องค์ประกอบของศาสนา

ศาสนา” คือ ปรากฏการณ์ทางจิต ที่สร้างความเชื่อ ความศรัทธา ให้แก่สังคมหมู่มาก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคุณค่า ตลอดจนวัฒนธรรมหลายๆอย่าง มีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นเฟ้น โดยคำสอนเต็มไปด้วยความลึกซึ้งและมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่องค์ประกอบที่จัดว่ามีความสำคัญสูงสุดมี 5 เรื่อง ได้แก่

  • ศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา เป็นผู้บัญญัติคำสอนดั้งเดิม
  • คัมภีร์ ที่รวบรวมคำสอน หลักปฏิบัติ เรื่องเล่าต่างๆ
  • สาวก คือ ผู้ปฏิบัติตามคำสอน เป็นผู้สืบทอดศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
  • ศาสนสถาน คือ สถานที่สำคัญเอาไว้ประกอบศาสนกิจ มีกฎและข้อห้ามบางประการ
  • สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของศาสนานั้นๆ เช่น พิธีกรรม , รูปปั้น , รูป เป็นต้น

ศาสดา

คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทวนิยมกับอเทวนิยม

ศาสดาแห่งเทวนิยม คือ ศาสนทูตของพระเจ้า เป็นผู้นำสารจากพระเจ้าลงมาแสดงแก่มนุษย์ แบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภท คือ

  • ศาสดาอวตารลงมา คือ จากร่างกายของพระเจ้าจุติลงมาในร่างของมนุษย์ เมื่อทำหน้าที่ของตนเองเสร็จแล้ว ก็จะกลับสู่สวรรค์อย่างเดิม เช่น เทพในศาสนาอินดู อย่างพระนารายณ์ , เทพศาสนาคริสต์ พระเยซู แต่นักศาสนาบางคน เช่น ฮีโอโดตุส ไม่ยอมรับโดยเชื่อว่าพระเยซูไม่ใช่บุตรของพระเจ้า แต่เป็นบุตรบุญธรรมต่างหาก
  • ศาสดาเป็นนักพรตหรือฤาษี ที่บำเพ็ญบารมีจนกล้าแกร่ง จนกระทั่งได้เห็น,ได้ยินเสียงของเทพเจ้าได้ และนำมาจารึกเป็นคัมภีร์ขึ้นมา เช่น คัมภีร์พระเวท คือ จากการได้ยินของฤาษี กัสยประ, ภารทวาชะ , เคาตมะ เป็นต้น
  • ศาสดาเป็นผู้พยากรณ์ ผู้พยากรณ์ คือ ผู้นำสารของพระเจ้า พร้อมทำนายเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดกับมนุษย์ เช่น ในศาสนายิว เชื่อเรื่องพระผู้มาโปรดอย่างโมเสส เป็นต้น

ศาสดาของศาสนาอเทวนิยม คือ ‘มนุษย์’ ผู้ค้นพบหลักความจริงด้วยตนเอง เสร็จแล้วก็รวบรวมหลักธรรมคำสอน แล้วนำมาสอนในวงกว้าง พร้อมทั้งตั้งศาสนาของตนเองขึ้น ซึ่งอเทวนิยม เน้นการสอนไม่ให้กราบไหว้วิงวอนขอพรจากสิ่งที่มองไม่เห็น เน้นการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ…

  • พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าแห่งศาสนาพุทธ ท่านเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นครูแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
  • ศาสดามหาพรตแห่งศาสนาเชน เน้นการบำเพ็ญแบบทรมานตนเอง ด้วยวิธีอหิงสาอย่างเข้มงวด ปฏิเสธหลักเทวนิยมแบบพราหมณ์
  • ศาสดานักปราชญ์ คือ ศาสดาที่ไม่ได้ออกบวช โดยดำเนินชีวิตอยู่อย่างผู้ครองเรือนทั่วไป หากแต่สนใจในศาสนาพร้อมปฏิบัติอย่างจริงจัง มีความเข้าใจในหลักคำสอนอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งเน้นสอนหลักปฏิบัติตนในครอบครัวและในสังคม เช่น ขงจื้อ , เล่าจื้อ เป็นต้น