ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท)

อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต

September 30, 2020 shantideva edit 0

อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต อนันตริยกรรม หรือ กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ๕ ประการ ปรากฏในอยู่ในพุทธศาสนา ในธรรมข้อนี้ ทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายาน กล่าวไว้ตรงกัน ส่วน กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ในธรรมข้อนี้ มีการกล่าวถึงในฝ่ายสาวกยานบางนิกาย อย่าง นิกายสรรวาสติวาท และ ฝ่ายมหายานได้นำไปขยายความต่อ ไม่ปรากฏในฝ่ายเถรวาท โดยมีรายละเอียดที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้ อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต ซึ่ง อนันตริยกรรม ๕ ประการ ได้แก่ ๑. ฆ่ามารดา ป. มาตุฆาต (mātughāta) ส. มาตฤวธ (मातृवध : mātṛvadha) หรือ มาตฤฆาต (मातृघात : mātṛghāta) ๒.ฆ่าบิดา ป. ปิตุฆาต (pitughāta) ส. ปิตฤวธ (पितृवध : pitṛvadha) หรือ ปิตฤฆาต (पितृघात : pitṛghāta) ๓.ฆ่าพระอรหันต์ ป.อรหนฺตฆาต (arahantaghāta) ส. อรฺหทฺวธ (अर्हद्वध ; arhadvadha) หรือ อรฺหทฺฆาต (अर्हद्घात : arhadghāta) ๔. ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต ป. โลหิตุปฺปาท (lohituppāda) [ทำพระโลหิตให้ห้อ] ส. ตถาคตทุษฺฏจิตฺตรุธิโรตฺปาท (तथागतदुष्टचित्तरुधिरोत्पाद : tathāgataduṣṭacittarudhirotpāda) [จิตประทุษร้ายพระตถาคตเจ้า ทำพระโลหิตให้ห้อ] ความเชื่อในพุทธศาสนา เชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อยู่ในฐานะ และโอกาสที่ผู้อื่นจะทำร้ายให้สิ้นพระชนม์ได้ ผู้มีจิตคิดประทุษร้ายให้สิ้นพระชนม์ ทำได้อย่างยิ่งเพียงให้พระองค์ห้อพระโลหิตเท่านั้น ข้อนี้พ้นสมัยที่จะทำได้แล้ว ๕.ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท) ป. สงฺฆเภท (saṅghabheda) หรือ สํฆเภท (saṃghabheda) ส. สํฆเภท (संघभेद : saṃghabheda) ข้อนี้ทำได้เฉพาะพระภิกษุ คือ พระภิกษุที่เป็นอธรรมวาที สร้างความร้าวรานแห่งสงฆ์ ยุแยงให้สงฆ์ให้บาดหมางกัน ดูหมิ่นซึ่งกันและกัน จนขับไล่กัน หากทำสำเร็จ จนคณะสงฆ์ไม่ยอมทำอุโบสถร่วมกันอีก แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม ถึงจะเป็นสังฆเภท ข้อนี้มีรายละเอียดมาก ในที่นี้กล่าวแต่เพียงเท่านี้

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต

September 26, 2020 shantideva edit 0

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต คาถาว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐได้แก่พระรัตนตรัย หากท่านใดเคยทำวัตรสวดมนต์ หรือเห็นในหนังสือสวดมนต์ทั่วไป ก็คงจะรู้จักเขมาเขมสรณทีปิกคาถา หรืออาจจะผ่านตากันมาบ้างนะครับ เขมาเขมสรณทีปิกคาถา เนื้อหาเกี่ยวกับ ที่พึ่งอันประเสริฐ ได้แก่พระรัตนตรัย เป็นพระคาถาหนึ่ง ที่ปรากฎในคัมภีร์พุทธศาสนาทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายาน เท่าที่ผมค้นหามีปรากฎในคัมภีร์ดังต่อไปนี้ – คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔ ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก นิกายเถรวาท – ปราติหารยสูตร ในคัมภีร์ทิวยาวทาน นิกายสรรวาสติวาท – คัมภีร์อภิธรรมโกศะ เป็นพระอภิธรรมของ นิกายสรรวาสติวาท ประพันธ์โดย พระวสุพันธุ แต่ภายหลังท่านย้ายไปเป็นฝ่ายมหายาน ในสำนักคิดโยคาจาร – คัมภีร์ศรณคมนเทศนา ซึ่งเป็นคัมภีร์ในหมวดศาสตรปิฏก ของฝ่ายมหายาน สำนักคิดมัธยมกะ ประพันธ์โดย พระทีปังกรศรชญาณ ภายหลังเมื่อมหายานพัฒนาเต็มรูป แล้ว ฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาท(รวมถึงนิกายมูลสรวาสติวาท) ไปใช้ด้วย จะเห็นได้ชัดที่สุด โดยเฉพาะพุทธศาสนามหายานฝ่ายธิเบตซึ่งภายหลังพัฒนาเป็น วัชรยาน ปัจจุบันภิกษุเหล่านี้ยังใช้วินัยกรรมของฝ่ายนิกายสรวาสติวาทอยู่

ภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤต

September 24, 2020 shantideva edit 0

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) โดยมีระดับวิวัฒนาการเก่าแก่ในระดับใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียนด้วยกัน คือภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ วรรณกรรมภาษาสันสกฤตพบการใช้ที่หลากหลาย ตั้งแต่เป็นวรรณคดี บทกวี บทละคร เป็นตำราทางวิชาการหลากหลายสาขา และเป็นใช้ทางศาสนา บันทึกบทสวด ปรัชญา หลักการทางศาสนา ทั้งในพบเอกสารทั้งใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธ เชน และ ซิกข์ ซึ่งในส่วนของ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูถือว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ คำว่า สันสกฤต แปลว่า “กลั่นกรองแล้ว” ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่า “ปรากฤต” ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด ภาษา ภาษาพระเวท (Vedic Sanskrit) ที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท เมื่อราว 1,200 ปีก่อน ค.ศ. อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้น ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ราว 57 ปีก่อน พ.ศ. พราหมณ์ชื่อ “ปาณินิ” ชาวแคว้นคันธาระ ท่านเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามา หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้จะคละกับภาษาถิ่น ปาณินิได้ศึกษาและจัดเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บท ชื่อว่า “อัษฏาธยายี” ภาษาที่ปรับปรุงใหม่นี้เรียกว่า “ตันติสันสกฤต” หรือ สันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit) วรรณคดีสันสกฤตแบบแผนที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมากคือ มหาภารตะ และ รามายณะ ภาษาสันสกฤตอีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า ภาษาสันสกฤตผสม หรือ ภาษาสันสกฤตผสมในพุทธศาสนา (Buddhist Hybrid Sanskrit or Mixed Sanskrit) เป็นภาษาสันสกฤตยุคหลังถัดจากภาษาสันสกฤตแบบแผน พบในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งในนิกายสรรวาสติวาทและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน วรรณกรรมภาษาสันสกฤตพบการใช้ที่หลากหลาย มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องสามารถ แบ่งประเภทตามเนื้อหาได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆคือ อาคม(āgama) มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญา อิติหาส(itihāsa) มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือวีรชนและประเพณีที่สืบทอดกันมา ศาสตร์(śāstra) มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวิทยาการและงานวิชาการ กาวยะ(kāvya) กวีนิพนธ์หรือบทประพันธ์ที่อยู่ในรูปของศิลปะ ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรสำหรับเขียนชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง แต่จะเขียนด้วยอักษรหลายชนิด อักษรเก่าแก่ที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น อักษรขโรษฐี อักษรพราหมี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันโดยทั่วไปนิยมเขียนภาษาสันสกฤตด้วยอักษรเทวนาครี ส่วนอักษรอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมในแต่ละท้องถิ่นในอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากอักษรที่ใช้ในอินเดีย มักจะเป็นตระกูลเดียวกัน จึงสามารถดัดแปลงและถ่ายทอด (Transliteration) ระหว่างชุดอักษรได้ง่าย แม้กระทั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชุดอักษรท้องถิ่นที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตได้ ยังมีจารึกโบราณภาษาสันสกฤตที่ใช้ อักษรปัลลวะ อักษรขอมโบราณ ในระดับสากลยังใช้อักษรโรมันเขียนภาษาสันสกฤตโดยมีมาตรฐานแตกต่างกันออกไปด้วย ตัวอย่างลักษณะการบันทึกแบบอักษรต่างๆ

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต

September 21, 2020 shantideva edit 0

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต คัดจากบางส่วนจาก ธรรมจักรประวรรตนสูตร พระคัมภีร์ลลิตวิสตร อัธยายที่ ๒๖ ธรรมจักรประวรรตนปริวรรต “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หรือ “ธรรมจักรประวรรตนสูตร” มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นับเป็นพระสูตรที่สำคัญมากต่อพระพุทธศาสนา เพราะแม้จะเกิดความเห็นที่ไม่ตรงกันในการสังคายนาพระธรรมวินัยจนเกิดการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ ถึง 18-20 นิกายในช่วงตั้งแต่ราว 100 ปีหลัง พุทธกาลเป็นต้นมาก็ตาม แต่พระสูตรนี้ยังคงสืบทอดต่อกันมาในคัมภีร์ของนิกายต่างๆจนถึงในปัจจุบัน โดยนักวิชาการสามารถรวบรวมได้ถึง 23 คัมภีร์ ปรากฏทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน และต้นฉบับภาษาบาลี สันสกฤต จีนและธิเบต อีกทั้งแปลออกไปในภาษาอื่นๆอีกทั่วโลก ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต หรือ ธรรมจักรประวรรตนสูตร ที่จะนำเสนอนี้ คัดจากบางส่วนจาก พระคัมภีร์ลลิตวิสตร ซึ่งแต่เดิมพระคัมภีร์นี้เป็นพุทธประวัติฝ่ายสาวกยาน นิกายสรรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำเป็นเป็นคัมภีร์ศักสิทธิ์ของตน

คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ของหริวรมันภิกษุ

คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ของหริวรมันภิกษุ

September 19, 2020 shantideva edit 0

บทนำ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของหริวรมันภิกษุ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ คัมภีร์นี้รจนา โดยพระภิกษุชาวอินเดียกลาง นามว่า หริวรมัน เป็นศิษย์ของพระกุมารริละภัตตะ ซึ่งเป็นพระเถระของนิกายเสาตรานติกะ มีช่วงชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 9 หลังพุทธกาล พระหริวรมันไม่เห็นด้วยในคำสอนที่ของอาจารย์ท่านในหลายละเอียดเรื่องต่างซึ่งอาจจะเป็นมติต่างๆ นิกายเสาตรานติกะเอง ท่านจึงได้แต่งคัมภีร์นี้เพื่อจะประมวลข้อคิดคำสอนและคำอธิบายพระธรรมของฝ่ายสาวกยานสำนักต่างๆ ในอินเดียครั้งนั้น ให้เข้ารูป เข้ารอยอันเดียวกัน และเป็นการรวมเอาของคำสอนเด่นๆ ของฝ่ายสาวกยานไว้มากที่สุด นักวิชาการให้ความเห็นว่า คัมภีร์นี้เป็นความพยายามที่จะรวมนิกายในฝ่ายสาวกยานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างนิกาย หลังจากเกิดการแตกแยกและโจมตีกันทางปรัชญาอย่างหนัก ซึ่งก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์นี้ไปใช้ ส่วนพระหริวรมันนั้นไม่แน่ชัดว่าท่านสังกัดอยู่ในนิกายใด บางว่า สังกัดนิกายพหุศรุติกะ สำนักเสาตรานติกะ สำนักธรรมคุปต์ หรือ มะหีสาสกะ ที่เรียกว่า “สัตยสิทธิ” ก็เพราะทำความจริงให้ปรากฎ คือความจริงอันแน่นอนว่า อาตมันเป็นศูนย์ ธรรมเป็นศูนย์ อีกประการคือกล่าวถึงความจริงสูงสุด หรือ อริยสัจ 4 เช่นนี้จึงเรียกว่า ประสิทธิประสาท (สิทธิ) ความจริง (สัตย์) ให้สัมฤทธิ์ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ รจนาเป็นภาษาสันสกฤตแบบผสมในพุทธศาสนา โดยมีเนื้อหา 5 บท (สกันธะ) แต่ละบทจะประกอบหัวข้อย่อย(วรรค) ดังที่จะนำเสนอดังนี้ สกันธะที่ 1 ปฺรถมะ ปฺรสฺถานสฺกนฺธะ บทแรกว่าหนทางการดำเนินในสัตยสิทธิ มี 35 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 1-35 สกันธะที่ 2 ทุะขสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งทุกข์ มี 59 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 36-94 สกันธะที่ 3 สมุทยสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ มี 46 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 95-140 สกันธะที่ 4 นิโรธสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งนิโรธ คือ ความดับทุกข์ มี 14 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 142-154 สกันธะที่ 5 มารฺคสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งมรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มี 48 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 155-202 ส่วนผู้ทำให้คัมภีร์นี้เป็นที่รู้จัก ต่อมาคือ ท่านกุมารชีพหรือกุมารชีวะ” ซึ่งเป็นคณาจารย์ชาวเตอร์กีสถาน ได้เดินทางมา ในจีนเหนือ ท่านผู้นี้ได้นำเอานิกายศูนยวาท ของพระนาคารชุนอันเป็นคณาจารย์ใหญ่ของฝ่ายมหายาน มาประดิษฐานในเมืองจีน โดยได้แปลผลงานของท่านนาคารชุนเอาไว้ พร้อมๆกับท่านได้นำนิกายศูนยวาทมหายานมาเผยแพร่นั้น ท่านกุมารชีพได้แปลคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง คือคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ จากผลงานที่แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาจีน ก็ทำให้สานุศิษย์ของท่านกุมารชีพในเมืองจีนนั้น ตั้งนิกายใหม่ อีกนิกายหนึ่ง เพื่อจะประกาศคติธรรมในคัมภีร์นี้โดยเฉพาะ ให้ชื่อว่านิกายสัตยสิทธิ ประกาศคติธรรมในคัมภีร์ปกรณ์นี้เป็นหลักใหญ่ เป็นนิกายที่แพร่ไปในจีนและญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน

อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน

September 17, 2020 shantideva edit 0

อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน อารฺยตฺริรตฺนานุสฺมฤติสูตฺรมฺ พระสูตรว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัยอันประเสริฐ อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร แปลเป็นภาษาไทย พร้อมเสียงอ่านภาษาสันสกฤต บทระลึกถึงพระรัตนตรัยหรือคนไทยเรียกบทอิติปิโสนั้น ปรากฎมีอยู่โดยทั่วๆไปปนในพระสูตรอื่นๆ ทั้งฝ่ายบาลีและสันสกฤต ทั้งสาวกยานและมหายาน เนื้อหาก็ใกล้เคียงกัน แต่บางพระสูตรอาจจะขยายความมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นพระสูตรเอกเทศแต่อย่างใด ในฝ่ายมหายานนั้นมี พระสูตรที่ว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย เป็นเอกเทศอยู่พระสูตรหนึ่งชื่อ อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร มีเนื้อหาใกล้เคียงกับบทอิติปิโสของฝ่ายบาลี แต่ในส่วนระลึกถึงพระพุทธคุณ มีส่วนขยายมีเนื้อหาคล้ายใน สมาธิราชสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรมหายานในยุคแรก ๆ ซึ่งส่วนท้ายของพระพุทธคุณ จะปรากฏมติที่เป็นหลักข้อเชื่อใหญ่ของมหายานโดยเฉพาะ ที่เกียวกับคุณลักษณะและการดำรงอยู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และลักษณะแห่งพระนิพพานในแบบมหายาน อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร นี้เป็นฉบับที่ธิเบตเก็บรักษาไว้ ชื่อในภาษาธิเบต ชื่อ ’phags pa dkon mchog gsum rjes su dran pa’i mdo และยังมีเนื้อหาภาษาสันสกฤตปรากฏในรายการดัชนีศัพท์ของคัมภีร์อภิธานศัพท์ ชื่อคัมภีร์มหาวยุตปัตติ เป็นอภิธานศัพท์สันสกฤต-ธิเบต-จีน อีกด้วย ปัจจุปันมีการแปลออกเป็นหลายฉบับหลายภาษา มีอรรถาธิบายไว้หลายฉบับเช่นกัน ในชื่อภาษาอังกฤษว่า The sutra of the recollection of the noble three jewels นิรวาณในมหายาน มหายานมี นิรวาณ หรือ นิพพาน 2 ประเภท 1.ประเภทแรก นิรฺวาณ คือ นิพพานสภาวะอันดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หมดสิ้นเชื้อที่จะทำให้มาเกิดอีกในสังสารวัฏ ในทางเถรวาทมีเพียงนิพพานชนิดนี้เพียงอย่างเดียว และหลักข้อเชื่อของเถรวาทนั้นเชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระอรหันต์ทั้งปวงต่างก็บรรลุพระนิพพานนี้ ส่วนมหายานนั้นเชื่อว่า นิพพานชนิดนี้เป็นสภาวะที่พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสาวกคือ พระอรหันต์บรรลุเท่านั้น ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบรรลุพระนิพพานอีกประเภท 2. ประเภทสอง อปฺรติษฺฐิต นิรฺวาณ คือ สภาวะการไม่เข้านิพพาน หรือ นิพพานไม่หยุดนิ่ง (non-abiding nirvana) หมายความว่า เป็นพระนิพพานที่ไม่ได้ตัดขาดออกจากสังสารวัฏ การบรรลุพระนิพพานแบบนี้ทางมหายานมีความเชื่อว่า ผู้บรรลุตัดขาดกิเลสทั้งหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว จะประกอบไปด้วยจิตตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ จะอยู่ในนิพพานแบบแรกก็ย่อมได้ [ดูเพิ่มเติมเรื่อง เรื่อง ยาน (มหายาน)] แต่ท่านไม่ทำเช่นนั้นเนื่องจากยังมีจิตที่ปรารถนาจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ สัตว์ที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ที่บรรลุพระโพธิสัตว์ภูมิที่ 10 แล้ว[ดูเพิ่มเติมเรื่อง โพธิสัตว์ทศภูมิ(มหายาน)] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้เหล่านี้จะดำรงอยู่ [ดูเพิ่มเติมเรื่อง ตรีกาย(มหายาน)] และปณิธานว่าจะช่วยเหลือดูแลสรรพสัตว์ ว่าตราบใดที่สัตว์โลกสุดท้ายยังไม่บรรลุพระนิพพานประเภทแรก ตราบนั้นก็จะยังอยู่ในสังสารวัฏเพื่อช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นต่อไป นิพพานประเภทนี้เถรวาทและพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ สรุปคำสอนของเถรวาทกับมหายานนั้น ทั้งสองฝ่ายเข้าใจพระนิพพานตรงกัน จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือนิพพานประเภทแรกเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์และวิธีการนั้นต่างกัน สังฆะมหายาน สังฆะมหายาน หรือสงฆ์ แบ่งไว้ 2 ประเภท ได้แก่ ภิกฺษุสํฆ อารฺยสํฆ ภิกฺษุสํฆ ( भिक्षुसंघ , bhikṣusaṃgha) บาลีเรียก ภิกขุสงฆ์ หรือ สมมุติสงฆ์ คือ ชุมชนสงฆ์ หรือหมู่ภิกษุทีทำสังฆกรรมต่างๆ ร่วมกัน อารฺยสํฆ ( आर्यसंघ , āryasaṃgha ) บาลีเรียก อริยสงฆ์ หรือ สาวกสงฆ์ ในฝ่ายสาวกยานหมายถึง เฉพาะพระอริยบุคคล 4 ประเภท ในพระสูตรนี้ ฉบับแปลอังกฤษ แปลว่า สงฆ์แห่งมหายาน เหตุเพราะพระสูตรนี้เป็นพระสูตรมหายาน คำว่า อารฺยสํฆ นี้ในมหายานจึงนับพระโพธิสัตว์ในภูมิทั้ง 10 เข้าไปด้วยเป็นอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายถึง สาวกสงฆ์ เพียงอย่างเดียว