บทที่ ๗ ความเพียร

บทที่ ๗ ความเพียร

      ความเพียร นี้เป็นกำลังอันสำคัญ เพราะหากปราศจากซึ่งความเพียรแล้ว ก็คงเป็นการยากที่เรา จะเดินทางไปได้ถึงเส้นทางแห่งธรรม เปรียบได้กับเรือใบที่ไม่อาจแล่นหากไร้ซึ่งลม ดังนั้น เรา ควรพัฒนาความเพียรเพื่อก้าวหน้าในเส้นทางแห่งการพัฒนาตนเอง แล้วความเพียรคืออะไร ความเพียรคือความเบิกบานในสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ฝึกฝนที่มีความเพียรย่อม มีความเบิกบานบนเส้นทางธรรมของตน

      เมื่อเรามีความเบิกบานมีความรู้จริงเห็นจริง ตระหนัก ชัดในคุณค่าของการก้าวเดินบนเส้นทางสายนี้ ความเพียรย่อมบังเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องบีบบังคับตนเองแต่ประการใด หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความหมายของความเพียร มิได้หมายถึงการที่เราต้องบีบบังคับตน เอง ฝืนตนเองให้ทำงานอย่างหนัก เพราะในไม่ช้าภายใต้ภาวะการณ์แห่งความบีบคั้นนั้น เราย่อม จะท้อแท้และยกเลิกอย่างง่าย ๆ แต่การที่จะพัฒนาความเพียรที่แท้จริงนั้น เราต้องมีความรู้ความ เข้าใจสรรพสิ่ง อย่างน้อยเราก็ควรเห็นจริงในความทุกข์แห่งสังสารวัฏ เห็นจริงในคุณค่าแห่ง โพธิจิต หรือแม้แต่ตระหนักถึงคุณค่าแห่งการรู้แจ้งปัจจัยต่างๆ

      หากเราเข้าใจและตระหนักถึงแล้ว ความเพียรย่อมพัฒนาขึ้นภายในตัวของเราโดยไม่ต้องบีบบังคับเลย อย่างไรก็ตามการเข้าใจหรือเห็นจริงในความทุกข์แห่งสังสารวัฏหรือคุณค่าแห่งการรู้แจ้ง ไม่ได้หมายความว่า เราต้องครุ่นคิดถึงแต่ด้านเลวร้ายของการได้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เพราะในท่ามกลางสังสารวัฏนั้น ยังมีด้านดี ยังมีความสุขความรื่นรมณ์ให้เราได้สัมผัส เพียงแต่เป็นความสุขความรื่นรมณ์อันจำกัดที่ไม่ยั่งยืน

      ความสุขความรื่นรมณ์นี้เป็นผลมาจากกรรมดีที่เราได้สั่งสมมา เพียงแต่มันย่อมพาเราไปและไม่ยั่งยืน ความสุขความรื่นรมณ์ในสังสารวัฏนี้ หากเปรียบไปแล้วที่ไม่ต่างกับการลิ้มรสของความหอมหวานของน้ำผึ้งที่หยดลงใบมีดโกน ขณะ ที่เราได้ลิ้มรสความหมอหวานของน้ำผึ้งอยู่นั้น เราก็ลิ้มรสความเจ็บปวดจากคมมีดในเวลาเดียวกัน นี่แหละคือรสชาติของความสุขในสังสารวัฏนี้ ดังนั้น ความสุขในสังสารวัฏจึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง

      ขณะที่ความทุกข์นั้นก็รุนแรงยิ่งนัก แต่เรา เคยถามตัวเองกันบ้างใหมว่า ขนาดเพียงแค่ความสุขความรื่นรมณ์อันไม่ยั่งยืนนี้ เรายังดิ้นรน เพียรพยายาม สละแทบทุกอย่างในชีวิตเพียงเพื่อให้ได้ความสุขอันไม่ยั่งยืนนี้มา แล้วเหตุใดเรา ถึงละเลยที่จะเพียรพยายามฝึกฝนตนก้าวไปถึงความสุขความรื่นรมณ์ที่แท้ของการได้รู้แจ้งเสียเล่า

      หากเราได้พิจรณาเปรียบเทียบ จนตระหนักถึงความแตกต่างของความรื่นรมณ์ ที่ได้รับจาก สังสารวัฏ กับความสุขของการได้รู้แจ้งแล้ว ตัวเราเองก็ย่อมเป็นผู้บอกเราเองว่าเหตุใดเราจึง ควรพัฒนาความเพียรมุ่งไปสู่การรู้แจ้ง บนเส้นทางแห่งธรรมโดยไม่ต้องบีบบังคับตนเอง