หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

December 13, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด มีหลักธรรมสำคัญ ๆ ดังนี้ หลักธรรม ๑๐ ประการ1. ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง ซึ่งหมายถึง การพากเพียรจนได้รับความสำเร็จ2. กษมา ได้แก่ ความอดทน นั่นคือพากเพียรและอดทน โดยยึดความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง3. ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ4. อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำโจรกรรม5. เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ6. อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ๑๐ ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง7. ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน นั่นคือมีปํญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่าง ๆ8. วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา9. สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน10. อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ หลักอาศรม ๔ เป็นขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น มี ๔ ประการคือ1. พรหมจารี เป็นขั้นตอนที่เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นนักศึกษา และจะต้องปรนนิบัติรับใช้อาจารย์พร้อมกับศึกษาเล่าเรียน2. คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปใช้ชีวิตทางโลก แต่งงานและมีบุตรเพื่อสืบสกุล โดยยึดหลักธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต3. วานปรัสถ์ เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า เพื่อฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์และเตรียมปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม4. สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิต โดยสละชีวิตทางโลกออกบวช บำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อความหลุดพ้น

นิกายพรามณ์ ฮินดู

นิกายพรามณ์ ฮินดู

December 9, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาฮินดู ศาสนาพรามณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ 1. ลัทธิไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni) 2. ลัทธิไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน 3. ลัทธิศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น 4. ลัทธิคณพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์ 5. ลัทธิสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ คายตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร 6. ลัทธิสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการยังมีนิกายอื่นๆ อีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก

คำภีร์ ศาสนาพรามณ์ฮินดู

คำภีร์ ศาสนาพรามณ์ฮินดู

December 6, 2020 shantideva edit 0

คัมภีร์พระเวท มี 3 คัมภีร์ เรียกว่า “ไตรเวท” คือ1.ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย บรรดาเทพเจ้าที่ปรากฏในฤคเวทสัมหิตามีจำนวน 33 องค์ ทั้ง 33 องค์ ได้จัดแบ่งตามลักษณะของที่อยู่เป็น 3 กลุ่ม คือ เทพเจ้าที่อยู่ในสวรรค์ เทพเจ้าที่อยู่ในอากาศ และเทพเจ้าที่อยู่ในโลกมนุษย์ มีจำนวนกลุ่มละ 11 องค์ 2.ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยสูตรสำหรับใช้ในการประกอบยัญพิธียชุเวทสัมหิตา แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ2.1 ศุกลชุรเวท หรือ ยชุรเวทขาว ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์ หรือคำสวดและสูตรที่ต้องสวด2.2 กฤษณยชุรเวท หรือ ยชุรเวทดำ ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบยัญพิธีบวงสรวง ตลอดทั้งคำอธิบายในการประกอบพิธีอีกด้วย 3.สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท ในจำนวนนี้มีเพียง 75 บท ที่มิได้ปรากฏในฤคเวท ส่วนอาถรรพเวท หรือที่เรียกกันว่า อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่างๆ อาถรรพเวท (Atharvaveda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์ คาถาต่างๆ ต่อมาคัมภีร์ทั้งสี่ได้กลายมาเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่รวมพระเจ้าในทุกสิ่งอย่างจึงปรากฏว่า มีพระเจ้ามากมาย

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์

December 2, 2020 shantideva edit 0

หลักคำสอนของศาสนาซิกข์ จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ มีอยู่ ๕ ประการ คือ1.กรรม คือ การกระทำ2.ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง3.มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม4.พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว5.สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้1.วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกายและทางวาจา เป็นการให้ทาน2.วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรม3.วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า

กุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ ๑๐

November 28, 2020 shantideva edit 0

กุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งกรรมดี ทางทำดี ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ 10 ประการ 1.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง2.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย3.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามทั้ง 3 นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก 4.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ5.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด6.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ7.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อทั้ง 4 นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมทั้ง 3 นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก

สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗

November 25, 2020 shantideva edit 0

สัปปุริสธรรม 7 ประการเป็นคุณธรรม ความดี ที่คอยกำหนดให้คนปฏิบัติดีด้วยธรรม 7 ประการของสัปปุริสธรรม ซึ่งทุกคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ และถือปฏิบัติได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าต้องปกครองผู้คนมากมาย ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนอื่น และตนต้องมีศีลธรรมอันดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ประกอบด้วยหลักธรรมที่ 7 ประการ คือ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

November 21, 2020 shantideva edit 0

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี ๑๐ ประการ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

ฆราวาสธรรม 4

ฆราวาสธรรม 4

November 18, 2020 shantideva edit 0

หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในการสร้างความสงบสุขในสังคม หากคนในสังคมทุกคนปฏิบัติตามหลักธรรมนี้แล้ว จะทำให้เกิดความสุข และความราบรื่นในชีวิต และยังทำให้องค์กรต่างๆปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่๑. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน๒. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น๓. ขันติ ความอดทนและให้อภัย๔. จาคะ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

สังคหวัตถุ ๔

สังคหวัตถุ ๔

November 14, 2020 shantideva edit 0

สังคหวัตถุ คือ เทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้๑. ทาน การให้๒. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน๓. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์๔. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง ประโยชน์ของสังคหวัตถุ ๔สังคหวัตถุ 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว อำนวยประโยชน์ที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรมดังต่อไปดังนี้ ช่วยให้บุคคลดำรงตนอยู่ได้ในสังคมด้วยความสุข เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ สมานไมตรีระหว่างกัน เป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้มีความเคารพนับถือกันตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเครื่องประสานองค์ประกอบต่างๆ ของสังคมให้คงรูปอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี ช่วยส่งเสริมศีลธรรมและป้องกันความประพฤติเสื่อมเสียในสังคม

พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร ๔

November 10, 2020 shantideva edit 0

พรหมวิหาร ๔ ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่ ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข๒. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ๓. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี๔. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔

November 7, 2020 shantideva edit 0

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความไม่สบาย กายไม่สบายใจ ทุกข์มี 2 ประเภท คือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความคิด ความแก่ ความตาย และทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า เป็นต้น สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี 3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละตัณหา มรรค คือ ความจริงว่าด้วยวิถีทางแห่งความดับทุกข์

ขันธ์ 5

ขันธ์ 5

November 3, 2020 shantideva edit 0

ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) เป็นหลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 โดยหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม) ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา ) ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร) ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้ สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ ๖)

วันเทโวโรหณะ

วันเทโวโรหณะ

October 31, 2020 shantideva edit 0

การตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นการตักบาตรเทโวนั้นเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษา ทุกวัดในไทยจะมีการจัดพิธีการตักบาตรเทโวนี้ โดยการตักบาตรเทโวนี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญของวันนี้จะเป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง คือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา

October 26, 2020 shantideva edit 0

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดการจำพรรษา 3 เดือน (นับแต่วันที่เข้าพรรษา) โดยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งในวันออกพรรษานี้ พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา จะเป็นการได้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเมื่อถึงวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนจะยังไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโวกิจกรรมวันออกพรรษา ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาตผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ร่วมกิจกรรม ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ อี ทั้งประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามสถานที่ราชการ สถานศึกษา และวัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยา ธรรมเกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป

วันเข้าพรรษา

October 23, 2020 shantideva edit 0

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างที่อื่น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2563 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม โดยประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญ กิจกรรม มีดังนี้ ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ