ประวัติศาสนาซิกข์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา ประวัติของศาสนาซิกข์ เริ่มต้นขึ้นโดยคุรุนานักเทพจิ คุรุศาสดาคนแรก ราวคริสต์ศตวรรศที่ 15 ในภูมิภาคปัญจาบทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย เมื่อเวลาผ่านไป การปฏิบัติตนในศาสนาได้ถูกทำให้เป็นแบบแผนมากขึ้นและเป็นระบบระเบียบโดยคุรุท่านต่อ ๆ มา โดยเฉพาะ คุรุโควินทสิงห์ เมื่อปี 1699[1] ศาสนิกชนกลุ่มแรกซึ่งล้วนมาจากภูมิหลังทางสังคมที่ต่างกัน รวมกันเป็นขาลสา (ਖ਼ਾਲਸਾ) โดย 5 คนแรกที่ได้เปลี่ยนศาสนาเข้ามานั้นเรียกว่า “ปัญจเปียร์” เป็นผู้เปลี่ยนศาสนาและรับคุรุโควินทสิงห์เข้ามาในสังคมขาลสา[2] ประวัติของศาสนาซิกข์เกี่ยวข้องมากกับประวัติศาสตร์ปัญจาบ ในสมัยจักรวรรดิโมกุล (1556 – 1707) ศาสนาซิกข์เกิดความไม่ลงรอยกับกฎหมายจักรวรรดิซึ่งเป็นมุสลิม ด้วยปัญหาทั้งทางการเมืองและความเชื่อของซิกข์ที่เพิ่มเติมนักบุญจากทั้งฮินดูและอิสลามเข้ามา คุรุซิกข์คนสำคัญถูกประหารชีวิตเพราะปฏิเสธที่จะเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[3] และเพราะต่อต้านการดำเนินคดีของจักรวรรดิต่อชาวซิกข์และชาวฮินดู[4][5][6][7][8][9] คุรุสองท่านที่ถูกประหารชีวิตและทรมานอย่างหนัก ได้แก่ คุรุอรชุน และ คุรุเตฆหบดูร์[10][11][12][13] รวมถึงบุคคลสำคัญในศาสนาที่ได้รับการเคารพจากศาสนิกชน เช่น Banda Bahadur, Bhai Mati Das, Bhai Sati Das และ Bhai Dayala[9][12][13] ดังนั้นศาสนาซิกข์จึงจัดตั้งกองทัพซิกข์ขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานของจักรวรรดิโมกุล การก่อเกิดขึ้นของ Sikh Confederacy ภายใต้ misl และ อาณาจักรซิกข์ นำการปกครองโดยมหาราชา รันจิต สิงห์ ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยความต้านทางทางศาสนาและแนวคิดพหุศาสนา (Religious pluralism) ร่วมกับชาวคริสต์ ฮินดู และมุสลิม ในตำแหน่งของอำนาจ การก่อตั้งอาณาจักรซิกข์นั้นถือเป็นจุดสูงสุดของศาสนาซิกข์ในเชิงการเมือง[14] ขณะที่อาณาจักรซิกข์ขยายอาณาเขตครอบคลุมกัศมีร์, Ladakh และ Peshawar ก็ทำให้มีศาสนิกชนเปลี่ยนศาสนามาเป็นซิกข์จำนวนมาก ด้วยจากทั้งความเกรงกลัวในอำนาจก็ดี หรือจากเหตุผลเชิงธุรกิจก็ดี[15]