สมัยก่อน พ.ศ. 2505 เมื่อผู้เขียนเดินทางไปอินเดียครั้งแรกแล้วในยุคนั้นมีการเดินทางคนไทยไปจาริกแสวงบุญที่อินเดียเข้าใจว่ามีเพียงเจ้าเดียวคือการเดินทาง
จุดที่เป็นไปได้ของสมาคมเป็นสิ่งที่มีค่า
คนไทยที่ไปอินเดียในสมัยนั้นก็ถือคารวะชนชาติเช่นกัน
ที่สมาคมมหาโพธิ์เป็นจุดเริ่มต้นของชาวพุทธตอนที่ผู้เขียนทั้งเยาว์และโง่เขลา แต่ก็รู้ว่าผู้ที่เริ่มต้นสมาคมมหาวิหารนี้ชื่ออนาคาริกริกธรรมปาล
ที่จะต้องกลับมาเขียนถึงท่านอีกครั้งที่ได้รับการประชุมที่สมาคมมหาเศรษฐีที่จัดขึ้นเมื่อสองปีที่แล้วมาประชุมงานที่สมาคมแห่งประเทศไทย เพราะท่านธัมมนันทารับนิมนต์ร่วมเป็นกรรมการจัดประชุมทางวิชาการประจำปีของสมาคมมหาโพธิ์ค่ะ
เมื่อต้องไปทำงานอย่างต่อเนื่องที่สมาคมมหาเศรษฐีก็ยังคงเป็นที่มาของสิ่งที่ต้องบอกถึงการมาของสมาคมนี้
คุณเกิดที่ศรีลังกาเมื่อ 1864 ชื่อเดิมดอนดอนเหวา
ท่านเข้าเรียนในโรงเรียนที่บริหารโดยพวกมิชชันนารีของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
เล่ากันว่าใครเป็นคนที่มีความทรงจำที่ดี
การที่ได้อบรมและได้รับการปลูกฝังตามระบบของอังกฤษนี้ ได้ส่งผลที่ดีแก่ท่านอย่างมากในงานที่ท่านต้องรับผิดชอบต่อมา
ใน ค.ศ.1880 ท่านมีอายุเพียง 16 แต่ได้มีโอกาสพบกับคนสำคัญในการขับเคลื่อนพุทธศาสนาในศรีลังกา
คนหนึ่งคือนายทหารที่ชื่อ เฮนรี่ สตีล โอลคอต
คนนี้คือคนที่รับผิดชอบทำให้เกิดธงพุทธที่นิยมใช้กันที่ศรีลังกา และมาดามบลาวัตสกี ที่เป็นผู้ก่อนตั้งสมาคมทีโอโซฟี เพื่อสนับสนุนพุทธศาสนา
ใน ค.ศ.1881 เริ่มใช้ชื่อธรรมปาล ซึ่งแปลว่าผู้ปกป้องพระธรรม
และใน ค.ศ.1884 ได้รับพิธีเข้าร่วมเป็นสมาชิกและได้ติดตามมาดามไปเยี่ยมศูนย์ของสมาคมที่อินเดีย
ที่นั่น ธรรมปาลได้รับการสนับสนุนจากสมาคมให้เรียนภาษาบาลีและเลือกวิถีชีวิตพรหมจรรย์เป็นอนาคาริก (แปลว่าผู้ไม่มีบ้านเรือน หรือออกจากบ้านเรือน)
ซึ่งถ้าอยู่ที่ศรีลังกามีรูปแบบการใช้ชีวิตทางศาสนาก็ต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น ภายใต้ชื่ออนาคาริกธรรมปาล ท่านศึกษาพระธรรม เช่นเดียวกับพระภิกษุ แต่ยังทำงานทางสังคมได้คล่องตัวกว่า
ท่านเป็นอิสระจากเงื่อนไขทางพระวินัยของสงฆ์
แต่ขณะเดียวกันก็สามารถเดินทางและเคลื่อนไหวเพื่อทำงานกอบกู้พระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศบ้านเกิดของพุทธศาสนาเองได้อย่างคล่องตัวมากกว่า
อนาคาริกธรรมปาล เป็นนักปฏิรูปสังคม เป็นนักศาสนาชาตินิยม
พยายามพัฒนาการศึกษาในชนบท ขณะเดียวกันก็ปฏิรูปพุทธศาสนาโดยพยายามปลดเปลื้องศาสนาพุทธออกจากการถูกครอบงำโดยพิธีกรรมและความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่แฝงเข้ามาในการนับถือพุทธศาสนาของชาวพุทธศรีลังกา
ทั้งนี้ เพื่อยกระดับสังคมชาวสิงหลและเพื่อเอกราชของศรีลังกาที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก
ใน ค.ศ.1891 ที่ท่านได้ไปเยือนพุทธคยาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้นั้น ท่านตะลึงกับสภาพความเสื่อมโทรมของพุทธคยาที่ถูกครอบงำโดยพระมหันต์ที่เป็นฮินดูที่เข้ามาครอบครองพุทธคยาโดยปริยาย เพราะพุทธคยาถูกทิ้งร้างมาเนิ่นนาน
สิ่งแรกที่อนาคาริกธรรมปาลทำคือ จับกลุ่มชาวศรีลังกาที่มีความรู้จัดตั้งสมาคมมหาโพธิ์ขึ้น ตอนนั้นท่านอายุ 27
ข้อมูลตรงนี้ ผู้เขียนประทับใจมากที่ชีวิตของท่านเป็นชีวิตที่อุทิศให้งานพระศาสนาโดยตรงตั้งแต่แรก เข้าใจว่า ท่านมาจากครอบครัวผู้มีอันจะกิน ท่านจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำงานหาเลี้ยงบิดามารดา แต่อุทิศชีวิตให้กับงานพระศาสนาได้ตั้งแต่ต้น และเพื่อมิให้เวลาสูญเสียไปเปล่ากับการมีครอบครัว ท่านจึงได้สมาทานวิถีชีวิตแบบพรหมจรรย์ตั้งแต่แรก
นี่ไม่ใช่ชีวิตของปุถุชนธรรมดาเลยแม้แต่น้อย
จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ คือการกอบกู้พุทธคยา
ท่านเดินทางไปหาแนวร่วมในประเทศต่างๆ และเป็นตัวแทนชาวพุทธเข้าร่วมในการประชุมครั้งสำคัญ คือ สภาศาสนาโลก (Parliament of World”s Religions) ที่จัดขึ้นใน ค.ศ.1883 ที่เมืองชิคาโก
ครั้งนั้น ท่านร่วมกับวิเวกนันทะ ปราชญ์หนุ่มจากอินเดีย สร้างความประทับใจและตื่นตะลึงให้แก่ชาวตะวันตกอย่างยิ่ง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ศาสนาที่ชาวตะวันออกสองคนสามารถพลิกความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาของชาวตะวันออกให้ปรากฏแก่สายตาของชาวตะวันตกที่หลงว่าศาสนาของตนนั้นสูงสุด
อนาคาริกธรรมปาลต้องต่อสู้กับพวกมหันต์ที่เข้ามาครอบครองวัดมหาโพธิ์ ขึ้นโรงขึ้นศาลหลายครั้ง แม้กระนั้น ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ท่านเสียชีวิต ค.ศ.1933 หลังจากที่ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบั้นปลายชีวิตไม่นาน
ท่านใช้ฉายาว่า พระภิกษุเทวมิตต์ แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จักท่านในนามอนาคาริกธรรมปาล
โชคดีที่ท่านเลี้ยงลูกบุญธรรมไว้คนหนึ่ง ชื่อ วาลีสิงห์ วาลีสิงห์เป็นชาวศรีลังกา แต่มาเติบโตในอินเดีย
ท่านธรรมปาลส่งไปเรียนที่ศานตินิเกตัน หรือที่เรียกเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยวิศวภารตี สร้างโดยท่านกวีและปราชญ์รพินทรนาถ ฐากูร ที่คนไทยรู้จักกันดีพอควร
วาลีสิงห์จึงเติบโตขึ้นมาเยี่ยงชาวเบงกอลี และได้รับงานของท่านธรรมปาลต่อจนกระทั่งในที่สุดใน ค.ศ.1949 วัดมหาโพธิ์จึงเป็นอิสระจากการครอบครองของพวกมหันต์
วาลีสิงห์ทำงานทั้งเป็นเลขาธิการของสมาคมมหาโพธิ์และเป็นตัวแทนในการฟ้องร้องเพื่อขอวัดมหาโพธิ์ให้กลับคืนมาอยู่ในปกครองของชาวพุทธ
ในความสำเร็จที่ใช้เวลายาวนานนี้ มีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เราต้องจารึกและจดจำด้วยความขอบคุณ คือ ท่านนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ท่านเยาวหราล เนห์รู
ในช่วง ค.ศ.1950 มีอำนาจจากกลุ่มคนสามฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินชะตาของวัดมหาโพธิ์
กลุ่มแรก คือมหาโพธิ์ที่ตอนนั้นนำโดยท่านวาลีสิงห์ เลขาธิการของสมาคมมหาโพธิ์ที่ฟ้องร้องขอความชอบธรรมในการดูแลวัดมหาโพธิ์
กลุ่มที่สอง คือพระฮินดูนิกายมหันต์นำโดยหริหารคิรี พวกมหันต์เป็นเจ้าของที่ดินในแถบนั้นมากถึง 30,000 เอเคอร์ เรียกว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่ง
กลุ่มที่สาม คือรัฐบาลโดยเยาวหราล เนห์รู ทางฝั่งรัฐบาลนั้นมีประเด็นสำคัญคือเห็นความสำคัญของพุทธคยาที่มีต่อชาวพุทธทั่วโลก
นั่นหมายถึงรายได้จำนวนมหาศาลที่จะได้จากการท่องเที่ยว
ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่ในใจรัฐบาล คือความพยายามที่ต้องจัดสรรระบบการครอบครองที่ดิน ที่เนห์รูต้องการจะรื้อฟื้นใหม่เพื่อลดอำนาจของพวกมหันต์ลง
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเห็นภาพอีกภาพหนึ่งที่ซ้อนขึ้นมา ในส่วนตัวของเนห์รูนั้น ท่านมีความใกล้ชิดกับศาสนาพุทธมาก
ในบ้านของท่านเอง ที่ตอนนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมได้ เราจะเห็นว่า มีรูปพระพุทธเจ้า แทบจะทุกห้อง
โดยเฉพาะที่โต๊ะหัวนอนของท่านเองก็มีรูปพระพุทธเจ้า
ในช่วงที่ถูกจองจำ ระหว่าง ค.ศ.1942-1944 หนังสือที่ท่านเขียนในช่วงนั้น บรรยายว่า เรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องราวที่ประทับใจท่านเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียที่ท่านเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ประพันธ์ก็ยังเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ท่านชอบเป็นพิเศษ
ด้วยเหตุที่ประกอบกันขึ้นนี้ ในที่สุดวัดมหาโพธิ์ จึงเป็นวัดที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลโดยงบฯ ของรัฐบาล มีกรรมการเป็นชาวพุทธกว่าครึ่ง
ที่ดินบริเวณโดยรอบพุทธคยา 30,000 ไร่นั้น ถูกจัดสรรใหม่ พวกมหันต์มีสิทธิ์ครอบครองเพียง 100 ไร่ เป็นการจำกัดอำนาจของพวกมหันต์ไปโดยปริยาย
บรรดาร้านรวงที่พวกเราไปซื้อของนั้น เห็นมาตั้งแต่ ค.ศ.1962 อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เพิ่งเข้าใจว่า ที่แท้เป็นพื้นที่เช่าจากนายทุนมหันต์ทั้งสิ้น
กว่าจะมาเป็นพื้นที่ให้พวกเราได้ไปนมัสการทั้งพระศรีมหาโพธิ์ และพระพุทธรูปในพระวิหาร ล้วนเป็นผลงานที่ริเริ่มโดยท่านธรรมปาลตั้งแต่ ค.ศ.1891
ขอคารวะท่านธรรมปาลผู้มีหัวใจของพระโพธิสัตว์อย่างแท้จริงที่เห็นความสำคัญในการที่จะต้องต่อสู้เพื่อให้ได้พื้นที่ส่วนนี้คืนมา เพื่อให้ชาวพุทธได้เข้าถึงหนึ่งในสังเวชนียสถานที่สำคัญ
วัดแรกที่เกิดขึ้นที่พุทธคยา คือ สมาคมมหาโพธิ์ เพราะชาวพุทธเมื่อไปที่พุทธคยาไม่มีที่พัก
วัดที่สองที่ตามมาคือวัดพม่า
และวัดที่สาม คือวัดไทย ที่รัฐบาลไทยให้งบประมาณจัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2500
ต่อจากนั้น พุทธคยาบูมมากที่วัดหลายชาติหลายนิกายไปสร้างตามๆ กันมา เฉพาะวัดไทยเองก็มีหลายวัด บางวัดเป็นเพียงที่พักสำหรับผู้เดินทางแสวงบุญ แต่บางวัดก็มีรูปแบบเป็นวัดโดยสมบูรณ์