วันเข้าพรรษา

October 23, 2020 shantideva edit 0

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างที่อื่น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2563 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม โดยประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญ กิจกรรม มีดังนี้ ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

October 20, 2020 shantideva edit 0

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาของเราอีกหนึ่งวัน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น ได้นำไปเผยแผ่แก่ศาสนิกชนทั้งหลายค่ะ ความเป็นมาวันมาฆบูชา ๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

วันแห่งความรักในพระพุทธศาสนา

September 6, 2019 shantideva 0

วันแห่งความรัก ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนั้น ทุกคนมักจะคุ้นเคยกับวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับคนหนุ่มสาว ที่ต่างฝ่ายจะเตรียมมอบของขวัญพิเศษ หรือแสดงความรักต่อกันในวันนี้ โดยหวังว่า จะได้รับความพึงพอใจจากคนที่ตนรัก และเป็นการแสดงความรักเพื่อตอบสนองความปรารถนาองตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตามความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่รำลึกถึงนักบุญวาเลนไทน์ ผู้เสียสละชีวติตนเองเพื่อให้คนหนุ่มสาวได้แต่งงานกัน ในอดีตที่เคยห้ามไม่ให้คนหนุ่มสาวแต่งงานกัน เพราะต้องเกณฑ์ชายหนุ่มไปทำสงครามในทางพระพุทธศาสนา หากจะมองเอา วันแห่งความรักที่แท้จริง ก็คงเปรียบได้กับวัน มาฆบูชา ที่มีความสำคัญ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาตร คือ เป็นวันเพ็ญเดือน 3 ,มีพระสงฆ์ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย,พระสงฆ์ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนได้บบรลุธรรมเป็นอรหันต์รับอภิญญา 6, และเป็นพระสงฆ์ที่พระพุทธองค์เป็นผู้บรรพชาให้และที่สำคัญมากกว่านั้นคือ พระพุทธเจ้ายังได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ที่ถือว่าเป็นการวางรากฐานประกาศหลักธรรมไว้ให้กับพุทธศาสนิกชนคนรุ่นหลังได้นำมาศึกษาปฏิบัติ ว่าด้วยเรื่องของ หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ละชั่ว ทำดี (ทั้งกาย วาจา ใจ) ทำจิตใจให้ผ่องบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อป้องกัน แก้ปัญหาต่างๆ จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากหลักการนี้ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ความปรารถนาของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้มนุษยชาติได้พ้นทุกข์ และนี่คือ ความรักที่แท้จริงนอกจากนี้ ยังมีหลักธรรมที่สอนให้มนุษย์มีความรักในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ปราศจากเงื่อนไข ไม่หวังที่จะนำตนเองเป็นศูนย์กลางหรือการสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก แต่กลับมุ่งให้ประพฤติตนเพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการที่ต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม และให้เราเป็นที่พึ่งของผู้อื่น ตามหลักของ พรหมวิหาร 4 คือเมตตา คือ ความรักที่เกิดจากการมองแง่ดี ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข แม้จะไม่ใช่มิตรของตนเองกรุณา คือ การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ขณะที่มีความทุกข์ ด้วยความปรารถนาให้เค้าพ้นทุกข์ที่เขาประสบอยู่ ทั้งทางกายและทางใจมุฑิตา คือ การยินดีต่อผู้อื่นเมื่อทำความดี ประสบความสำเร็จ ปราศจากความอิจฉาริษยาอุเบกขา คือ การปล่อยวาง เมื่อเกิดความรักต่อกันแล้วต้องปล่อยวางและพึงระลึกอยู่เสมอว่า คนเราทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมรับผลแห่งความชั่ว ไม่ควรดีใจหรือเสียใจหรือซ้ำเติม ควรให้โอกาสได้ปรับปรุงตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมจากหลักธรรมดังกล่าว หากจะเปรียบน้ำที่บริสุทธิ์ใสเย็นเป็นที่พึ่งพาของสรรพสัตว์ในการดื่มกินดับกระหายร้อนฉันใด หลักธรรมของพระพุทธองค์ก็เปรียบเหมือนเครื่องขัดเกลาดับกิเลสของมนุษย์ ที่ดำรงชีวิตด้วยความทุกข์ทรมาน เพราะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่า วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรักที่แท้จริง ที่พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ เราในฐานะพุทธศาสนิกชน พึงนำเอาหลักธรรมนี้ มาน้อมนำสู่ตน เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ระดับบุคคลกับบุคคล ไปจนถึงครอบครัว สังคมและประเทศชาติด้วยการละเว้นการทุจริตทั้งปวง และมีความปรารถนาดีมีเมตตาต่อกัน

นิพพาน บทสรุปของชีวิตในสังสารวัฏ ตอนที่ 4

August 24, 2019 shantideva 0

นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสุขอื่นที่ยิ่งกว่า   คุณลักษณะที่น่าปรารถนาของนิพพาน        คุณลักษณะพระนิพพาน มีกล่าวไว้จำนวนมากในพระไตรปิฎก แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะคุณลักษณะที่น่าปรารถนา อันมีอยู่ในพระนิพพาน ซึ่งพอจะเทียบเคียงกับความรู้สึกของคนโดยทั่วไปให้เข้าใจได้   1. นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสุขอื่นที่ยิ่งกว่า (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ, นิพฺพาน สุขา ปรํ นตฺถิ)        ความสุขเป็นสิ่งที่สรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่าล้วนปรารถนากันทั้งสิ้น ที่ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสน กระวนกระวายกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อต้องการหาความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุขที่ไม่กลับกลายเป็นทุกข์อีก แต่ก็ยังแสวงหากันไม่พบ ส่วนมากความสุขที่พบและคิดว่าเป็นสุขสุดยอดแล้ว แต่ก็กลับมีทุกข์เป็นผลตามมาจนได้ เนื่องด้วยว่าความสุขอย่างอื่นเป็นสุขอันเกิดจากเจตสิก คือ สุขเวทนาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้มีความสุข เพราะเสวยอารมณ์ที่ชอบใจอันเป็นโลกิยธรรม คือ กามสุขฝ่ายอกุศล-กุศล หรือฌานสุข อันเกิดจากสมาธิขั้นสูง ความสุขเหล่านี้เกิดจากตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันเป็นตัวสมุทัย คือ ตัวเหตุแห่งทุกข์เจือปนอยู่ สิ่งใดเกิดแต่ตัณหามีตัณหาเจือปนอยู่ สิ่งนั้นย่อมนำผู้นั้นวนกลับสู่กองทุกข์อีก เพราะมีกำหนดเวลาของการเสวยสุข ฉะนั้นจึงยังเป็นสุขที่ไม่แท้จริง        ส่วนนิพพานสุข เป็นสุขที่ไม่มีเวทนา ไม่มีตัณหาเจือปนปรุงแต่ง (อสังขตธรรม) สิ่งใดที่ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมเที่ยง ยั่งยืน เป็นอมตะ ดังนั้นสุขในนิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง        การจะหาความสุขจากการสัมผัสพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ แม้เป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะยาก แต่เราก็ไม่ควรจะละเลิกใฝ่หา เพราะตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นผู้มีอุปกรณ์ คือ กายกับจิตที่พร้อมจะสัมผัสนิพพานสุขในปัจจุบันชาติได้ ถ้าปฏิบัติได้ถูกวิธี แม้บุญบารมียังมิเต็มเปี่ยมที่จะบรรลุนิพพานสุขแท้จริงในชาตินี้ได้ แต่ขณะปฏิบัติจะได้รับความสุขที่พอให้เทียบเคียงกันได้กับความสุขในพระ นิพพานเป็นลำดับไป นั่นคือ การทำใจให้หยุดนิ่ง จนบรรลุสมาธิระดับฌานต่างๆ ตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ (ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นนิพพานโดยอ้อมหรือโดยเทียบเคียง แต่สัญญาเวทยิตนิโรธ จัดเป็นนิพพานโดยตรง เพราะเป็นความสุขแท้จริงเช่นเดียวกับในอายตนนิพพาน ที่สัมผัสได้ในปัจจุบันชาติ (อํ.อฏฐก. 23/251-255)     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกความสุขในระดับฌานสุขว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกความสุขในระดับฌานสุขว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน นิพพานเข้าถึงได้ในอัตภาพปัจจุบันนี้บ้าง สันทิฏฐิกนิพพาน นิพพานที่ผู้บรรลุพึงเห็นเองบ้าง อมตธรรมบ้าง นิโรธบ้าง เป็นต้น ในภาคปฏิบัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ได้กล่าวไว้ว่า   “ ฌานนั้นแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่ให้เสื่อม ไม่ให้สร่าง ไม่ให้หายไป อยู่ฌานนั้นร่ำไปเรียกว่าได้รับความสุข ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุขเยี่ยมยอดประเสริฐเลิศกว่าในโลกนี้นัก เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แล้วก็ลืมยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทีเดียว สิ่งอื่นไม่เหลือใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส        เอาใจรูปพรหมไปนั่งอยู่บนปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานลืมยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่มาเคาะใจทั้งหลับทั้งตื่น        สูงขึ้นไป สุขสูงขึ้นไปกว่านี้ เข้าถึงอรูปฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน        เมื่อไปถึงอรูปฌานเช่นนั้นละก็ ความยินดีในรูปฌานนั้น ติดอยู่ในรูปฌานนั้นหายไป หลุดไม่ติดเลย ก็ไปติดอยู่ในอากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญาย ตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ได้รับความสุขอยู่ 840,000 มหากัลป์        เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ขอบภพข้างบนนี่ สุขเลิศประเสริฐนัก ยอดสุขของในภพมีเท่านี้แหละ สูงกว่าไม่มี ยอดแล้วถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยอดสุขในภพแล้ว ไม่มีสุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป        ถ้าจะให้สุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ต้องไปสู่ มรรค ผล นิพพาน พวกมีธรรมกายไปสู่นิพพานได้ ก็ได้ไปสอบสวนสุขในนิพพานได้ เข้าไปในนิพพานได้ เป็นนิ่งอยู่ในนิพพานเสียนี่ รับสุขในนิพพาน ทีเดียว        เมื่อได้รับสุขชนิดนี้ในนิพพานแล้ว คนที่พูดมากๆ เงียบหมด ไม่พูดแล้ว ใจคอครึ้ม …..อ่านต่อ

ศีล 5 หลักปฏิบัติสำคัญของชาวพุทธ

August 18, 2019 shantideva 0

ศีล 5นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะในบ้านเรา หรือแม้แต่ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ศีล 5 นั้นถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สุด ตามมาด้วย ศีล 8 ศีล 10 ไปจนถึง ศีล 227 ข้อสำหรับผู้ที่ถือครองสมณะเป็นพระ ก่อนที่เราจะไปอ่านรายละเอียดของศีลทั้ง 5 ข้อ เรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำเนิดหลักปฏิบัติดังกล่าวตั้งแต่เมื่อครั้งพุทธกาล ที่ถือว่าหลักปฏิบัตินี้มีความเชื่อมโยงกัน และครอบคลุมการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างครบถ้วน ประวัติของศีล 5 จากหลักฐานที่ถูกค้นพบด้านประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั้น พบว่า “ศีล” เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสมสติราช ซึ่งมิอาจระบุช่วงปีที่เกิดได้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากแล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นการเกิดขึ้นของศีลข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์ จากนั้นศีลข้อที่ 3 จึงเกิดตามมา คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม ซึ่งเมื่อเกิดการประพฤติผิดในศีลทั้ง 2 ข้อแล้วจึงเกิดเป็นการโกหก หลอกลวง ไม่ยอมรับ ไม่ยอมสารภาพผิดต่อขึ้นมา จึงเกิดเป็นศีลข้อที่ 4 คือ ห้ามพูดเท็จ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากขึ้นถึงกับมีการฆ่าแกงกัน จึงเป็นที่มาของศีลข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ ส่วนศีลข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา ตามตำนานเล่าว่าเป็นการประพฤติที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ได้มีคนเดินทางไปพบน้ำขังบริเวณตามง่ามไม้ เมื่อสังเกตไปยังนก นกได้ดื่มน้ำนั้นเข้าไปแล้วเกิดอาการเมา พยายามจะตะเกียกตะกายบินขึ้นบนฟ้าไปให้ได้ คนที่พบจึงทดลองดื่มดูรู้สึกว่าสนุกดี จึงได้น้ำที่พบนั้นไปศึกษาส่วนประกอบ ต่อมาเมื่อศีลทั้ง 5 ข้อก็ได้กลายมาเป็นบทบัญญัติของบ้านเมือง และของเหล่าบัณฑิต ในบางยุค บางสมัยที่โลกนั้นได้เจริญขึ้นในด้านจิตใจ ศีล 5 ก็กลายเป็นธรรมะ ที่เรียกว่า กุรุธรรม หมายถึง ธรรมะของชาวแคว้นกุรุ ที่อยู่ในชมพูทวีปได้ยึดถือปฏิบัติกัน   เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะ พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงนำบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท โดยเริ่มต้นจากอุบาสก อุบาสิกา นับว่าศีล 5 นั้นเป็นเรื่อง่ายที่ยากต่อการปฏิบัติในหมู่ชาวไทย อาจเป็นเพราะว่าคนไทยนั้นมีความคุ้นเคยกับการปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับศีล 5 ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องมาจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ทำให้เมื่อมายึดถือศีล 5 ก็ไม่สามารถทำได้ทุกข้อ หรืออาจทำไม่ได้เลย ความหมายของศีล เมื่อเรารู้ความเป็นมาของหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ศีล 5 แล้ว ในความเป็นจริง เรารู้กันบ้างรึเปล่าว่า “ศีล” นั้น มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง ศีล คือ “เจตนาŽ” ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ) ศีล คือ “เจตสิกŽ” หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต 3 (ความโลภอยากได้ของผู้อื่น, มีจิตคิดพยาบาท, มีความเห็นผิด) ศีล คือ ความสำรวมระวังŽ ปิดกั้นความชั่ว ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามŽ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วทำให้ศีล 5 นั้นมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นการกำหนดหลักต่างๆ ขึ้นจากสามัญสำนึกที่รู้สึกตัวว่า เมื่อเรามีความรักตัวเอง ต้องการความสุข รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต คนอื่นๆ ก็ย่อมต้องรู้สึกและมีความต้องการเช่นเดียวกับเรา เหตุนี้เองถึงแม้ว่าโลกใบนี้จะไม่มีพุทธศาสนา หรือแม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ศีล 5 ก็มีอยู่ในการดำเนินชีวิตของเราอยู่แล้ว ฉะนั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีเหตุมีผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่สัตว์เดียรัจฉานไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงอาจเห็นได้ว่า เมื่อใดที่มนุษย์มีศีล 5 อย่างครบถ้วน ความเป็นมนุษย์จึงสมบูรณ์ กายเป็นปกติ วาจาก็เป็นปกติ เมื่อใดที่มนุษย์ขาดศีล 5 ไป ความเป็นมนุษย์ก็ลดลง   การประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 เห็นได้ว่า ศีล 5 นั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยสามารถแบ่งการประพฤติปฏิบัติได้เป็น 5 ข้อที่สามารถจำแนกความเป็นมนุษย์และสัตว์ได้อย่างชัดเจนได้ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1 ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ : ซึ่งโดยปกติของมนุษย์แล้วเราจะไม่ฆ่าแกงกันเอง นั่นเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ อาทิ เสือ หรือสิงโต ที่เวลาหิวก็จะไล่ล่าสัตว์อื่นเพื่อนำมาเป็นอาหารทันที นั่นจึงทำให้เราสามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ได้อย่างชัดเจน ข้อที่ 2 ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย : โดยปกติของมนุษย์แล้วจะไม่คิดขโมย หรือลักทรัพย์สินของใคร ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปธรรมจับต้องได้ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เพราะมนุษย์มีความรอบรู้ในเรื่องของ กรรมสิทธิ์ ว่านั่นของเรา ว่านี่ของเรา แต่กับสัตว์เดียรัจฉานนั้นไม่รู้ ยกตัวอย่าง เวลาที่สุนัขกำลังเห็นแมวกินปลาอยู่ ถ้ามันมีความคิดที่อยากได้มันก็จะเข้าไปแย่งเลยทันที ฉะนั้น ถ้าใครลักขโมย หรือจี้ปล้นทรัพย์สินของคนอื่นก็แสดงว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาได้สูญเสียไปแล้ว ข้อที่ 3 ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม : มนุษย์เป็นผู้ที่รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเอง รู้ถูกผิด …..อ่านต่อ

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชให้โอวาทเนื่องในวันวิสาขบูชา

August 15, 2019 shantideva 0

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้โอวาทเนื่องในวันวิสาขบูชา โดยให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยสติ ไม่ประมาท คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม นำพาสังคมหลุดพ้นทุกข์ภัย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้โอวาทธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ความว่า วันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 ที่องค์การสหประชาชาติประกาศเช่นนี้ ก็เพื่อยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ คล้ายวันตรัสรู้ และคล้ายวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตรงกันในวันเพ็ญวิสาขะ คือ เพ็ญเดือน 6 ในราตรีแห่งการเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โปรดประทานคำสอนสุดท้าย ที่เรียกว่า ปัจฉิมโอวาท แก่เราทั้งหลายว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” จากพระพุทธดำรัสนี้ ทรงสอนให้เราพิจารณาธรรม 2 ประการ คือ ให้พิจารณาตน มิให้มัวเมาลุ่มหลงตนเอง เพราะสังขารมิอาจยืนยงยาวนาน ต้องเสื่อมสลายไปตามกฎของธรรมชาติ และให้พิจารณางาน คือ ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยสติ ไม่ประมาท คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เนื่องในวันวิสาขบูชา ปีพุทธศักราช 2557 นี้ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายได้น้อมนำปัจฉิมโอวาทมาปฏิบัติ ด้วยความไม่หลงตนเอง มุ่งทำหน้าที่ด้วยความมีสติ ไม่เบียดเบียนกัน นำพาสังคมให้หลุดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

ศาสดาของศาสนาพุทธ

July 6, 2019 shantideva 0

ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ และเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา มีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ จวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน

พระอสุรินทราหูเทวโพธิสัตตว์.

July 5, 2019 shantideva 0

ในบรรดาเทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ นั้นมีเพียงพระราหูพระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นพระโพธิสัตว์ และได้รับพระพุทธพยากรณ์แล้ว แม้พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ผู้มีบุญญาธิการอันสูงส่ง ก็มิได้เป็นพระบรมโพธิสัตตว์ ดังเช่น พระราหู เกมส์ยิงปลา ดังนั้นการนับถือ บูชา พระราหูจึงไม่ใช่การบูชาภูตผีปีศาจ แต่เป็นการบูชาพระโพธิสัตว์ ในรูปกายแห่งเทพอสูร อันเป็นคติสอนให้พิจารณาว่า อย่ามองที่รูปกายภายนอก แม้ว่ารูปกายแห่งพระราหูจะดูดุดันน่ากลัว แต่คุณธรรมภายในนั้นกลับตรงข้าม พระราหู เป็นเทพอสูรที่บำเพ็ญบารมี เพื่อบรรลุพระโพธิญาณมานับชาติไม่ถ้วน ภายในจิตใจนั้นมีแต่ความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ สิ่งเลวร้ายในชีวิตมนุษย์นั้นไซร้ ย่อมเกิดจากผลกรรมเก่า และใหม่ที่ตนก่อไว้ เมื่อถึงเวลา กรรมนั้นย่อมเป็นไปตามกลไกของมัน พระราหูเทพอสุรินทร์ เป็นเทพยุเจ้าผู้เป็นพยานแห่งการกระทำกรรมของมนุษย์ หาได้ให้ร้ายใครไม่ ! ️ ️ ส่วนเรื่องอิทธิฤทธิ์ของพระราหูนี้มีมากนัก แม้ว่าต่อมาจะเหลือร่างกายเพียงครึ่งเดียว แต่ก็ทรงตบะเดชะไม่เป็นสองรองใคร ซ้ำยังสามารถเข้าบดบังดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ได้ ซึ่งอำนาจในการบดบังดวงอาทิตย์นี้ ครูบาอาจารย์บางท่านได้กล่าวสรรเสริญไว้ว่า แม้ดวงอาทิตย์ที่ร้อนแรง ก็ยังมีพระราหูมาบดบังให้เยือกเย็น ท่านจึงว่าพระราหูนั้น มีคุณในการดับร้อนให้เป็นเย็น หรือมีอำนาจในการบังตาเป็นที่น่าอัศจรรย์ ! ในครั้งนั้น พระพุทธองค์ยังได้กล่าวถึงบุพกรรมแต่หนหลังของพระราหูว่า พระราหูเคยตั้งปณิธานไว้ว่า จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งการบำเพ็ญบารมีของพระราหู ทุกภพชาติที่ผ่านมานั้น พระพุทธเจ้าตรัสรับรองว่าจะสำเร็จแน่นอนในอนาคตกาล โดยจะบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทำให้พระราหูปลาบปลื้มโสมนัส และมีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ จนตั้งใจบำเพ็ญเพียรเพื่อพระโพธิญาณให้มากยิ่งขึ้น ในพระไตรปิฎกยังกล่าวอีกว่า พระราหูจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ” พระพุทธนารทตถาคตเจ้า” นับเป็นองค์ที่ ๕ ถัดจาก ” พระศรีอารยเมตไตรพุทธเจ้า” จากคติดังกล่าวนี้ จึงถือว่าพระอสุรินทราหู นั้นมีฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ และเป็นหน่อเนื้อพระพุทธางกูรแห่งองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่น่าเคารพบูชากราบไหว้ของชาวพุทธ ซึ่งการบูชาพระโพธิสัตว์ เป็นคตินิยมของมหายาน แต่ฝ่ายหินยานหรือในบ้านเรานั้น ก็รู้จักเรื่องพระโพธิสัตว์น้อยมาก ️ ️ พระโพธิสัตว์ บางครั้งมีรูปกายสวยงาม บางครั้งก็มีรูปกายน่ากลัว และสามารถบังเกิดในภพภูมิใดก็ได้ ดังเช่นพระราหู เป็นพระโพธิสัตว์ที่รูปกายน่ากลัว และเป็นพระโพธิสัตว์ ที่เกิดขึ้นในแดนอสูร ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระพุทธศาสนา ให้พรคนดี ย่ำยีคนชั่ว บำเพ็ญบารมีสร้างภพชาติ เพื่อสืบพระพุทธสันตติวงศ์มิให้สิ้นสูญ โปรดสรรพสัตว์ให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นมหาบารมี มหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นจึงสมควรที่จะได้รับการเคารพบูชาเช่นพระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เช่นกัน ในการอธิษฐานขอบารมีพระราหูที่ถูกต้องนั้น ให้อธิษฐานอ้างเอาคุณพระรัตนตรัยขึ้นก่อน จากนั้นอธิษฐานถึงพระราหูว่า ขออำนาจบารมี พระอสุรินทราหูเทวโพธิสัตว์เจ้า จงโปรดอำนวยอวยพรแด่ข้าพเจ้า แล้วจึงทำการอธิษฐาน ทั้งนี้เพราะพระราหูนั้น มีเพศเป็นแทตย์ และอยู่ในระดับอสูรเทพ และยังมีบารมีธรรมเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับพระพุทธพยากรณ์จากพระพุทธองค์ ว่าจะต้องสำเร็จมรรคผลโพธิญาณอย่างแน่แท้ พระโพธิสัตว์เจ้า ที่ได้รับพระพุทธพยากรณ์เช่นนี้จากพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์หน่อพุทธางกูรเที่ยงแท้ บำเพ็ญบารมีถึงขั้น “อจลภูมิ ” แล้วจึงได้รับการขนานพระนามเป็นเกียรติว่า “พระบรมโพธิสัตว์” การอธิษฐานอ้างถึงคุณงามความดีของพระราหูดังกล่าว จึงถือเป็นอาราธนาคุณของพระราหูทั้งด้านบุญฤทธิ์ และอิทธิฤทธิ์ พร้อมกันในตัว เป็นสิริมงคลแก่ผู้ระลึกถึงเป็นอย่างมาก

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

July 3, 2019 shantideva 0

เป็นวันที่มีความสำคัญเพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา และยังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วยวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้  เกมส์ยิงปลา วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีไหนมีเดือนอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองครั้งก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันที่พระสงฆ์มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ 1,250 รูปโดยมิได้นัดหมายเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต และพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงโอวาทปาฎิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยพระธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ซึ่งเมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟังจนจบ ก็มีปัจวัคคีย์ท่านหนึ่งคือ อัญญาโกญฑัญญะ ได้เข้าถึงพระธรรมเทศนาและบรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอพระพุทธเจ้าขอบวชในพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงเป็นวันที่พุทธศาสนาครบองค์ 3 คือมีพร้อมทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พุทธศาสนากำหนดให้พระภิกษุสามเณรต้องอยู่จำพรรษาประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็นที่ไม่สามารถกลับมาในวันเดียวได้ก็อนุญาตให้ไปพักแรมข้ามคืนได้คราวละไม่เกิน 7 วัน เรียกกว่า สัตตาหะ วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาและเป็นวันเริ่มต้นกฐินกาล ซึ่งเป็นเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาในการทอดกฐินตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงช่วงเวลานี้เวลาเดียวเท่านั้น หากนอกเหนือจากนั้นจะไม่เรียกว่าทอดกฐิน พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย โดยมีหลักธรรมคำสั่งสอนและมีประเพณีที่สำคัญหลายอย่างที่เป็นสิ่งเตือนใจให้ชาวพุทธได้ตระหนักถึงความสำคัญของพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับพุทธศาสนาเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความสำคัญ

อาหารต้องห้ามของอิสลาม

May 14, 2019 shantideva 0

อาหารต้องห้ามของอิสลาม 1.อาหารที่ได้จากสัตว์ ดังต่อไปนี้เว็บพนันออนไลน์ 1) หมูและหมูป่า 2) สุนัข งู และลิง 3) สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี และสัตว์อื่นที่คล้ายกัน 4) นกกินเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้งและนกที่คล้ายกันอื่น ๆ 5) สัตว์ทำลาย เช่น หนู ตะขาบ แมลงป่อง และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ 6) สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน 7) สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด ไร เหา แมลงวัน หนอน และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ 8) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ จระเข้ และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ 9) ล่อและลาทีเป็นสัตว์เลี้ยง 10) สัตว์น้ำมีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด 11) สัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม 12) เลือด

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

May 13, 2019 shantideva 0

มื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

เรื่องควรรู้ หากมีคู่ ข้ามศาสนา

May 12, 2019 shantideva 0

เพิ่งจะจบกันไป กับการประกาศคัดเลือกโป๊ป หือพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาคนใหม่ของแวดวงชาวคริสต์ สำนักข่าวบางช่อง ยังเกริ่นเล่าเรื่องราวไปถึงเรื่องของข้อเท็จจริงที่ว่า ทุกวันนี้มีผู้เปลี่ยนข้ามศาสนาไปมากันเป็นพัลวัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนตามคนรักหรือคู่ครองนั่นเอง (บางส่วนก็เปลี่ยนเอง)

พิธีกรรมทางศาสนา-ฮินดู

May 11, 2019 shantideva 0

ชาวฮินดูจะมีพิธีกรรมแบ่งเป็น ๔ หมวด ดังนี้
๑. กฎสำหรับวรรณะ แต่เดิมมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยเคร่งครัดเท่าใดนัก
๑) การแต่งงาน จะแต่งงานกับคนนอกวรรณะไม่ได้
๒) อาหารการกิน จะมีข้อกำหนดว่าสิ่งใดกินได้หรือไม่ได้ คนในวรรณะต่ำจะปรุงอาหารให้คนวรรณะสูงกว่ากินไม่ได้
๓) อาชีพ ต้องประกอบอาชีพตามกำหนดของแต่ละวรรณะ

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

May 9, 2019 shantideva 0

หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
1) หลักธรรม 10 ประการ เรียกว่า ฮินดูธรรม ได้แก่
(1) ธฤติ ได้แก่ ความมั่นคง ความกล้าหาญ คือเพียรพยายามจนสำเร็จ ประโยชน์ตามที่ประสงค์

พระพุทธศาสนา

May 9, 2019 shantideva 0

พระพุทธศาสนา มีหลักธรรมที่สำคัญที่หล่อหลอมให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาต่อกัน ได้แก่
1) สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมสำหรับสงเคราะห์หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกัน