ประวัติพระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า

February 4, 2021 shantideva edit 0

หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ได้ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ พระโกณฑัญญะบรรลุเป็นพระโสดาบัน และกราบทูลขอบวช นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้เสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปเป็นเวลานานกว่า 45 พรรษา จนกระทั่งปรินิพพาน ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยสลับกัน เนื่องจากการส่งเสริมของผู้มีอำนาจปกครองในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาพรวมแล้ว พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา โดยศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในเอเชียกลาง จีน เกาหลี ในขณะที่ศาสนาพุทธได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในญี่ปุ่น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น และได้มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ “องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก” สนับสนุนข้อมูลโดย  ดูหนังออนไลน์

นิกายของศาสนาพุทธ

นิกายของศาสนาพุทธ

February 1, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาทและมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานถือว่าตนเป็นยานพิเศษโดยเฉพาะ ต่างจากมหายาน เถรวาท หรือ หีนยาน (แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติจะเป็นไปตามพระไตรปิฎก นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว และกัมพูชา ส่วนที่นับถือเป็นส่วนน้อยพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเขมร), บังกลาเทศ (ในกลุ่มชนเผ่าจักมา และคนในสกุลพารัว) และทางตอนบนของมาเลเซีย (ในหมู่ผู้มีเชื้อสายไทย) มหายาน (แปลว่า ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, เวียดนามและสิงคโปร์ พบเป็นประชาชนส่วนน้อยในประเทศเนปาล (ซึ่งอาจพบว่านับถือร่วมกับศาสนาอื่นด้วย) ทั้งยังพบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ พบมากในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน, ประเทศภูฏาน, มองโกเลีย และดินแดนในการปกครองรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐตูวา และคัลมืยคียานอกจากนี้เป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีร์ ประเทศอินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน (ในเขตบัลติสถาน)

พระสีวลีเถระ

พระสีวลีเถระ

January 28, 2021 shantideva edit 0

พระสีวลีเถระ หรือพระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมาก ด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น เอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก พระสีวลีเถระในความเชื่อของคนไทย เนื่องจากพระสีวลีเถระเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก คนไทยเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาพระสีวลีเถระแล้ว จะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งคนไทยก็เชื่ออีกว่าเคยมีผู้หนึ่งเคยได้รับมาแล้วในสมัยพุทธกาลก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเกิดในตระกูลพ่อค้ามีนามว่า สุภาวดี นางได้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และนับถือพระสีวลีเถระเป็นอย่างยิ่ง เมื่อแม่นางได้ฟังธรรมจนลึกซึ้ง พระสีวลีก็ให้ศีลและให้พรว่า”จงเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน เงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมาสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยเถิด” หลังจากที่นางสุภาวดีได้รับพรจากพระสีวลีเถระแล้ว ไม่ว่านางและผู้เป็นบิดามารดาจะไปค้าขายที่ใด ก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีแต่กำไรหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป ซึ่งนางสุภาวดีนั้นได้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือนางกวักนั่นเอง

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

January 25, 2021 shantideva edit 0

วันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก วันสมโภชพระนางมารีย์ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันที่สมโภชพระนางมารีย์พระชนนี พระเป็นเจ้า พระนางเป็นแม่ของพระเยซูเจ้าในฐานะที่เป็นมนุษย์ แต่เนื่องจากพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ พระนางมารีย์จึงได้ชื่อว่าเป็นมารดาของพระเจ้า วันพุธรับเถ้า วันพุธที่เริ่มต้นในเทศกาลมหาพรต ซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วัน ของการฟังพระวาจาและการสวดภาวนา เพื่อเตรียมใจในการฉลองปัสกาอย่างสมควร และเป็นการเตรียมขั้นสุดท้ายสำหรับผู้ใหญ่ที่จะรับศีลล้างบาป วันสมโภชปัสกา วันอาทิตย์ที่สมโภชการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า (วันอาทิตย์หลังวันที่ 14 เดือนนิสาน ซึ่งเป็นเดือนตามปฏิทินของชาวยิว ประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายนของทุกปี) วันเริ่มต้นเทศกาลปัสกา วันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ เป็นวันสมโภชการที่พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ ตามที่บันทึกไว้ในพระวรสารว่า 40 วันหลังจากพระเยซูเจ้าเสด็จกลับคืนพระชนมชีพ วันสมโภชพระจิตเจ้า เป็นวันปิดเทศกาลปัสกา และเป็นความสำเร็จสมบูรณ์ของแผนการความรอดที่เกิดขึ้น โดยการเสด็จมาของพระจิตเจ้า เป็นการกำเนิดของพระศาสนจักรที่พระเยซูเจ้าตั้งขึ้นโดยผ่านทางอัครสาวก วันสมโภชพระตรีเอกภาพ วันอาทิตย์ถัดจากวันสมโภชพระจิตเจ้าเป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในพระเจ้า พระองค์เดียวมี 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร พระจิตเจ้า วันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า วันอาทิตย์ถัดจากวันสมโภชพระตรีเอกภาพ เป็นวันสมโภชที่ให้เกียรติต่อองค์พระเยซูเจ้าที่ประทับอยู่ในศีลมหาสนิท ตามธรรมเนียมคริสตชนจะมีการแห่ศีลมหาสนิท และรับพรจากศีลมหาสนิทหลังพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ วันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล เป็นวันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโลอัครสาวก (อัครสาวกที่มีบทบาทสำคัญของพระศาสนจักร) ตรงกับวันที่ 29 มิถุนายน วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย วันที่ระลึกถึงบรรดานักบุญที่เคยใช้ชีวิตในโลกนี้ ซึ่งเป็นแบบฉบับในการทำความดี และเป็นผู้ภาวนาต่อพระเจ้าเพื่อมนุษย์ในโลก ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน วันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล เป็นวันอาทิตย์สุดท้ายในปีปฏิทินพระศาสนจักรคาทอลิก เป็นวันสมโภชที่ให้เกียรติพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ ผู้นำชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสมโภชการปฏิสนธิโดยปราศจากบาปกำเนิดของพระนางมารีย์ วันสมโภชพระคริสตสมภพ ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันสมโภชการบังเกิดของพระเยซูเจ้า วันอาทิตย์ เป็นการฉลองประจำสัปดาห์ของคริสตชน ในการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ซึ่งคริสตชนทุกคนไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่โบสถ์

หลักคำสอนศาสนาคริสต์

หลักคำสอนศาสนาคริสต์

January 21, 2021 shantideva edit 0

พระคัมภีร์สอนเรื่อง 10 หลักคำสอนในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อความผาสุกของชีวิต 1.ท่านต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเรา2.ท่านต้องไม่ทำรูปปฏิมา ( รูปเคารพ) สำหรับตน ไม่ว่าจะเป็นรูปสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ท้องฟ้าเบื้องบน หรือซึ่งอยู่ในแผ่นดินเบื้องล่าง หรือซึ่งอยู่ในน้ำใต้แผ่นดินท่านต้องไม่กราบไหว้รูปปฏิมา ( รูปเคารพ) หรือนมัสการรูปเหล่านั้น เพราะเราคือ พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน เราแสดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเราจนถึงพันชั่วอายุคน3.ท่านต้องไม่กล่าวพระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านอย่างไม่เหมาะสม เพราะพระยาห์เวห์จะไม่ทรงละเว้นโทษผู้ที่กล่าวพระนามของพระองค์อย่างไม่เหมาะสม4.จงระลึกถึงวันสะบาโตว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ท่านจะต้องออกแรงทำงานทั้งหมดในหกวัน แต่วันที่เจ็ดเป็นวันพักผ่อนที่ถวายแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน ในวันนั้นท่านต้องไม่ทำงานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าน บุตรชาย บุตรสาว บ่าวไพร่ ชาย หญิง สัตว์ใช้งานหรือคนต่างถิ่นที่อาศัยอยู่กับท่าน เพราะในหกวันพระยาห์เวห์ทรงสร้างฟ้า แผ่นดินทะเล และสรรพสิ่งที่มีอยู่ในที่เหล่านี้ แต่ในวันที่เจ็ด พระองค์ทรงพักผ่อน เพราะฉะนั้นพระยาห์เวห์ทรงอวยพระพรวันสะบาโต และทรงทำให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์5.จงนับถือบิดามารดา เพื่อจะได้มีอายุยืนอยู่ในแผ่นดินที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านประทานให้ท่าน6.อย่าฆ่าคน7.อย่าล่วงประเวณี8.อย่าลักขโมย9.อย่าเป็นพยานเท็จให้ร้ายเพื่อนบ้าน10.อย่าโลภ มักได้บ้านเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภมักได้ภรรยาของเพื่อนบ้านหรือบ่าวไพร่ชายหญิง โค ลา หรือทรัพย์สินใด ๆ ที่เป็นของเพื่อนบ้าน

นิกายศาสนาคริสต์

นิกายศาสนาคริสต์

January 18, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาคริสต์มีนิกาย หลักๆ 3 นิกาย คือ 1.นิกายโรมันคาทอลิค2.นิกายโปรเตสแตนท์ 3.นิกายออร์ธอด็อกซ์ นิกายโรมันคาทอลิค มีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่เปโตรได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร เราอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังอย่างเดียว ในฐานะที่เป็น “ผู้ดูแลฝูงแกะ” ของพระเจ้าความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะ นักบวชเท่านั้นแต่เป็นประมุข สูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิคจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่น ให้สัตบุรุษมีศรัทธาและปฏิบัติตาม พระศาสนจักร เพราะพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์กรที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุ เป้าหมายตามภาระกิจที่พระเจ้าได้มอบไว้ มนุษย์จะรอดพ้นจากทุกข์ และบาปกำเนิด (original sin) ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นิกายโปรเตสแตนท์ นิกายนี้มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและคริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า“โปรเตสแตนต์” (Protestant) ซึ่งแปลว่า “ประท้วง” อาจารย์เสรี พงศ์พิศ (2531 : 71-74) ได้กล่าวถึงนิกายนี้ว่า เป็นกุล่มที่แยกตัว ออกมาจากพระศาสนจักร คาทอลิคประมาณศตวรรษที่ 14-15 โดยเริ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มี การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็น ตัวเคลื่อนไหวนี้มี 3 กลุ่ม คือ นิกายลูเธอร์รัน (Lutheran) กลุ่มคริสตรจักรฟื้นฟู (Reformed Christianity) และ นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England) นิกายออร์ธอด็อกซ์ ความเป็นมาของนิกายนี้ สืบย้อนได้ถึงศตวรรษในคริสตศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome) ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิกายเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสารทั่วไปอาณาจักรทั้งสองนี้มีการแข่งันกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และการเมืองแม้นว่าจะนับถือศาสนาคริสต์เหมือนกน แต่มุมมองในด้านความเชื่อต่างกัน

No Image

พระคริสตธรรมคัมภีร์

January 14, 2021 shantideva edit 0

พระคริสตธรรมคัมภีร์ หรือพระคัมภีร์ (Holy Bible) เป็นหลักคำสอนหรือคู่มือในการดำเนินชีวิตของคริสตชน เชื่อว่า พระเจ้าทรงดลใจให้ผู้ประกาศพระวจนะของพระองค์ โดยบุคคลหลากหลาย ต่างยุค ต่างสมัย ต่างอาชีพ ตั้งแต่ กษัตริย์, ธรรมาจารย์, ปุโรหิต, สานุศิษย์, ชาวประมง และสามัญชนผู้มีใจศรัทธาได้เขียนขึ้น พระคัมภีร์มีสองภาค แบ่งเป็นภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) และภาคพันธสัญญาใหม่ (New Testament) โดยภาคพันธสัญญาเดิมจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์การสร้างโลก และกำเนิดมนุษยชาติ การกระจายของพงศ์พันธุ์มนุษย์ ประวัติศาสตร์ชนชาติยิว ( ยูดาย) บทนิพนธ์ บทเพลงสรรเสริญนมัสการพระเจ้า และหลักคำสอน คำพยากรณ์แห่งอนาคตของประชาชาติ ส่วนพระคัมภีร์ใหม่จะกล่าวถึงประวัติและพระราชกิจของพระเยซูคริสต์ การกำเนิดและการขยายงานคริสตจักร โดยการเผยแพร่ หลักคำสอนในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ศรัทธาในพระองค์ ตลอดคำสัญญาแห่งอนาคต คัมภีร์ไบเบิล (อังกฤษ: Bible) (มาจากภาษากรีกว่า บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์ เรียกโดยย่อว่าพระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture)

ศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์

January 11, 2021 shantideva edit 0

ประวิติพระเยซูพระเยซูประสูติเมื่อ ปีค.ศ. 1 เป็นบุตรชายของนางมารีย์ และโยเซฟ ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ที่นาซาเรธ แคว้นกาลิลี นางมารีย์ ได้หมั้นหมายไว้กับโยเซฟ ก่อนที่จะได้อยู่กินด้วยกัน ได้มีทูตสวรรค์ คือ กาเบรียลเข้าบ้านมาหานางมารีย์แล้วกล่าวว่า “ดูเถิด เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย จงตั้งชื่อบุตรนั้นว่าเยซู” ฝ่ายโยเซฟเมื่อทราบว่ามารีย์ตั้งครรภ์แล้ว ก็ไม่คิดจะแพร่งพรายเรื่องนี้ จึงคิดจะถอนหมั้นอย่างลับๆ แต่มีทูตองค์หนึ่งปรากฏแก่โยเซฟในความฝันว่า “โยเซฟบุตรดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์มาเป็นภรรยาของเจ้าเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิ์ในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” โยเซฟจึงทำตามคำนั้น คือได้รับนางมารีย์มาเป็นภรรยา แต่มิได้สมสู่กับเธอ ขณะที่นางมารีย์มีครรภ์แก่ใกล้กำหนดคลอด โยเซฟได้พาภรรยาไปยังเบธเลแฮมเพื่อจดทะเบียนสำมะโนครัวจากคำสั่งของจักรพรรดิ์ออกัสตัส และเนื่องจากไม่สามารถหาโรงแรมได้ พระกุมารจึงกำเนิดขึ้น ณ รางหญ้า นางมารีย์จึงนำผ้าพันกายพระกุมารเอาไว้ คืนนั้นทูตสวรรค์ปรากฏแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาจึงตกใจมาก แต่ทูตสวรรค์กล่าวว่า “อย่ากลัวไปเลย เรามาเพื่อประกาศข่าวดี คืนนี้เองในเมืองของกษัตริย์ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็นหลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมาร มีผ้าพันกายนอนอยู่ในรางหญ้า” บรรดาคนเลี้ยงแกะ และเหล่านักปราชญ์ที่เดินทางไปเรื่อย ๆ เดินไปยังคอกสัตว์และถวายเครื่องบรรณาการสามสิ่ง คือ ทองคำสำหรับกษัตริย์ กำยาน ( เครื่องหอมคุณภาพดี) มอบแด่นักบุญนักบวช และมดยอบ (ยางไม้มีกลิ่นหอม) สำหรับผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียชีวิต เมื่อกลับมาอยู่ที่นาซาเรธ ก็ได้รับการศึกษาตามสมควร ปรากฏว่าได้แสดงความเฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ประมาณ 30 ปี ได้เริ่มสั่งสอนตามลำพัง เรียกตนเองว่าบุตรพระเจ้า ชาวยิวที่นับถือจึงเชื่อกันว่า พระเยซู คือ พระเมสสิอาห์ที่พระเจ้าโปรดให้ลงมาเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ พระองค์ทำอัศจรรย์ต่างๆมากมาย เช่น ช่วยรักษาคนเจ็บ (ขับไล่ภูตผีปีศาจ) ทำให้คนตาบอดมองเห็นได้ และสามารถปลุกคนตายให้ฟื้นคืนชีพ แต่ชาวยิวกลุ่มหนึ่งที่เคร่งครัดในศาสนาเดิมโกรธแค้นว่าพระเยซูจะทำการแบ่งแยกศาสนา ทางข้าหลวงโรมันก็เห็นว่าพระเยซูจะก่อการปฏิรูปสังคมและซ่องสุมคน จึงทำให้พระเยซูถูกกุมตัวขึ้นศาล และถูกประหารชีวิตด้วยการตรึงไม้กางเขน พระองค์สิ้นพระชนม์ ณ เนินเขาโกลโกธา (Golgotha) นอกเมืองเยรูซาเล็ม ต่อมามีข่าวลือว่าพระเยซูทรงกลับฟื้นคืนชีพ และปรากฏตัวให้บรรดาสานุศิษย์ที่จงรักภักดีได้เห็น บรรดาสาวกจึงจัดตั้งเป็นกลุ่ม เพื่อสั่งสอนศาสนาตามแนวทางของพระคริสต์ไปตามที่ต่างๆ ต่อมาคริสต์ศาสนาจึงเป็นศาสนาที่สำคัญของโล

หลักคำสอนพื้นฐานศาสนาอิสลาม

หลักคำสอนพื้นฐานศาสนาอิสลาม

January 7, 2021 shantideva edit 0

ศาสนาอิสลาม มีพิธีกรรม และหลักคำสอนเพื่อให้ปฏิบัติตามดังนี้หลักศรัทธา ๖ ประการ ได้แก่ 1.ศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์ มุสลิม เชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ผู้เป็น มุสลิม จะต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว 2.ศรัทธาต่อเทพบริวารของพระอัลลอฮ์ (เทวทูต) คือ ผู้รับใช้พระเจ้าซึ่งมีจำนวนมากมีหน้าที่ต่างๆ กัน เทวทูตเป็นคนกลางทำหน้าที่สื่อสาร ระหว่างท่านนบีมุฮัมมัดกับพระเจ้า กล่าวคือ ท่านนบีมูฮัมมัด ได้รับโองการจากพระเจ้าโดยทางเทวทูต ซึ่งเรียกว่า “ มลาอีกะฮ์ ” เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น แต่สามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ตามบัญชาของพระอัลลอฮ์ 3.ศรัทธาในพระคัมภีร์ทั้งหลาย คือ คัมภีร์ที่พระเจ้าได้ประทานมาก่อนหน้านี้ 104 คัมภีร์ ซึ่งรวมทั้งคัมภีร์ของศาสนายูดาย และศาสนาคริสต์ แต่ให้ถือว่าคัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์สุดท้าย และสมบูรณ์ที่สุด ที่พระเจ้าได้ประทานพรลงมาให้แก่มนุษยชาติ โดยผ่านทางศาสดามุฮัมมัด 4.ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต ศาสนทูตเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่พระเจ้าได้เลือกสรรว่าเป็นคนดี เหมาะแก่การที่จะเป็นผู้ประกาศศาสนา ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตองค์สุดท้าย 5.ศรัทธาในวันพิพากษา คือ วันสุดท้ายของโลก ชาว มุสลิม เชื่อว่าโลกมีวันแตกดับ เมื่อถึงวันนั้นมนุษย์ทุกคนต้องตาย และจะถูกทำให้ฟื้นขึ้นมา เพื่อพิจารณาโทษ ด้วยการสอบสวนพิพากษาตามความดีความชั่วที่ตนได้กระทำไว้ 6.ศรัทธาในการกำหนดสภาวะของโลก และชีวิต ว่าเป็นไปตามเจตจำนงของพระอัลลอฮ์

คัมภีร์ศาสนาอิสลา

คัมภีร์ศาสนาอิสลา

January 4, 2021 shantideva edit 0

ในคัมภีร์อัลกุรอาน “แท้จริงศาสนาแห่งอัลเลาะห์นั้น คือ ศาสนาอิสลาม” แสดงว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ศาสนา ที่มนุษย์ตั้งขึ้น คำสอนในศาสนาอิสลา ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดามูฮำหมัด พระศาสดามูฮำหมัด มิได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามขึ้น พระองค์ เป็นเพียงผู้รับเอา ศาสนาอิสลาม อันเป็นของพระอัลเลาะห์ มาประกาศเผยแพร่แก่มนุษยชาติเท่านั้น ศาสนาอิสลามมีคำสอนว่า พระอัลเลาะห์ ทรงสร้างโลก และสรรพสิ่งในจักรวาล ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกของโลก คือ อาดัมและเฮาวาฮ์ (อาดัมกับอีวา หรืออีฟ ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์) พระองค์ได้ตรัสว่า “โออาดัม เจ้าและพรรยาของเจ้า จงพำนักอยู่ในสวรรค์ และเจ้าทั้งสองจงกินของในนั้นได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องหวงห้าม ตามที่เจ้าทั้งสองต้องการ แต่จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้ เพื่อเจ้าทั้งสอง จะได้ไม่เป็นพวกทรยศ” แต่แล้วมารร้าย ก็ได้ใช้อุบายหลอกลวง ให้มนุษย์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระผู้เป็นเจ้า พระอัลเลาะห์ จึงทรงขับไล่ อาดัม และเฮาวาฮ์ไม่ให้อยู่ในสวรรค์ ให้ลงมาอยู่ ณ หน้าแผ่นดิน พระผู้เป็นเจ้า ทรงส่งพระศาสนทูต (รอซูล) ลงมาสั่งสอนมนุษย์เป็นครั้งคราว ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากพระอัลเลาะห์ให้มาเป็นพระศาสนทูต นับแต่อาดัม ซึ่งถือว่าเป็นพระศาสนทูต คนแรก จนถึงพระศาสดามูฮำหมัด ศาสดาคนสุดท้าย มีจำนวนมากด้วยกัน แต่ที่ระบุชื่ออยู่ในพระคัมภีร์อัลกรุรอานนั้น มี 25 ท่าน ในจำนวนนี้ ที่จัดว่าเป็น พระศาสนทูต มี 5 ท่าน คือ นูห์ หรือโนอา อิบรอฮิม หรืออับราฮัม มูซา หรือโมเสส (ศาสดาของศาสนายิว) ฮีซา หรือเยซู (ศาสนดาของศาสนาคริสต์ มูฮำหมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม)

No Image

ความเสื่อมพุทธศาสนาในอินเดีย

December 30, 2020 shantideva edit 0

คนที่นับถือพระพุทธศาสนาได้หายไปจากทวีปเกือบหมดหลายพันปี ที่เหลือกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่ว่าในดินแดนที่เรียกว่าอินเดียหรือปากีสถานในปัจจุบัน Peter Moss เขียนภาพพระแตกร้าวว่ามาจากเหตุ 4 ประการคือ การทบทวน (คำสอน) ของฮินดู การบุกรุกของชาวฮั่น มุสลิมบุกรุก และพระสงฆ์ไม่ทำตามหน้าที่ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) รวบรวมความเสื่อมพุทธศาสนาไว้ 7 ประการ1.พระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคี ชิงดีชิงเด่นแย่งกันเป็นใหญ่ หลงใหลในลาภ ยศ สักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย ติดอยู่ในพิธีกรรม มากกว่าการศึกษาและปฏิบัติธรรม เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนเดิม เพิ่มเติมใหม่ ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป จะเห็นว่าสังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียย่อมมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์ 2.ขาดผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นกษัตริย์ผู้มีความเลื่อมใส พระพุทธศาสนาก็เหมือนกับต้นไม้ขาดน้ำและปุ๋ย 3.ถูกศาสนาอื่นๆ เบียดเบียน เช่น ศาสนาฮินดู ที่เป็นคู่แข่ง เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ฮินดูประกาศคำสอนของตนเป็นการใหญ่ ส่วนพระพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่อง หรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหา เท่ากับทำลายตัวเอง และถูกคนอื่นทำลาย 4.เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ทวนกระแส คือตรงดิ่งสู่ความจริง เป็นการฝืนใจคน ต้องดึงคนเข้าหาหลัก มิใช่ดึงหลักเข้าหาคน ไม่บัญญัติหรือสอนไปตามความชอบพอของคนบางคน แต่สอนไปตามความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงทำให้ผู้มักง่ายเกิดความเอือมระอา พากันหันไปหาคำสอนที่ถูกใจ 5.พุทธศาสนาปฏิเสธวรรณะ ขัดต่อความคิดเห็นของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ที่ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณี คนชั้นสูงต้องการคงวรรณะไว้ คนชั้นต่ำก็คิดเช่นเดียวกัน 6.เพราะพระพุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนอันดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา 7.สมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจ กษัตริย์มุสลิมได้แผ่อำนาจไปในที่ต่างๆ อย่างกว้างขวางและพร้อมกันนั้น อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาที่กำลังจะล้มพับอยู่แล้ว ก็ถึงกาลอวสาน

No Image

การขยายตัวของพุทธศาสนาอินเดีย

December 27, 2020 shantideva edit 0

แม้ว่าพุทธศาสนาจะได้สูญหายจากอินเดีย ยกเว้นบางพื้นที่ในเนปาล พระธรรมทูตก็ได้เดินทางไปเผยแผ่ศาสนายังภาคต่างๆ ของเอเชียเพื่อชักชวนให้ประชาชนเปลี่ยนศาสนา เริ่มจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พระสงฆ์ได้เดินทางเข้าสู่เอเชียกลางที่ครั้งหนึ่งพุทธศาสนาเข้มแข็งมากได้เข้าสู่จีน มีพระสงฆ์จีนและนักปราชญ์ต่างเดินทางเข้าไปเยือนอินเดียก่อน ค.ศ. 400 เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และกลับจีนพร้อมด้วยคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูปมากมาย อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศจีนกลายมาเป็นประเทศที่นับถือพุทธอย่างเข้มแข็ง จากจีนพุทธศาสนาได้ผ่านเข้าสู่เกาหลีและญี่ปุ่นและยังคงมีอิทธิพลจนทุกวันนี้ พุทธศตวรรษที่ 7-11 คณะธรรมทูตและพ่อค้าได้นำพุทธศาสนาหินยานเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา กลายเป็นศาสนาหลักที่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งเคยเป็นที่นับถือเข้มแข็งในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยศาสนาอิสลาม บ่อยครั้งพุทธศาสนาได้ปรับตัวเข้ากับประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ปฏิบัติกันอยู่ อย่างเช่นสถาปัตยกรรมของวัด และบางครั้งเทพเจ้าพื้นเมืองก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมของชาวพุทธไป แม้ว่าวัด แท่นที่บูชา เทศกาลต่างๆ ในประเทศที่นับถือพุทธเช่นญี่ปุ่นและพม่า จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญยังเหมือนกัน

คุรุศาสนาในศาสนาซิกข์

คุรุศาสนาในศาสนาซิกข์

December 23, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่ยึดมั่นและเชื่อถือในพระเจ้า (วาเฮ่คุรุ) เพียงพระองค์เดียวอย่างเคร่งครัดพระศาสดาคุรึนานักเทพ (คุรุนานักเดว) พระองค์ได้สอนหลักธรรมและแนวคิดใหม่ให้กับทุกคน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หลักธรรมและแนวคิดดังกล่าวมีดังนี้1.สอนให้ทุกคนรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้2.ชี้นำทางให้ทุกคนได้เข้าถึงพระเจ้าด้วยการดำรงชีวิตและด้วยการกระทำแต่คุณงานความดี3.การเข้าถึงธรรมมะและการทำรงชีวิตตามหลักสัจธรรม ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยิ่งยโส และความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นวิถีทางในการระลึกถึงพระเจ้าอย่างแท้จริง ศาสนาซิกข์เชื่อในเรื่ององการกลับชาติมาเกิดใหม่ มนุษย์ทุกคนควรพยายามอย่างที่สุดเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏจักรของชีวิตหรือการเวียนว่ายตายเกิดด้วยการหมั่นระลึกถึงพระเจ้าและการสวดมนต์ภาวนา โดยในศาสนาสิกข์เชื่อว่าพระเจ้าคือความจริงนั่นเซิ

นิกายในศาสนาสิกข์

นิกายในศาสนาสิกข์

December 20, 2020 shantideva edit 0

ศาสนิกชนชาวซิกข์ส่วนใหญ่นั้นอาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย แม้จะมีชุมชนชาวซิกข์อยู่ในส่วนต่างๆของโลกก็ตาม นิกายของศาสนาซิกข์แบ่งออกเป็น 3 นิกาย บางนิกายยึดถือเอาคำสอนของศาสดาคุรุนานักเป็นค าสอนหลัก บางนิกายยึดคัมภีร์ครันถ์ในฐานะคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์บางนิกายก็ยึดถือเอาศาสดาทั้ง 10 ในฐานะผู้จุดประกายแห่งความศรัทธา ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1 นิกายอุทสิส (Udasis)นิกายนี้โดยพื้นฐานเป็นนิกายส าหรับพวกนักบวช ชาวซิกข์นิกายนี้มักปฏิบัติตามกฎหรือข้อปฏิบัติในรูปแบบการบ าเพ็ญพรตของศาสนาฮินดู พุทธศาสนาและเชน พวกเขาจะไม่แต่งงาน และแต่งกายสีเหลือเหมือนจีวรของนักบวชในพุทธศาสนา หรือบางพวกก็เปลือยกายเหมือนนักบวชในศาสนาเชน โดยมีภาชนะส าหรับออกขออาหารเท่านั้นเป็นสมบัติติดตัวนิกายอุทสิสนี้จะไม่เหมือนชาวซิกข์นิกายอื่นๆ เพราะพวกเขามักจะโกนศีรษะและหนวดและนิยมเดินทางออกเผยแพร่ศาสนาไปตามที่ต่างๆ 2 นิกายสหัชธรีหรือนานักปันถินิกายนี้จะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม นับถือคุรุนานัก เน้นหนักไปในทางการด ารงชีวิตแบบเรียบง่าย ด าเนินรอยตามหลักค าสอนของศาสดาคุรุนานัก ไม่นิยมการให้ชาวซิกข์มีลักษณะเป็นนักต่อสู้หรือเป็นนักรบ นิกายนี้นิยมโกนหนวดเครา 3 นิกายขาลสา หรือ สิงห์นิกายนี้นับถือเน้นหนักตามค าสอนของศาสดาคุรุโควินทสิงห์ ผู้ชายจะมีลักษณะของนักรบเพื่อปกป้องชาวซิกข์ ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะไว้ผมตลอดทั้งหนวดเครายาว โดยไม่ตัดหรือโกนตลอดชีวิต7

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาพรามณ์ ฮินดู

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาพรามณ์ ฮินดู

December 16, 2020 shantideva edit 0

ข้อควรปฏิบัติของศาสนิกฮินดูเรียกรวมๆว่า นิยมะ มี ๑๐ ประการ คือ1.หรี ความละอายต่อการทำความชั่ว จำไว้เสมอว่าเคยทำผิดอะไรไว้ ยอมรับว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดและพยายามแก้ไขสิ่งที่ทำผิดนั้น กล่าวขอโทษจากใจจริงต่อคนที่ตนทำผิดทั้งทางกายทางวาจาและทางใจ 2.สันโตษะ ความสันโดษ ดำเนินชีวิตด้วยความพึงพอใจ ดำรงชีวิตที่ราบเรียบ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ยิ้มเสมอ ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณที่ตนมีสุขภาพดี รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเพื่อน รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณทรัพย์สมบัติ ไม่รู้สึกขัดข้องใจในสิ่งที่ตนไม่มี คิดว่าตัวเองที่แท้คือสิ่งเป็นนิรันดรที่อยู่ภายใน ไม่ใช่ใจ ไม่ร่างกาย ไม่ใช่ความรู้สึกที่ขึ้นๆลงๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 3.ทาน การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ถือว่าเงิน ๑ ใน ๑๐ ส่วนของเงินได้ทั้งหมดเป็นเงินของพระเป็นเจ้า จงบริจาคเงินส่วนนี้ให้แก่วัด อาศรม และองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาจิตใจ มีคติประจำใจว่า ไปวัดพร้อมด้วยของถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปพบอาจารย์(ทางศาสนา)ด้วยของบูชาคุณครูอาจารย์ บริจาคคัมภีร์ทางศาสนา ให้อาหารและให้สิ่งของแก่คนยากไร้ 4.อัสติกยะ มีศรัทธาแนบแน่น เชื่อในพระเป็นเจ้าอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย เชื่อมั่นในอาจารย์(ทางศาสนา) เชื่อในเส้นทางที่จะดำเนินไปสู่โมกษะหรือความพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในคำสอนของอาจารย์(ทางศาสนา) เชื่อในคัมภีร์ทางศาสนา เชื่อในประเพณีทางศาสนาที่สืบทอดกันต่อๆมา 5.อีศวรปูชนะ ปลูกฝังความภักดีต่อพระเป็นเจ้าด้วยการบูชาและทำสมาธิทุกวัน มีห้องพระไว้ในบ้าน ๑ ห้อง ถวายดอกไม้ ผลไม้ หรือ อาหาร แด่พระเป็นเจ้า เป็นประจำทุกวัน ท่องจำบทสวดสำหรับบูชาให้ได้ ทำสมาธิหลังจากการบูชา ก่อนออกจากบ้านให้ไปไหว้พระที่ห้องพระก่อน บูชาพระเป็นเจ้าด้วยใจที่เต็มไปด้วยความภักดี เปิดช่องภายในใจของตน ให้พระเป็นเจ้า ให้เทพและให้อาจารย์(ทางศาสนา) ส่งความกรุณาเข้ามาที่ตนและคนที่ตนรักได้ 6. สิทธานตศรวณะ ฟังคำสอนจากคัมภีร์ทางศาสนา ศึกษาคำสอนและรับฟังจากอาจารย์(ทางศาสนา)ที่วงศ์ตระกูลของตนเคารพนับถือ เลือกอาจารย์แล้วดำเนินตามเส้นทางที่อาจารย์นั้นสอน อย่าเสียเวลาลองผิดลองถูกในเส้นทางอื่นๆ 7.มติ พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นโดยพึ่งอาจารย์(ทางศาสนา)ให้เป็นผู้นำทาง แสวงหาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าจนกระทั่งเกิดความสว่างขึ้นในภายใน 8.วรตะ (vrata) ปฏิบัติพรตทางศาสนาโดยไม่พยายามหลีกเลี่ยง อดอาหารตามวันที่กำหนดไว้ทางศาสนา เดินทางไปไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปีละครั้ง 9.ชปะ ท่องมนตร์เป็นประจำทุกวัน สวดบทสวดที่อาจารย์ให้ไว้เป็นประจำทุกวัน อาบน้ำก่อนแล้วจึงสงบจิตสงบใจทำสมาธิพร้อมกับท่องมนตร์จนใจจดจ่ออยู่ที่มนตร์นั้นซึ่งจะทำให้ใจมีความสะอาดผุดผ่อง จงท่องมนตร์และสวดบทสวดตามคำสั่งของอาจารย์โดยเคร่งครัด ดำรงชีวิตโดยปราศจากความโกรธ การท่องมนตร์ของตนทำให้ธรรมชาติภายในใจมีความแข็งแกร่งขึ้น จงให้การท่องมนตร์นั้นขจัดอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆออกไปจนทำให้ใจหยุดนิ่ง 10.ตปัส บำเพ็ญตบะตามคำแนะนำของอาจารย์ เพื่อขจัดความชั่วหรือกิเลสออกไปจากใจ และเพื่อจุดไฟภายในให้ลุกขึ้น ทำให้ตนภายในเปลี่ยนเป็นตนใหม่ (เข้าถึงโมกษะ)