ความอดทน

July 26, 2019 shantideva 0

ในบทนี้กล่าวถึงความสำคัญของความอดทนในการสร้างโพธิจิตให้บังเกิดขึ้นกับตนเอง โดยอาจารย์ ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า ” ความดีงามอันประเสริฐที่ได้สั่งสมมาจากการถวายความเคารพแด่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และความ โอบอ้อมอารี เป็นเวลานับพันกัป สิ่งเหล่านั้นจะถูกทำลายลงในชั่วขณะแห่งความโกรธ ดังนั้น ไม่มีความ ชั่วร้ายใดรุนแรงเท่ากับความโกรธ และไม่มีกำแพงใดดีเท่าความอดทน ดังนั้น ข้า จึงควรเพียรพยายาม โดยวิธีต่าง ๆ เพื่อมีสมาธิอยู่กับความอดทน ” นั่นคือความอดทนนั้น เป็นความดีงามอันประเสริฐ และเป็นการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอันเลิศ ที่ คอยปกป้องตัวเรา และนำเราให้ซึมซับกับคุณลักษณะอันงดงามแฝงไว้อยู่ในสรรพสิ่งรอบกาย ขณะความโกรธและความเกลียดชังนั้น กลับนำมาซึ่งความเร่าร้อน ทุกข์ทรมาณตั้งแต่ในขณะ ปัจจุบันนี้จนถึงชีวิตหน้าเลยทีเดียว ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ลองสังเกตุเวลาที่เราโกรธ ในชั่วขณะ นั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่ความสุขและสันติจะบังเกิดขึ้นในจิตใจ ในใจจะเต็มไปด้วยความรุ่มร้อน จะส่งผลมาถึงทางกายทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้น รู้สึกเครียด ไม่สบายกายไม่สบายใจไปเลย ในทันที และหากความโกรธนี้ได้รับการสั่งสม มากเข้า ๆ จะประทับไว้ในจิต จนกลายเป็น อุปนิสัยที่โกรธง่ายเกลียดง่ายด้วยแล้ว ในทางตันตระกล่าวกันว่า ความโกรธความเกลียดชังนี้ จะสั่งสมจนนำไปสู่ความทุกข์ทรมาณถึงชีวิตหน้าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความโกรธ ความเกลียดชัง เป็นความชั่วร้ายอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาทาง จิตวิญญาณของตัวเรา แต่มิได้หมายความว่ามันจะมีอานุภาพที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราจะขจัดมัน ไปได้ ดังนั้น อาจารย์ศานติเทวะจึงสั่งสอนไว้ว่า ให้เพียรปฏิบัติความอดทนเพื่อการสร้างสม บารมี โดยเริ่มปฏิบัติด้วยความอดทนต่อ สิ่ง เล็กๆ น้อยๆ ก่อน จากนั้นค่อย ๆ ขยายความ อดทน อดกลั้นต่ออุปสรรคหรือความทุกข์ยากใด ๆ ที่ยิ่งใหญ่ขึ้น โดยวิธีนี้จะค่อยพัฒนาตัวเรา ต่อการปฏิบัติเพื่อสร้างสมขันติบารมีที่ยิ่งใหญ่ขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อใดก็ตามที่อุปสรรคหรือความทุกข์ยากบังเกิดขึ้นกับตัวเรา จงอย่าได้ กล่าวโทษผู้อื่น เพราะหากเรามีความมานะพยายามเพื่อความเป็นอิสระไม่ผูกมัดตนอยู่กับประโยชน์ ทางวัตถุ และเกียรติยศ อุปสรรคและความทุกข์ยากเหล่านั้นก็เหมือนดั่งประตูที่เปิดใหเราได้ ฝึกฝนสู่ภาคปฏิบัติโดยแท้ เพราะโดยปกติแล้วยามใดก็ตามที่มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิต ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมมองย้อนว่าปัญหาหรือความผิดพลาดเหล่านั้น เกิดจากตนเองแต่มัก จะโยน ปัญหาหรือความผิดพลาดเหล่านั้นให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ย่อมนำมาซึ่ง ความโกรธ ความเกลียดชัง และสถานะการณ์เลวที่ร้ายลงยิ่งขึ้น ไปอีก แต่หากลองตั้งสติแล้ว มองย้อนไปใหม่ว่า สิ่งเหล่านั้นคือปัจจัยแห่งความอดทน เพราะเมื่อใดที่เกิดความท้อแท้ใจ ความหยิ่งยโสยึดมั่นในอัตตาตัวตนก็จะมลายไปด้วย แต่หากเราล้มเหลวที่จะอดทนต่อภาวะที่ ไม่พึงปรารถนา ก็เท่ากับว่าตัวเราเองเท่านั้นที่เป็นผู้ขัดขวางตนเอง ที่จะปฏิบัติเพื่อการสร้างสม บารมี ที่จะได้รับชัยชนะในการละวางความทุกข์ยากได้ทั้งปวง

บทที่ ประโยชน์แห่งโพธิจิต

July 25, 2019 shantideva 0

ในบทแรกนี้อาจารย์ศานติเทวะได้กล่าวถึงคุณค่าของการได้เกิดมามีชีวิตเป็นมนุษย์ และเราควรใช้ชีวิต ของการเป็นมนุษย์นี้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุดพร้อมกันนั้นที่ได้เริ่มเกริ่นนำถึงโพธิจิต(Bodhichitta) อรรถกถากล่าวไว้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วนนั้น เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง นัก ดังนั้น ในเมื่อเวลานี้เราต่างพากันโชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เราที่ควรจะใช้ชีวิต ใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์ ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้กลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกครั้ง และที่สำคัญเมื่อเป็นมนุษย์แล้วโอกาสที่จะใช้ร่างกายนี้ไปกระทำความชั่วที่มีอยู่ตลอด เวลา จนกระทั่งโอกาสที่คิดจะกระทำดีที่ดูน้อยลงไปยิ่งนักหากไม่มีสติรู้เท่าทัน แต่บางครั้ง เราก็มีความคิดที่ดี ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความกรุณาขององค์พระพุทธเจ้าที่ คอยอำนวยอวยพร หรืออาจจะเป็นผลแห่งกรรมดีที่เราเคยสั่งสมมา แต่ความคิดดีงามเช่นนี้ บ่อยครั้ง ที่เปรียบได้กับค่ำคืนอันมืดมิดที่ไร้แม้แสงจันทร์แสงดาว ทันใดนั้นก็เกิดฟ้าแลบให้เราได้เห็นความจริง ของสรรพสิ่งเพียงชั่ววินาทีเดียว จากนั้นก็คืนสู่ความมืดมิดอีกครั้งหนึ่ง ชีวิตในแต่ละวันของเราที่เปรียบ ได้ดุจเดียวกัน อกุศลนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ จนพลังแห่งคุณธรรมในตัวเรานั้นมันอ่อนแอยากที่ จะเกิด ดุจเดียวกับแสงแห่งสายฟ้าแลบที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่ววินาทีเดียว แต่ยามใดที่คุณธรรมในตัวเรายังเกิดขึ้นเราต้องหล่อหลอมพลังแห่งคุณธรรมเข้ากับทุกขณะจิตของควาคิดและการกระทำ นี่แหละคือจุดเปลี่ยนแห่งชีวิตของเราเอง พลังอกุศลกรรมนั้นยิ่งใหญ่จนยากที่เราจะขจัด เพราะตัวเราเองเป็นผู้สั่งสมมันมานานแสนนาน ขณะที่กุศลกรรมนั้นเรากลับสั่งสมไว้เพียงให้มีพลังปรากฎ ดุจสายฟ้าแลบในชั่วขณะเดียว ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขจัดพลังอกุศลกรรมนั้นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาและปัญญาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงสั่งสอนเราถึงวิธี การเอาชนะพลังอกุศล ด้วยการสร้างสรรค์โพธิจิตอันสมบูรณ์ที่จะเพียรและยึดมั่นในการตรัสรู้ เพราะนอก จากโพธิจิตอันสมบูรณ์แล้วยากที่จะมีพลังคุณธรรมอื่นใดที่จะเอาชนะพลังแห่งอกุศลที่สั่งสมมานานแสน นานได้ เปรียบได้กับการพยายามที่จะจุดไฟเผาพุ่มไม้ที่กองทับถมสูงเท่าภูเขาด้วยเพียงแค่ไม้ขีดไฟหยิบมือ เดียว พลังแห่งโพธิจิตนั้นล้ำลึกเพราะด้วยโพธิจิตนี้เองที่สามารถแปรเปลี่ยนเราผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาสู่การเป็น ผู้ตรัสรู้ แปรเปลี่ยนกายเนื้อของมนุษย์สู่กายแห่งพุทธะที่ไม่มีพลังคุณธรรมอื่นใดจะเทียมเท่า อาจได้เปรียบ กว่าคุณธรรมอื่น ๆ ที่สั่งสมนั้นที่เป็นเพียงต้นกล้วยที่เมื่อให้ผลแล้วจักต้องตายจากไป แต่พฤกษาแห่ง โพธิจิตนั้นจักผลิดอกออกผลไม่รู้จบตลอดไป โพธิจิตมีอยู่ 2 นัย คือ โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) และโพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้ ( Engaging Bodhichitta ) โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้เปรียบได้กับเมื่อเราต้องการที่จะเดินทางไปอเมริกา อันดับแรกเรามีความตั้งใจที่จะไป จากนั้นก็ตัดสินใจที่จะไป การตัดสินใจที่จะไปนี่เองคือโพธิจิตที่ยึดมั่น ในการตรัสรู้ ในทางปฏิบัติก็คือการตั้งปณิธาน ” เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ข้า ขอตั้งมั่นสู่การรู้แจ้ง ” โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) ก็เหมือนกับเราตัดสินใจแล้วที่จะไป เราชื้อตั๋วเครื่องบิน และขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทางและจากจุดนี้เองที่โพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้( Engaging Bodhichitta) เริ่ม ทำงานเมื่อการเดินทางเกิดขึ้นจริง ๆ ขณะที่เครื่องบินบินสู่จุดหมายนั้น เราก็เข้าไกล้การตรัสรู้มากขึ้น ๆ ทุก ที ตลอดเส้นทางสายการปฏิบัตินั้น เราจะค่อย ๆ สั่งสม คุณธรรมและปัญญา พร้อม ๆ กับ ขจัดพลังอกุศล จนกระทั่งได้ถึงจุดหมายปลายทางคือการบรรลุซึ่งการตรัสรู้นั่นเอง เกมส์ยิงปลา

ปัญญากับบารมีหก

July 24, 2019 shantideva 0

บารมีประการสุดท้ายที่กุงกาซังโปริมโปเชได้บรรยายไว้คือปัญญาบารมี หรือในภาษาสันสกฤตว่า “ปรัชญาปารมิตา” ปัญญาบารมีเป็นขั้นสุดท้ายของบารมีทั้งหกของพระโพธิสัตว์ และก็เป็นขั้นตอนที่ทำให้การบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าเป็นไปได้ อาจกล่าวได้ว่าบารมีห้าประการแรก ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ และสมาธิ เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การบรรลุบารมีที่หกนี้ ดังนั้นในแง่นี้ปัญญาบารมีจึงถือได้ว่าเป็นบารมีที่สำคัญที่สุดของพระโพธิสัตว์ อย่างไรก็ตามหากไม่มีบารมีที่มาก่อนทั้งห้า ปัญญาบารมีก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ด้วยเหตุนี้บารมีทั้งหกจึงมีสถานะเท่าเทียมกัน เนื่องจากไม่อาจขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่ถึงกระนั้้นปัญญาบารมีก็ยังมีความสำคัญเป็นพิเศษเพราะเป็นแก่นแท้ของการบรรลุธรรม ปัญญาบารมีได้แก่การรู้แจ้งเห็นจริงถึงสภาวธรรมตามที่เป็นอยู่จริงๆ และหัวใจของการรู้แจ้งนี้ก็คือการมองเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนเป็น “ของว่าง” หรือ “ศูนยตา” คำว่า “ศูนยตา” (หรือเขียนว่า “สุญญตา” ในภาษาบาลี) ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจและการตีความที่ไม่ถูกต้องเป็นอันมาก บางคนเข้าใจไปว่าอะไรที่เป็นของว่างก็คือไม่มีอะไรเลย สูญไปหมด ไม่เหลืออะไรไว้ ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง การเป็น “ของว่าง” ไม่ได้หมายความว่าของต่างๆล่องหนไปแบบถูกเสกโดยนักมายากล บางคนก็คิดว่าการเป็น “ของว่าง” หรือ “ศูนยตา” นี้เป็นสภาวะในระดับหนึ่งที่แยกออกจากโลกธรรมชาติที่เรามองเห็นรับรู้อยู่ เช่นมีสวรรค์ของศูนยตาที่บรรดาของว่างทั้งหลายไปรวมกันอยู่ แล้วคนที่เข้าถึงศูนยตาได้ก็คือคนที่ได้รับสิทธิให้เข้าไปท่องเที่ยวในสวรรค์แห่งนี้ ความคิดนี้ยิ่งเตลิดเปิดเปิงเข้าไปใหญ่ แท้จริงแล้วศูนยตาไม่ได้อยู่ที่ไหนไกลตัวจากเรา แต่อยู่ที่นี่ เวลานี้ อยู่กับตัวเราทุกเวลานาที เพียงแต่ว่าเราไม่ได้สนใจที่จะไปรับรู้ศูนยตานี้ ก็เลยคิดไปว่าอยู่ไกลไปจากเรามาก จะว่าไปศูนยตาก็ไม่ต่างอะไรจากสิ่งต่างๆในโลกธรรมชาติที่เราเห็นอยู่ทุกวัน ของพื้นฐานต่างๆเช่นโต๊ะ เก้าอี้ ก็เป็น “ของว่าง” หรือจะพูดให้ถูกก็น่าจะบอกว่าเป็น “ความว่าง” เพราะการเป็น “ของว่าง” เท่ากับมีของอยู่ แล้วของนั้นมีคุณสมบัติว่าง แต่ความเป็นศูนยตาหมายถึงว่า ไม่มีของอะไรเลยที่อยู่เป็นแก่นสาร ดังนั้นจึงไม่มี “ของ” อะไรให้ “ว่าง” แต่การพูดเช่นนี้ก็ต้องระวังว่าไม่ใช่การยืนยันว่าจริงๆแล้วไม่มีอะไรเลย โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ ต่างก็มีอยู่จริง เพียงแต่ว่ามันไม่มีมีอยู่จริง จริงๆ เท่านั้นเอง การที่โต๊ะเก้าอี้มีอยู่จริงในระดับหนึ่ง แต่ไม่มีอยู่จริงจริงๆ เป็นตัวอย่างของ “ความจริงสองระดับ” ที่กุงกาซังโปริมโปเชพูดถึงในการบรรยายเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ความจริงสองระดับนี้ได้แก่ความจริงขั้นสูง (“ปรมัตถสัจจะ”) กับความจริงพื้นๆหรือความจริงธรรมดา (“สมมติสัจจะ”) ทั้งสองเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ใช่ว่าความจริงขั้นสูงจะแยกตัวออกไปเป็นอีกโลกหนึ่ง โต๊ะเก้าอี้ก็เป็นทั้งความจริงขั้นสูงและความจริงธรรมดาไปด้วยในเวลาเดียวกัน ทั้งโต๊ะกับเก้าอี้ต่างก็ไม่ได้มีความเป็นแก่นแท้ของตัวเอง หมายความว่าโต๊ะตัวนี้ไม่ได้เป็นโต๊ะมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เพิ่งมาเป็นโต๊ะเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อไม้ท่อนนี้ถูกเปลี่ยนรูปในเป็นโต๊ะในโรงงาน เก้าอี้ตัวนี้ก็เช่นเดียวกัน และเราก็เข้าใจว่าในอนาคตอีกไม่นาน ทั้งโต๊ะกับเก้าอี้ตัวนี้ก็จะไม่มีอยู่ ถ้าไม่ถูกขายทอดตลาดเป็นขยะ ก็อาจจะถูกไฟเผา หรือพังทลายสูญสลายไปด้วยวิธีอื่น ดังนั้นที่มันเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้อยู่ได้ ก็เพราะเราไปมองมันแล้วก็ไปยึดถือว่ามันเป็นเช่นนั้น แต่ในระดับของความจริงสมมติ โต๊ะเก้าอี้ก็มีความเป็นจริงแบบเดียวกับสิ่งอื่นๆที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ความจริงสมมติหรือความจริงธรรมดา ก็คือความจริงที่เราคุ้นเคยอยู่เป็นอย่างดี โต๊ะกับเก้าอี้ในระดับความจริงธรรมดานี้ ก็คือโต๊ะกับเก้าอี้ตามปกตินั่นเอง ความจริงสองระดับนี้แท้จริงแล้วเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็คือโต๊ะกับเก้าอี้เป็นทั้งตัวมันตามที่ปรากฏ และเป็นความว่างไปด้วยในขณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ความว่างหรือศูนยตาที่สามารถกำจัดอวิชชาได้นั้น จะต้องเป็นปัญญาที่มาจากการทำสมาธิและประกอบด้วยการเห็นความจริงตามที่เป็นอยู่จริงๆ การเห็นเช่นนี้ไม่เพียงแต่เป็นการคิดตามหลึกของตรรกวิทยาเท่านั้น คนบางคนอาจมีความสามารถในการคิดตามหลักเหตุผลหรือตรรกวิทยาเป็นอย่างมาก เขาอาจอธิบายเรื่องความว่างได้เป็นคุ้งเป็นแคว แต่ตราบใดที่เขาไม่ได้ทำสมาธิแลไม่ได้เห็นความว่างด้วยจิตอันสงบเป็นสมาธิ ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเขาเข้าถึงปัญญาบารมีจริงๆ เรื่องนี้เปรียบได้กับการว่ายน้ำ คนที่ว่ายน้ำเป็นจะทราบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างการลงไปว่ายน้ำให้น้ำสัมผัสตัวจริงๆ กับการพูดถึงการว่ายน้ำในเชิงทฤษฎีแต่ไม่ได้ลงไปว่าย ในทำนองเดียวกันการอธิบายความว่างหรือศูนยตาตามหลักของเหตุผล กับการมีประสบการณ์ตรงหรือการเห็นความว่างโดยตรงก็แตกต่างในแบบเดียวกัน

ต้องการให้บุญส่งผลเร็ว

July 23, 2019 shantideva 0

ถ้าต้องการให้บุญส่งผลเร็ว ให้เร่งในส่วนของ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ สมาธิจะเห็นผลไวที่สุด เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๖๐ ถาม : ปกตินั่งสมาธิครึ่งชั่วโมง เขาเรียกว่าได้ผลไหมครับ ? ตอบ : สำคัญตรงที่สมาธิทรงตัวไหม ? ระยะเวลาไม่เกี่ยว ถ้าสมาธิทรงตัว ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ได้บุญมหาศาล ถ้าสมาธิไม่ทรงตัวนั่งไป ๓ ชั่วโมง ๕ ชั่วโมงก็แค่นั้นแหละ ถาม : ถ้านั่ง ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ได้ แต่บางท่านบอกนั่งชั่วโมงครึ่ง เดินชั่วโมงครึ่ง ? ตอบ : ท่านหมายถึงว่าทำอย่างไรจะให้ใจทรงตัว แรก ๆ ก็จะฟุ้งซ่าน ยื้อระยะเวลาไปหน่อย พอจิตเหนื่อยก็จะนิ่งแล้วเริ่มทรงตัว ก็เลยต้องใช้เวลานิดหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้ว ท่านบอกว่าสมาธิ ทำแค่ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น คือแวบเดียวเท่านั้น อย่างน้อย ๆ ผลบุญที่ทำก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราต่อไปภายหน้าได้ ถาม : ปัจจัยนี้ส่งผลข้ามชาติได้ ? ตอบ : ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ถาม : การนั่งสมาธิในรถยนต์ที่จอดอยู่ประมาณ ๒-๔ นาทีต่อวัน ในช่วงเช้า โดยที่จิตสงบ เราจะได้บุญเพียงพอที่จะอุทิศให้ใครไหมคะ ? ตอบ : โอ้พระเจ้า..มหาศาลเลย อานิสงส์แค่ช้างกระดิกหูหรือแค่งูแลบลิ้น ท่านบอกว่ายังเป็นปัจจัยให้เข้าสู่พระนิพพานได้ในอนาคต นั่นตั้ง ๒-๔ นาทีแถมยังใจสงบด้วย ต้องบอกว่าได้เยอะมาก ๆ ฉะนั้น..รีบอุทิศไปเถอะ เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ กำลังใจที่มุ่งตรงต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระอริยสงฆ์ มีอานิสงส์มหาศาลจนคาดไม่ถึง ตัวอย่างในพระไตรปิฏกมีมากต่อมากด้วยกัน ระลึกถึงแม้ชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ปรากฏว่าตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ ถามว่าทำไมถึงมีอานิสงส์มากขนาดนั้น ? อานิสงส์ที่มากเพราะว่าคนอื่นมีน้อย แปลว่าอะไร ? ถ้าหากเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีกำลังใจมืดบอด กำลังใจต่ำ ย่อมห่างจากบุคคลที่มีกำลังใจผ่องใส กำลังใจสูง ยิ่งกำลังใจสูงต่ำกันมากเท่าไร ระดับของความห่างก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อวัดไปถึงระดับจอมอรหันต์อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงห่างกันจนยากที่จะประมาณได้ เมื่อเราทำความดีต่อท่านทั้งหลายเหล่านี้ ต่อพระพุทธเจ้าก็ดี ต่อพระธรรมก็ดี ต่อพระอริยสงฆ์ก็ดี จึงได้มีผลานิสงส์มากมหาศาลจนประมาณไม่ได้ เพราะว่าระดับห่างกันเหลือเกิน เราทำบุญกับเดรัจฉาน ๑ ครั้งมีผลเป็น ๑๐๐ แต่ว่าเราทำบุญกับบุคคลที่ทุศีล ยังมีผลมากกว่าสัตว์เดรัจฉานเป็น ๑๐๐ เท่า ก็แปลว่ามีอานิสงส์เป็น ๑๐,๐๐๐ ทำบุญกับบุคคลที่ทุศีล สู้บุคคลที่มีศีลแล้วทำศีลบกพร่องไม่ได้ ห่างกันเป็น ๑๐๐ เท่าอีก ก็แปลว่า ใส่ไปอีก ๒ ศูนย์ เป็น ๑,๐๐๐,๐๐๐ แล้ว ทำบุญกับสัตว์เดรัจฉานเป็น ๑,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่เท่ากับทำบุญกับบุคคลที่ศีลขาด ๑ ครั้ง ระดับที่ขาดมากกับดีมาก จะยิ่งต่างกันไปเรื่อย ๆ ดังนั้น…ผลานิสงส์จึงมากมายมหาศาลไปด้วย ขอให้ทุกคนตั้งจิตตั้งใจ ด้วยความเลื่อมใสในคุณพระศรีรัตนตรัย ตั้งใจถวายดอกไม้ ธูปเทียนของเรา เป็นพุทธบูชา พวกเรามากราบพระ ไหว้พระ บูชาพระ ไปพร้อม ๆ กัน เกมส์ยิงปลา

วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์-ท่านศานติเทวะ

July 22, 2019 shantideva 0

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐผู้เลิศยิ่ง ผู้หาใครเสมอเสมือนมิได้ ขอบูชาพระธรรมเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์นำความสุขมาให้ ขอบูชาพระมหาโพธิสัตว์เจ้าผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมและกรุณาธรรมทั้งปวง ขอบูชาพระอริยสงฆเจ้าผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ขอบูชาคุณบิดาและมารดาผู้ทรงคุณอันประเสริฐทั้งหมดทั้งสิ้น ขอบูชาคุณคุรุผู้ประเสริฐ ผู้ประสิทธิประสาทวิชาทั้งทางโลกและทางธรรม ขอบูชาพระโพธิธรรมทั้งสิบประการอันมี ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ขอบูชาพระโพธิญานอันเป็นที่สุดแห่งชีวิตนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาติต่อคุรุทั้งปวง ขอกราบกรานเหล่าดวงจิตอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในการกระทำในครั้งนี้ โปรดช่วยดลบรรดาลจิตนี้ของข้าพเจ้าให้รู้หนทางอันเป็นไปตามธรรมอันถูกต้องด้วยเทอญ และเมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใดไม่ถูกต้องด้วยกาย วาจา และใจนี้ ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายได้โปรดแก้ไขและชักนำข้าพเจ้ากลับสู่หนทาง เพื่อการหลุดพ้นแห่งสรรพสัตว์ด้วยเทอญ

คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร

July 21, 2019 shantideva 0

ตอนนี้ผมเรียบเรียง คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายในจะมีเนื้อหา แบ่งเป็นในแต่ละปริเฉท ซึ่งจะมีบทปริวรรตภาษาสันสกฤตเป็นอักษรไทย 2 แบบ และมีเสียงประกอบให้อ่านตามได้ ส่วนล่างสุดจะเป็นบทแปลครับ เหมาะสำหรับผู้สนใจทั้งคัมภีร์ศาสนา, การออกเสียงภาษาสันสกฤต, และฉันทลักษณ์สันสกฤต คัมภีร์โพธิจรรยาวตารเป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 8 เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉท มีจํานวนโศลกทั้งสิ้น 913 โศลก ในการประพันธ์ได้ใช้ฉันทลักษณ์11 ชนิด คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เป็นคัมภีร์สําคัญของพระพุทธศาสนามหายานนิกายมาธยมิก ที่กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ หรือหลักการดําเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งหลักคําสอนอันครอบคลุมแนวความคิดสําคัญทั้ง 3 ด้านของพระพุทธศาสนามหายานคือ แนวความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ แนวความคิดเรื่องปรัชญาศูนยตาและแนวความคิด เรื่องพุทธภักติ อันมีเนื้อหาสาระส่วนใหญ่มุ่งอธิบายถึงหลักการปฏิบัติตนของพระโพธิสัตว์เป็นสําคัญ ต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลนั้น ได้รับอนุญาตจากผู้แปลคือ พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ในปริเฉทที่ ๕ ท่านศานติเทวะ อธิบายถึง การรักษาซึ่งสติสัมปชัญญะ การปฏิบัติตนตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ หากมิอาจรักษาจิตให้มีสติสัมปชัญญะรู้ตัวได้แล้ว ย่อมไม่อาจรักษาโพธิจิตได้ และตกอยู่ในความประมาท ก็ย่อมเป็นการง่ายที่จะก่ออกุศล และก้าวเดินไปหนทางที่ผิด ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara แปลโดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ ภายในจะมีเนื้อหา,พระมหาวิชาญ,กำเหนิดกลับ เกมส์ยิงปลา

บทที่ ๑ ประโยชน์แห่งโพธิจิต

July 20, 2019 shantideva 0

ในบทแรกนี้อาจารย์ศานติเทวะได้กล่าวถึงคุณค่าของการได้เกิดมามีชีวิตเป็นมนุษย์ และเราควรใช้ชีวิต ของการเป็นมนุษย์นี้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุดพร้อมกันนั้นที่ได้เริ่มเกริ่นนำถึงโพธิจิต(Bodhichitta) อรรถกถากล่าวไว้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วนนั้น เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง นัก ดังนั้น ในเมื่อเวลานี้เราต่างพากันโชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เราที่ควรจะใช้ชีวิต ใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์ ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้กลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกครั้ง และที่สำคัญเมื่อเป็นมนุษย์แล้วโอกาสที่จะใช้ร่างกายนี้ไปกระทำความชั่วที่มีอยู่ตลอด เวลา จนกระทั่งโอกาสที่คิดจะกระทำดีที่ดูน้อยลงไปยิ่งนักหากไม่มีสติรู้เท่าทัน แต่บางครั้ง เราก็มีความคิดที่ดี ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความกรุณาขององค์พระพุทธเจ้าที่ คอยอำนวยอวยพร หรืออาจจะเป็นผลแห่งกรรมดีที่เราเคยสั่งสมมา แต่ความคิดดีงามเช่นนี้ บ่อยครั้ง ที่เปรียบได้กับค่ำคืนอันมืดมิดที่ไร้แม้แสงจันทร์แสงดาว ทันใดนั้นก็เกิดฟ้าแลบให้เราได้เห็นความจริง ของสรรพสิ่งเพียงชั่ววินาทีเดียว จากนั้นก็คืนสู่ความมืดมิดอีกครั้งหนึ่ง ชีวิตในแต่ละวันของเราที่เปรียบ ได้ดุจเดียวกัน อกุศลนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ จนพลังแห่งคุณธรรมในตัวเรานั้นมันอ่อนแอยากที่ จะเกิด ดุจเดียวกับแสงแห่งสายฟ้าแลบที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่ววินาทีเดียว แต่ยามใดที่คุณธรรมในตัวเรายังเกิดขึ้นเราต้องหล่อหลอมพลังแห่งคุณธรรมเข้ากับทุกขณะจิตของควาคิดและการกระทำ นี่แหละคือจุดเปลี่ยนแห่งชีวิตของเราเอง พลังอกุศลกรรมนั้นยิ่งใหญ่จนยากที่เราจะขจัด เพราะตัวเราเองเป็นผู้สั่งสมมันมานานแสนนาน ขณะที่กุศลกรรมนั้นเรากลับสั่งสมไว้เพียงให้มีพลังปรากฎ ดุจสายฟ้าแลบในชั่วขณะเดียว ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขจัดพลังอกุศลกรรมนั้นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาและปัญญาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงสั่งสอนเราถึงวิธี การเอาชนะพลังอกุศล ด้วยการสร้างสรรค์โพธิจิตอันสมบูรณ์ที่จะเพียรและยึดมั่นในการตรัสรู้ เพราะนอก จากโพธิจิตอันสมบูรณ์แล้วยากที่จะมีพลังคุณธรรมอื่นใดที่จะเอาชนะพลังแห่งอกุศลที่สั่งสมมานานแสน นานได้ เปรียบได้กับการพยายามที่จะจุดไฟเผาพุ่มไม้ที่กองทับถมสูงเท่าภูเขาด้วยเพียงแค่ไม้ขีดไฟหยิบมือ เดียว พลังแห่งโพธิจิตนั้นล้ำลึกเพราะด้วยโพธิจิตนี้เองที่สามารถแปรเปลี่ยนเราผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาสู่การเป็น ผู้ตรัสรู้ แปรเปลี่ยนกายเนื้อของมนุษย์สู่กายแห่งพุทธะที่ไม่มีพลังคุณธรรมอื่นใดจะเทียมเท่า อาจได้เปรียบ กว่าคุณธรรมอื่น ๆ ที่สั่งสมนั้นที่เป็นเพียงต้นกล้วยที่เมื่อให้ผลแล้วจักต้องตายจากไป แต่พฤกษาแห่ง โพธิจิตนั้นจักผลิดอกออกผลไม่รู้จบตลอดไป โพธิจิตมีอยู่ 2 นัย คือ โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) และโพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้ ( Engaging Bodhichitta ) โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้เปรียบได้กับเมื่อเราต้องการที่จะเดินทางไปอเมริกา อันดับแรกเรามีความตั้งใจที่จะไป จากนั้นก็ตัดสินใจที่จะไป การตัดสินใจที่จะไปนี่เองคือโพธิจิตที่ยึดมั่น ในการตรัสรู้ ในทางปฏิบัติก็คือการตั้งปณิธาน ” เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ข้า ขอตั้งมั่นสู่การรู้แจ้ง ” โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) ก็เหมือนกับเราตัดสินใจแล้วที่จะไป เราชื้อตั๋วเครื่องบิน และขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทางและจากจุดนี้เองที่โพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้( Engaging Bodhichitta) เริ่ม ทำงานเมื่อการเดินทางเกิดขึ้นจริง ๆ ขณะที่เครื่องบินบินสู่จุดหมายนั้น เราก็เข้าไกล้การตรัสรู้มากขึ้น ๆ ทุก ที ตลอดเส้นทางสายการปฏิบัตินั้น เราจะค่อย ๆ สั่งสม คุณธรรมและปัญญา พร้อม ๆ กับ ขจัดพลังอกุศล จนกระทั่งได้ถึงจุดหมายปลายทางคือการบรรลุซึ่งการตรัสรู้นั่นเอง

July 19, 2019 shantideva 0

พระศิวะ พระศิวะหรือพระอิศวร (สันสกฤต: शिव; อังกฤษ: พระอิศวร) หนึ่งในตรีมูรติหรือเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ (ตรีเทพ) ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์และพระวิษณุ) พระศิวะ พระศิวะทรงมีรูปทรงเป็นชายหนุ่มร่างกำพร้าวรรณะขาว (สีผิวขาว) นารายณ์หนังเสือเหมือนฤๅษีมีสัมพันธวาล์เป็นลูกประคำหรือแพทย์มนุษย์มีงูเห่า เป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่นและแม่คงคาอยู่บนยอดจุฑายอมรับการพ่นน้ำออกมาและมีพระจันทร์ที่สาม (ตาที่ 3)พระศิวะ โดยปกติจะปิดเชื่อเสมอว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่มีการกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงานทดแทนเพื่อโลกใบใหม่ที่จะทำลายโลกใบใหม่ โคนนทิ ทรงมีพระธรรมคือโคนนทิ (พระมหาบุรุษผู้มีสีขาวล้วน) พระมหากษัตริย์มีพระปรมาภิไธย 2 องค์คือพระมหาท้าวมหาพรหมและพระพิฆเนศ แม่คงคามีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะ -01 พระศิวะมีความยินดีที่จะแสดงความเคารพต่อระบอบการปกครองของเทพเจ้ากรีก “ปางนาฏราช” ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง จนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากนี้พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วยโดยมีพระนามเรียกว่า “ปีศาจบดี” หรือ “ภูเตศวร” และมีพระนามอื่นอีกเช่น “รุต”, “ศขกร”, “ศขี”, “ศกัฐ์” “,” หระ “หรือ” อีสาน “และยังเป็นเทพประจำตะวันออกตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานอีกด้วย พระศิวะกลืนพิษ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พระศิวะของพระศิวะมีสีดำ แบบเทมเพสที่ได้รับการค้นพบครั้งแล้วครั้งเล่าในคัมภีร์กุรอ่านศาสนาคริสต์ที่ได้รับอนุญาต สีของความรักไม่ว่าจะเป็นสีดำ ในความเชื่อแบบศรีลังกาแล้วเชื่อว่าพระศิวะมีการสอนศาสนาเป็นรูปมงกุฎและเทพเจ้าไซเบอร์รูปปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนาสดงเจตนารมณ์ว่าจะย้ายไปซบ ยูเวนตุส สถานเดียว ซึ่ง “เบียงโคเนรี่” ก็พร้อมที่จะขอซื้อหนแรกด้วยเงินราว 40 ล้านยูโร เมาโร อีการ์ดี้ กองหน้า อินเตอร์ มิลาน สโมสรชั้นนำแห่งวงการ กัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี ต้องการย้ายไปอยู่กับ ยูเวนตุส เท่านั้นในช่วงซัมเมอร์นี้ ตามรายงานของ กัลโช่แมร์คาโต้ สื่อกีฬาของเมืองมะกะโรนี ปัญหาระหว่าง อีการ์ดี้ กับ อินเตอร์ เกิดขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ดาวเตะชาวอาร์เจนไตน์โดนทีมตัดชื่อออกจากกลุ่มที่จะไปทัวร์ช่วงปรี-ซีซั่น ที่ทวีปเอเชีย โดยถึงแม้มันจะเกิดจากการตัดสินใจร่วมกันของทุกฝ่าย แต่ว่ากันว่าเรื่องในครั้งนี้ทำใหแข้งวัย 26 ปีโมโหสุดๆ ถึงแม้ก่อนหน้านี้จะมีข่าวลือว่า อีการ์ดี้ พร้อมที่จะเอาคืนต้นสังกัดด้วยการอยู่กับทีมไปจนหมดสัญญาในอีก 2 ปีข้างหน้า จนส่งผลกับการเสริมทัพในช่วงซัมเมอร์นี้ของ อินเตอร์ ไปด้วย แต่ล่าสุด กัลโช่แมร์คาโต้ เผยว่าที่จริงแล้ว อีการ์ดี้ พร้อมที่จะบอกลาทีมก่อนเปิดฤดูกาล 2019-20 เพียงแต่ ยูเวนตุส คือทีมเดียวที่เขาจะยอมไปอยู่ด้วย สื่อเจ้าเดิมเสริมว่า วานด้า นาร่า ภรรยาและเอเยนต์ของ อีการ์ดี้ กับ ฟาบิโอ ปาราติชี่ ผู้อำนวยการกีฬาของ ยูเวนตุส เจรจากันอยู่เรื่อยๆ โดยครั้งล่าสุดก็เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่ง “เบียงโคเนรี่” รู้ดีว่า อีการ์ดี้ อยากมาอยู่กับพวกเขามากๆ และพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอขอซื้อเขาครั้งแรกด้วยเงินราว 40 ล้านยูโร (ประมาณ 1,440 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ ยูเวนตุส ก็จำเป็นต้องโละกองหน้าบางคนให้ได้ก่อน ซึ่งทั้ง มาริโอ มานด์ซูคิช, กอนซาโล่ อิกวาอิน และ มอยเซ่ เคน ต่างก็มีสิทธิ์โดนขายพอๆ กัน เกมส์ยิงปลา

ประวัติความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา

July 18, 2019 shantideva 0

วันอาสาฬหบูชา 2557 ตรงกับวันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน โดยวันอาสาฬหบูชา ซึ่งก็คือวันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีกว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ “วันอาสาฬหบูชา” ซึ่งในปี 2557 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาเท่าใดนัก ดังนั้นวันนี้เรามีประวัติวันอาสาฬหบูชามาฝากกันค่ะ ทั้งนี้ คำว่า “อาสาฬหบูชา” สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จะมีผู้ไปเห็นพระพุทธเจ้าได้หรือไม่ ?

July 17, 2019 shantideva 0

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต. เกมส์ยิงปลา

บทสวดบูชาพระพิฆเนศ

July 16, 2019 shantideva 0

บทสวดมนต์และคาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้นในแบบดั้งเดิมโบราณ มีเป็นร้อยๆ กว่าบท… และแบบสมัยใหม่ ที่มีการดัดแปลงความหมายให้เหมาะสม ก็มีอีกหลายพันบทตามแต่ละประเทศ ลัทธิ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป (เช่นในประเทศไทย ก็มีการประพันธ์บทสวดพระพิฆเนศขึ้นมาใหม่หลายบทเช่นกัน) สามารถเลือกสวดบทใดๆ ได้ตามความสะดวก หรือเท่าที่จำได้ ควรเริ่มต้นจากการสวดบทเดียว จากนั้นให้ท่องจำ และศึกษาเพิ่มเติม จนสามารถสวดได้หลายๆ บทในแต่ละบทสวด จะสวดบูชาแค่รอบเดียวหรือสวด 3 , 5 , 7 , 9 จบ ก็สามารถทำได้ แต่ชาวฮินดูไม่มีการกำหนดตายตัวว่า มนต์บทใดจะต้องสวดกี่รอบ สามารถเลือกสวดมนต์บทใดๆ ก่อนหลัง ได้ด้วยตนเอง จากนั้นจึงขอพร ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบ แล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้ แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆ ที่นับถือเพิ่มเติม บทสวดบูชาพระพิฆเนศแบบโบราณ 17 บท สามารถเลือกบทใดบทหนึ่ง หรือจะสวดบูชาทั้ง 17 บทเรียงต่อกันก็จะเป็นสิริมงคล 1. โอม สุมุ-ขายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระพักตร์งดงามดั่งดวงจันทร์ 2. โอม เอกทันตะ ยะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีงาข้างเดียว 3. โอม กาปิ ลายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีผิวกายสีแดง 4. โอม คัชกรัณ กายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีใบหูกว้างใหญ่ 5. โอม ลัมโพ ทะรายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีท้องอันใหญ่โต 6. โอม วิกฏายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงประทานความผาสุข 7. โอม วิฆนะ รายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งปวง 8. โอม วินายะ กายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุด 9. โอม ธูมระ เกตะเว นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีกายดั่งเปลวไฟร้อนแรง 10. โอม คณาธยักษากะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งคณะบริวารแห่งพระศิวะเทพ 11. โอม ภาละ จันทรายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระขันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฎ 12. โอม คชานะ นายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระพักตร์เป็นช้าง 13. โอม วักระ ตุณ ดายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีงวงอันใหญ่โค้ง 14. โอม ศุรปะ กรณายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีใบหูอันกว้างใหญ่ 15. โอม เหรัมภายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงอำนาจสูงสุด 16. โอม สกันทะ ปูรวชายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นน้องชายพระขัณฑกุมาร 17. โอม มหาคณะปัตเย นมัช ขอน้อมบูชาต่อพระพิฆเณศผู้ยิ่งใหญ่ บทสวดขอพรพระพิฆเนศ 8 บท (สวดพร้อมคำขอพรภาษาไทย) โอม พูตายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม ภัคตะวิฆนะ วินาศิเน นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดทำลายความทุกข์ร้อนแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม วิฆะณะราชายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดขจัดอุปสรรคทั้งปวงอันจะเกิดแก่ชีวิตของข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม ศุธิปริยายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสติปัญญาในการประกอบอาชีพแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม ศริษายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานทรัพย์สมบัติและความอุดมสมบูรณ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม สธิรายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความมั่นคงแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม สมาหิตายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสุขภาพพลานามัยที่ดีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม สมุยายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความสงบสุขแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด บทลงท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการสวดบูชาหรือประกอบพิธีกรรม

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

July 13, 2019 shantideva 0

การพิจารณาความหมายของศาสนา นักวิชาการได้แบ่งองค์ประกอบของศาสนาเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย 1. ผู้ก่อตั้ง หรือ ศาสดา ซึ่งผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบวชเป็นโยคีสิตธัตถะแล้วศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาโมกขธรรมจนค้นพบสัจธรรม ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย แล้วประกาศศาสนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 2. หลักคำสอน หรือศาสนธรรม ทุกศาสนาต้องมีหลักคำสอนเป็นสารัตถะ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัต ิในการดำเนินชีวิตในสังคมและหาเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ทางพุทธศาสนาเรียก นิพพาน หลักคำสอนของศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม โดยมีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นคัมภีร์ เรียกว่าพระไตรปิฎก นักบวช สาวก 3. นักบวช สาวก หรือ ศาสนบุคคล ศาสนาพุทธได้มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการปฏิบัติ การศึกษาและการเผยแผ่ของพระสงฆ์ เป็นหลัก 4. ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน หมายถึงผู้ที่เลื่อมใส พระรัตนตรัย แล้วศึกษาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5. ศาสนสถาน ศาสานวัตถุ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ที่ปรากฎในพุทธประวัติ อันได้แก่สังเวชชนียสถาน หรือสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น 6. พิธีกรรม หรือพุทธศาสนพิธี หมายถึงกิจกรรม ของพุทธบริษัทต้องปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อาทิ การอุปสมบท การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน หรือในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น  

ปัญญาบารมี

July 12, 2019 shantideva 0

ในโพสที่แล้วเราพูดกันเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของกุงกาซังโปริมโปเช เรื่องปัญญากับบารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศซึ่งได้ขอให้เขียนบทความต่างๆนี้ใหม่เป็นภาษาอังกฤษ ผมก็จะทำตามนั้น แต่คงหลังจากโพสเรื่องนี้เสร็จสักระยะหนึ่ง คาสิโนออนไลน์ ริมโปเชได้พูดถึง “ปัญญาในบารมีหกประการ” ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติบารมีหกประการอย่างมีปัญญา ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้ารวดเร็วบรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ บารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา ในโพสนี้เราก็จะพูดถึงบารมีอีกสี่ประการที่เหลือ   ริมโปเชกล่าวว่าขันติบารมีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ฝึกฝนตนเองในแนวทางของพระโพธิสัตว์ หััวใจของการปฏิบัติตามเส้นทางนี้ก็คือ การมุ่งมั่นบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อให้มีความสามารถเต็มเปี่ยมในการช่วยเหลือสัตว์โลกให้ก้าวข้ามพ้นจากสังสารวัฏเข้าไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง อันได้แก่ฝั่งของพระนิพพาน การมีจิตใจที่มุ่งมั่นเช่นนี้เรียกว่า “โพธิจิต” และเนื่องจากเส้นทางเป็นเช่นนี้ สิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ก้ได้แก่การมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาและกรุณาแก่สรรพสัตว์ การมีจิตใจเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการฝึกปฏิบัติขันติบารมี ขันติบารมีได้แก่การที่เราฝึกฝนสั่งสมบ่มเพาะในจิตใจ ซึ่งจิตใจอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาและไม่ถือโกรธ ไม่มีจิตอาฆาตพยาบาทใดๆแม้แต่น้อยแตสัตว์โลก ไม่ว่าสัตว์โลกนั้นจะมาให้ร้ายหรือทำร้ายเรามากเพียงใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าขันติบารมีเป็นแก่นกลางของการปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ก็ว่าได้ ริมโปเชได้กล่าวถึงข้อเขียนของท่านศานติเทวะใน “วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า อันความโกรธนั้นหากเกิดขึ้นแม้เพียงชั่ววูบเดียว ก็อาจทำลายบุญบารมีที่ตนเองได้สั่งสมมาเป็นเวลาอันนับชาติไม่ถ้วน แต่หากความโกรธวูบเดียวนั้นก็จะเหมือนกับเพลิงที่เผาผลาญบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาให้หายไปหมดสิ้นในเวลาชั่วพริบตา ริมโปเชเล่าว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ก่อนที่ทิเบตจะแตกแก่จีนไม่นาน มีพระอาจารย์รูปหนึ่งปฏิบัติธรรมจนมองเห็นอนาคตได้ ท่านได้มองเห็นอนาคตอันน่ากลัวที่ทิเบตจะต้องได้รับและก็ได้กล่าวตักเตือนผู้คนถึงภัยคุกคามที่กำลังมาเยือน เมื่อท่านกล่าวเช่นนี้ก็มีคนผู้หนึ่งคนไม่ได้ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ เมื่อเขาได้ยินว่าทิเบตจะประสบภัยหายนะอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็เกิดความโกรธเป็นกำลัง และก็ได้ลุกขึ้นมาชกหน้าพระอาจารย์ท่านนี้เข้าอย่างแรง พระอาจารย์มิได้ตอบโต้ใดๆ และก็มิได้มีความรู้โกรธเคืองใดๆ ตรงกันข้ามท่านกลับกล่าวขึ้นว่าท่านได้ปฏิบัติธรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ไม่มีโอกาสได้ฝึกขันติบารมีอย่างจริงๆจัง เพิ่งมีคราวนี้นี่แหละที่ได้มีโอกาสปฏิบัติบารมีข้อนี้อย่างจริงจัง การปฏิบัติขันติบารมีมิได้หมายความเพียงแค่ว่า เมื่อมีใครมาทำร้ายเรา เราจะไม่ทำร้ายตอบและข่มความโกรธขึ้นในใจไว้ แต่หมายความว่าเมื่อเกิดอะไรร้ายแรงหรือเจ็บปวดแก่ตัวเรา เราจะรับเอาความเจ็บปวดนั้นไว้ และมองความเจ็บปวดนั้นว่าเป็นครูของเรา ที่มาช่วยเหลือเราให้เดินทางไปบนเส้นทางแห่งโพธิจิตอย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายเรา แต่เมื่อเกิดเรื่องร้ายแรงหรือความเจ็บปวดขึ้น เราก็จะไม่เสียใจหรือร้องโวยวายว่าเหตุใดโรคร้ายกับความเจ็บปวดนี้จึงเกิดแก่เรา ทำไมคนอื่นถึงไม่เป็นบ้าง ทำไมต้องมาเป็นเรา การคิดเช่นนี้สวนทางกับการฝึกปฏิบัติขันติบารมีอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดว่าทำไมต้องเป็นเราที่เกิดมาเจ็บป่วยตรงนี้ เราก็คิดว่าความเจ็บป่วยและเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการกระทำในอดีต ซึ่งสัตว์โลกที่ยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏทุกตัวตนต้องประสบทั้งสิ้น แทนที่เราจะมาเสียใจหรือโกรธเคืองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราน่าจะมองความเจ็บปวดนี้ว่าเป็นบททดสอบที่มาทดสอบว่า เราผ่านการปฏิบัติหัวช้อขันติบารมีหรือยัง การปฏิบัติเช่นนี้ที่ประกอบไปด้วยความเข้าใจแจ้งถึงบทบาทหน้าที่และความสำคัญยิ่งของโพธิจิตและแนวทางของพระโพธิสัตว์ ก็คือการปฏิบัติขันติบารมีด้วยปัญญาอันยิ่งนั่นเอง

พระกุมารกัสสปเถระ พระธรรมกถึกที่สามารถเทศนากลับใจคน

July 12, 2019 shantideva 0

พระกุมารกัสสปเถระ เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในการเทศนากลับใจคนที่มีมิจฉาทิฐิให้เข้าใจถูกต้อง ท่านรูปนี้มีชีวิตค่อนข้างพิสดารก่อนที่จะมาบวช ท่านเป็นบุตรนางภิกษุณี นางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของท่านตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวมาก่อนบวช บวชมาแล้ว เมื่อครรภ์โตขึ้นปรากฏต่อสายตาประชาชน พระเทวทัตผู้ดูแลภิกษุณีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีมารดาของท่านรวมอยู่ด้วย ได้ตัดสินใจให้ท่านลาสิกขาโดยไม่สอบถามรายละเอียด นางภิกษุณีเชื่อมั่นว่าตนบริสุทธิ์ จึงอุทธรณ์เรื่องต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอุบาลีเป็นประธานพิจารณา ท่านพระอุบาลีจึงขอแรงนางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี ช่วยคลี่คลายคดี พระกุมารกัสสปเถระ นางวิสาชา จึงได้ตรวจสอบอย่างละเอียด และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีมติว่านางตั้งครรภ์ก่อนบวช นำความกราบเรียนพระเถระ พระเถระอาศัยข้อมูลนั้นเป็นหลักฐานประกอบคำวินิจฉัย ตัดสินให้นางภิกษุณีบริสุทธิ์ เมื่อนางคลอดบุตรมาก็เลี้ยงดูในวัดนั้นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปพบเข้า จึงขอไปเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม กุมารน้อย จงมีชื่อว่า กุมารกัสสปะ (กัสสปะ ผู้เป็นพระกุมารในพระราชวัง) เมื่อเติบโตมารู้เบื้องหลังชีวิตของตนเอง จึงสลดใจไปบวชเป็นสามเณร ปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ข้างฝ่ายภิกษุณีมารดา มัวแต่คิดถึงลูก การปฏิบัติธรรมจึงมิได้ก้าวหน้าแม้แต่น้อย วันหนึ่งเห็นสามเณรบุตรชายขณะออกบิณฑบาต จึงรี่เข้าไปหา ร้องเรียกลูก สามเณรอรหันต์คิดว่า ถ้าพูดดีๆ กับแม่ แม่ก็จะไม่สามารถตัดความรักฉันแม่กับลูกได้ การปฏิบัติธรรมก็ไม่ก้าวหน้า จึงพูดอย่างเย็นชาว่า “อะไร จนป่านนี้แล้ว แค่ความรักระหว่างแม่กับลูกยังตัดไม่ได้ จะทำอะไรได้สำเร็จ” ว่าแล้วก็เดินจากไป ทิ้งให้ภิกษุณีผู้มารดาเป็นลมสลบ ณ ตรงนั้น ฟื้นขึ้นมาก็ “ตัดใจ” ว่า เมื่อลูกไม่รักเราแล้ว เราจะมัวคิดถึงเขาทำไม กลับสำนักภิกษุณีคร่ำเคร่งปฏิบัติภาวนา ไม่ช้าไม่นานก็บรรลุพระอรหัต เป็นอันว่าสามเณรหนุ่มได้ช่วยพามารดาของท่านลุถึงฝั่งแล้ว เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ฟังพระโอวาทของพระพุทธองค์เรื่องปริศนาธรรม ๑๕ ข้อ (วันมิกสูตร) ได้บรรลุพระอรหัต เข้าใจว่าในช่วงท้ายๆ พุทธกาล เพราะคัมภีร์บันทึกว่า หลังพุทธปรินิพพานไม่นานนัก มีเจ้านครเสตัพยะ นามว่า ปายาสิ มีความเห็นผิดอันเป็นภัยร้ายกาจต่อพระศาสนาและระบบศีลธรรมจรรยา คือ เธอเชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง บุญบาปไม่มี ชาติก่อนชาติหน้าไม่มี ปายาสิเธอเป็นนักพูด มีวาทะคารมคมคาย จึงสามารถหักล้างสมณพราหมณ์ได้เป็นจำนวนมาก พระเถระอรหันต์หลายต่อหลายรูป ท่านก็หมดกิเลสเท่านั้น ไม่มีปฏิภาณปัญญาจะไปโต้ตอบกับเธอได้ จึงถอยห่างออกไป พระกุมารกัสสปะจึงไปโต้วาทะกับปายาสิราชันย์ ใช้เหตุใช้ผลอธิบายประกอบอุปมาอุปไมย ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ของปายาสิ ในที่สุดปายาสิยอมจำนน ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (ดูรายละเอียดใน ปายาสิราชัญญสูตร – ที.ม. ๑๐/๑๐๓-๑๓๐) เจ้าปายาสิเชื่อว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี โดยทดสอบจากชีวิตจริงของคน คือสั่งนักโทษประหาร (ที่แน่ใจว่าตายแล้วต้องตกนรกแน่ เพราะทำกรรมชั่วไว้มากมาย ดังสมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวสอนกัน) ว่า ถ้าตายไปตกนรกจริงก็ให้กลับมาบอก นักโทษคนนั้นรับปากแล้วก็ไม่เห็นกลับมาบอก จากนั้นก็ทดลองเช่นเดียวกันกับอุบาสกผู้มีศีลธรรมว่า หลังจากไปเกิดในสวรรค์แล้วให้กลับมาบอก ก็ไม่กลับมาบอกเช่นเดียวกัน โดยวิธีนี้เจ้าปายาสิจึงสรุปว่า นรกไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี พระเถระอธิบายโดยยกอุปมาอุปไมยว่า เพียงแค่นักโทษประหารจะขออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปสั่งเสียลูกเมีย แล้วจะกลับมาให้ประหารทางการก็ไม่อนุญาต นักโทษประหารมีมีอิสระเสรีภาพจะไปไหนได้ตามชอบใจ สัตว์นรกยิ่งกว่านั้น หาโอกาสจะไปไหนไม่ได้ ถึงเขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เขาก็ไม่สามารถกลับมาบอกได้ฉันใด ฉันนั้น ครั้นถูกแย้งว่า สัตว์นรกไม่มีอิสระก็พอฟังขึ้น แต่คนที่ตายไปเกิดบนสวรรค์มีอิสรเสรีเต็มที่ แต่ทำไมยังไม่มาบอก เหตุผลที่พระเถระยกมากล่าวในข้อนี้ คือ กำหนดระยะเวลาบนสรวงสวรรค์นั้นช้ากว่าในโลกมนุษย์ (ว่ากันถึงขนาดว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาเท่ากับหนึ่งร้อยปีของโลกมนุษย์) ถึงแม้เขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เพียงคิดว่า รอสักครู่ค่อยกลับไปบอก “สักครู่” ของเทวดา ก็เป็นสิบเป็นร้อยปี พระกุมารกัสสปะตอบคำถาม หักล้างความคิดเป็นของเจ้าปายาสิ ท่านใช้หลายวิธี เช่น อธิบายตรงๆ ยกอุปมาอุปไมย หรือใช้วิธีอนุมาน จึงสามารถทำให้นักปราชญ์อย่างเจ้าปายาสิยอมรับและถวายตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในเวลาต่อไป นัยว่าท่านพระกุมารกัสสปะ ได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล ท่านดำรงชีวิตจนถึงอายุขัยแล้วนิพพาน

นิยามและความเป็นมา ศาสนาพุทธ

July 11, 2019 shantideva 0

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า (๑) เป็นศาสดา มีพระธรรม (๒) คือ ธรรมะเกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ มีพระสงฆ์ (๓) คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย  เกมส์ยิงปลา ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันเรียกว่าพุทธคยา จากนั้นพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาท และมหายาน พุทธศาสนา หรือศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้า เป็นศาสดา (คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือ ผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่) มีพระธรรม คือ ธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ (ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ) มีพระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย