อัษฏมหาโพธิสัตว์ องค์ที่ ๘

April 22, 2021 shantideva edit 0

สันสกฤต : खगर्भ : Khagarbha : ขครฺภ (ขะครรภะ) หรือआकाशगर्भ : Ākāśagarbha : อากาศครฺภ (อากาศะครรภะ อากาศครรภ์ และ ขครรภ์ แปลว่า ครรภ์แห่งอากาศ อากาศ และ ข เป็นคำที่เป็นไวพจน์ต่อกัน ในความหมายว่า ความว่างเปล่า, พื้นที่ว่าง, อากาศ, ท้องฟ้า อากาศ ในที่นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่บรรยากาศในโลก ยังหมายถึง อวกาศ หรือช่องว่างอันไม่มีสิ้นสุดด้วย ส่วนคำว่า ครฺภ ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งโดยนัยยะหมายถึง สิ่งมีค่าที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี อากาศครรภ์ ยังมีนัยยะสื่อถึง ศูนยตา หรือ สุญญตา หรือ อนัตตา ความไม่มีตัวเป็นตนของสิ่งต่างๆ สิ่งทั้งหลายประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของมหายานด้วย พระอากาศครรภ์ ปรากฏพระนามใน วิมลเกียรตินิรเทศ กษิติครรภโพธิสัตตวปูรวปรณิธานสูตร คัมภีร์­โพธิจรรยาวตาร คัมภีร์ศึกษาสมุจจัย ของศานติเทวะ เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกันทั้งชื่อและคุณสมบัติกับ พระคคนคัญชะ ภายหลังพระคคนคัญชะ รวมเป็นกับพระอากาศครรภ์ นาม คคนคัญชะ จึงเป็นพระนามหนึ่งของ พระอากาศครรภ์ มีพระสูตรเอกเทศอยู่จำนวนหนึ่ง ชื่อ เช่น อากาศครรภสูตร มหาสันนิปาตมหาอากาศครรภโพธิสัตวปริปฤจฉาสูตร ภาวนาอากาศครรภโพธิสัตวสูตร และที่กล่าวก่อนหน้านี้คือ คคนคัญชปริปฤจฉาสูตร หรือ คคนคัญชสมาธิสูตร อารยคคนคัญชสูตร โดยมากเป็นพระสูตรที่โดดเด่นเกี่ยวกับการภาวนาสมาธิ และวิธีการสารภาพผิด(ปาปเทศนา)และการเริ่มโพธิจิตใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติในโพธิสัตวมรรค พระอากาศครรภ์ ยังเป็นพระโพธิสัตว์แห่งการปลงอาบัติ การสารภาพบาปและการกลับใจ พระโพธิสัตว์ผู้โปรดสัตว์ผู้กระทำชั่วให้กลับมาประพฤติธรรม คือในมหายาน มีวิธีการบูชาที่เรียกว่า อนุตตรบูชา หนึ่งในนั้นจะมีการสารภาพบาป สันสกฤตเรียก ปาปเทศนา ( पापदेशना : pāpadeśanā) หรือ ในไทยเรียก ขอขมากรรม นั้นเอง พระอากาศครรภ์ ยังอยู่ในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสมาธิ พระโพธิสัตว์แห่งความบริสุทธิ พระโพธิสัตว์แห่งการให้พร ความโชคดี ความสำเร็จ ความสุข ประเทศญี่ปุ่นนับถือในฐานะพระโพธิสัตว์แห่ง ความทรงจำ ความฉลาด ความรู้ภูมิปัญญา และเป็นพระโพธิสัตว์ผู้อุปถัมภ์ของช่างฝีมือและช่างศิลปะ พระอากาศครรภโพธิสัตว์ เป็นบุคลาธิษฐานแสดงถึง มหาสมาธิ (महासमाधि : Mahāsamādhi : มหาสมาธิ) ในมหายาน สมาธิ แตกต่างจากเถรวาทอยู่เรื่องหนึ่งคือ ไม่ใช่เฉพาะการกำหนดจิตหรือสติตั้งมั่นด้วยสมถวิปัสสนาที่ทำให้เกิดองค์ฌานเท่านั้น แต่ยังมี สมาธิ ในมหายาน อีกประเภท เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงเข้าสู่สมาธินั้นๆเพื่อแสดงธรรมอันมีหัวข้อแตกต่างกันไป มีอยู่หลายประเภทหลายชื่อเรียก มีคุณวิเศษอิทธิปาฎิหาริย์มากมายที่แตกต่างกันไป

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

November 28, 2019 shantideva 0

วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่มีความสำคัญเพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา และยังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วยวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตกลงว่า “พราหมณ์” หรือ “ฮินดู” หรือชื่ออะไรกันแน่?

September 7, 2019 shantideva 0

“ชื่อ” ศาสนาที่มักใช้ว่าพราหมณ์-ฮินดูในงานเขียนของผม ต้องใช้พราหมณ์หรือฮินดูกันแน่? แล้วต่างกันยังไง? ทำไมไม่ใช้สักอัน หรือต้องใช้ทั้งสองอัน? คำถามที่ดูพื้นๆ แต่ไม่พื้นนี้ ถูกยกมาถามโดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เมื่อครั้งที่ท่านส่งคำถามมาถึงผม จากเดิมที่ผมไม่ได้คิดมาก่อนว่าคำถามนี้น่าจะตอบและสำคัญ เพราะมันช่วยให้เห็นความเป็นมาและความซับซ้อนในตัวเองของศาสนาฮินดู และที่ยิ่งไปกว่านั้น คนฮินดูในอินเดียเองกลับไม่เรียกศาสนาของตนว่าศาสนาฮินดูด้วยซ้ำ ซึ่งชวนให้งุนงงยิ่งขึ้นไปอีก ปกติการใช้ชื่อศาสนา มักใช้ชื่อของศาสดาหรือสิ่งที่ศาสนานั้นเคารพ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาไชนะ หรือไม่ก็ใช้คำที่ถูกเลือกมาแล้ว เช่น อิสลาม ที่หมายถึงสันติ ในอินเดีย มักเรียกศาสนาด้วยคำว่า “ธรรม” (ธรฺม) เช่น เรียกพุทธศาสนาว่า เพาทธธรรม ศาสนาไชนะว่า ไชนธรรม โดยคำว่าธรรม มีความหมายหลายนัย หมายถึงศาสนา หลักคำสอน การปฏิบัติตามหน้าที่ หรือหมายถึงหลักจริยธรรมทางศาสนาก็ได้ คำว่าธรรม มาจากธาตุ “ธฺรี” หมายถึง ทรงไว้ รักษาไว้ ชาวฮินดูในอินเดียเรียกศาสนาของตนเองว่า “สนาตนธรรม” ซึ่งหมายถึงศาสนาอันมีมาแต่โบราณไม่เปลี่ยนแปลง (สนาตนะ ไม่เปลี่ยนแปลง, เก่าแก่) เพราะเขาเชื่อว่าศาสนาของตนเองนั้นมีมาแต่โบราณกาล ในเชิงประวัติศาสตร์ก็ว่าตั้งแต่สมัยพระเวท (vedic period) คือสามพันห้าร้อยปีถึงสี่พันปีที่แล้ว ในทางตำนานก็ว่าสืบทอดจากพระวิษณุมายังบรมฤษีและกษัตริย์ต่างๆ จนมาถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ นอกจาก “สนาตนธรรม” ที่มักใช้กันอย่างเป็นทางการแล้ว จึงมีการเรียกว่า “ไวทิกธรรม” ซึ่งหมายถึง “ศาสนาพระเวท” อันหมายถึงหมวดคำสอนโบราณของฮินดู หรือมีผู้เรียกว่า “วิษณุธรรม” เพราะเชื่อว่าศาสนานี้สืบทอดมาจากพระวิษณุก็มี ผมเคยเห็นผ่านตาคลับคล้ายคลับคลาว่า มีชื่อ “อารยธรรม” ในเอกสารของกรมการศาสนาในบ้านเราด้วย และใช้เป็นชื่อทางการ เห็นท่านว่าเรียกชื่อนี้ เพราะถือว่าศาสนานี้มาจากชาวเผ่า “อารยัน” ซึ่งคือคนกลุ่มที่นำพระเวทมาสู่ดินแดนอินเดีย ส่วนคำที่เราคุ้นเคยกันอย่างพราหมณ์-ฮินดูนั้น นักวิชาการอินเดียเห็นว่าที่จริงสองคำนี้อาจแยกกันได้ เพราะแสดงถึงพัฒนาการคนละช่วงเวลาของศาสนา ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism) ในเอ็นไซโคลพีเดียบริเตนนิกา หมายถึงศาสนาฮินดูโบราณ ซึ่งอยู่ในยุคพระเวทราวหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ศาสนาพราหมณ์เน้นความสำคัญของผู้ประกอบพิธีที่เรียกว่า “พราหมณ์” เน้นความสำคัญของการประกอบพิธีกรรมที่ปรากฏในพระเวท และบูชาเทพเจ้าที่ปรากฏในพระเวท ในช่วงศตวรรษที่สิบเก้า นักภารตวิทยากำหนดคำนี้เพื่อแสดงถึงพัฒนาการของศาสนาที่จะกลายมาเป็นศาสนาฮินดูในภายหลังหรือแสดงว่าเป็นศาสนาที่อาจแยกออกมาได้จากฮินดู แต่ชาวฮินดูส่วนมากถือว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาเดียวกันกับฮินดู ศาสนาฮินดู (Hinduism) ถ้าอธิบายในเชิงประวัติศาสตร์ นักวิชาการเห็นว่าเริ่มต้นขึ้นในราว 550 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตกอยู่ในช่วงใกล้เคียงพุทธกาล การเปลี่ยนแปลงจากพราหมณ์มาสู่ฮินดู โดยหลักใหญ่คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าในพระเวทมาสู่การนับถือเทพเจ้าที่สำคัญ “มหาเทพ” สององค์ได้แก่พระวิษณุและพระศิวะ และการท้าทายอำนาจของพราหมณ์ การให้ความสำคัญของการสละโลกซึ่งปรากฏในคัมภีร์อุปนิษัท กระนั้นชื่อ “ฮินดู” (Hindu) กลับไม่ปรากฏในเอกสารโบราณของศาสนาฮินดูเอง เพราะชื่อนี้ไม่ได้เป็นภาษาสันสกฤตแท้ แต่เพี้ยนมาจากคำ “สินธุ” (Sindhu) ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำทางตอนเหนือของอินเดียและอารยธรรมในลุ่มน้ำนั้นในภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษานี้มักเปลี่ยน ส เป็น ห เช่น อสูร เป็น อหูร คำ “ฮินดู” ปรากฏในราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลในจารึกของกษัตริย์ดาริอุสที่หนึ่งแห่งเปอร์เซีย มีความหมายเชิงภูมิศาสตร์ถึงกลุ่มคนที่อาศัยในลุ่มน้ำสินธุ มิได้หมายถึงศาสนาและความเชื่อใด ในบันทึกของพระเสวียนจ้าง ราวคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด กล่าวว่าคำนี้เป็นชื่อประเทศ ซึ่งมาจากชื่อของพระจันทร์ (อินทุ – Indu) หลังจากนั้น “ฮินดู” ยังคงมีความหมายในทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม กว่าคำว่าฮินดูจะหมายถึงศาสนาฮินดู ก็ตกล่วงมาถึงราวคริสต์ศตวรรษที่สิบสี่แล้ว โดยปรากฏในวรรณกรรมของฝ่ายมุสลิม โปรดสังเกตนะครับว่า ฮินดูเป็นการเขียนตามเสียง (Hindu) ที่จริงหากเขียนตามตัวอักษรควรเขียนว่า “หินทู” แต่ในบ้านเราไม่คุ้นเคยและไม่มีใครใช้ ดังนั้น ฮินดู-ฮินด์-อินเดีย คำนี้มาจากรากเดียวกันนะครับ มีความหมายเชื่อมโยงกัน และที่สำคัญ ถูกเรียกโดย “คนอื่น” (เปอร์เซีย ชาวมุสลิมอื่น และฝรั่ง) ดังนั้น ความสำนึกว่าชื่อศาสนาของตนเองโดนเรียกโดยคนอื่นจึงทำให้ชาวฮินดูพยายามไม่เรียกศาสนาของตนเองว่าฮินดู แต่ใช้ “สนาตนธรรม” ดังที่กล่าวมา แต่เอาเข้าจริงแล้ว แม้คำว่าสนาตนธรรมจะมีปรากฏในคัมภีร์โบราณ เช่น มนูสมฤติและภาควัตปุราณะ โดยมีความหมายถึงกฎเกณฑ์ของจักรวาล แต่คำนี้ถูกเน้นย้ำและรณรงค์ให้ใช้ในความหมายถึงศาสนาฮินดู ช่วงการปฏิรูปศาสนาต้นศตวรรษที่สิบเก้า ภายใต้ขบวนการศาสนาและชาตินิยมอินเดีย เพื่อปฏิเสธการใช้คำจากภาษาและวัฒนธรรมอื่น ศาสนาฮินดูจึงไม่มีคำเรียกที่เป็นทางการใช้ร่วมกันมาตั้งแต่โบราณ โดยมากมักเป็นแต่คำเรียกกลุ่มก้อน นิกาย หรือขบวนการทางศาสนาเสียมากกว่า ในเมืองไทยนี่ก็ซับซ้อนไม่แพ้กันครับ เราไม่น่าจะรู้จัก “ศาสนาฮินดู” เพราะเราเรียกศาสนานี้ว่า “ไสย” มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ไสยศาสน์ (ไม่ใช่ไสยศาสตร์นะครับ) หมายถึงศาสนาพราหมณ์ และใช้เรียกมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที่สี่ยังเรียกเทวรูปพราหมณ์ เทวรูปพระไสยศาสตร์ (ตามคำสะกดเก่า) อยู่เลย ส่วนคำฮินดู หรือพราหมณ์ฮินดู แม้มีปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ไม่ได้ใช้ในความหมายถึงศาสนาใด แต่ใช้เรียกคนจากอินเดียภาคเหนือ …..อ่านต่อ

วันแห่งความรักในพระพุทธศาสนา

September 6, 2019 shantideva 0

วันแห่งความรัก ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนั้น ทุกคนมักจะคุ้นเคยกับวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับคนหนุ่มสาว ที่ต่างฝ่ายจะเตรียมมอบของขวัญพิเศษ หรือแสดงความรักต่อกันในวันนี้ โดยหวังว่า จะได้รับความพึงพอใจจากคนที่ตนรัก และเป็นการแสดงความรักเพื่อตอบสนองความปรารถนาองตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตามความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่รำลึกถึงนักบุญวาเลนไทน์ ผู้เสียสละชีวติตนเองเพื่อให้คนหนุ่มสาวได้แต่งงานกัน ในอดีตที่เคยห้ามไม่ให้คนหนุ่มสาวแต่งงานกัน เพราะต้องเกณฑ์ชายหนุ่มไปทำสงครามในทางพระพุทธศาสนา หากจะมองเอา วันแห่งความรักที่แท้จริง ก็คงเปรียบได้กับวัน มาฆบูชา ที่มีความสำคัญ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาตร คือ เป็นวันเพ็ญเดือน 3 ,มีพระสงฆ์ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย,พระสงฆ์ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนได้บบรลุธรรมเป็นอรหันต์รับอภิญญา 6, และเป็นพระสงฆ์ที่พระพุทธองค์เป็นผู้บรรพชาให้และที่สำคัญมากกว่านั้นคือ พระพุทธเจ้ายังได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ที่ถือว่าเป็นการวางรากฐานประกาศหลักธรรมไว้ให้กับพุทธศาสนิกชนคนรุ่นหลังได้นำมาศึกษาปฏิบัติ ว่าด้วยเรื่องของ หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ละชั่ว ทำดี (ทั้งกาย วาจา ใจ) ทำจิตใจให้ผ่องบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อป้องกัน แก้ปัญหาต่างๆ จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากหลักการนี้ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ความปรารถนาของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้มนุษยชาติได้พ้นทุกข์ และนี่คือ ความรักที่แท้จริงนอกจากนี้ ยังมีหลักธรรมที่สอนให้มนุษย์มีความรักในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ปราศจากเงื่อนไข ไม่หวังที่จะนำตนเองเป็นศูนย์กลางหรือการสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก แต่กลับมุ่งให้ประพฤติตนเพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการที่ต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม และให้เราเป็นที่พึ่งของผู้อื่น ตามหลักของ พรหมวิหาร 4 คือเมตตา คือ ความรักที่เกิดจากการมองแง่ดี ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข แม้จะไม่ใช่มิตรของตนเองกรุณา คือ การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ขณะที่มีความทุกข์ ด้วยความปรารถนาให้เค้าพ้นทุกข์ที่เขาประสบอยู่ ทั้งทางกายและทางใจมุฑิตา คือ การยินดีต่อผู้อื่นเมื่อทำความดี ประสบความสำเร็จ ปราศจากความอิจฉาริษยาอุเบกขา คือ การปล่อยวาง เมื่อเกิดความรักต่อกันแล้วต้องปล่อยวางและพึงระลึกอยู่เสมอว่า คนเราทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมรับผลแห่งความชั่ว ไม่ควรดีใจหรือเสียใจหรือซ้ำเติม ควรให้โอกาสได้ปรับปรุงตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมจากหลักธรรมดังกล่าว หากจะเปรียบน้ำที่บริสุทธิ์ใสเย็นเป็นที่พึ่งพาของสรรพสัตว์ในการดื่มกินดับกระหายร้อนฉันใด หลักธรรมของพระพุทธองค์ก็เปรียบเหมือนเครื่องขัดเกลาดับกิเลสของมนุษย์ ที่ดำรงชีวิตด้วยความทุกข์ทรมาน เพราะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่า วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรักที่แท้จริง ที่พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ เราในฐานะพุทธศาสนิกชน พึงนำเอาหลักธรรมนี้ มาน้อมนำสู่ตน เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ระดับบุคคลกับบุคคล ไปจนถึงครอบครัว สังคมและประเทศชาติด้วยการละเว้นการทุจริตทั้งปวง และมีความปรารถนาดีมีเมตตาต่อกัน

ศาสนาคืออะไร ศาสนาหมายถึงอะไร

August 21, 2019 shantideva 0

คำว่า “ศาสนา” เป็นคำภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีใช้ศัพท์ว่า “สาสน” ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอน คำสั่ง หมายถึงศีลหรือวินัย คำสอน หมายถึงพระธรรม เรียกรวม ๆ กันว่า ศีลธรรม ส่วนคำว่าศาสนาในทางตะวันตกท่านใช้ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า “Religion” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “ Religio “ แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำนิยามไว้ว่า ศาสนา คือ “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักคือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ หลวงวิจิตรวาทการได้อธิบายความหมายของศาสนาไว้ว่า คำว่า “ศาสนา” ต้องเป็นเรื่องที่มีลักษณะดังนี้ ๑) เป็นสิ่งที่เชื่อถือโดยมีความศักดิสิทธิ์และไม่ใช่เชื่อถือเปล่า ๆ ต้องเคารพบูชาด้วย ๒) มีคำสอนทางศีลธรรมจรรยา และกฏเกณฑ์ ที่เกี่ยวกับความประพฤติเพื่อบรรลุผลอันดีงาม ๓) ปรากฏตัวผู้สอนผู้ตั้ง ผู้ประกาศ ที่รู้แน่นอน และยอมรับว่าเป็นความจริงประวัติศาสตร์ ๔) มีคณะบุคคลทำหน้าที่โดยเฉพาะสำหรับรักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนนั้น สืบต่อบุคคล คณะนี้เรียกว่า “พระ” หรือ “วรรณะ” ปละเป็นเพศพเศษต่างกับสามัญชนเรียกว่า “สมณเพศ” ๕) มีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Fidelity หมายความว่า ถ้าถือศาสนาหนึ่งแล้ว จะไปถือศาสนาอื่นไม่ได้ แม้แต่จะเคารพบูชาปูชนียวัตถุของศาสนาหรือลัทธิอื่นก็ถือว่าเป็นบาปใหญ่หลวงทีเดียว ความหมายของศาสนาตามที่กล่าวมานี้ มีลักษณะทั่ว ๆ ไปทั้งเทวนิยมและอเทวนิยมปน ๆ กันไป คือเป็นความเชื่อในเทพเจ้า บาปบุญ ปรมัตถธรรม ชีวิตปรโลก คำสั่งสอนในฐานะเป็นกฎศีลธรรม ที่มีศาสดาและคณะผู้ประกาศคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ศาสนิกจะละเลยไม่ได้ ท่านพุทธทาส ภิกขุ ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า “ศาสนาคือตัวการปฏิบัติหรือตัวการกระทำ อันเป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ หรือสิ่งที่สัตว์นั้น ๆ ไม่พึงปรารถนา” ความหมายของศาสนาตามที่ยกมานี้ หากกล่าวโดยภาพรวมแล้วจะเห็นชัดว่า ย่อมประกอบด้วยความเชื่อและเหตุผลที่เป็นระเบียบอันมนุษย์มองไม่เห็นและมีความดีสูงสุดที่มนุษย์สามารถปรับตัวเองให้กลมกลืนได้ศาสนา องค์ประกอบของศาสนา ศาสนาในฐานเป็นปรากฏการณ์ทางจิตและสังคม เป็นบ่อเกิดของคุณค่าและวัฒนธรรมและมีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น ซึ่งมีความลึกซึ้งและมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่ที่ถือว่าสำคัญที่สุดที ๕ ประการ คือ – ศาสดา คือผู้ตั้งศาสนาหรือผู้สอนดังเดิม – คัมภีร์ศาสนา คือที่รองรับหลักธรรมคำสอนในศสานั้นด้วย – นักบวช คือผู้ปฏิบัติตามคำสอน หรือผู้สืบทอดต่อศาสนา – ศาสนสถาน สถานที่สำคัญของศาสนา หรือปูชนียสถาน – สัญลักษณ์ เครื่องหมายแสดงออกของศาสนาด้านพิธีกรรมและปูชนียวัตถุ

พระกุมารกัสสปเถระ พระธรรมกถึกที่สามารถเทศนากลับใจคน

July 12, 2019 shantideva 0

พระกุมารกัสสปเถระ เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในการเทศนากลับใจคนที่มีมิจฉาทิฐิให้เข้าใจถูกต้อง ท่านรูปนี้มีชีวิตค่อนข้างพิสดารก่อนที่จะมาบวช ท่านเป็นบุตรนางภิกษุณี นางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของท่านตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวมาก่อนบวช บวชมาแล้ว เมื่อครรภ์โตขึ้นปรากฏต่อสายตาประชาชน พระเทวทัตผู้ดูแลภิกษุณีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีมารดาของท่านรวมอยู่ด้วย ได้ตัดสินใจให้ท่านลาสิกขาโดยไม่สอบถามรายละเอียด นางภิกษุณีเชื่อมั่นว่าตนบริสุทธิ์ จึงอุทธรณ์เรื่องต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอุบาลีเป็นประธานพิจารณา ท่านพระอุบาลีจึงขอแรงนางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี ช่วยคลี่คลายคดี พระกุมารกัสสปเถระ นางวิสาชา จึงได้ตรวจสอบอย่างละเอียด และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีมติว่านางตั้งครรภ์ก่อนบวช นำความกราบเรียนพระเถระ พระเถระอาศัยข้อมูลนั้นเป็นหลักฐานประกอบคำวินิจฉัย ตัดสินให้นางภิกษุณีบริสุทธิ์ เมื่อนางคลอดบุตรมาก็เลี้ยงดูในวัดนั้นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปพบเข้า จึงขอไปเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม กุมารน้อย จงมีชื่อว่า กุมารกัสสปะ (กัสสปะ ผู้เป็นพระกุมารในพระราชวัง) เมื่อเติบโตมารู้เบื้องหลังชีวิตของตนเอง จึงสลดใจไปบวชเป็นสามเณร ปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ข้างฝ่ายภิกษุณีมารดา มัวแต่คิดถึงลูก การปฏิบัติธรรมจึงมิได้ก้าวหน้าแม้แต่น้อย วันหนึ่งเห็นสามเณรบุตรชายขณะออกบิณฑบาต จึงรี่เข้าไปหา ร้องเรียกลูก สามเณรอรหันต์คิดว่า ถ้าพูดดีๆ กับแม่ แม่ก็จะไม่สามารถตัดความรักฉันแม่กับลูกได้ การปฏิบัติธรรมก็ไม่ก้าวหน้า จึงพูดอย่างเย็นชาว่า “อะไร จนป่านนี้แล้ว แค่ความรักระหว่างแม่กับลูกยังตัดไม่ได้ จะทำอะไรได้สำเร็จ” ว่าแล้วก็เดินจากไป ทิ้งให้ภิกษุณีผู้มารดาเป็นลมสลบ ณ ตรงนั้น ฟื้นขึ้นมาก็ “ตัดใจ” ว่า เมื่อลูกไม่รักเราแล้ว เราจะมัวคิดถึงเขาทำไม กลับสำนักภิกษุณีคร่ำเคร่งปฏิบัติภาวนา ไม่ช้าไม่นานก็บรรลุพระอรหัต เป็นอันว่าสามเณรหนุ่มได้ช่วยพามารดาของท่านลุถึงฝั่งแล้ว เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ฟังพระโอวาทของพระพุทธองค์เรื่องปริศนาธรรม ๑๕ ข้อ (วันมิกสูตร) ได้บรรลุพระอรหัต เข้าใจว่าในช่วงท้ายๆ พุทธกาล เพราะคัมภีร์บันทึกว่า หลังพุทธปรินิพพานไม่นานนัก มีเจ้านครเสตัพยะ นามว่า ปายาสิ มีความเห็นผิดอันเป็นภัยร้ายกาจต่อพระศาสนาและระบบศีลธรรมจรรยา คือ เธอเชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง บุญบาปไม่มี ชาติก่อนชาติหน้าไม่มี ปายาสิเธอเป็นนักพูด มีวาทะคารมคมคาย จึงสามารถหักล้างสมณพราหมณ์ได้เป็นจำนวนมาก พระเถระอรหันต์หลายต่อหลายรูป ท่านก็หมดกิเลสเท่านั้น ไม่มีปฏิภาณปัญญาจะไปโต้ตอบกับเธอได้ จึงถอยห่างออกไป พระกุมารกัสสปะจึงไปโต้วาทะกับปายาสิราชันย์ ใช้เหตุใช้ผลอธิบายประกอบอุปมาอุปไมย ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ของปายาสิ ในที่สุดปายาสิยอมจำนน ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (ดูรายละเอียดใน ปายาสิราชัญญสูตร – ที.ม. ๑๐/๑๐๓-๑๓๐) เจ้าปายาสิเชื่อว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี โดยทดสอบจากชีวิตจริงของคน คือสั่งนักโทษประหาร (ที่แน่ใจว่าตายแล้วต้องตกนรกแน่ เพราะทำกรรมชั่วไว้มากมาย ดังสมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวสอนกัน) ว่า ถ้าตายไปตกนรกจริงก็ให้กลับมาบอก นักโทษคนนั้นรับปากแล้วก็ไม่เห็นกลับมาบอก จากนั้นก็ทดลองเช่นเดียวกันกับอุบาสกผู้มีศีลธรรมว่า หลังจากไปเกิดในสวรรค์แล้วให้กลับมาบอก ก็ไม่กลับมาบอกเช่นเดียวกัน โดยวิธีนี้เจ้าปายาสิจึงสรุปว่า นรกไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี พระเถระอธิบายโดยยกอุปมาอุปไมยว่า เพียงแค่นักโทษประหารจะขออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปสั่งเสียลูกเมีย แล้วจะกลับมาให้ประหารทางการก็ไม่อนุญาต นักโทษประหารมีมีอิสระเสรีภาพจะไปไหนได้ตามชอบใจ สัตว์นรกยิ่งกว่านั้น หาโอกาสจะไปไหนไม่ได้ ถึงเขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เขาก็ไม่สามารถกลับมาบอกได้ฉันใด ฉันนั้น ครั้นถูกแย้งว่า สัตว์นรกไม่มีอิสระก็พอฟังขึ้น แต่คนที่ตายไปเกิดบนสวรรค์มีอิสรเสรีเต็มที่ แต่ทำไมยังไม่มาบอก เหตุผลที่พระเถระยกมากล่าวในข้อนี้ คือ กำหนดระยะเวลาบนสรวงสวรรค์นั้นช้ากว่าในโลกมนุษย์ (ว่ากันถึงขนาดว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาเท่ากับหนึ่งร้อยปีของโลกมนุษย์) ถึงแม้เขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เพียงคิดว่า รอสักครู่ค่อยกลับไปบอก “สักครู่” ของเทวดา ก็เป็นสิบเป็นร้อยปี พระกุมารกัสสปะตอบคำถาม หักล้างความคิดเป็นของเจ้าปายาสิ ท่านใช้หลายวิธี เช่น อธิบายตรงๆ ยกอุปมาอุปไมย หรือใช้วิธีอนุมาน จึงสามารถทำให้นักปราชญ์อย่างเจ้าปายาสิยอมรับและถวายตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในเวลาต่อไป นัยว่าท่านพระกุมารกัสสปะ ได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล ท่านดำรงชีวิตจนถึงอายุขัยแล้วนิพพาน

นิยามและความเป็นมา ศาสนาพุทธ

July 11, 2019 shantideva 0

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า (๑) เป็นศาสดา มีพระธรรม (๒) คือ ธรรมะเกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ มีพระสงฆ์ (๓) คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย  เกมส์ยิงปลา ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันเรียกว่าพุทธคยา จากนั้นพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาท และมหายาน พุทธศาสนา หรือศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้า เป็นศาสดา (คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือ ผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่) มีพระธรรม คือ ธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ (ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ) มีพระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย

พระพุทธทาสภิกขุ

บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา(พระพุทธทาสภิกขุ)

July 4, 2019 shantideva 0

พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ เริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม ที่ อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา “พุทธทาส” แทนนามเดิมนับแต่นั้นมา ท่านพุทธทาสภิกขุอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงแก่มรภาพอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ ก.ค. ๒๕๓๖ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

July 3, 2019 shantideva 0

เป็นวันที่มีความสำคัญเพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา และยังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วยวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้  เกมส์ยิงปลา วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีไหนมีเดือนอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองครั้งก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันที่พระสงฆ์มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ 1,250 รูปโดยมิได้นัดหมายเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต และพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงโอวาทปาฎิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยพระธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ซึ่งเมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟังจนจบ ก็มีปัจวัคคีย์ท่านหนึ่งคือ อัญญาโกญฑัญญะ ได้เข้าถึงพระธรรมเทศนาและบรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอพระพุทธเจ้าขอบวชในพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงเป็นวันที่พุทธศาสนาครบองค์ 3 คือมีพร้อมทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พุทธศาสนากำหนดให้พระภิกษุสามเณรต้องอยู่จำพรรษาประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็นที่ไม่สามารถกลับมาในวันเดียวได้ก็อนุญาตให้ไปพักแรมข้ามคืนได้คราวละไม่เกิน 7 วัน เรียกกว่า สัตตาหะ วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาและเป็นวันเริ่มต้นกฐินกาล ซึ่งเป็นเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาในการทอดกฐินตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงช่วงเวลานี้เวลาเดียวเท่านั้น หากนอกเหนือจากนั้นจะไม่เรียกว่าทอดกฐิน พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย โดยมีหลักธรรมคำสั่งสอนและมีประเพณีที่สำคัญหลายอย่างที่เป็นสิ่งเตือนใจให้ชาวพุทธได้ตระหนักถึงความสำคัญของพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับพุทธศาสนาเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความสำคัญ

ประวัติพระพุทธศาสนา

July 1, 2019 shantideva 0

พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม  เกมส์ยิงปลา ความหมาย พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม ซึ่งเป็นองค์หนึ่งในบรรดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายที่ได้เคยตั้งพุทธบริษัทมาแล้ว และที่จะตั้งต่อไปในอนาคต ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากที่ตรัสรู้แต่ไม่มีบารมีพอให้ตั้งพุทธบริษัทได้ จึงให้ผลเฉพาะตัวเรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้า จึงเห็นได้ว่า จากความสำนึกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวพุทธมีใจกว้าง เพราะถือเสียว่าธรรมะมิได้มีในพระพุทธศาสนาของพระโคตมเท่านั้น แต่คนดีทั้งหลายก็อาจจะพบธรรมะบางข้อได้ และแม้แต่ชาวพุทธเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงปรารถนาให้แสวงหาและเข้าใจธรรมะด้วยตนเอง พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง คือ ผู้ช่วยเกื้อกูลให้แต่ละคนสามารถพึ่งตนเองในที่สุด “ตนของตนเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง” อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนิกที่แท้จริง คือ ผู้ที่แสวงหาธรรมะด้วยตนเองและพบธรรมะด้วยตนเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พยายามพัฒนาธาตุพุทธะในตัวเอง ลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนา ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ เป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ กล่าวคือ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ทั้งความเป็นจริงและข้อธรรมได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ เช่น วิเคราะห์จิตได้ละเอียดลอออย่างน่าอัศจรรย์ใจ วิเคราะห์ธรรมะออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุมและประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น หากจะพยายามอธิบายธรรมะข้อใดสักข้อหนึ่ง ก็จะต้องอ้างถึงธรรมะข้ออื่นๆ เกี่ยวโยงไปทั้งระบบ วิธีการวิเคราะห์ธรรมะอย่างนี้ บางสำนักของศาสนาฮินดูได้เคยทำมาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้เด่นชัดอย่างธรรมะที่สอนกันในพระพุทธศาสนา จึงควรยกย่องได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ และเมื่อกล่าวเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านอื่นๆ ทั้งมิได้หมายความเลยไปถึงว่าศาสนาอื่นๆ ไม่รู้จักวิเคราะห์ หามิได้ ต้องการหมายเพียงแต่ว่าพระพุทธศาสนาเด่นกว่าศาสนาอื่นๆ ในด้านวิเคราะห์เท่านั้น และถ้าหากศาสนาต่างๆ จะพึ่งพาอาศัยกันและกันก็พระพุทธศาสนานี่แหละสามารถให้ตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อธรรมะได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ศาสนาอื่นๆ อาจจะบริการด้านอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเด่นชัด เช่น ศาสนาพราหมณ์ในเรื่องจารีตพิธีกรรม ศาสนาอิสลามในเรื่องกฎหมาย เป็นต้น แต่ทั้งนี้แล้วแต่ว่าสมาชิกแต่ละคนของแต่ละศาสนาจะสนใจร่วมมือกันในทางศาสนามากน้อยเพียงใด บ่อเกิดของพระพุทธศาสนา แม้ชาวพุทธจะมีความสำนึกว่า สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีมาแล้วมากมายในอดีต และจะมีอีกมากมายต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม คำสอนของอดีตพระพุทธเจ้าไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาได้อีกแล้ว ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะมาในอนาคตก็ยังไม่มีใครรู้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจึงมาจากคำสอนของพระพุทธโคตมแต่องค์เดียว คำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ ทั้งในและนอกพระพุทธศาสนา อาจจะเสริมความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่ไม่อาจจะถือว่าเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า ความรู้ที่พระองค์ทรงรู้จากการตรัสรู้นั้นมีมากราวกับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่พระองค์นำมาสอนสาวกนั้นมีปริมาณเทียบได้กับใบไม้เพียงกำมือเดียว พระองค์ไม่อาจจะสอนได้มากกว่าที่ได้ทรงสอนไว้ ดังนั้น หากมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น ให้ตกลงกันด้วยสังคายนา (ร้องร่วมกัน) คือ ประชุมและลงมติร่วมกัน ส่วนในเรื่องธรรมวินัยปลีกย่อย หากจำเป็นก็ให้ประชุมตกลงปรับปรุงได้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งก็คือสังคายนา สังคายนาจึงกลายเป็นเครื่องมือให้เกิดการยอมรับร่วมกันในหมู่ผู้ยอมรับสังคายนาเดียวกัน แต่ก็เป็นทางให้เกิดการแตกนิกายโดยไม่ยอมรับสังคายนาร่วมกัน นิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น เพราะการยอมรับสังคายนาต่างกัน และนิกายต่างกันนั้นก็ยอมรับคัมภีร์และอรรถกถาที่ใช้ตีความคัมภีร์ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธแม้จะต่างนิกายกันก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน ทำบุญร่วมกันได้ และร่วมมือในกิจการต่างๆ ได้ ผู้ใดนับถือพระพุทธเจ้าและแม้จะนับถือสิ่งอื่นด้วย เช่น พระพรหม พระอินทร์ ไหว้เจ้า หรือภูตผีต่างๆ ก็ยังถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันกันแต่ประการใด ดังนั้น การที่จะมีบ่อเกิดเพิ่มเติมแตกต่างกันไปบ้าง ตราบใดที่ยังยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันเป็นส่วนมาก ก็ไม่ถือว่าต้องแตกแยกกัน คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุดเนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้ นิกายมหายาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่า แค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย และไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดลงไปว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ที่แน่ชัดก็คือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศต.1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกของฝ่ายเถรวาท ฝ่ายมหายานมิได้ปฎิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดมีความสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ ไม่อาจดับสูญ …..อ่านต่อ

สุดยอดคุณธรรม”พระมหากัสสป”

June 18, 2019 shantideva 0

1.เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา บุตรที่ดีต้องเคารพเชื่อฟังบิดามารดา พระมหากัสสปะขณะเป็นปิปผลิมาณพถึงแม้ยังไม่อยากแต่งงาน แต่เมื่อเป็นความประสงค์ของบิดามารดาก็พยายามปฏิบัติตาม shantideva.net 2.เป็นผู้มีสัจจะ เมื่อได้ลั่นวาจาว่า ถ้าบิดามารดาสามารถหาสตรีที่สวยงามดุจรูปหล่อทองคำก็ยินยอมแต่งงานด้วย ครั้งเมื่อมีสตรีที่งดงามเช่นนั้นจริงท่านก็ปฏิบัติตามสัญญาไม่ยอมคืนคำ 3.เป็นผู้ที่ความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง ข้อนี้ปรากฏชัดแจ้งเมื่อครั้งที่ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้ยินพระหลวงตารูปหนึ่งกล่าวดูหมิ่นพระพุทธเจ้า ท่านนึกสลดใจว่าต่อไปภายหน้าจะเป็นเช่นไร เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้วท่านจึงเป็นกำลังสำคัญในการสังคายนาพระธรรมวินัย จัดการชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์ เป็นการตอบแทนพระคุณพระพุทธเจ้า 4.มีชีวิตเรียบง่าย ท่านชอบปลีกตัวไปอยู่สงบตามลำพังในป่า ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร อยู่ป่าเป็นวัตร สมเป็น “สมณะ”(ผู้สงบ)อย่างแท้จริง การมีชีวิตเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นนี้ ชาวบ้านสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้ตามเหมาะสม 5.เป็นตัวอย่างในทางที่ดีงาม ความเป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย การประพฤติขัดเกลาตนเองด้วยการถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด ซึ่งความจริงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องขัดเกลาตนเองอีกต่อไปแล้ว แต่ที่ท่านเน้นความเคร่งครัดเป็นพิเศษ ก็เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนภายหลังแบบอย่างอีกประการหนึ่งที่ท่านวางไว้ก็คือ “ความมีวิญญาณ” แห่งการสืบทอดพระศาสนาเมื่อคราวพระพุทธศาสนามัวหมองเพราะถูกหมิ่นหรือบิดเบือนความจริง แม้ท่านเป็นผู้สงบโดยนิสัยก็นิ่งดูดาย ได้ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องทำความจริงให้ปรากฏและความเข้าใจให้กระจ่าง ดังได้เป็นการเป็นประธานในการสังคายนาพระธรรมวินัยดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผลงานของท่านทำให้มีพระไตรปิฏกที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์สืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ starvegas-slot.com

อิสลามจะแซงคริสต์ เป็นศาสนาที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกภายในปลายศตวรรษนี้

May 21, 2019 shantideva 0

ผลวิจัยเผย ศาสนาอิสลามจะมีจำนวนผู้นับถือมากกว่าศาสนาคริสต์ และกลายเป็นศาสนาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกภายในปลายศตวรรษนี้ตามการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี เปิดเผยว่า ในปี 2010 มุสลิมมีจำนวน 1.6 พันล้าน ประมาณ 23 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก (แต่สัดส่วนนี้ยังน้อยกว่าศาสนาคริสต์ ที่มีจำนวน 2.2 พันล้าน ประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก)

ความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ และหลักธรรม

May 20, 2019 shantideva 0

ศาสนาคริสต์มีรากฐานมาจากศาสนายิว โดยยิวมีโมเสสเป็นศาสดาและเป็นผู้รับ แผ่นศิลาพระโอวาท หรือ แผ่นศิลาพระบัญญัติ 2 แผ่นบนภูเขาซีนาย จากพระเจ้า (พระยาห์เวห์) โดยบัญญัติถึงหลักธรรมคำสอนที่จารึกโดยลายพระหัตถ์ของพระเจ้าเอง ในบัญญัตินั้นมีคำสอนหลักเลยคือศาสนิกชนต้องมีความศรัทธาในพระเยซูสูงสุดในชีวิต ตลอดถึงเพื่อนมนุษย์ ดังปรากฏในหลักบัญญัติ 10 ประการ

ตำนานพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ องค์เจ้าแม่กวนอิม

May 18, 2019 shantideva 0

พระองค์เป็นธิดาของพระเจ้าเหมี่ยวจวงกับพระนางเซี่ยวหลินผู้ครองอาณาจักรซิงหลินอันยิ่งใหญ่ เป็นธิดาองค์ที่ 3 เจ้าแม่กวนอิมมีนามเดิมว่า เมี่ยวเซียง (เมี่ยวซัน) พระพี่นางองค์แรกชื่อ เมี่ยวเชง อภิเษกกับข้าราชการชั้นบัณฑิต มีสติปัญญาล้ำเลิศยิ่งนัก ส่วนองค์ที่ 2 อภิเษกกับนายทหาร เป็นแม่ทัพใหญ่ มีฝีมือในการรบพุ่ง เป็นที่เกรงกลัวแก่ข้าศึกศัตรู พระราชบุตรเขยทั้ง 2 จึงเป็นที่ปรึกษาสำคัญของพระเจ้าเหมี่ยวจวงในการทำศึกสงคราม พระองค์ต้องการแผ่อำนาจ ยึดครองเมืองอื่นๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไร้ความเมตตากับประชาชนในเมืองข้าศึก ซ้ำพระองค์ไม่ยอมรับนับถือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเห็นว่าพระธรรมคำสอนของพระองค์สอนให้พ่ายแพ้อ่อนแอ

เรื่องควรรู้ หากมีคู่ ข้ามศาสนา

May 12, 2019 shantideva 0

เพิ่งจะจบกันไป กับการประกาศคัดเลือกโป๊ป หือพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาคนใหม่ของแวดวงชาวคริสต์ สำนักข่าวบางช่อง ยังเกริ่นเล่าเรื่องราวไปถึงเรื่องของข้อเท็จจริงที่ว่า ทุกวันนี้มีผู้เปลี่ยนข้ามศาสนาไปมากันเป็นพัลวัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนตามคนรักหรือคู่ครองนั่นเอง (บางส่วนก็เปลี่ยนเอง)