ศีล 5 หลักปฏิบัติสำคัญของชาวพุทธ

August 18, 2019 shantideva 0

ศีล 5นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะในบ้านเรา หรือแม้แต่ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ศีล 5 นั้นถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สุด ตามมาด้วย ศีล 8 ศีล 10 ไปจนถึง ศีล 227 ข้อสำหรับผู้ที่ถือครองสมณะเป็นพระ ก่อนที่เราจะไปอ่านรายละเอียดของศีลทั้ง 5 ข้อ เรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำเนิดหลักปฏิบัติดังกล่าวตั้งแต่เมื่อครั้งพุทธกาล ที่ถือว่าหลักปฏิบัตินี้มีความเชื่อมโยงกัน และครอบคลุมการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างครบถ้วน ประวัติของศีล 5 จากหลักฐานที่ถูกค้นพบด้านประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั้น พบว่า “ศีล” เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสมสติราช ซึ่งมิอาจระบุช่วงปีที่เกิดได้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากแล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นการเกิดขึ้นของศีลข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์ จากนั้นศีลข้อที่ 3 จึงเกิดตามมา คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม ซึ่งเมื่อเกิดการประพฤติผิดในศีลทั้ง 2 ข้อแล้วจึงเกิดเป็นการโกหก หลอกลวง ไม่ยอมรับ ไม่ยอมสารภาพผิดต่อขึ้นมา จึงเกิดเป็นศีลข้อที่ 4 คือ ห้ามพูดเท็จ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากขึ้นถึงกับมีการฆ่าแกงกัน จึงเป็นที่มาของศีลข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ ส่วนศีลข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา ตามตำนานเล่าว่าเป็นการประพฤติที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ได้มีคนเดินทางไปพบน้ำขังบริเวณตามง่ามไม้ เมื่อสังเกตไปยังนก นกได้ดื่มน้ำนั้นเข้าไปแล้วเกิดอาการเมา พยายามจะตะเกียกตะกายบินขึ้นบนฟ้าไปให้ได้ คนที่พบจึงทดลองดื่มดูรู้สึกว่าสนุกดี จึงได้น้ำที่พบนั้นไปศึกษาส่วนประกอบ ต่อมาเมื่อศีลทั้ง 5 ข้อก็ได้กลายมาเป็นบทบัญญัติของบ้านเมือง และของเหล่าบัณฑิต ในบางยุค บางสมัยที่โลกนั้นได้เจริญขึ้นในด้านจิตใจ ศีล 5 ก็กลายเป็นธรรมะ ที่เรียกว่า กุรุธรรม หมายถึง ธรรมะของชาวแคว้นกุรุ ที่อยู่ในชมพูทวีปได้ยึดถือปฏิบัติกัน   เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะ พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงนำบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท โดยเริ่มต้นจากอุบาสก อุบาสิกา นับว่าศีล 5 นั้นเป็นเรื่อง่ายที่ยากต่อการปฏิบัติในหมู่ชาวไทย อาจเป็นเพราะว่าคนไทยนั้นมีความคุ้นเคยกับการปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับศีล 5 ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องมาจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ทำให้เมื่อมายึดถือศีล 5 ก็ไม่สามารถทำได้ทุกข้อ หรืออาจทำไม่ได้เลย ความหมายของศีล เมื่อเรารู้ความเป็นมาของหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ศีล 5 แล้ว ในความเป็นจริง เรารู้กันบ้างรึเปล่าว่า “ศีล” นั้น มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง ศีล คือ “เจตนาŽ” ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ) ศีล คือ “เจตสิกŽ” หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต 3 (ความโลภอยากได้ของผู้อื่น, มีจิตคิดพยาบาท, มีความเห็นผิด) ศีล คือ ความสำรวมระวังŽ ปิดกั้นความชั่ว ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามŽ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วทำให้ศีล 5 นั้นมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นการกำหนดหลักต่างๆ ขึ้นจากสามัญสำนึกที่รู้สึกตัวว่า เมื่อเรามีความรักตัวเอง ต้องการความสุข รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต คนอื่นๆ ก็ย่อมต้องรู้สึกและมีความต้องการเช่นเดียวกับเรา เหตุนี้เองถึงแม้ว่าโลกใบนี้จะไม่มีพุทธศาสนา หรือแม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ศีล 5 ก็มีอยู่ในการดำเนินชีวิตของเราอยู่แล้ว ฉะนั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีเหตุมีผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่สัตว์เดียรัจฉานไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงอาจเห็นได้ว่า เมื่อใดที่มนุษย์มีศีล 5 อย่างครบถ้วน ความเป็นมนุษย์จึงสมบูรณ์ กายเป็นปกติ วาจาก็เป็นปกติ เมื่อใดที่มนุษย์ขาดศีล 5 ไป ความเป็นมนุษย์ก็ลดลง   การประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 เห็นได้ว่า ศีล 5 นั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยสามารถแบ่งการประพฤติปฏิบัติได้เป็น 5 ข้อที่สามารถจำแนกความเป็นมนุษย์และสัตว์ได้อย่างชัดเจนได้ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1 ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ : ซึ่งโดยปกติของมนุษย์แล้วเราจะไม่ฆ่าแกงกันเอง นั่นเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ อาทิ เสือ หรือสิงโต ที่เวลาหิวก็จะไล่ล่าสัตว์อื่นเพื่อนำมาเป็นอาหารทันที นั่นจึงทำให้เราสามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ได้อย่างชัดเจน ข้อที่ 2 ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย : โดยปกติของมนุษย์แล้วจะไม่คิดขโมย หรือลักทรัพย์สินของใคร ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปธรรมจับต้องได้ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เพราะมนุษย์มีความรอบรู้ในเรื่องของ กรรมสิทธิ์ ว่านั่นของเรา ว่านี่ของเรา แต่กับสัตว์เดียรัจฉานนั้นไม่รู้ ยกตัวอย่าง เวลาที่สุนัขกำลังเห็นแมวกินปลาอยู่ ถ้ามันมีความคิดที่อยากได้มันก็จะเข้าไปแย่งเลยทันที ฉะนั้น ถ้าใครลักขโมย หรือจี้ปล้นทรัพย์สินของคนอื่นก็แสดงว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาได้สูญเสียไปแล้ว ข้อที่ 3 ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม : มนุษย์เป็นผู้ที่รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเอง รู้ถูกผิด …..อ่านต่อ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ต้นพระศรีมหาโพธิ์

March 31, 2019 shantideva 0

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าเคยประทับและตรัสรู้ ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ุต้นโพธิ์กลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล