No Image

ความเสื่อมพุทธศาสนาในอินเดีย

December 30, 2020 shantideva edit 0

คนที่นับถือพระพุทธศาสนาได้หายไปจากทวีปเกือบหมดหลายพันปี ที่เหลือกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่ว่าในดินแดนที่เรียกว่าอินเดียหรือปากีสถานในปัจจุบัน Peter Moss เขียนภาพพระแตกร้าวว่ามาจากเหตุ 4 ประการคือ การทบทวน (คำสอน) ของฮินดู การบุกรุกของชาวฮั่น มุสลิมบุกรุก และพระสงฆ์ไม่ทำตามหน้าที่ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) รวบรวมความเสื่อมพุทธศาสนาไว้ 7 ประการ1.พระภิกษุสงฆ์เกิดแตกสามัคคี ชิงดีชิงเด่นแย่งกันเป็นใหญ่ หลงใหลในลาภ ยศ สักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย ติดอยู่ในพิธีกรรม มากกว่าการศึกษาและปฏิบัติธรรม เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนเดิม เพิ่มเติมใหม่ ทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป จะเห็นว่าสังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียย่อมมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุสงฆ์ 2.ขาดผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาเจริญและดำรงมาได้ก็เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินให้ความอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นกษัตริย์ผู้มีความเลื่อมใส พระพุทธศาสนาก็เหมือนกับต้นไม้ขาดน้ำและปุ๋ย 3.ถูกศาสนาอื่นๆ เบียดเบียน เช่น ศาสนาฮินดู ที่เป็นคู่แข่ง เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ฮินดูประกาศคำสอนของตนเป็นการใหญ่ ส่วนพระพุทธศาสนามีแต่ตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่อง หรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหา เท่ากับทำลายตัวเอง และถูกคนอื่นทำลาย 4.เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ทวนกระแส คือตรงดิ่งสู่ความจริง เป็นการฝืนใจคน ต้องดึงคนเข้าหาหลัก มิใช่ดึงหลักเข้าหาคน ไม่บัญญัติหรือสอนไปตามความชอบพอของคนบางคน แต่สอนไปตามความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงทำให้ผู้มักง่ายเกิดความเอือมระอา พากันหันไปหาคำสอนที่ถูกใจ 5.พุทธศาสนาปฏิเสธวรรณะ ขัดต่อความคิดเห็นของคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำ ที่ยึดมั่นอยู่ในลัทธิประเพณี คนชั้นสูงต้องการคงวรรณะไว้ คนชั้นต่ำก็คิดเช่นเดียวกัน 6.เพราะพระพุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฏิบัติ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนอันดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา 7.สมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจ กษัตริย์มุสลิมได้แผ่อำนาจไปในที่ต่างๆ อย่างกว้างขวางและพร้อมกันนั้น อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาที่กำลังจะล้มพับอยู่แล้ว ก็ถึงกาลอวสาน

No Image

การขยายตัวของพุทธศาสนาอินเดีย

December 27, 2020 shantideva edit 0

แม้ว่าพุทธศาสนาจะได้สูญหายจากอินเดีย ยกเว้นบางพื้นที่ในเนปาล พระธรรมทูตก็ได้เดินทางไปเผยแผ่ศาสนายังภาคต่างๆ ของเอเชียเพื่อชักชวนให้ประชาชนเปลี่ยนศาสนา เริ่มจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พระสงฆ์ได้เดินทางเข้าสู่เอเชียกลางที่ครั้งหนึ่งพุทธศาสนาเข้มแข็งมากได้เข้าสู่จีน มีพระสงฆ์จีนและนักปราชญ์ต่างเดินทางเข้าไปเยือนอินเดียก่อน ค.ศ. 400 เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และกลับจีนพร้อมด้วยคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูปมากมาย อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศจีนกลายมาเป็นประเทศที่นับถือพุทธอย่างเข้มแข็ง จากจีนพุทธศาสนาได้ผ่านเข้าสู่เกาหลีและญี่ปุ่นและยังคงมีอิทธิพลจนทุกวันนี้ พุทธศตวรรษที่ 7-11 คณะธรรมทูตและพ่อค้าได้นำพุทธศาสนาหินยานเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา กลายเป็นศาสนาหลักที่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งเคยเป็นที่นับถือเข้มแข็งในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยศาสนาอิสลาม บ่อยครั้งพุทธศาสนาได้ปรับตัวเข้ากับประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ปฏิบัติกันอยู่ อย่างเช่นสถาปัตยกรรมของวัด และบางครั้งเทพเจ้าพื้นเมืองก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมของชาวพุทธไป แม้ว่าวัด แท่นที่บูชา เทศกาลต่างๆ ในประเทศที่นับถือพุทธเช่นญี่ปุ่นและพม่า จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญยังเหมือนกัน

สืบสานประเพณีพิธีคเณศจตุรถี และคเณศวิวาหะ (แต่งงานพระคเณศ)

May 16, 2019 shantideva 0

“พิธีคเณศวิวาหะ (สยุมพร) ในเทศกาลคเณศจตุรถี” พระศรีคเณศ หรือ พระพิฆเนศ เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่มีประวัติมายาวนานหลายพันพันปีในชมพูทวีปแพร่ขยายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ศาสนาพราหมณ์ฮินดูเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิทั้งทางบกและทางน้ำอยู่ร่วมกับพระพุทธศาสนามหายานมานานกว่าสองพันปีในอาณาจักรศรีวิชัย ,ทวารวดี โดยเฉพาะลัทธิมนตรณานด้วยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวอินเดียมาแต่โบราณ ในเทศกาลคเณศจตุรถี หรือวันประสูติแห่งพระศรีคเณศ นั้นที่มีการทำพิธีบูชาและแห่ยิ่งใหญ่ในอินเดียและ

พระพรหม

พระพรหม หนึ่งในตรีมูรติ (ตรีเทพ)

April 11, 2019 shantideva 0

พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा พฺรหฺมา; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิด คัมภีร์พระเวท พระพรหม มีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ

พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งปัญญา (องค์ปฐมบูชา)

April 11, 2019 shantideva 0

พระคเณศ (สันสกฤต: :ेशทมิฬ: อังกฤษ்ளையார்อังกฤษ: พระพิฆเนศ) ชาวไทยนิยมเรียกดูพระพิฆเนศ (शिघ्नेश) พระพิฆเณเ สำเร็จทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ทรงเป็นหัวหน้าคณะ ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมายรวมทั้งพระพิฆเนศที่มีคนไทยมาช้านาน

พระนารายณ์ “พระวิษณุ” หนึ่งในตรีมูรติ (ตรีเทพ)

April 10, 2019 shantideva 0

นารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นพระนามหนึ่งของ พระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนามว่า พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม

พระศิวะ

พระศิวะ หนึ่งในตรีมูรติ (ตรีเทพ)

April 9, 2019 shantideva 0

พระศิวะหรือพระอิศวร (สันสกฤต: शिव; อังกฤษ: พระอิศวร) หนึ่งในตรีมูรติหรือเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ (ตรีเทพ) ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์และพระวิษณุ) พระศิวะทรงมีรูปทรงเป็นชายหนุ่มร่างกำพร้าวรรณะขาว (สีผิวขาว) นารายณ์หนังเสือเหมือนฤๅษีมีสัมพันธวาล์เป็นลูกประคำหรือแพทย์มนุษย์มีงูเห่า