“พิธีคเณศวิวาหะ (สยุมพร) ในเทศกาลคเณศจตุรถี” พระศรีคเณศ หรือ พระพิฆเนศ เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่มีประวัติมายาวนานหลายพันพันปีในชมพูทวีปแพร่ขยายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
ศาสนาพราหมณ์ฮินดูเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิทั้งทางบกและทางน้ำอยู่ร่วมกับพระพุทธศาสนามหายานมานานกว่าสองพันปีในอาณาจักรศรีวิชัย ,ทวารวดี โดยเฉพาะลัทธิมนตรณานด้วยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวอินเดียมาแต่โบราณ
ในเทศกาลคเณศจตุรถี หรือวันประสูติแห่งพระศรีคเณศ นั้นที่มีการทำพิธีบูชาและแห่ยิ่งใหญ่ในอินเดียและหลากหลายที่ทั่วโลกอันเป็นพิธีใหญ่ที่ศักดิ์สิทธิ์และบางที่ในอินเดียใต้มีการจัดพิธีแต่งงานพระคเณศที่เรียกว่า “คเณศวิวาหะ” เพื่อเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะในนครปารีส ราวต้นเดือนกันยายน
เมื่อพระจันทร์เต็มดวงจะมีพิธีแห่พระศรีมาณิการ์ วินายะกะ (พระคเณศ) จากวิหารย่าน rue philippe de girard อันยิ่งใหญ่ ในมหานครแห่งแฟชั่นนี้ จะเห็นมีทั้งนางแบบ ดีไซนเนอร์ดัง และผู้มีชื่อเสียงด้านศิลปะต่างๆ มาร่วมพิธีมากมาย ปรากฏเป็นข่าวดังไปทั่วโลกในเกือบทุกๆปี
ความศรัทธาของผู้เขียนเกิดขึ้นเมื่อสามสิบกว่าปีมาแล้วที่มีโอกาส ไปทำงานในปารีสและร่วมพิธีนี้เกือบจะทุกๆ ปีจนก่อให้เกิดความสำเร็จในชรวิตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชาวยุโรปจะนับถือพระคเณศในฐานะเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกสาขาอาชีพแทบจะไม่มีผู้ใดเลยที่ไม่รู้จักพระองค์ พิธีแห่นี้ยิ่งใหญ่เท่าคเณศจตุรถีแห่งเมืองมุมไบเลยทีเดียว
การบูชาพระคเณศที่ให้ได้ผลมากแบบศาสนาพราหมณ์ฮินดู เน้นการสวดบูชาด้วยการเชิญพระเวทย์สาธยายมนต์จากพราหมณ์ที่มาจากสายสกุลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จนก่อให้เกิดพลังแห่งการประสิทธิ์ประสาทพรจากพระคเณศโดยถือว่าพระองค์ทรงเป็นประตูแรกของความสำเร็จก่อนจะบูชาเทพองค์อื่นๆ
โดยประกอบกับการกินอาหารมังสะวิรัติ เพื่อให้ร่างกายสะอาดในการเจริญสมาธิแบบโยคะ เมื่อร่างกายสะอาดและพลังมนตราแห่งการบูชารวมกับการถือศีล จึงทำให้มนุษย์เรามีความสุขความเจริญไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนประกอบกับการมีสติจึงเพิ่มพูลพลังในการดำเนินชีวิตอย่างมั่นคง
พิธีคเณศวิวาหะ(สยุมพร) คือพิธีที่สำคัญของศาสานาฮินดูอันเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมพิธีมงคลสมรสของชาวเอเชียอุษาคเณย์ โดยเฉพาะพิธีสู่ขอและของหมั้นเริ่มจากการบูชาเทพเพื่อมาเป็นสักขี เพื่อทำการสักการะต่อพระคเณศและพระชายาทั้งสองพระองค์ อันได้แก่เทวีสิทธิ (ความสำเร็จ)และพระเทวีพุทธิ(ปัญญา)
ตามประวัตินั้นเป็นธิดาของพระพรหมประชาบดี ที่ถือกำเนิดจากพระทัยของพระองค์ หลังจากทรงสร้างโลกแล้ว ภายหลังทรงมีพระโอรสกับพระคเณศ สองพระองค์ คือ พระเกษม (ความสุข) และพระลาภะ(ความมีโชค)
กล่าวว่าผู้ใดได้กระทำพิธีบูชาพระคเณศวิวาหะ จะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข , มั่งคั่ง ,บังเกิดความปรองดองและความสมหวังในรักตลอดชีวิต พิธีนี้จะจัดช่วงคาบเกี่ยวก่อนหรือหลังพิธีจตุรถีในอินเดียใต้เราจะเห็นพิธีวิวาหะนี้มากที่สุดคือพิธีสยุมพรของพระแม่มินากษิแห่งนครมาดูไรกับพระศิวะที่ยิ่งใหญ่มากในอินเดียได้โดยจะอัญเชิญเทวรูปทั้งสององค์มาประทับบนชิงช้า
ในช่วงพิธีนี้จะถูกจัดคล้ายพิธีแต่งงานของชาวฮินดู ซึ่งจำลองมาจากพิธีสยุมพรของเทพอันเป็นมงคลอันสูงสุด มีการประดับตกแต่งปะรำพิธี(ฆณฑป) การจัดแต่งทรายสีรังโคลี และผงแป้งมงคลการจัดแท่นปีฐ์(บิฐ) คือการจำลองที่ประทับของเทวะแต่ละองค์ทำเป็นช่องมีข้าวย้อมสีและขมิ้น
โดยกระทำพิธีปวิตรกรณ(ทำให้เกิดความบริสุทธิ์) ,กลัศสถาปนา(บายศรี) ,และพิธีปัญจางคบูชา คือบูชาเทวดาทั้งห้าหมวด ได้แก่ พระวรุณ , พระคเณศ , พระแม่เคารี(อุมา) เทวดานพเคาระห์ , พระแม่สัปตมาตฤกา หรือพระลักษมีพร้อมอวตาล ทั้ง 7 ของพระองค์ ขั้นตอนการบูชาด้วยการสรงพระคเณศด้วยนม ซึ่งเปรียบเป็นของบริสุทธิ์จากทะเลน้ำนมคือน้ำอมฤตและการถวายอาหารมังสะวิรัต
พิธีบูชาคเณศวิวาหะ เริ่มด้วยขบวนแห่เจ้าบ่าว(พระคเณศ) พร้อมเครื่องบูชา, สินสอดของหมั้น ไปยังมณฑลพิธี ฝ่ายเจ้าสาว(พระนางสิทธิ พระนางพุทธิ) พราหมณ์เริ่มพิธีบูชาไฟ เพื่อเชิญเทวดามาเป็นสักขี ทั้งสองฝ่ายมอบมาลัยมงคล เริ่มพิธีแต่งงานโดยเดินรอบกองไฟ ถวายมงคลสูตรจากเจ้าบ่าว พิธีสำคัญนี้เรียกว่า “พิธีกัลยาณัม” หรือพิธีแต่งงานของเทพ
ที่ภายหลังคนทั่วไปใช้เป็นพิธีมงคลสมรสของศาสนาฮินดูโดยเฉพาะพิธีจุ่มเจิมในงานมงคลเป็นรากฐานของพิธีแต่งงานของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเดินประทักษิณรอบกองไฟเพื่อให้เทวะมาเป็นสักขี ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเป็นผู้เดินนำก่อนโดยใช้ผ้าคล้องไหล่ไปผูกกับผ้าคลุมศรีษะของเจ้าสาวและมีพีธีสาบานตน ตามด้วยพิธีมงคลอารตี(วนประทีปบูชา) รับเทวประสารท หรือขนมที่ได้จากการบูชาพระคเณศและพระชายาถือเป็นของมงคลสูงสุดที่ประทานให้แก่ผู้ศรัทธาในพระองค์
พิธีคเณศวิวาหะถือกำเนิดจากตำนานตอนหนึ่งกล่าวถึง พระศิวะมหาเทพทรงทดสอบความสามารถของพระโอรสทั้งสองของพระองค์คือพระคเณศและพระขรรถกุมาร โดยให้ทรงแข่งขันเดินทางรอบโลกสามรอบ ผู้ใดถึงเขาไกรลาสที่พระทับของพระศิวะและพระอุมาเทวีก่อนจะเป็นผู้ชนะและได้สยุมพรก่อน
โดยพระคเณศทรงใช้ปัญญาความสามารถโดยเดินวนรอบพระศิวะ พระอุมา สามรอบ แล้วกล่าวว่า พระบิดาและพระมารดา เปรียบเสมือนโลกของบุตร จึงได้รับชัยชนะ แล้วทรงประทานพิธีสยุมพร พระคเณศกับพระเทวีสิทธิ-พุทธิ
เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จะมีการจัดพิธีมงคล”คเณศวิวาหะ” ในเทศกาลจตุรถี อันเป็นโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสานพิธีศาสนาพราหมณ์ฮินดูในประเทศไทย เพื่อความเป็นมงคลแก่ประเทศชาติ ความสุขสำเร็จปรองดองและความมั่งคั่ง แห่งความสมบูรณ์พูนสุขของมนุษย์ ณ มณฑลพิธี บริเวณหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม ในวันพุธที่ 3 สิงหาคม
และตามด้วยพิธีคเณศจตุรถี ที่จะจัดขึ้นที่โบสถ์เทพมณเฑียร เสาชิงช้า ในวันที่ 3-4 กันยายน ในวันสุดท้ายจะมีการแห่เทวรูปพระคเณศไปลงพระคงคา ด้วยชาวฮินดูนั้นมีความศรัทธาในสายน้ำที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย เชื่อมต่อระหว่างเทวะกับมนุษย์มาช้านานหลายพันปี หากสนใจเข้าร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์รับพรทั้งสองพิธี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ติดต่อได้ที่ 0-3425-3910 ต่อ 23303 และ 08-5904-2801, 08-8187-9524 ครับ เว็บพนันออนไลน์