึ่งคือ ไม่ใช่เฉพาะการกำหนดจิตหรือสติตั้งมั่นด้วยสมถวิปัสสนาที่ทำให้เกิดองค์ฌานเท่านั้น แต่ยังมี สมาธิ ในมหายาน อีกประเภท เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าสู่สมาธินั้นๆเพื่อแสดงธรรมอันมีหัวข้อแตกต่างกันไป มีอยู่หลายประเภทหลายชื่อเรียก มีคุณวิเศษอิทธิปาฎิหาริย์มากมายที่แตกต่างกันไป

ธิเบต

April 20, 2021 shantideva edit 0

บัญญัติให้มีมนตร์เรียกว่า ธารณี ประจำองค์พระพุทธเจ้าและ พระโพธิสัตว์ต่างๆ ยาวบ้างสั้นบ้าง มนตร์แต่ละบทมีอานุภาพขลังๆ ทั้งนั้น เช่น สวดจบเดียวก็มีอานิสงส์เป็นพระอินทร์ร้อยชาติ หรือเพียง แต่เขียนคำมนตร์ลงในผืนผ้า แขวนเอาไว้ใครเดินรอด มีอานิสงส์ทำให้ บาปกรรมที่ทำมา ๙๐ กัลป์แทงสูญ คาถาเหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น “โอม มณี ปทฺทเม ฮัม โอมดวงแก้วเกิดในดอกบัว

ชี้ปัญหาพระพุทธศาสนาแก้ไขเร่งด่วน

April 14, 2021 shantideva edit 0

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.62 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชนหัวข้อ “วันมาฆบูชา” สำคัญอย่างไร จากกลุ่มตัวอย่าง 5,335 คนทั่วประเทศ ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 74.57 ทราบวันมาฆบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ 19 ก.พ. เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรกในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน 3 และร้อยละ 65.53 ตอบว่ามีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ส่วนกิจกรรมที่ประชาชนจะทำในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลมาฆบูชา ประจำปี 2562 ร้อยละ 56.17 บอกว่าตักบาตร ร้อยละ 25.51 เข้าวัดปฏิบัติธรรม และร้อยละ 20.78 สวดมนต์ที่บ้าน นายวีระ กล่าวอีกว่า สอบถามความเห็นหลักธรรมใดที่ควรยึดถือปฏิบัติและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในช่วงวันมาฆบูชา ร้อยละ 72.89 ศีล 5 คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มน้ำเมา และร้อยละ 44.25 โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา การไม่ทำบาปทั้งปวง ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ต้องแก้ไข ได้แก่ การใช้ความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาพุทธมาทำให้เกิดรายได้หรือข้าวของเงินทองให้กับตนเอง ประเด็นด้านลบที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ บุคคลที่แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หลอกลวงรับบริจาคเงิน และพระสงฆ์ประพฤติตัวไม่เหมาะสม นอกจากนี้ผลสำรวจวิธีการใดที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้าวัดมากขึ้น พระสงฆ์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ที่ทำให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และแฝงไว้ด้วยคำสอนที่เข้าใจง่าย “เมื่อถามว่ากิจกรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ควรสืบสานและฟื้นฟู ได้แก่ ประกวดสวดมนต์ แข่งขันตอบปัญหาธรรมะ เพราะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ สอดแทรกความรู้ สาระที่เป็นประโยชน์ และช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น และการปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ เพราะคนยุคสมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมการเข้าวัดปฏิบัติธรรม แต่การจะสืบสานควรปรับเนื้อหาให้เข้ากับยุคสมัยไม่ย่ำอยู่กับที่ จะทำให้คนยุคใหม่เข้ามาสนใจมากขึ้นได้” นายวีระ รมว.วัฒนธรรม กล่าว

หลักคำสอนที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

April 10, 2021 shantideva edit 0

พระพุทธศาสนา มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์สุขและวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงที่ว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง คือด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม หลักจริยธรรมความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน หลักคุณธรรมพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศล หรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามกรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ

บก.ตอบจดหมาย : เรียกศรัทธาให้พุทธศาสนา/กระทรวงเกษตรฯโปรดทราบ/ให้โอกาสน.ศ.รีไทร์อย่างพอเหมาะ/พิธีกรอ่อนข้อมูล

April 10, 2021 shantideva edit 0

กรณีการจับกุมพระชั้นผู้ใหญ่หลายรูป ที่มีส่วนพัวพันเงินทอนวัด กับกรณีปล้นทรัพย์กับเป็นหัวหน้าอั้งยี่ซ่องโจรนั้น เป็นการเรียกศรัทธาผู้ที่มีอำนาจใช้กฎหมายว่าทำจริง กับเรียกศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่ผ่านมานั้นพระสงฆ์บางรูปวางตัวไม่เหมาะสม เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทางโลกมากเกินไป บางรูปก็ยังสละกิเลสไม่หมด แต่ลำพังจะโทษพระสงฆ์แต่ฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่ หลายเหตุการณ์มักจะมีฆราวาสเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบทุกเรื่อง หยิบยื่นผลประโยชน์ให้กันและกันก็เลยเกิดปัญหา นับถือ บ่าว ตอบ บ่าว เห็นด้วยว่า เป็นการทำงานของตำรวจที่เรียกศรัทธาให้กับพระพุทธศาสนากลับคืนมา สงฆ์ไม่ควรยุ่งทางโลกมากเกินไป เช่น ไปนำม็อบ เป็นต้น กระทรวงเกษตรฯโปรดทราบ เรียน บ.ก.ข่าวสด ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ร้องมาว่า โครงการ “ระบบส่งน้ำในไร่นา” ด้วยท่อน้ำ PE ความยาว 2,320 เมตร ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ตั้งอยู่ข้างสระน้ำสาธารณะบ้านกระโดนค้อ ม.2 ใช้ประโยชน์ยังไม่ได้ แม้จะมีการสร้างวางระบบเครื่องสูบน้ำและวางระบบท่อเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก็ตาม เนื่องจากว่าแหล่งน้ำดิบ มีปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีมติไม่ให้เปิดใช้ระบบดังกล่าว เกรงว่าน้ำประปาที่ใช้อุปโภค-บริโภคจะขาดแคลน ร้องขอให้กรมที่ดินเจ้าของโครงการและเป็นต้นเรื่อง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยลงมาดูแลแก้ปัญหาหรือขุดลอกขยายแหล่งน้ำดิบให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอด้วย เพื่อที่ชาวบ้านและเกษตรกรจะได้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง จากระบบส่งน้ำในไร่นาเสียที หลังจากถูกทิ้งร้างมานานกว่า 3-4 ปีแล้ว

ทศชาติเรื่องหนึ่งไม่ได้เน้นบารมีเพียงบารมีเดียว

April 8, 2021 shantideva edit 0

ตามจริงแล้วนิทานชาดกทั้งหมด รวมถึงพระเจ้า 500 ชาติ ล้วนมีบารมีปรากฏปะปนอยู่ในแต่ละนิทานแล้ว ส่วนพระเจ้า 10 ชาติ หากลองศึกษาสัก 1 เรื่อง จะพบว่ามีบารมีอื่นร่วมด้วย เช่น เนมิราชชาดก นอกจากเป็นเรื่องอธิษฐานบารมี คือพระเนมิราชทรงตั้งพระทัยอย่างมุ่งมั่นแล้วที่จะปฏิบัติภาวนาเพื่อเกิดในพรหมโลก ตามที่พระอินทร์ทรงสอนว่า อานิสงส์แห่งทานได้เพียงสวรรค์ แต่ภาวนาได้อานิสงส์สูงกว่าสวรรค์ สังเกตได้ว่า พระเนมิราชทรงบำเพ็ญทานบารมีด้วย ในนิทานชาดกเล่าว่าพระองค์ทรงสร้างโรงทาน และบริจาคทานอยู่เป็นประจำ แม้แต่เวสสันดรชาดก เห็นเด่นชัดว่าเป็นเรื่องของทานบารมี แต่พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีด้วย เพราะทรงถือเพศเป็นดาบส