อัษฏมหาโพธิสัตว์ องค์ที่ ๘

April 22, 2021 shantideva edit 0

สันสกฤต : खगर्भ : Khagarbha : ขครฺภ (ขะครรภะ) หรือआकाशगर्भ : Ākāśagarbha : อากาศครฺภ (อากาศะครรภะ อากาศครรภ์ และ ขครรภ์ แปลว่า ครรภ์แห่งอากาศ อากาศ และ ข เป็นคำที่เป็นไวพจน์ต่อกัน ในความหมายว่า ความว่างเปล่า, พื้นที่ว่าง, อากาศ, ท้องฟ้า อากาศ ในที่นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่บรรยากาศในโลก ยังหมายถึง อวกาศ หรือช่องว่างอันไม่มีสิ้นสุดด้วย ส่วนคำว่า ครฺภ ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งโดยนัยยะหมายถึง สิ่งมีค่าที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี อากาศครรภ์ ยังมีนัยยะสื่อถึง ศูนยตา หรือ สุญญตา หรือ อนัตตา ความไม่มีตัวเป็นตนของสิ่งต่างๆ สิ่งทั้งหลายประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของมหายานด้วย พระอากาศครรภ์ ปรากฏพระนามใน วิมลเกียรตินิรเทศ กษิติครรภโพธิสัตตวปูรวปรณิธานสูตร คัมภีร์­โพธิจรรยาวตาร คัมภีร์ศึกษาสมุจจัย ของศานติเทวะ เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกันทั้งชื่อและคุณสมบัติกับ พระคคนคัญชะ ภายหลังพระคคนคัญชะ รวมเป็นกับพระอากาศครรภ์ นาม คคนคัญชะ จึงเป็นพระนามหนึ่งของ พระอากาศครรภ์ มีพระสูตรเอกเทศอยู่จำนวนหนึ่ง ชื่อ เช่น อากาศครรภสูตร มหาสันนิปาตมหาอากาศครรภโพธิสัตวปริปฤจฉาสูตร ภาวนาอากาศครรภโพธิสัตวสูตร และที่กล่าวก่อนหน้านี้คือ คคนคัญชปริปฤจฉาสูตร หรือ คคนคัญชสมาธิสูตร อารยคคนคัญชสูตร โดยมากเป็นพระสูตรที่โดดเด่นเกี่ยวกับการภาวนาสมาธิ และวิธีการสารภาพผิด(ปาปเทศนา)และการเริ่มโพธิจิตใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติในโพธิสัตวมรรค พระอากาศครรภ์ ยังเป็นพระโพธิสัตว์แห่งการปลงอาบัติ การสารภาพบาปและการกลับใจ พระโพธิสัตว์ผู้โปรดสัตว์ผู้กระทำชั่วให้กลับมาประพฤติธรรม คือในมหายาน มีวิธีการบูชาที่เรียกว่า อนุตตรบูชา หนึ่งในนั้นจะมีการสารภาพบาป สันสกฤตเรียก ปาปเทศนา ( पापदेशना : pāpadeśanā) หรือ ในไทยเรียก ขอขมากรรม นั้นเอง พระอากาศครรภ์ ยังอยู่ในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสมาธิ พระโพธิสัตว์แห่งความบริสุทธิ พระโพธิสัตว์แห่งการให้พร ความโชคดี ความสำเร็จ ความสุข ประเทศญี่ปุ่นนับถือในฐานะพระโพธิสัตว์แห่ง ความทรงจำ ความฉลาด ความรู้ภูมิปัญญา และเป็นพระโพธิสัตว์ผู้อุปถัมภ์ของช่างฝีมือและช่างศิลปะ พระอากาศครรภโพธิสัตว์ เป็นบุคลาธิษฐานแสดงถึง มหาสมาธิ (महासमाधि : Mahāsamādhi : มหาสมาธิ) ในมหายาน สมาธิ แตกต่างจากเถรวาทอยู่เรื่องหนึ่งคือ ไม่ใช่เฉพาะการกำหนดจิตหรือสติตั้งมั่นด้วยสมถวิปัสสนาที่ทำให้เกิดองค์ฌานเท่านั้น แต่ยังมี สมาธิ ในมหายาน อีกประเภท เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าสู่สมาธินั้นๆเพื่อแสดงธรรมอันมีหัวข้อแตกต่างกันไป มีอยู่หลายประเภทหลายชื่อเรียก มีคุณวิเศษอิทธิปาฎิหาริย์มากมายที่แตกต่างกันไป

ธิเบต

April 20, 2021 shantideva edit 0

บัญญัติให้มีมนตร์เรียกว่า ธารณี ประจำองค์พระพุทธเจ้าและ พระโพธิสัตว์ต่างๆ ยาวบ้างสั้นบ้าง มนตร์แต่ละบทมีอานุภาพขลังๆ ทั้งนั้น เช่น สวดจบเดียวก็มีอานิสงส์เป็นพระอินทร์ร้อยชาติ หรือเพียง แต่เขียนคำมนตร์ลงในผืนผ้า แขวนเอาไว้ใครเดินรอด มีอานิสงส์ทำให้ บาปกรรมที่ทำมา ๙๐ กัลป์แทงสูญ คาถาเหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น “โอม มณี ปทฺทเม ฮัม โอมดวงแก้วเกิดในดอกบัว

ชี้ปัญหาพระพุทธศาสนาแก้ไขเร่งด่วน

April 14, 2021 shantideva edit 0

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.62 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชนหัวข้อ “วันมาฆบูชา” สำคัญอย่างไร จากกลุ่มตัวอย่าง 5,335 คนทั่วประเทศ ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 74.57 ทราบวันมาฆบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ 19 ก.พ. เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรกในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน 3 และร้อยละ 65.53 ตอบว่ามีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ส่วนกิจกรรมที่ประชาชนจะทำในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลมาฆบูชา ประจำปี 2562 ร้อยละ 56.17 บอกว่าตักบาตร ร้อยละ 25.51 เข้าวัดปฏิบัติธรรม และร้อยละ 20.78 สวดมนต์ที่บ้าน นายวีระ กล่าวอีกว่า สอบถามความเห็นหลักธรรมใดที่ควรยึดถือปฏิบัติและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในช่วงวันมาฆบูชา ร้อยละ 72.89 ศีล 5 คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มน้ำเมา และร้อยละ 44.25 โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา การไม่ทำบาปทั้งปวง ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ต้องแก้ไข ได้แก่ การใช้ความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาพุทธมาทำให้เกิดรายได้หรือข้าวของเงินทองให้กับตนเอง ประเด็นด้านลบที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ บุคคลที่แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หลอกลวงรับบริจาคเงิน และพระสงฆ์ประพฤติตัวไม่เหมาะสม นอกจากนี้ผลสำรวจวิธีการใดที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้าวัดมากขึ้น พระสงฆ์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ที่ทำให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และแฝงไว้ด้วยคำสอนที่เข้าใจง่าย “เมื่อถามว่ากิจกรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ควรสืบสานและฟื้นฟู ได้แก่ ประกวดสวดมนต์ แข่งขันตอบปัญหาธรรมะ เพราะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ สอดแทรกความรู้ สาระที่เป็นประโยชน์ และช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น และการปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ เพราะคนยุคสมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมการเข้าวัดปฏิบัติธรรม แต่การจะสืบสานควรปรับเนื้อหาให้เข้ากับยุคสมัยไม่ย่ำอยู่กับที่ จะทำให้คนยุคใหม่เข้ามาสนใจมากขึ้นได้” นายวีระ รมว.วัฒนธรรม กล่าว

หลักคำสอนที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

April 10, 2021 shantideva edit 0

พระพุทธศาสนา มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์สุขและวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงที่ว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง คือด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม หลักจริยธรรมความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน หลักคุณธรรมพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศล หรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามกรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ

บก.ตอบจดหมาย : เรียกศรัทธาให้พุทธศาสนา/กระทรวงเกษตรฯโปรดทราบ/ให้โอกาสน.ศ.รีไทร์อย่างพอเหมาะ/พิธีกรอ่อนข้อมูล

April 10, 2021 shantideva edit 0

กรณีการจับกุมพระชั้นผู้ใหญ่หลายรูป ที่มีส่วนพัวพันเงินทอนวัด กับกรณีปล้นทรัพย์กับเป็นหัวหน้าอั้งยี่ซ่องโจรนั้น เป็นการเรียกศรัทธาผู้ที่มีอำนาจใช้กฎหมายว่าทำจริง กับเรียกศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่ผ่านมานั้นพระสงฆ์บางรูปวางตัวไม่เหมาะสม เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทางโลกมากเกินไป บางรูปก็ยังสละกิเลสไม่หมด แต่ลำพังจะโทษพระสงฆ์แต่ฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่ หลายเหตุการณ์มักจะมีฆราวาสเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบทุกเรื่อง หยิบยื่นผลประโยชน์ให้กันและกันก็เลยเกิดปัญหา นับถือ บ่าว ตอบ บ่าว เห็นด้วยว่า เป็นการทำงานของตำรวจที่เรียกศรัทธาให้กับพระพุทธศาสนากลับคืนมา สงฆ์ไม่ควรยุ่งทางโลกมากเกินไป เช่น ไปนำม็อบ เป็นต้น กระทรวงเกษตรฯโปรดทราบ เรียน บ.ก.ข่าวสด ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ร้องมาว่า โครงการ “ระบบส่งน้ำในไร่นา” ด้วยท่อน้ำ PE ความยาว 2,320 เมตร ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ตั้งอยู่ข้างสระน้ำสาธารณะบ้านกระโดนค้อ ม.2 ใช้ประโยชน์ยังไม่ได้ แม้จะมีการสร้างวางระบบเครื่องสูบน้ำและวางระบบท่อเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก็ตาม เนื่องจากว่าแหล่งน้ำดิบ มีปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีมติไม่ให้เปิดใช้ระบบดังกล่าว เกรงว่าน้ำประปาที่ใช้อุปโภค-บริโภคจะขาดแคลน ร้องขอให้กรมที่ดินเจ้าของโครงการและเป็นต้นเรื่อง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยลงมาดูแลแก้ปัญหาหรือขุดลอกขยายแหล่งน้ำดิบให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอด้วย เพื่อที่ชาวบ้านและเกษตรกรจะได้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง จากระบบส่งน้ำในไร่นาเสียที หลังจากถูกทิ้งร้างมานานกว่า 3-4 ปีแล้ว

ทศชาติเรื่องหนึ่งไม่ได้เน้นบารมีเพียงบารมีเดียว

April 8, 2021 shantideva edit 0

ตามจริงแล้วนิทานชาดกทั้งหมด รวมถึงพระเจ้า 500 ชาติ ล้วนมีบารมีปรากฏปะปนอยู่ในแต่ละนิทานแล้ว ส่วนพระเจ้า 10 ชาติ หากลองศึกษาสัก 1 เรื่อง จะพบว่ามีบารมีอื่นร่วมด้วย เช่น เนมิราชชาดก นอกจากเป็นเรื่องอธิษฐานบารมี คือพระเนมิราชทรงตั้งพระทัยอย่างมุ่งมั่นแล้วที่จะปฏิบัติภาวนาเพื่อเกิดในพรหมโลก ตามที่พระอินทร์ทรงสอนว่า อานิสงส์แห่งทานได้เพียงสวรรค์ แต่ภาวนาได้อานิสงส์สูงกว่าสวรรค์ สังเกตได้ว่า พระเนมิราชทรงบำเพ็ญทานบารมีด้วย ในนิทานชาดกเล่าว่าพระองค์ทรงสร้างโรงทาน และบริจาคทานอยู่เป็นประจำ แม้แต่เวสสันดรชาดก เห็นเด่นชัดว่าเป็นเรื่องของทานบารมี แต่พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีด้วย เพราะทรงถือเพศเป็นดาบส  

พระภัททากัจจานาเถรี

พระภัททากัจจานาเถรี

March 9, 2021 shantideva edit 0

พระภัททากัจจานาเถรี หรือพระนามเดิม พระนางยโสธรา (พระนางพิมพา หรือ พระนางยโสธราพิมพา) เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณี และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด พระภัททากัจจานาเถรี ประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งนับพระนางเป็น 1 ในสหชาติทั้ง 7 ของพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วย* พระภัททากัจจานาเถรี หรือ พระนางยโสธรา* พระอานนท์* พระฉันนะ* พระกาฬุทายีเถระ* ม้ากัณฐกะ* ต้นพระศรีมหาโพธิ์*ขุมทรัพย์ทั้งสี่ พระนางยโสธราเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระมารดามีพระนามว่าพระนางอมิตาเทวี ประสูติในโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เมื่อแรกประสูติพระญาติทั้งหลายได้ทรงถวายพระนามว่า “ภัททากัจจานา” เพราะพระสรีระของพระองค์ มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์ พอมีพระชนม์ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีพระชนม์ 29 พรรษาได้ประสูติพระราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่าพระราหุล สนับสนุนข้อมูลโดย ดูซีรีย์ฝรั่ง netflix

พระปิณโฑลภารทวาชเถระ

March 5, 2021 shantideva edit 0

พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ชาวเมืองโกสัมพี ต่อมาอาศัยในกรุงราชคฤห์ นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญของ พระพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า ท่านเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้บันลือสีหนาท ประวัติพระปิณโฑลภารทวาชเถระ เดิมเป็นพราหมณ์ในพระนครโกสัมพี แคว้นวังสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ปุโรหิต ของพระเจ้าอุเทน ชื่อว่า ภารทวาชโคตร ท่านมีชื่อตามโคตรของท่านว่า ภารทวาชมาณพ เมื่อเจริญวัย ได้ศึกษาเล่าเรียน จนจบไตรเภท ได้ตั้งตนเป็นอาจารย์บอกศิลปวิทยาแก่มาณพทั้ง 500 คน ต่อมาท่านได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงอบรมท่านให้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในการบริโภค ด้วยอุบายวิธี แต่นั้นท่านจึงเริ่มบำเพ็ญความเพียร ตั้งอารมณ์วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ได้อภิญญา ๖ ในวันบรรลุพระอรหัต ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย ในมรรคหรือผล การไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในภัต ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสาร

March 2, 2021 shantideva edit 0

พระปรมาภิไธย : พระเจ้าพิมพิสารพระอิสริยยศ : พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธราชวงศ์ : ราชวงศ์หรยังกะครองราชย์ : 50 ปีก่อน พ.ศ. – 2 ปีก่อน พ.ศ.รัชกาล : 52 ปีรัชกาลก่อน : พระเจ้าภัททิยะรัชกาลถัดไป : พระเจ้าอชาตศัตรูวัดประจำพระองค์ : วัดเวฬุวันมหาวิหารพระราชสมภพ : ราว 558 ก่อน ค.ศ.สวรรคต : ราว 491 ก่อน ค.ศ. ณ คุกหลวงเมืองราชคฤห์ (ถูกทำรัฐประหาร)พระราชบิดา : พระเจ้าภัททิยะพระอัครมเหสี : เวเทหิพระราชบุตร : พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี มีพระอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระโคตมพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ได้พระกนิษฐา ของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรส นามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู)

พระเจ้าสุทโธทนะ

พระเจ้าสุทโธทนะ

February 26, 2021 shantideva edit 0

พระเจ้าสุทโธทนะ หรือเรียกกันอีกนามว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์ สุทรรศน์ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ เป็นพุทธบิดาของ พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุ กับพระนางกัญจนามีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจาก พระสิทธัตถราชกุมาร ประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายา ก็สวรรคต พระสุทโธทนะ จึงอภิเษกสมรสใหม่ กับพระนางมหาปชาบดี หรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐา ร่วมชนนี กับพระนาง สิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ มีพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมืองประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวัง ที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์

สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)

สุชาดา (ธิดาของเสนานีกุฎุมพี)

February 22, 2021 shantideva edit 0

นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี นางเป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาส พร้อมถาดทองคำ แก่พระโคตมพุทธเจ้า หลังพระพุทธเจ้าได้เสวย ข้าวมธุปายาสแล้วจึงขึ้นประทับ ณ โพธิบัลลังก์ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ก่อนประกาศธรรมอันประเสริฐแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ ต่อมาบุตรชายคนโตสุชาดานามว่า ยสะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนนางสุชาดาและสะใภ้ก็บรรลุโสดาบัน เช่นกัน นางสุชาดาเป็นอุบาสิกาคนแรกในพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าทรงยกย่อง นางสุชาดาเป็นเอตทัคคะผู้ถึงสรณะก่อน นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีการ สันนิษฐานถึงที่ตั้งของบ้านนางสุชาดาคือสุชาตาสถูปในหมู่บ้านพักเราร์ใกล้พุทธคยา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวง ต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนางโดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ1.ขอให้ได้สามีที่มีบุญ มีทรัพยสมบัติ และชาติสกุลเสมอกัน2.ขอให้มีบุตรคนแรกเป็นชาย ถวายข้าวมธุปายาส ขณะนั้นพระโคตมโพธิสัตว์เลิก อัตตกิลมถานุโยค หันมาเสวยพระกระยาหาร หวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ต้นไทรนั้น ผินพระพักตร์ ทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออก มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็น ปริมณฑลดูงามยิ่งนัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงเป็นเทวดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับเครื่องพลีกรรม จึงมิได้เข้าไปทำความสะอาดดังที่ตั้งใจมา รีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดาโดยด่วนฝ่ายนางสุชาดาจึงรีบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงาม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูล ศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดี สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา มานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

February 19, 2021 shantideva edit 0

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราช ธิดาในพระเจ้าอัญชนาธิป ราชแห่งกรุง เทวทหะ แคว้นโกลิยะ และเป็นพระขนิษฐ ภคินี(น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็น พระพุทธมารดา ดังนั้นพระนาง มหาปชาบดีโคตมี จึงเป็นพระมาตุจฉาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ทรงเป็นภิกษุณี รูปแรกในพระพุทธศาสนา และทรงได้ เรียนกรรมฐาน และทรงปฏิบัติอ ย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศ กว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน) พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวช ต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูร ญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้ สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลี และประทับอยู่ที่ กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยเหล่า นางสากิยานี จำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนา ที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยัง กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านาง สากิยานี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออก หลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือ ครุธรรม 8 ซึ่งพระนาง มหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านาง สากิยานี หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี ได้ทรงเรียนกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน และปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

February 15, 2021 shantideva edit 0

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด ประโยชน์ปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการน้อมตนแก่พระเจ้าทั้งกาย วาจา และใจ ตามแบบอย่างพระศาสดาพระมุฮัมมัด และโองการที่พระเจ้ากำหนดไว้ ส่วนประโยชน์อื่นที่พึงได้รับมีดังนี้ 1.เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา2.เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง3.เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ4.เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี5.เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม6.เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี7.เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

พระราหุล

พระราหุล

February 12, 2021 shantideva edit 0

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทาน ออกมาว่า “ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง” แปลว่า “‘ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้น แล้ว” หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ ไว้กับ ภริยา และ ชีวิต ฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมาร ทรงตั้งพระนาม โอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า “ราหุล” อันแปลว่า “บ่วง” คุณธรรมที่ควรยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง มีความอดทนเป็นเยี่ยม คือบรรพชาตั้งแต่อายุ 7 ปี ต้องอดอาหารในเวลาวิกาล ตั้งแต่ เที่ยงจนถึงรุ่งเช้า ตามปกติของพระภิกษุสามเณรในสมัยพุทธกาล เป็นผู้ว่าง่ายถ่อมตน ไม่ถือตัว เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20

February 8, 2021 shantideva edit 0

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการจัดพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ในรัชกาลที่ 10งานพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ได้จัดขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น. ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับแจ้งการพิจารณาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ว่าทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระมหามุณีวงศ์ วัดราชบพิธ ขึ้นรับตำแหน่งดังกล่าวท่านนายกรัฐมนตรี จึงได้ชี้แจงให้สื่อมวลชนได้ทราบโดยทั่วกันในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ประวัติ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20ชื่อเดิมของสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ชื่อว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดในครอบครัวที่มีอาชีพค้าขายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ณ ต. บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี มีโยมบิดาชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อ นางตาล ประสัตถพงศ์ เข้าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ต.โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี การบรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2480 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท)เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) และมีพระกรรมวาจาจารย์ คือ พระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) ตำแหน่งปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม กรรมการคณะธรรมยุต กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) แม่กองงานพระธรรมทูต สมณศักดิ์ พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์