กุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ ๑๐

November 28, 2020 shantideva edit 0

กุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งกรรมดี ทางทำดี ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ 10 ประการ 1.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง2.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย3.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามทั้ง 3 นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก 4.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ5.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด6.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ7.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อทั้ง 4 นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมทั้ง 3 นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก

สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗

November 25, 2020 shantideva edit 0

สัปปุริสธรรม 7 ประการเป็นคุณธรรม ความดี ที่คอยกำหนดให้คนปฏิบัติดีด้วยธรรม 7 ประการของสัปปุริสธรรม ซึ่งทุกคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ และถือปฏิบัติได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าต้องปกครองผู้คนมากมาย ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนอื่น และตนต้องมีศีลธรรมอันดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ประกอบด้วยหลักธรรมที่ 7 ประการ คือ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

November 21, 2020 shantideva edit 0

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี ๑๐ ประการ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

ฆราวาสธรรม 4

ฆราวาสธรรม 4

November 18, 2020 shantideva edit 0

หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในการสร้างความสงบสุขในสังคม หากคนในสังคมทุกคนปฏิบัติตามหลักธรรมนี้แล้ว จะทำให้เกิดความสุข และความราบรื่นในชีวิต และยังทำให้องค์กรต่างๆปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่๑. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน๒. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น๓. ขันติ ความอดทนและให้อภัย๔. จาคะ การเสียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

สังคหวัตถุ ๔

สังคหวัตถุ ๔

November 14, 2020 shantideva edit 0

สังคหวัตถุ คือ เทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้๑. ทาน การให้๒. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน๓. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์๔. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง ประโยชน์ของสังคหวัตถุ ๔สังคหวัตถุ 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว อำนวยประโยชน์ที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรมดังต่อไปดังนี้ ช่วยให้บุคคลดำรงตนอยู่ได้ในสังคมด้วยความสุข เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ สมานไมตรีระหว่างกัน เป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้มีความเคารพนับถือกันตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเครื่องประสานองค์ประกอบต่างๆ ของสังคมให้คงรูปอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี ช่วยส่งเสริมศีลธรรมและป้องกันความประพฤติเสื่อมเสียในสังคม

พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร ๔

November 10, 2020 shantideva edit 0

พรหมวิหาร ๔ ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่ ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข๒. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ๓. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี๔. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

อริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔

November 7, 2020 shantideva edit 0

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความไม่สบาย กายไม่สบายใจ ทุกข์มี 2 ประเภท คือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความคิด ความแก่ ความตาย และทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า เป็นต้น สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี 3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละตัณหา มรรค คือ ความจริงว่าด้วยวิถีทางแห่งความดับทุกข์

ขันธ์ 5

ขันธ์ 5

November 3, 2020 shantideva edit 0

ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) เป็นหลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 โดยหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม) ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา ) ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร) ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้ สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ ๖)

วันเทโวโรหณะ

วันเทโวโรหณะ

October 31, 2020 shantideva edit 0

การตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นการตักบาตรเทโวนั้นเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษา ทุกวัดในไทยจะมีการจัดพิธีการตักบาตรเทโวนี้ โดยการตักบาตรเทโวนี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญของวันนี้จะเป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง คือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา

October 26, 2020 shantideva edit 0

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดการจำพรรษา 3 เดือน (นับแต่วันที่เข้าพรรษา) โดยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งในวันออกพรรษานี้ พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา จะเป็นการได้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเมื่อถึงวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนจะยังไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโวกิจกรรมวันออกพรรษา ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาตผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ร่วมกิจกรรม ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ อี ทั้งประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามสถานที่ราชการ สถานศึกษา และวัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยา ธรรมเกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป

วันเข้าพรรษา

October 23, 2020 shantideva edit 0

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างที่อื่น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2563 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม โดยประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญ กิจกรรม มีดังนี้ ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

October 20, 2020 shantideva edit 0

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาของเราอีกหนึ่งวัน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น ได้นำไปเผยแผ่แก่ศาสนิกชนทั้งหลายค่ะ ความเป็นมาวันมาฆบูชา ๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา

October 17, 2020 shantideva edit 0

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันที่สำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชน มีการทำพิธีพุททธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ 1. ความกตัญญู คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งบิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป 2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่ – ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือความยากจน เป็นต้น – สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก “ตัณหา” อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด – นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้ – มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ 3. ความไม่ประมาท คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้น ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

October 17, 2020 shantideva edit 0

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration) การปริวรรตอักษร หรือการเขียนคำทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงอักษรหรืออักขรวิธีจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เมื่อปริวรรตแล้วสามารถแปลงกลับเป็นอักษรหรืออักขรวิธีเดิมได้ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก และใกล้เคียงอักขรวิธีการเขียนเดิมให้ได้มากที่สุด เช่น การปริวรรตอักษรโรมันภาษาอังกฤษ มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการปริวรรตอักษรภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็น ปกติแล้วการปริวรรตอักษรคือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำหรืออักษรต่ออักษร การปริวรรตอักษรได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำปริวรรตอักษรได้ ดังนั้นจึงมีการกำหนดหลักการปริวรรตอักษรที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย ความหมายอย่างแคบของการปริวรรตอักษรคือ การปริวรรตอักษรแบบถอดอักษร (transliteration)นั้นเป็นการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา เนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้มากที่สุด การปริวรรตอักษรเป็นการถอดอักษร ต่างจากการถอดเสียง (transcription) ซึ่งเป็นการจับคู่เสียงอ่านของภาษาหนึ่ง ๆ ไปยังรูปแบบการเขียนของอีกภาษาที่ใกล้เคียงที่สุด ถึงแม้ว่าระบบการถอดอักษรส่วนใหญ่จะยังคงจับคู่อักษรต้นฉบับกับอักษรในภาษาเป้าหมายที่ออกเสียงคล้ายกันในบางคู่ ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงเหมือนกันทั้งสองภาษา การถอดอักษรก็อาจแทบจะเหมือนกับการถอดเสียง

การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล (IAST)

October 15, 2020 shantideva edit 0

การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล หรือ The International Alphabet of Sanskrit Transliteration (IAST) เป็นรูปแบบการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน(Romanization) รูปแบบหนึ่งที่ปราศจากการสูญเสีย(Lossless) คือสามารถจับคู่อักษรต้นทางและปลายทางได้ครบคู่ โดยมากอักษรต้นทางนั้นมักเป็นอักษรอินเดียตระกูลต่างๆ(Indic Script) นอกจากใช้ปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตให้เป็นอักษรโรมัน ยังนิยมใช้ปริวรรตอักษรภาษาปรากฤต อื่นๆเช่น ภาษาบาลี และภาษาอปภรัมศะ เป็นต้น แต่เดิมในการการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมันยังไม่ได้มีมาตรฐานกลางที่ใช้ร่วมกันแต่ใช้วิธีการปริวรรตตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่าน ดังที่แสดงในรูปที่ 2.4 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1894 มีการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับด้านตะวันออกศึกษาหรือเอเชียศึกษาในปัจจุบัน การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 10 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ (10th International Congress of Orientalists, Held at Geneva) มีมติที่ประชุมให้รวมรูปแบบการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตและบาลีเป็นอักษรโรมัน จากสองรูปแบบหลัก 2 รูปแบบคือ รูปแบบการปริวรรตของ ราชสมาคมเอเชียแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland) [15]และรูปแบบของสมาคมตะวันออกศึกษาแห่งเยอรมัน (German Oriental Society : Deutsche Morgenländische Gesellschaft) และตีพิมพ์สรุปรายงานการประชุมในปีเดียวกันเป็นภาษาฝรั่งเศสลงในหนังสือ Xme Congrès International des Orientalistes, Session de Genève. Rapport de la Commission de Transcription (1894) จากนั้นในปี ค.ศ.1895 ราชสมาคมเอเชียแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ได้แปลสรุปรายงานการประชุมเป็นภาษาอังกฤษลงในวารสารราชสมาคมเอเชีย [16] ต่อมารูปแบบการปริวรรตนี้ มีความสำคัญทางวิชาการภาษาสันสกฤตมาก จึงได้เป็น “การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล” หรือ “The International Alphabet of Sanskrit Transliteration” (IAST) เพราะเป็นมาตรฐานหลักการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน (Romanization) จนถึงปัจจุบัน