ประเทศทิเบตกับพระพุทธศาสนา

June 9, 2019 shantideva 0

ภายหลังที่ได้ครองอำนาจแผ่นดินใหญ่จีน คอมมิวนิสต์ได้ยาตราทัพเข้าครอบครองทิเบต ประมุขของทิเบต คือ  คาสิโนออนไลน์ ดาไล หรือ ทะไล ลามะ ได้เสด็จหนีไปประเทศอินเดีย ดาไล ลามะ ได้เคยเสด็จมาประเทศไทย ประมุขของทิเบตเป็นพระมีอำนาจสูงสุดปกครองประเทศเหมือนพระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนาในประเทศนี้เป็นนิกายมหายาน เลียนแบบนิกายลามะ คาสิโนออนไลน์ ก่อนพระพุทธศาสนาเข้าไป ชาวทิเบตนับถือผี มีพ่อมดหมอผีที่เรียกว่าซามัน เป็นผู้ประกอบพิธีทางลัทธิ มีการบวงสรวงเทวดา ตามตำนานบอกเล่าของชาวทิเบตเอง อ้างว่าพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศของตนเมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ ปี แต่ที่ถือกันโดยทั่วไปว่าเข้าไปประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ ปี เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าไปแล้ว พระพุทธศาสนาที่เข้าไปทิเบตนั้นเป็นนิกายตันตระ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองในอินเดียภาคเหนือ เป็นศาสนาที่เจือปนกับพราหมณ์นิกายที่บูชาพระศิวะ แล้วได้แผ่เข้าไปตั้งมั่นในทิเบตเป็นครั้งแรก ต่อมาได้มีการติดต่อกันที่สำคัญ ๆ อีกหลายครั้งระหว่างอินเดียกับทิเบตพระพุทธศาสนาที่เข้าไปสู่ทิเบตนั้น เป็นพระพุทธศาสนาบางส่วน นอกนั้นเป็นเรื่องผีและเทวดา เวทมนตร์ กลมกลืนกันดีกับที่ชาวทิเบตนับถืออยู่เดิม มีเรื่องราวโดยสังเขปดังนี้ สมัยแรก พระเจ้าสรวงเจ็นคัมโป เป็นประมุขที่ทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนาในทิเบต โดยอาศัยแรงหนุนของพระมเหสีที่เป็นราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีน และเนปาลซึ่งเป็นผู้เลือมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว ทำให้พระเจ้าสรวง เจ็นคัมโป นับถือพระพุทธศาสนาทรงสร้างอารามขึ้น สมัยต่อมาอีกประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ พระเจ้าแผ่นดินทิเบตได้นิมนต์ท่านปัทมภพ (บางแห่งเรียก ปทุมสมภพหรือคุรุปัทมสมภพ) ผู้มีชื่อเสียงจากสำนักตักศิลาเมืองนาลันทา พร้อมกับคณะไปทิเบต และได้แปลคัมภีร์เป็นภาษาทิเบตแต่ก็มีบุคคลคณะหนึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมนับถือลัทธิเดิมของทิเบตคอยขัดขวางอยู่ด้วย สมัยรุ่งเรือง เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของนิกายลามะและได้แผ่ขยายไปทั่วทิเบตในสมัยหลังสุดนี้ สมัยนี้ได้เริ่มต้นประมาณ พ.ศ. ๑๕๑๘ พระภิกษุมหายานรูปหนึ่งเป็นชาวอินเดียชื่ออติศะ เดินทางจากอินเดียไปทิเบต ได้ปรับปรุงพระศาสนานิกายนี้อย่างใหญ่หลวง ได้ตั้งนิกายลามะใหม่อีกนิกายหนึ่ง ชื่อ เกาลุกปะ สร้างวัดนิกายนี้อีกมากระดมกำลังแปลคัมภีร์ ต่อมามีพระในนิกายนี้มีชื่อเสียงอีกหลายองค์ มีชื่อเสียงโด่งดังกว่าอาจารย์ เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนานิกายเกาลุกปะ เป็นนิกายใหญ่ที่มีคนนับถือมาก ลามะที่มีชื่อเสียงล้วนอยู่ในนิกายนี้ ประมุขของทิเบต เช่น ดาไล ลามะ และปันเชนลามะ ก็อยู่ในนิกายนี้ มีหมวกสีเหลืองประจำคณะ คณะอื่นเป็นหมวกสีแดง พวกถือนิกายดั้งเดิม อนุรักษ์นิยม มีหมวกสีดำเป็นเครื่องหมาย ดาไล ลามะ ปกครองประเทศเมื่อประมาณ ๖๐๐ ปี เศษ ๆ มานี่เอง ที่อำนาจการปกครองประเทศตกมาอยู่ในอำนาจของนักบวชลามะ คือเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๐ เศษ มีลามะชื่อ ตสองขปะ ในนิกายกดัมปะ พระภิกษุอินเดียชื่ออตีศ เป็นผู้ตั้งนิกายนี้ขึ้นในประเทศทิเบต ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อนิกายนี้ใหม่ว่า เคลุคปะ ซึ่งเป็นนิกายใหญ่และมีอำนาจมากทั้งได้ควบคุมนิกายอื่น ๆ ทั้งหมดไว้ในอำนาจ พ.ศ ๒๑๓๘ คุสริข่าน กษัตริย์ตาดตีประเทศทิเบตได้ยกอำนาจการปกครองให้แก่ลามะ ชื่อนักวังโลษัง ซึ่งเป็นประธานลามะในเวลานั้น ในเวลาต่อมากษัตริย์จีนได้เห็นชอบด้วยโดยมีนามตามภาษาว่าทไล หรือ ตะเล ซึ่งแปลว่ากว้างใหญ่เหมือนทะเล ในสมัยนั้นได้สร้างวังใหญ่ชื่อโปตละหรือโปตลา ที่ประทับขององค์ประมุขจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เมื่อกองทัพจีนเข้ายึดครองประเทศทิเบต ภายหลังที่พรรคจีนคอมมิวนิสต์ยึดแผ่นดินใหญ่ได้ ดาไล ลามะ พร้อมด้วยคณะ และผู้ติดตามได้หนีไปลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย โลกภายนอกไม่ทราบว่าศาสนาในทิเบตจะคงอยู่หรือไม่อย่างไร มีใครเป็นประมุขแทนหรือไม่ คาสิโนออนไลน์