ธิเบต

April 20, 2021 shantideva edit 0

บัญญัติให้มีมนตร์เรียกว่า ธารณี ประจำองค์พระพุทธเจ้าและ พระโพธิสัตว์ต่างๆ ยาวบ้างสั้นบ้าง มนตร์แต่ละบทมีอานุภาพขลังๆ ทั้งนั้น เช่น สวดจบเดียวก็มีอานิสงส์เป็นพระอินทร์ร้อยชาติ หรือเพียง แต่เขียนคำมนตร์ลงในผืนผ้า แขวนเอาไว้ใครเดินรอด มีอานิสงส์ทำให้ บาปกรรมที่ทำมา ๙๐ กัลป์แทงสูญ คาถาเหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น “โอม มณี ปทฺทเม ฮัม โอมดวงแก้วเกิดในดอกบัว

ชี้ปัญหาพระพุทธศาสนาแก้ไขเร่งด่วน

April 14, 2021 shantideva edit 0

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.62 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชนหัวข้อ “วันมาฆบูชา” สำคัญอย่างไร จากกลุ่มตัวอย่าง 5,335 คนทั่วประเทศ ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 74.57 ทราบวันมาฆบูชาปีนี้ตรงกับวันที่ 19 ก.พ. เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรกในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน 3 และร้อยละ 65.53 ตอบว่ามีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ส่วนกิจกรรมที่ประชาชนจะทำในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลมาฆบูชา ประจำปี 2562 ร้อยละ 56.17 บอกว่าตักบาตร ร้อยละ 25.51 เข้าวัดปฏิบัติธรรม และร้อยละ 20.78 สวดมนต์ที่บ้าน นายวีระ กล่าวอีกว่า สอบถามความเห็นหลักธรรมใดที่ควรยึดถือปฏิบัติและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในช่วงวันมาฆบูชา ร้อยละ 72.89 ศีล 5 คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มน้ำเมา และร้อยละ 44.25 โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา การไม่ทำบาปทั้งปวง ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ต้องแก้ไข ได้แก่ การใช้ความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาพุทธมาทำให้เกิดรายได้หรือข้าวของเงินทองให้กับตนเอง ประเด็นด้านลบที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ บุคคลที่แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หลอกลวงรับบริจาคเงิน และพระสงฆ์ประพฤติตัวไม่เหมาะสม นอกจากนี้ผลสำรวจวิธีการใดที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้าวัดมากขึ้น พระสงฆ์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ที่ทำให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และแฝงไว้ด้วยคำสอนที่เข้าใจง่าย “เมื่อถามว่ากิจกรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ควรสืบสานและฟื้นฟู ได้แก่ ประกวดสวดมนต์ แข่งขันตอบปัญหาธรรมะ เพราะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ สอดแทรกความรู้ สาระที่เป็นประโยชน์ และช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น และการปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ เพราะคนยุคสมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมการเข้าวัดปฏิบัติธรรม แต่การจะสืบสานควรปรับเนื้อหาให้เข้ากับยุคสมัยไม่ย่ำอยู่กับที่ จะทำให้คนยุคใหม่เข้ามาสนใจมากขึ้นได้” นายวีระ รมว.วัฒนธรรม กล่าว

หลักคำสอนที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

April 10, 2021 shantideva edit 0

พระพุทธศาสนา มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์สุขและวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงที่ว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง คือด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม หลักจริยธรรมความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน หลักคุณธรรมพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศล หรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามกรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ

บก.ตอบจดหมาย : เรียกศรัทธาให้พุทธศาสนา/กระทรวงเกษตรฯโปรดทราบ/ให้โอกาสน.ศ.รีไทร์อย่างพอเหมาะ/พิธีกรอ่อนข้อมูล

April 10, 2021 shantideva edit 0

กรณีการจับกุมพระชั้นผู้ใหญ่หลายรูป ที่มีส่วนพัวพันเงินทอนวัด กับกรณีปล้นทรัพย์กับเป็นหัวหน้าอั้งยี่ซ่องโจรนั้น เป็นการเรียกศรัทธาผู้ที่มีอำนาจใช้กฎหมายว่าทำจริง กับเรียกศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่ผ่านมานั้นพระสงฆ์บางรูปวางตัวไม่เหมาะสม เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทางโลกมากเกินไป บางรูปก็ยังสละกิเลสไม่หมด แต่ลำพังจะโทษพระสงฆ์แต่ฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่ หลายเหตุการณ์มักจะมีฆราวาสเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบทุกเรื่อง หยิบยื่นผลประโยชน์ให้กันและกันก็เลยเกิดปัญหา นับถือ บ่าว ตอบ บ่าว เห็นด้วยว่า เป็นการทำงานของตำรวจที่เรียกศรัทธาให้กับพระพุทธศาสนากลับคืนมา สงฆ์ไม่ควรยุ่งทางโลกมากเกินไป เช่น ไปนำม็อบ เป็นต้น กระทรวงเกษตรฯโปรดทราบ เรียน บ.ก.ข่าวสด ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ร้องมาว่า โครงการ “ระบบส่งน้ำในไร่นา” ด้วยท่อน้ำ PE ความยาว 2,320 เมตร ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ตั้งอยู่ข้างสระน้ำสาธารณะบ้านกระโดนค้อ ม.2 ใช้ประโยชน์ยังไม่ได้ แม้จะมีการสร้างวางระบบเครื่องสูบน้ำและวางระบบท่อเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก็ตาม เนื่องจากว่าแหล่งน้ำดิบ มีปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีมติไม่ให้เปิดใช้ระบบดังกล่าว เกรงว่าน้ำประปาที่ใช้อุปโภค-บริโภคจะขาดแคลน ร้องขอให้กรมที่ดินเจ้าของโครงการและเป็นต้นเรื่อง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยลงมาดูแลแก้ปัญหาหรือขุดลอกขยายแหล่งน้ำดิบให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอด้วย เพื่อที่ชาวบ้านและเกษตรกรจะได้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง จากระบบส่งน้ำในไร่นาเสียที หลังจากถูกทิ้งร้างมานานกว่า 3-4 ปีแล้ว

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด

February 15, 2021 shantideva edit 0

ประโยชน์ของการทำพิธีละหมาด ประโยชน์ปัจจุบันที่สำคัญที่สุด คือ เป็นการน้อมตนแก่พระเจ้าทั้งกาย วาจา และใจ ตามแบบอย่างพระศาสดาพระมุฮัมมัด และโองการที่พระเจ้ากำหนดไว้ ส่วนประโยชน์อื่นที่พึงได้รับมีดังนี้ 1.เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา2.เป็นการฝึกสมาธิและสร้างพลังจิตใจให้แข้มแข็ง3.เป็นการช่วยแก้ปัญหาชีวิต (ระงับความทุกข์ใจ) ได้โดยทำจิตใจให้สงบ4.เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีหลายประการ เช่น ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความอดทน การเอาชนะใจตัวเอง สร้างความสะอาดและความสามัคคี5.เป็นวิธีการบริหารร่างกายทางอ้อม6.เป็นการสร้างพลังกายให้เข้มแข็งเพื่อสามารถต่อต้านโรคภัยได้เป็นอย่างดี7.เป็นการลดความตึงเครียดในหน้าที่การงานเพื่อดำเนินงานต่อไปอีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

January 25, 2021 shantideva edit 0

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก วันสมโภชพระนางมารีย์ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันที่สมโภชพระนางมารีย์พระชนนี พระเป็นเจ้า พระนางเป็นแม่ของพระเยซูเจ้าในฐานะที่เป็นมนุษย์ แต่เนื่องจากพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ พระนางมารีย์จึงได้ชื่อว่าเป็นมารดาของพระเจ้า วันพุธรับเถ้า วันพุธที่เริ่มต้นในเทศกาลมหาพรต ซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วัน ของการฟังพระวาจาและการสวดภาวนา เพื่อเตรียมใจในการฉลองปัสกาอย่างสมควร และเป็นการเตรียมขั้นสุดท้ายสำหรับผู้ใหญ่ที่จะรับศีลล้างบาป วันสมโภชปัสกา วันอาทิตย์ที่สมโภชการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า (วันอาทิตย์หลังวันที่ 14 เดือนนิสาน ซึ่งเป็นเดือนตามปฏิทินของชาวยิว ประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายนของทุกปี) วันเริ่มต้นเทศกาลปัสกา วันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ เป็นวันสมโภชการที่พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ ตามที่บันทึกไว้ในพระวรสารว่า 40 วันหลังจากพระเยซูเจ้าเสด็จกลับคืนพระชนมชีพ วันสมโภชพระจิตเจ้า เป็นวันปิดเทศกาลปัสกา และเป็นความสำเร็จสมบูรณ์ของแผนการความรอดที่เกิดขึ้น โดยการเสด็จมาของพระจิตเจ้า เป็นการกำเนิดของพระศาสนจักรที่พระเยซูเจ้าตั้งขึ้นโดยผ่านทางอัครสาวก วันสมโภชพระตรีเอกภาพ วันอาทิตย์ถัดจากวันสมโภชพระจิตเจ้าเป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในพระเจ้า พระองค์เดียวมี 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร พระจิตเจ้า วันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า วันอาทิตย์ถัดจากวันสมโภชพระตรีเอกภาพ เป็นวันสมโภชที่ให้เกียรติต่อองค์พระเยซูเจ้าที่ประทับอยู่ในศีลมหาสนิท ตามธรรมเนียมคริสตชนจะมีการแห่ศีลมหาสนิท และรับพรจากศีลมหาสนิทหลังพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ วันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล เป็นวันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโลอัครสาวก (อัครสาวกที่มีบทบาทสำคัญของพระศาสนจักร) ตรงกับวันที่ 29 มิถุนายน วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย วันที่ระลึกถึงบรรดานักบุญที่เคยใช้ชีวิตในโลกนี้ ซึ่งเป็นแบบฉบับในการทำความดี และเป็นผู้ภาวนาต่อพระเจ้าเพื่อมนุษย์ในโลก ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน วันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล เป็นวันอาทิตย์สุดท้ายในปีปฏิทินพระศาสนจักรคาทอลิก เป็นวันสมโภชที่ให้เกียรติพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ ผู้นำชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสมโภชการปฏิสนธิโดยปราศจากบาปกำเนิดของพระนางมารีย์ วันสมโภชพระคริสตสมภพ ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันสมโภชการบังเกิดของพระเยซูเจ้า วันอาทิตย์ เป็นการฉลองประจำสัปดาห์ของคริสตชน ในการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ซึ่งคริสตชนทุกคนไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่โบสถ์

หลักคำสอนศาสนาคริสต์

หลักคำสอนศาสนาคริสต์

January 21, 2021 shantideva edit 0

พระคัมภีร์สอนเรื่อง 10 หลักคำสอนในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อความผาสุกของชีวิต 1.ท่านต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเรา2.ท่านต้องไม่ทำรูปปฏิมา ( รูปเคารพ) สำหรับตน ไม่ว่าจะเป็นรูปสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ท้องฟ้าเบื้องบน หรือซึ่งอยู่ในแผ่นดินเบื้องล่าง หรือซึ่งอยู่ในน้ำใต้แผ่นดินท่านต้องไม่กราบไหว้รูปปฏิมา ( รูปเคารพ) หรือนมัสการรูปเหล่านั้น เพราะเราคือ พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน เราแสดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเราจนถึงพันชั่วอายุคน3.ท่านต้องไม่กล่าวพระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านอย่างไม่เหมาะสม เพราะพระยาห์เวห์จะไม่ทรงละเว้นโทษผู้ที่กล่าวพระนามของพระองค์อย่างไม่เหมาะสม4.จงระลึกถึงวันสะบาโตว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ท่านจะต้องออกแรงทำงานทั้งหมดในหกวัน แต่วันที่เจ็ดเป็นวันพักผ่อนที่ถวายแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน ในวันนั้นท่านต้องไม่ทำงานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าน บุตรชาย บุตรสาว บ่าวไพร่ ชาย หญิง สัตว์ใช้งานหรือคนต่างถิ่นที่อาศัยอยู่กับท่าน เพราะในหกวันพระยาห์เวห์ทรงสร้างฟ้า แผ่นดินทะเล และสรรพสิ่งที่มีอยู่ในที่เหล่านี้ แต่ในวันที่เจ็ด พระองค์ทรงพักผ่อน เพราะฉะนั้นพระยาห์เวห์ทรงอวยพระพรวันสะบาโต และทรงทำให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์5.จงนับถือบิดามารดา เพื่อจะได้มีอายุยืนอยู่ในแผ่นดินที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านประทานให้ท่าน6.อย่าฆ่าคน7.อย่าล่วงประเวณี8.อย่าลักขโมย9.อย่าเป็นพยานเท็จให้ร้ายเพื่อนบ้าน10.อย่าโลภ มักได้บ้านเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภมักได้ภรรยาของเพื่อนบ้านหรือบ่าวไพร่ชายหญิง โค ลา หรือทรัพย์สินใด ๆ ที่เป็นของเพื่อนบ้าน

นิกายศาสนาคริสต์

นิกายศาสนาคริสต์

January 18, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาคริสต์มีนิกาย หลักๆ 3 นิกาย คือ 1.นิกายโรมันคาทอลิค2.นิกายโปรเตสแตนท์ 3.นิกายออร์ธอด็อกซ์ นิกายโรมันคาทอลิค มีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่เปโตรได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร เราอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังอย่างเดียว ในฐานะที่เป็น “ผู้ดูแลฝูงแกะ” ของพระเจ้าความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะ นักบวชเท่านั้นแต่เป็นประมุข สูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิคจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่น ให้สัตบุรุษมีศรัทธาและปฏิบัติตาม พระศาสนจักร เพราะพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์กรที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุ เป้าหมายตามภาระกิจที่พระเจ้าได้มอบไว้ มนุษย์จะรอดพ้นจากทุกข์ และบาปกำเนิด (original sin) ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นิกายโปรเตสแตนท์ นิกายนี้มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและคริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า“โปรเตสแตนต์” (Protestant) ซึ่งแปลว่า “ประท้วง” อาจารย์เสรี พงศ์พิศ (2531 : 71-74) ได้กล่าวถึงนิกายนี้ว่า เป็นกุล่มที่แยกตัว ออกมาจากพระศาสนจักร คาทอลิคประมาณศตวรรษที่ 14-15 โดยเริ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มี การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็น ตัวเคลื่อนไหวนี้มี 3 กลุ่ม คือ นิกายลูเธอร์รัน (Lutheran) กลุ่มคริสตรจักรฟื้นฟู (Reformed Christianity) และ นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England) นิกายออร์ธอด็อกซ์ ความเป็นมาของนิกายนี้ สืบย้อนได้ถึงศตวรรษในคริสตศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome) ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิกายเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสารทั่วไปอาณาจักรทั้งสองนี้มีการแข่งันกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และการเมืองแม้นว่าจะนับถือศาสนาคริสต์เหมือนกน แต่มุมมองในด้านความเชื่อต่างกัน

No Image

พระคริสตธรรมคัมภีร์

January 14, 2021 shantideva edit 0

พระคริสตธรรมคัมภีร์ หรือพระคัมภีร์ (Holy Bible) เป็นหลักคำสอนหรือคู่มือในการดำเนินชีวิตของคริสตชน เชื่อว่า พระเจ้าทรงดลใจให้ผู้ประกาศพระวจนะของพระองค์ โดยบุคคลหลากหลาย ต่างยุค ต่างสมัย ต่างอาชีพ ตั้งแต่ กษัตริย์, ธรรมาจารย์, ปุโรหิต, สานุศิษย์, ชาวประมง และสามัญชนผู้มีใจศรัทธาได้เขียนขึ้น พระคัมภีร์มีสองภาค แบ่งเป็นภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) และภาคพันธสัญญาใหม่ (New Testament) โดยภาคพันธสัญญาเดิมจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์การสร้างโลก และกำเนิดมนุษยชาติ การกระจายของพงศ์พันธุ์มนุษย์ ประวัติศาสตร์ชนชาติยิว ( ยูดาย) บทนิพนธ์ บทเพลงสรรเสริญนมัสการพระเจ้า และหลักคำสอน คำพยากรณ์แห่งอนาคตของประชาชาติ ส่วนพระคัมภีร์ใหม่จะกล่าวถึงประวัติและพระราชกิจของพระเยซูคริสต์ การกำเนิดและการขยายงานคริสตจักร โดยการเผยแพร่ หลักคำสอนในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ศรัทธาในพระองค์ ตลอดคำสัญญาแห่งอนาคต คัมภีร์ไบเบิล (อังกฤษ: Bible) (มาจากภาษากรีกว่า บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์ เรียกโดยย่อว่าพระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture)

คัมภีร์ศาสนาอิสลา

คัมภีร์ศาสนาอิสลา

January 4, 2021 shantideva edit 0

ในคัมภีร์อัลกุรอาน “แท้จริงศาสนาแห่งอัลเลาะห์นั้น คือ ศาสนาอิสลาม” แสดงว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ศาสนา ที่มนุษย์ตั้งขึ้น คำสอนในศาสนาอิสลา ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดามูฮำหมัด พระศาสดามูฮำหมัด มิได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามขึ้น พระองค์ เป็นเพียงผู้รับเอา ศาสนาอิสลาม อันเป็นของพระอัลเลาะห์ มาประกาศเผยแพร่แก่มนุษยชาติเท่านั้น ศาสนาอิสลามมีคำสอนว่า พระอัลเลาะห์ ทรงสร้างโลก และสรรพสิ่งในจักรวาล ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกของโลก คือ อาดัมและเฮาวาฮ์ (อาดัมกับอีวา หรืออีฟ ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์) พระองค์ได้ตรัสว่า “โออาดัม เจ้าและพรรยาของเจ้า จงพำนักอยู่ในสวรรค์ และเจ้าทั้งสองจงกินของในนั้นได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องหวงห้าม ตามที่เจ้าทั้งสองต้องการ แต่จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้ เพื่อเจ้าทั้งสอง จะได้ไม่เป็นพวกทรยศ” แต่แล้วมารร้าย ก็ได้ใช้อุบายหลอกลวง ให้มนุษย์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระผู้เป็นเจ้า พระอัลเลาะห์ จึงทรงขับไล่ อาดัม และเฮาวาฮ์ไม่ให้อยู่ในสวรรค์ ให้ลงมาอยู่ ณ หน้าแผ่นดิน พระผู้เป็นเจ้า ทรงส่งพระศาสนทูต (รอซูล) ลงมาสั่งสอนมนุษย์เป็นครั้งคราว ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากพระอัลเลาะห์ให้มาเป็นพระศาสนทูต นับแต่อาดัม ซึ่งถือว่าเป็นพระศาสนทูต คนแรก จนถึงพระศาสดามูฮำหมัด ศาสดาคนสุดท้าย มีจำนวนมากด้วยกัน แต่ที่ระบุชื่ออยู่ในพระคัมภีร์อัลกรุรอานนั้น มี 25 ท่าน ในจำนวนนี้ ที่จัดว่าเป็น พระศาสนทูต มี 5 ท่าน คือ นูห์ หรือโนอา อิบรอฮิม หรืออับราฮัม มูซา หรือโมเสส (ศาสดาของศาสนายิว) ฮีซา หรือเยซู (ศาสนดาของศาสนาคริสต์ มูฮำหมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม)

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์

December 2, 2020 shantideva edit 0

หลักคำสอนของศาสนาซิกข์ จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ มีอยู่ ๕ ประการ คือ1.กรรม คือ การกระทำ2.ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง3.มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม4.พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว5.สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้1.วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกายและทางวาจา เป็นการให้ทาน2.วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรม3.วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

October 20, 2020 shantideva edit 0

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาของเราอีกหนึ่งวัน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น ได้นำไปเผยแผ่แก่ศาสนิกชนทั้งหลายค่ะ ความเป็นมาวันมาฆบูชา ๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา

October 17, 2020 shantideva edit 0

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันที่สำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชน มีการทำพิธีพุททธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ 1. ความกตัญญู คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งบิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป 2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่ – ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือความยากจน เป็นต้น – สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก “ตัณหา” อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด – นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้ – มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ 3. ความไม่ประมาท คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้น ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

October 17, 2020 shantideva edit 0

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration) การปริวรรตอักษร หรือการเขียนคำทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงอักษรหรืออักขรวิธีจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เมื่อปริวรรตแล้วสามารถแปลงกลับเป็นอักษรหรืออักขรวิธีเดิมได้ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก และใกล้เคียงอักขรวิธีการเขียนเดิมให้ได้มากที่สุด เช่น การปริวรรตอักษรโรมันภาษาอังกฤษ มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการปริวรรตอักษรภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็น ปกติแล้วการปริวรรตอักษรคือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำหรืออักษรต่ออักษร การปริวรรตอักษรได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำปริวรรตอักษรได้ ดังนั้นจึงมีการกำหนดหลักการปริวรรตอักษรที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย ความหมายอย่างแคบของการปริวรรตอักษรคือ การปริวรรตอักษรแบบถอดอักษร (transliteration)นั้นเป็นการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา เนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้มากที่สุด การปริวรรตอักษรเป็นการถอดอักษร ต่างจากการถอดเสียง (transcription) ซึ่งเป็นการจับคู่เสียงอ่านของภาษาหนึ่ง ๆ ไปยังรูปแบบการเขียนของอีกภาษาที่ใกล้เคียงที่สุด ถึงแม้ว่าระบบการถอดอักษรส่วนใหญ่จะยังคงจับคู่อักษรต้นฉบับกับอักษรในภาษาเป้าหมายที่ออกเสียงคล้ายกันในบางคู่ ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงเหมือนกันทั้งสองภาษา การถอดอักษรก็อาจแทบจะเหมือนกับการถอดเสียง

การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล (IAST)

October 15, 2020 shantideva edit 0

การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล หรือ The International Alphabet of Sanskrit Transliteration (IAST) เป็นรูปแบบการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน(Romanization) รูปแบบหนึ่งที่ปราศจากการสูญเสีย(Lossless) คือสามารถจับคู่อักษรต้นทางและปลายทางได้ครบคู่ โดยมากอักษรต้นทางนั้นมักเป็นอักษรอินเดียตระกูลต่างๆ(Indic Script) นอกจากใช้ปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตให้เป็นอักษรโรมัน ยังนิยมใช้ปริวรรตอักษรภาษาปรากฤต อื่นๆเช่น ภาษาบาลี และภาษาอปภรัมศะ เป็นต้น แต่เดิมในการการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมันยังไม่ได้มีมาตรฐานกลางที่ใช้ร่วมกันแต่ใช้วิธีการปริวรรตตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่าน ดังที่แสดงในรูปที่ 2.4 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1894 มีการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับด้านตะวันออกศึกษาหรือเอเชียศึกษาในปัจจุบัน การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 10 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ (10th International Congress of Orientalists, Held at Geneva) มีมติที่ประชุมให้รวมรูปแบบการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตและบาลีเป็นอักษรโรมัน จากสองรูปแบบหลัก 2 รูปแบบคือ รูปแบบการปริวรรตของ ราชสมาคมเอเชียแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland) [15]และรูปแบบของสมาคมตะวันออกศึกษาแห่งเยอรมัน (German Oriental Society : Deutsche Morgenländische Gesellschaft) และตีพิมพ์สรุปรายงานการประชุมในปีเดียวกันเป็นภาษาฝรั่งเศสลงในหนังสือ Xme Congrès International des Orientalistes, Session de Genève. Rapport de la Commission de Transcription (1894) จากนั้นในปี ค.ศ.1895 ราชสมาคมเอเชียแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ได้แปลสรุปรายงานการประชุมเป็นภาษาอังกฤษลงในวารสารราชสมาคมเอเชีย [16] ต่อมารูปแบบการปริวรรตนี้ มีความสำคัญทางวิชาการภาษาสันสกฤตมาก จึงได้เป็น “การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล” หรือ “The International Alphabet of Sanskrit Transliteration” (IAST) เพราะเป็นมาตรฐานหลักการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน (Romanization) จนถึงปัจจุบัน