No Image

พระคริสตธรรมคัมภีร์

January 14, 2021 shantideva edit 0

พระคริสตธรรมคัมภีร์ หรือพระคัมภีร์ (Holy Bible) เป็นหลักคำสอนหรือคู่มือในการดำเนินชีวิตของคริสตชน เชื่อว่า พระเจ้าทรงดลใจให้ผู้ประกาศพระวจนะของพระองค์ โดยบุคคลหลากหลาย ต่างยุค ต่างสมัย ต่างอาชีพ ตั้งแต่ กษัตริย์, ธรรมาจารย์, ปุโรหิต, สานุศิษย์, ชาวประมง และสามัญชนผู้มีใจศรัทธาได้เขียนขึ้น พระคัมภีร์มีสองภาค แบ่งเป็นภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) และภาคพันธสัญญาใหม่ (New Testament) โดยภาคพันธสัญญาเดิมจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์การสร้างโลก และกำเนิดมนุษยชาติ การกระจายของพงศ์พันธุ์มนุษย์ ประวัติศาสตร์ชนชาติยิว ( ยูดาย) บทนิพนธ์ บทเพลงสรรเสริญนมัสการพระเจ้า และหลักคำสอน คำพยากรณ์แห่งอนาคตของประชาชาติ ส่วนพระคัมภีร์ใหม่จะกล่าวถึงประวัติและพระราชกิจของพระเยซูคริสต์ การกำเนิดและการขยายงานคริสตจักร โดยการเผยแพร่ หลักคำสอนในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ศรัทธาในพระองค์ ตลอดคำสัญญาแห่งอนาคต คัมภีร์ไบเบิล (อังกฤษ: Bible) (มาจากภาษากรีกว่า บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์ เรียกโดยย่อว่าพระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture)

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

December 13, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด มีหลักธรรมสำคัญ ๆ ดังนี้ หลักธรรม ๑๐ ประการ1. ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง ซึ่งหมายถึง การพากเพียรจนได้รับความสำเร็จ2. กษมา ได้แก่ ความอดทน นั่นคือพากเพียรและอดทน โดยยึดความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง3. ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ4. อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำโจรกรรม5. เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ6. อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ๑๐ ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง7. ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน นั่นคือมีปํญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่าง ๆ8. วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา9. สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน10. อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ หลักอาศรม ๔ เป็นขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น มี ๔ ประการคือ1. พรหมจารี เป็นขั้นตอนที่เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นนักศึกษา และจะต้องปรนนิบัติรับใช้อาจารย์พร้อมกับศึกษาเล่าเรียน2. คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปใช้ชีวิตทางโลก แต่งงานและมีบุตรเพื่อสืบสกุล โดยยึดหลักธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต3. วานปรัสถ์ เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า เพื่อฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์และเตรียมปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม4. สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิต โดยสละชีวิตทางโลกออกบวช บำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อความหลุดพ้น

นิกายพรามณ์ ฮินดู

นิกายพรามณ์ ฮินดู

December 9, 2020 shantideva edit 0

ศาสนาฮินดู ศาสนาพรามณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ 1. ลัทธิไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni) 2. ลัทธิไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน 3. ลัทธิศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น 4. ลัทธิคณพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์ 5. ลัทธิสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ คายตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร 6. ลัทธิสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการยังมีนิกายอื่นๆ อีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก

เทพของยุโรป แอรีส

July 10, 2019 shantideva 0

แอรีส หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส ด้วย แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า แอรีสเป็นบุตรของซีอุส มหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุาษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของรอมิวลุส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพีอโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่

เทพของยุโรปไดอะไนเซิล

July 8, 2019 shantideva 0

ไดอะไนเซิส ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนเซิส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เทพไดโอไนซูส เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว

วีนัส เทพีแห่งความรัก เทพีแห่งความงาม

April 23, 2019 shantideva 0

อโฟรไดท์ หรือ วีนัส เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ความปรารถนา และความงาม ของกรีก ชื่ออื่นๆ ที่เรียกนอกจากนี้คือ “ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย” (Cytherea) ซึ่งเรียกตามสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีรา ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่เกิดของอโฟรไดท์ ในส่วนของศักดิ์สิทธิประจำตัวของอโฟรไดท์ คือ ต้นเมอร์เติล (Myrtle) นกพิราบ นกกระจอก และ หงส์

เทพอะพอลโล

อพอลโล เทพแห่งแสงสว่าง หรือ เทพแห่งดวงอาทิตย์

April 23, 2019 shantideva 0

อะพอลโล เป็นบุตรชายคนโตของมหาเทพซุส เป็นหนึ่งใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส เป็นบุตรของซีอุส จอมเทพแห่งสวรรค์และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย เทพอะพอลโลถือได้ว่าเป็นเทพเจ้าที่รูปงามและยังเจ้าชู้เหมือนเทพซีอุสผู้เป็นพระบิดา อพอลโลมีน้องสาวฝาแฝดชื่ออาร์เทมีส

โพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร

April 14, 2019 shantideva 0

โพไซดอน เป็นหนึ่งในสิบสอง เทพเจ้าโอลิมปัส ในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า “สมุทรเทพ” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า “ผู้เขย่าโลก” (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ “ผู้กำราบม้า” (tamer of horses)

ซูส-เทพแห่งท้องฟ้า

ซูส เทพแห่งท้องฟ้า

April 14, 2019 shantideva 0

เทพซูส เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขา โอลิมปัส (Olympus) และเทพแห่งท้องฟ้าและฟ้าร้องของ ตำนานเทพปกรณัมกรีก สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือสายฟ้า โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก นามของซีอุสแปลว่าความสว่างของท้องฟ้า นามของพระองค์ในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพจูปิเตอร์ และนามในตำนานอีทรูสแคนคือเทพไทเนีย

เทพีอธีนา

เทพีอธีนา เทพีแห่งปัญญา

April 13, 2019 shantideva 0

เทพีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา