No Image

ความเสื่อมพุทธศาสนาในอินเดีย

December 30, 2020 shantideva edit 0

คนที่นับถือพระพุทธศาสนาได้หายไปจากทวีปเกือบหมดหลายพันปี ที่เหลือกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่ว่าในดินแดนที่เรียกว่าอินเดียหรือปากีสถานในปัจจุบัน Peter Moss เขียนภาพพระแตกร้าวว่ามาจากเหตุ 4 ประการคือ การทบทวน (คำสอน) ของฮินดู การบุกรุกของชาวฮั่น มุสลิมบุกรุก และพระสงฆ์ไม่ทำตามหน้าที่ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) รวบรวมความเสื่อมพุทธศาสนาไว้ 7 ประการ1.พระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคี ชิงดีชิงเด่นแย่งกันเป็นใหญ่ หลงใหลในลาภ ยศ สักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย ติดอยู่ในพิธีกรรม มากกว่าการศึกษาและปฏิบัติธรรม เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนเดิม เพิ่มเติมใหม่ ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป จะเห็นว่าสังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียย่อมมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์ 2.ขาดผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นกษัตริย์ผู้มีความเลื่อมใส พระพุทธศาสนาก็เหมือนกับต้นไม้ขาดน้ำและปุ๋ย 3.ถูกศาสนาอื่นๆ เบียดเบียน เช่น ศาสนาฮินดู ที่เป็นคู่แข่ง เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ฮินดูประกาศคำสอนของตนเป็นการใหญ่ ส่วนพระพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่อง หรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหา เท่ากับทำลายตัวเอง และถูกคนอื่นทำลาย 4.เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ทวนกระแส คือตรงดิ่งสู่ความจริง เป็นการฝืนใจคน ต้องดึงคนเข้าหาหลัก มิใช่ดึงหลักเข้าหาคน ไม่บัญญัติหรือสอนไปตามความชอบพอของคนบางคน แต่สอนไปตามความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงทำให้ผู้มักง่ายเกิดความเอือมระอา พากันหันไปหาคำสอนที่ถูกใจ 5.พุทธศาสนาปฏิเสธวรรณะ ขัดต่อความคิดเห็นของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ที่ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณี คนชั้นสูงต้องการคงวรรณะไว้ คนชั้นต่ำก็คิดเช่นเดียวกัน 6.เพราะพระพุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนอันดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา 7.สมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจ กษัตริย์มุสลิมได้แผ่อำนาจไปในที่ต่างๆ อย่างกว้างขวางและพร้อมกันนั้น อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาที่กำลังจะล้มพับอยู่แล้ว ก็ถึงกาลอวสาน

No Image

การขยายตัวของพุทธศาสนาอินเดีย

December 27, 2020 shantideva edit 0

แม้ว่าพุทธศาสนาจะได้สูญหายจากอินเดีย ยกเว้นบางพื้นที่ในเนปาล พระธรรมทูตก็ได้เดินทางไปเผยแผ่ศาสนายังภาคต่างๆ ของเอเชียเพื่อชักชวนให้ประชาชนเปลี่ยนศาสนา เริ่มจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พระสงฆ์ได้เดินทางเข้าสู่เอเชียกลางที่ครั้งหนึ่งพุทธศาสนาเข้มแข็งมากได้เข้าสู่จีน มีพระสงฆ์จีนและนักปราชญ์ต่างเดินทางเข้าไปเยือนอินเดียก่อน ค.ศ. 400 เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และกลับจีนพร้อมด้วยคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูปมากมาย อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศจีนกลายมาเป็นประเทศที่นับถือพุทธอย่างเข้มแข็ง จากจีนพุทธศาสนาได้ผ่านเข้าสู่เกาหลีและญี่ปุ่นและยังคงมีอิทธิพลจนทุกวันนี้ พุทธศตวรรษที่ 7-11 คณะธรรมทูตและพ่อค้าได้นำพุทธศาสนาหินยานเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา กลายเป็นศาสนาหลักที่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งเคยเป็นที่นับถือเข้มแข็งในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยศาสนาอิสลาม บ่อยครั้งพุทธศาสนาได้ปรับตัวเข้ากับประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ปฏิบัติกันอยู่ อย่างเช่นสถาปัตยกรรมของวัด และบางครั้งเทพเจ้าพื้นเมืองก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมของชาวพุทธไป แม้ว่าวัด แท่นที่บูชา เทศกาลต่างๆ ในประเทศที่นับถือพุทธเช่นญี่ปุ่นและพม่า จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญยังเหมือนกัน

คุรุศาสนาในศาสนาซิกข์

คุรุศาสนาในศาสนาซิกข์

December 23, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่ยึดมั่นและเชื่อถือในพระเจ้า (วาเฮ่คุรุ) เพียงพระองค์เดียวอย่างเคร่งครัดพระศาสดาคุรึนานักเทพ (คุรุนานักเดว) พระองค์ได้สอนหลักธรรมและแนวคิดใหม่ให้กับทุกคน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หลักธรรมและแนวคิดดังกล่าวมีดังนี้1.สอนให้ทุกคนรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้2.ชี้นำทางให้ทุกคนได้เข้าถึงพระเจ้าด้วยการดำรงชีวิตและด้วยการกระทำแต่คุณงานความดี3.การเข้าถึงธรรมมะและการทำรงชีวิตตามหลักสัจธรรม ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยิ่งยโส และความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นวิถีทางในการระลึกถึงพระเจ้าอย่างแท้จริง ศาสนาซิกข์เชื่อในเรื่ององการกลับชาติมาเกิดใหม่ มนุษย์ทุกคนควรพยายามอย่างที่สุดเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏจักรของชีวิตหรือการเวียนว่ายตายเกิดด้วยการหมั่นระลึกถึงพระเจ้าและการสวดมนต์ภาวนา โดยในศาสนาสิกข์เชื่อว่าพระเจ้าคือความจริงนั่นเซิ

นิกายในศาสนาสิกข์

นิกายในศาสนาสิกข์

December 20, 2020 shantideva edit 0

ศาสนิกชนชาวซิกข์ส่วนใหญ่นั้นอาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย แม้จะมีชุมชนชาวซิกข์อยู่ในส่วนต่างๆของโลกก็ตาม นิกายของศาสนาซิกข์แบ่งออกเป็น 3 นิกาย บางนิกายยึดถือเอาคำสอนของศาสดาคุรุนานักเป็นค าสอนหลัก บางนิกายยึดคัมภีร์ครันถ์ในฐานะคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์บางนิกายก็ยึดถือเอาศาสดาทั้ง 10 ในฐานะผู้จุดประกายแห่งความศรัทธา ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1 นิกายอุทสิส (Udasis)นิกายนี้โดยพื้นฐานเป็นนิกายส าหรับพวกนักบวช ชาวซิกข์นิกายนี้มักปฏิบัติตามกฎหรือข้อปฏิบัติในรูปแบบการบ าเพ็ญพรตของศาสนาฮินดู พุทธศาสนาและเชน พวกเขาจะไม่แต่งงาน และแต่งกายสีเหลือเหมือนจีวรของนักบวชในพุทธศาสนา หรือบางพวกก็เปลือยกายเหมือนนักบวชในศาสนาเชน โดยมีภาชนะส าหรับออกขออาหารเท่านั้นเป็นสมบัติติดตัวนิกายอุทสิสนี้จะไม่เหมือนชาวซิกข์นิกายอื่นๆ เพราะพวกเขามักจะโกนศีรษะและหนวดและนิยมเดินทางออกเผยแพร่ศาสนาไปตามที่ต่างๆ 2 นิกายสหัชธรีหรือนานักปันถินิกายนี้จะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม นับถือคุรุนานัก เน้นหนักไปในทางการด ารงชีวิตแบบเรียบง่าย ด าเนินรอยตามหลักค าสอนของศาสดาคุรุนานัก ไม่นิยมการให้ชาวซิกข์มีลักษณะเป็นนักต่อสู้หรือเป็นนักรบ นิกายนี้นิยมโกนหนวดเครา 3 นิกายขาลสา หรือ สิงห์นิกายนี้นับถือเน้นหนักตามค าสอนของศาสดาคุรุโควินทสิงห์ ผู้ชายจะมีลักษณะของนักรบเพื่อปกป้องชาวซิกข์ ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะไว้ผมตลอดทั้งหนวดเครายาว โดยไม่ตัดหรือโกนตลอดชีวิต7

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาพรามณ์ ฮินดู

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาพรามณ์ ฮินดู

December 16, 2020 shantideva edit 0

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกฮินดูเรียกรวมๆว่า นิยมะ มี ๑๐ ประการ คือ1.หรี ความละอายต่อการทำความชั่ว จำไว้เสมอว่าเคยทำผิดอะไรไว้ ยอมรับว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดและพยายามแก้ไขสิ่งที่ทำผิดนั้น กล่าวขอโทษจากใจจริงต่อคนที่ตนทำผิดทั้งทางกายทางวาจาและทางใจ 2.สันโตษะ ความสันโดษ ดำเนินชีวิตด้วยความพึงพอใจ ดำรงชีวิตที่ราบเรียบ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ยิ้มเสมอ ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณที่ตนมีสุขภาพดี รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเพื่อน รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณทรัพย์สมบัติ ไม่รู้สึกขัดข้องใจในสิ่งที่ตนไม่มี คิดว่าตัวเองที่แท้คือสิ่งเป็นนิรันดรที่อยู่ภายใน ไม่ใช่ใจ ไม่ร่างกาย ไม่ใช่ความรู้สึกที่ขึ้นๆลงๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 3.ทาน การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ถือว่าเงิน ๑ ใน ๑๐ ส่วนของเงินได้ทั้งหมดเป็นเงินของพระเป็นเจ้า จงบริจาคเงินส่วนนี้ให้แก่วัด อาศรม และองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาจิตใจ มีคติประจำใจว่า ไปวัดพร้อมด้วยของถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปพบอาจารย์(ทางศาสนา)ด้วยของบูชาคุณครูอาจารย์ บริจาคคัมภีร์ทางศาสนา ให้อาหารและให้สิ่งของแก่คนยากไร้ 4.อัสติกยะ มีศรัทธาแนบแน่น เชื่อในพระเป็นเจ้าอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย เชื่อมั่นในอาจารย์(ทางศาสนา) เชื่อในเส้นทางที่จะดำเนินไปสู่โมกษะหรือความพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในคำสอนของอาจารย์(ทางศาสนา) เชื่อในคัมภีร์ทางศาสนา เชื่อในประเพณีทางศาสนาที่สืบทอดกันต่อๆมา 5.อีศวรปูชนะ ปลูกฝังความภักดีต่อพระเป็นเจ้าด้วยการบูชาและทำสมาธิทุกวัน มีห้องพระไว้ในบ้าน ๑ ห้อง ถวายดอกไม้ ผลไม้ หรือ อาหาร แด่พระเป็นเจ้า เป็นประจำทุกวัน ท่องจำบทสวดสำหรับบูชาให้ได้ ทำสมาธิหลังจากการบูชา ก่อนออกจากบ้านให้ไปไหว้พระที่ห้องพระก่อน บูชาพระเป็นเจ้าด้วยใจที่เต็มไปด้วยความภักดี เปิดช่องภายในใจของตน ให้พระเป็นเจ้า ให้เทพและให้อาจารย์(ทางศาสนา) ส่งความกรุณาเข้ามาที่ตนและคนที่ตนรักได้ 6. สิทธานตศรวณะ ฟังคำสอนจากคัมภีร์ทางศาสนา ศึกษาคำสอนและรับฟังจากอาจารย์(ทางศาสนา)ที่วงศ์ตระกูลของตนเคารพนับถือ เลือกอาจารย์แล้วดำเนินตามเส้นทางที่อาจารย์นั้นสอน อย่าเสียเวลาลองผิดลองถูกในเส้นทางอื่นๆ 7.มติ พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นโดยพึ่งอาจารย์(ทางศาสนา)ให้เป็นผู้นำทาง แสวงหาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าจนกระทั่งเกิดความสว่างขึ้นในภายใน 8.วรตะ (vrata) ปฏิบัติพรตทางศาสนาโดยไม่พยายามหลีกเลี่ยง อดอาหารตามวันที่กำหนดไว้ทางศาสนา เดินทางไปไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปีละครั้ง 9.ชปะ ท่องมนตร์เป็นประจำทุกวัน สวดบทสวดที่อาจารย์ให้ไว้เป็นประจำทุกวัน อาบน้ำก่อนแล้วจึงสงบจิตสงบใจทำสมาธิพร้อมกับท่องมนตร์จนใจจดจ่ออยู่ที่มนตร์นั้นซึ่งจะทำให้ใจมีความสะอาดผุดผ่อง จงท่องมนตร์และสวดบทสวดตามคำสั่งของอาจารย์โดยเคร่งครัด ดำรงชีวิตโดยปราศจากความโกรธ การท่องมนตร์ของตนทำให้ธรรมชาติภายในใจมีความแข็งแกร่งขึ้น จงให้การท่องมนตร์นั้นขจัดอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆออกไปจนทำให้ใจหยุดนิ่ง 10.ตปัส บำเพ็ญตบะตามคำแนะนำของอาจารย์ เพื่อขจัดความชั่วหรือกิเลสออกไปจากใจ และเพื่อจุดไฟภายในให้ลุกขึ้น ทำให้ตนภายในเปลี่ยนเป็นตนใหม่ (เข้าถึงโมกษะ)

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

December 13, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด มีหลักธรรมสำคัญ ๆ ดังนี้ หลักธรรม ๑๐ ประการ1. ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง ซึ่งหมายถึง การพากเพียรจนได้รับความสำเร็จ2. กษมา ได้แก่ ความอดทน นั่นคือพากเพียรและอดทน โดยยึดความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง3. ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ4. อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำโจรกรรม5. เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ6. อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ๑๐ ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง7. ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน นั่นคือมีปํญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่าง ๆ8. วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา9. สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน10. อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ หลักอาศรม ๔ เป็นขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น มี ๔ ประการคือ1. พรหมจารี เป็นขั้นตอนที่เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นนักศึกษา และจะต้องปรนนิบัติรับใช้อาจารย์พร้อมกับศึกษาเล่าเรียน2. คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปใช้ชีวิตทางโลก แต่งงานและมีบุตรเพื่อสืบสกุล โดยยึดหลักธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต3. วานปรัสถ์ เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า เพื่อฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์และเตรียมปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม4. สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิต โดยสละชีวิตทางโลกออกบวช บำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อความหลุดพ้น

นิกายพรามณ์ ฮินดู

นิกายพรามณ์ ฮินดู

December 9, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาฮินดู ศาสนาพรามณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ 1. ลัทธิไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni) 2. ลัทธิไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน 3. ลัทธิศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น 4. ลัทธิคณพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์ 5. ลัทธิสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ คายตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร 6. ลัทธิสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการยังมีนิกายอื่นๆ อีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก

คำภีร์ ศาสนาพรามณ์ฮินดู

คำภีร์ ศาสนาพรามณ์ฮินดู

December 6, 2020 shantideva edit 0

คัมภีร์พระเวท มี 3 คัมภีร์ เรียกว่า “ไตรเวท” คือ1.ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย บรรดาเทพเจ้าที่ปรากฏในฤคเวทสัมหิตามีจำนวน 33 องค์ ทั้ง 33 องค์ ได้จัดแบ่งตามลักษณะของที่อยู่เป็น 3 กลุ่ม คือ เทพเจ้าที่อยู่ในสวรรค์ เทพเจ้าที่อยู่ในอากาศ และเทพเจ้าที่อยู่ในโลกมนุษย์ มีจำนวนกลุ่มละ 11 องค์ 2.ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยสูตรสำหรับใช้ในการประกอบยัญพิธียชุเวทสัมหิตา แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ2.1 ศุกลชุรเวท หรือ ยชุรเวทขาว ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์ หรือคำสวดและสูตรที่ต้องสวด2.2 กฤษณยชุรเวท หรือ ยชุรเวทดำ ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบยัญพิธีบวงสรวง ตลอดทั้งคำอธิบายในการประกอบพิธีอีกด้วย 3.สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท ในจำนวนนี้มีเพียง 75 บท ที่มิได้ปรากฏในฤคเวท ส่วนอาถรรพเวท หรือที่เรียกกันว่า อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่างๆ อาถรรพเวท (Atharvaveda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์ คาถาต่างๆ ต่อมาคัมภีร์ทั้งสี่ได้กลายมาเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่รวมพระเจ้าในทุกสิ่งอย่างจึงปรากฏว่า มีพระเจ้ามากมาย

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์

December 2, 2020 shantideva edit 0

หลักคำสอนของศาสนาซิกข์ จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ มีอยู่ ๕ ประการ คือ1.กรรม คือ การกระทำ2.ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง3.มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม4.พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว5.สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้1.วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกายและทางวาจา เป็นการให้ทาน2.วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรม3.วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า