บทที่ ๘ สมาธิ
ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของการที่มีจิตที่เป็นสมาธิ เพราะการที่จะพัฒนาตัวเรา ให้เป็นผู้มีปัญญาได้นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือเราจำเป็นต้องมีจิตที่ตั้งมั่น มีสมาธิ ไม่ กวัดแกว่ง เพราะหากว่าเราไม่สามารถควบคุมจิตของเราได้แล้ว ก็ย่อมเสี่ยงต่อการตกอยู่ใน อุ้งเล็บของมโนภาพที่หลงผิด เสี่ยงต่อความคิดอันเกิดจากโลภ โกรธ หลง จะเข้ามาได้ง่าย และนำไปสู่การกระทำที่หลงผิดได้อย่างไม่ยากเย็น กุศลกรรมและความตั้งใจทำที่ดีก็จะถูกชัก นำให้หันเหไปในที่สุดดังนั้น ถ้าเราไร้ซึ่งจิตอันเป็นสมาธิเสียแล้ว ก็ย่อมเป็นการง่ายต่อการที่ จะถูกโจมตีด้วยมโนภาพแห่งความหลงผิดทั้งปวง
และวิธีที่จะเริ่มละวางโลกีย์วิสัยอันเป็นโทษให้ได้นั้น ในทางกายคงต้องเริ่มต้นด้วยการละวาง หรือละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ไม่จำเป็นออกเสีย ส่วนทางจิตนั้น เราควรพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะวางแผนหรือครุ่นคิดหมกหมุ่นในเรื่องที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว หรือเพ้อ ฝันความหวังในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่เราควรดำรงตนให้อยู่กับปัจจุบันทุกขณะจิตว่าเป็น อย่างไร จะเป็นประโยชน์มากกว่า
อุปสรรคสำคัญของการมีสมาธิเพื่อละวางจากโลกียวิสัยนั้นก็คือความยึดติด ไม่ว่าจะเป็นความ ยึดติดในบุคคล หวังละโมบในผลประโยชน์ทางวัตถุและสิ่งต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติสมาธินั้นพึงปฏิบัติ เพื่อละวางการยึดติดเหล่านั้น หาไม่แล้วการปฏิบัติสมาธิที่มีแต่การนำไปสู่การยึดติดหลงไหล เพิ่มพูลความวิเศษ ในอัตตาตัวตน จะเรียกว่าเป็นสมาธิที่นำไปสู่ปัญญาได้เช่นไร
ส่วนวิธีการปฏิบัติสมาธินั้น ในพระสูตรคำสอนมหายานมีอยู่หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่จะสอนให้ เราเริ่มต้นที่การปฏิบัติสมาธิ เพื่อละวางซึ่งมโนภาพที่หลงผิดในจิตของตนเองให้ได้เสียก่อน ด้วยการใช้ยาแก้ให้ถูกขนานกับแต่ละมโนภาพแห่งความหลงผิดนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากบุคคล มักโกรธง่ายเกลียดง่าย ก็ควรเริ่มต้นปฏิบัติสมาธิวิธีที่นำไปสู่การพัฒาความรักความเมตตา กรุณา ถ้าบุคคลดมีตัณหามาก มีความละโมบมาก ก็ให้ปฏิบัติสมาธิพิจารณาถึงความทุกข์ความ ไม่แน่นอนแห่งห้วงวัฏสงสาร และความไม่คงทนยั่งยืนของวัตถุ หรือผลประโยชน์ที่เราอยากได้ เพื่อให้ได้ตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมัน ไม่ให้ลุ่มหลงไปกับมายาภาพที่ฉาบเคลือบเอา ไว้ และที่สำคัญที่สุดการปฏิบัติสมาธินั้นควรเป็นไปเพื่อความพยายามในการตัดสายโซ่แห่งบ่วง อวิชชา เพราะอวิชชาหรือความไม่รู้นี้เองที่เป็นตัวนำไปสู่ความสับสน ความหลงผิดในมายา คติต่าง ๆ หากเราสามารถจะละได้ความเป็นอวิชชาเข้าใจถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสรรพสิ่ง ท้ายที่สุดก็ย่อมนำเราไปสู่ปัญญานั่นเอง แต่ในทางกลับกัน หากการปฏิบัติสมาธิใด ๆ ก็ตาม กลับนำเราไปสู่อวิชชามากขึ้น นำไปสู่ความไม่รู้มากขึ้น หลงวนเวียนอยู่มายาคติมากขึ้น ก็คง เป็นไปได้แค่เพียงสมาธิชนิดที่นำไปสู่อุ้งเล็บของความหลงผิดเท่านั้นเอง