มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม
Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

วงการพุทธศาสนศึกษา(Buddhist studies) หรือการศึกษาพุทธศาสนาเชิงวิชาการในโลกตะวันตกมีความแปลกแตกต่างจากวงการศึกษาคริสตศาสนา เนื่องจากนักวิชาการผู้ที่ศึกษาคริสต์เชิงวิชาการนั้นส่วนมากมีที่มาจากวงใน กล่าวคือเป็นศาสนิกชนชาวคริสต์ที่ต้องการหาเหตุผลและข้อมูลหลักฐานยืนยันรับรองข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์และเนื้อหาในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ส่วนวงการศึกษาพุทธศาสนาส่วนใหญ่มาจากวงนอกคือเป็นนักวิชาการชาวตะวันตกที่มิใช่ชาวพุทธแต่มีความสนใจใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์และคำสอนของประเพณีทางจิตวิญญาณตะวันออกโดยปราศจากความพยายามที่จะยืนยันความจริงแท้แต่อย่างใด นักวิชาการเหลานี้มีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่โดยรวมนักวิชาการมีมติร่วมกันว่าส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์พุทธดั้งเดิมเป็นเนื้อหาเดิมแท้จริง(authentic) ส่วนนักวิชาการบางท่านที่ตั้งข้อสงสัยแบบสุดโต่งนั้นเป็นผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนายุคหลังหรือประวัติศาสตร์ในถิ่นอื่นเช่นเส้นทางสายไหม (มิใช่ผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนาดั้งเดิมโดยเฉพาะ) ที่ทำให้ข้อคิดเห็นข้ามพื้นที่ชำนาญการของตน

สำหรับผู้สนใจศึกษาที่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและมีข้อสงสัย การรับฟังมติของผู้ที่อุทิศตนค้นคว้าในเนื้อหาเฉพาะด้านจึงเป็นแนวทางที่ดีในการหาข้อสรุปเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือกว่าผู้ที่ไม่ชำนาญการเฉพาะ อนึ่ง นักวิชาการที่ได้ค้นคว้าทางพุทธาศาสนาระดับสากลที่รับรองความสมจริงดั้งเดิมของพุทธคัมภีร์ส่วนใหญ่มิได้เป็นชาวพุทธหรือไม่ประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ บางท่านเป็นนักบวชในคริสตศาสนาด้วยซ้ำ เช่น ศ.ลามอตต์ จึงมีความน่ารับฟังในแง่ที่ปราศจากอคติส่วนตน