วันเทโวโรหณะ

วันเทโวโรหณะ

October 31, 2020 shantideva edit 0

การตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นการตักบาตรเทโวนั้นเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษา ทุกวัดในไทยจะมีการจัดพิธีการตักบาตรเทโวนี้ โดยการตักบาตรเทโวนี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญของวันนี้จะเป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง คือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา

October 26, 2020 shantideva edit 0

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดการจำพรรษา 3 เดือน (นับแต่วันที่เข้าพรรษา) โดยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ซึ่งในวันออกพรรษานี้ พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา จะเป็นการได้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเมื่อถึงวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนจะยังไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโวกิจกรรมวันออกพรรษา ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาตผู้ล่วงลับ ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ร่วมกิจกรรม ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ อี ทั้งประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามสถานที่ราชการ สถานศึกษา และวัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยา ธรรมเกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป

วันเข้าพรรษา

October 23, 2020 shantideva edit 0

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างที่อื่น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2563 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม โดยประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญ กิจกรรม มีดังนี้ ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ประวัติวันมาฆบูชา

October 20, 2020 shantideva edit 0

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาของเราอีกหนึ่งวัน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น ได้นำไปเผยแผ่แก่ศาสนิกชนทั้งหลายค่ะ ความเป็นมาวันมาฆบูชา ๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา

หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา

October 17, 2020 shantideva edit 0

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันที่สำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชน มีการทำพิธีพุททธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ 1. ความกตัญญู คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งบิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป 2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่ – ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือความยากจน เป็นต้น – สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก “ตัณหา” อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด – นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้ – มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ 3. ความไม่ประมาท คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้น ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration)

October 17, 2020 shantideva edit 0

การปริวรรตอักษรหรือการเขียนคำทับศัพท์ (transliteration) การปริวรรตอักษร หรือการเขียนคำทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงอักษรหรืออักขรวิธีจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เมื่อปริวรรตแล้วสามารถแปลงกลับเป็นอักษรหรืออักขรวิธีเดิมได้ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก และใกล้เคียงอักขรวิธีการเขียนเดิมให้ได้มากที่สุด เช่น การปริวรรตอักษรโรมันภาษาอังกฤษ มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการปริวรรตอักษรภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็น ปกติแล้วการปริวรรตอักษรคือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำหรืออักษรต่ออักษร การปริวรรตอักษรได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำปริวรรตอักษรได้ ดังนั้นจึงมีการกำหนดหลักการปริวรรตอักษรที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย ความหมายอย่างแคบของการปริวรรตอักษรคือ การปริวรรตอักษรแบบถอดอักษร (transliteration)นั้นเป็นการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา เนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้มากที่สุด การปริวรรตอักษรเป็นการถอดอักษร ต่างจากการถอดเสียง (transcription) ซึ่งเป็นการจับคู่เสียงอ่านของภาษาหนึ่ง ๆ ไปยังรูปแบบการเขียนของอีกภาษาที่ใกล้เคียงที่สุด ถึงแม้ว่าระบบการถอดอักษรส่วนใหญ่จะยังคงจับคู่อักษรต้นฉบับกับอักษรในภาษาเป้าหมายที่ออกเสียงคล้ายกันในบางคู่ ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงเหมือนกันทั้งสองภาษา การถอดอักษรก็อาจแทบจะเหมือนกับการถอดเสียง

การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล (IAST)

October 15, 2020 shantideva edit 0

การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล หรือ The International Alphabet of Sanskrit Transliteration (IAST) เป็นรูปแบบการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน(Romanization) รูปแบบหนึ่งที่ปราศจากการสูญเสีย(Lossless) คือสามารถจับคู่อักษรต้นทางและปลายทางได้ครบคู่ โดยมากอักษรต้นทางนั้นมักเป็นอักษรอินเดียตระกูลต่างๆ(Indic Script) นอกจากใช้ปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตให้เป็นอักษรโรมัน ยังนิยมใช้ปริวรรตอักษรภาษาปรากฤต อื่นๆเช่น ภาษาบาลี และภาษาอปภรัมศะ เป็นต้น แต่เดิมในการการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมันยังไม่ได้มีมาตรฐานกลางที่ใช้ร่วมกันแต่ใช้วิธีการปริวรรตตามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่าน ดังที่แสดงในรูปที่ 2.4 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1894 มีการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับด้านตะวันออกศึกษาหรือเอเชียศึกษาในปัจจุบัน การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 10 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ (10th International Congress of Orientalists, Held at Geneva) มีมติที่ประชุมให้รวมรูปแบบการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตและบาลีเป็นอักษรโรมัน จากสองรูปแบบหลัก 2 รูปแบบคือ รูปแบบการปริวรรตของ ราชสมาคมเอเชียแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland) [15]และรูปแบบของสมาคมตะวันออกศึกษาแห่งเยอรมัน (German Oriental Society : Deutsche Morgenländische Gesellschaft) และตีพิมพ์สรุปรายงานการประชุมในปีเดียวกันเป็นภาษาฝรั่งเศสลงในหนังสือ Xme Congrès International des Orientalistes, Session de Genève. Rapport de la Commission de Transcription (1894) จากนั้นในปี ค.ศ.1895 ราชสมาคมเอเชียแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ได้แปลสรุปรายงานการประชุมเป็นภาษาอังกฤษลงในวารสารราชสมาคมเอเชีย [16] ต่อมารูปแบบการปริวรรตนี้ มีความสำคัญทางวิชาการภาษาสันสกฤตมาก จึงได้เป็น “การปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตสากล” หรือ “The International Alphabet of Sanskrit Transliteration” (IAST) เพราะเป็นมาตรฐานหลักการปริวรรตอักษรภาษาสันสกฤตเป็นอักษรโรมัน (Romanization) จนถึงปัจจุบัน

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา Authenticity of Early Buddhist Texts

October 12, 2020 shantideva edit 0

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา Authenticity of Early Buddhist Texts พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในไตรปิฎกได้รับการกล่าวอ้างว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมากว่า 2,500 ปี แต่กระนั้นชิ้นส่วนคัมภีร์โบราณที่สุดที่เราค้นพบมีอายุเพียง 2,000 ปี และตามประวัติก็ระบุว่าเคยถูกทรงจำไว้ด้วยปากเปล่ามานาน 500 ปีก่อนจะได้รับการบันทึก มีอะไรที่พอจะยืนยันให้เราแน่ใจได้ว่านั่นเป็นคำสอนของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “พระพุทธเจ้า” จริง หรืออย่างน้อยก็บรรจุคำสอนของบุคคลท่านนี้โดยไม่ผิดเพี้ยนดังที่ประเพณีสืบทอดได้กล่าวอ้างไว้ อันที่จริงในพระไตรปิฎกนั้นมีคัมภีร์หลายชั้นซ้อนทับกันอยู่ และไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้าทั้งหมด แต่ด้วยวิธีวิทยา(Methodology) เราสามารถสืบย้อนได้ว่าคัมภีร์ใดเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมและคัมภีร์ใดเป็นรุ่นหลัง แม้ว่าเราจะไม่อาจทราบถ้อยคำที่พระองค์ตรัสโดยตรง แต่มีวิธีการที่ใช้สืบอันทำให้เชื่อได้ว่าคำสอนเหล่านี้มีที่มาย้อนไปถึงพระพุทธเจ้าและสมัยพุทธกาลโดยตรง โดยคัมภีร์ที่นับได้ว่าอยู่ในรุ่นดั้งเดิมพบในพระสุตตันตปิฎกใน 4 นิกายแรกเป็นหลัก(ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย) และบางส่วนของขุททกนิกาย(สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน เถรคาถา เถรีคาถา) รวมทั้งส่วนใหญ่แห่งพระวินัยปิฎก

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

October 10, 2020 shantideva edit 0

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา” • สำนวนท่องจำใช้คำและวลีซ้ำๆ ไม่ใช่สำนวนเขียนร้อยเรียง แสดงว่าเคยถูกใช้ท่องสวดมีมาตรฐานและมีคำร่วมความหมายเพื่อให้เนื้อความกระจ่าง • ประเพณีสืบทอดผ่านปากเปล่าและความทรงจำล้วนๆ (มุขปาฐะ) ถูกจัดตั้งขึ้นในอินเดียมายาวนานมากแล้ว มีมาตรฐานเพื่อความชัดเจนและระบบท่องสวดเป็นหมู่เพื่อความแม่นยำ (ปัจจุบันยังมีพระสงฆ์ที่ท่องจำครบทั้งไตรปิฎกอยู่) • ภาษาบาลีเป็นภาษาอินเดียเหนือแม้จะถูกจารในลังกาเป็นคราแรกแต่ไม่ปรากฏอิทธิพลภาษาอินเดียใต้และลังกา (แสดงถึงท่าทีอนุรักษ์สูง) • เนื้อหาสอดคล้องกับสภาพสังคมอินเดียยุคศตวรรษที่ 5-4 ก่อนศักราชสากล (ซึ่งถือว่าเป็นสมัยพุทธกาล) ไม่มีเค้ารอยเอ่ยถึงเทคโนโลยีและศิลปวิทยาการในยุคหลังกว่านั้นเพียงไม่กี่ศตวรรษ เช่น การก่อสร้างด้วยหิน การเขียน ไม่รู้จักเทพฮินดูที่นิยมในรุ่นหลังและไม่เอ่ยถึงดินแดนที่ห่างออกไปทางใต้ • เนื้อหาที่ชัดเจนและสมจริงในชีวิตประจำวัน ไม่มีอภินิหารที่เกินเลยชีวิตธรรมดามากเกินไปอย่างตำนานยุคหลัง • มีเนื้อหาบางประการที่แปลกประหลาดและสวนกับแนวคิดของคนทั่วไป แสดงความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต เช่นปัญหาด้านสุขภาพของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการบริหารคณะสงฆ์ พระสาวกที่ไม่เชื่อฟัง พระพุทธะดูไม่ต่างจากภิกษุทั่วไป ฯลฯ (ซึ่งหากคัมภีร์ถูกแต่งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สร้างศรัทธาก็ไม่น่าจะใส่เนื้อหาเช่นนี้เข้ามา หรือถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงก็น่าจะตัดเนื้อหาพวกนี้ออกไป แต่การคงไว้สื่อถึงความอนุรักษ์อย่างจริงใจ) • สภาพการเมืองในพระคัมภีร์ อินเดียแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ต่างๆ เช่น มคธ โกศล วัชชี อวันตี วังสะ ฯลฯ ต่างจากสมัยพระเจ้าอโศกเหลือเพียงอาณาจักรมคธที่รวบรวมอินเดียเป็นแผ่นเดียวสมบูรณ์ใน 2 ศตวรรษให้หลัง (แต่แคว้นโกศลกับวัชชีหลังพุทธกาลทันทีก็ไม่เหลือ ได้กลายเป็นมคธไปแล้ว) *เนื้อหาจึงไม่อาจเกิดหลังยุคพุทธกาลได้* • เปรียบเทียบภายในพุทธศาสนาระหว่างนิกายซึ่งแยกไปนานกว่า 2,300 ปี รักษาในต่างภาษาคือบาลีและจีน รวมทั้งทิเบต สันสกฤต และอื่นๆที่ค้นพบใหม่ในโบราณคดี แม้เป็นของนิกายต่างกัน ต่างสายการสืบทอด แต่กลับปรากฏคัมภีร์ร่วมกัน หลักธรรมคำสอนและ พระสูตรเดียวกัน พระวินัยมีสาระเดียวกัน อันจะสืบสาวไปได้ว่าเป็นสิ่งที่มีมาก่อนยุคแยกนิกายและใกล้เคียงต้นกำเนิดพุทธที่สุด (ซึ่งก็มีเนื้อความสาระไม่ต่างไปจากพระสูตรและพระวินัยที่อยู่ในสายเถรวาทบาลี) • ความสมานสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวของคำสอนจำนวนมากสื่อว่าต้องมาจากบุคคลเดียวเท่านั้น หรือต่อให้มีหลายผู้รวบรวมเรียบเรียงก็จะต้องมาจากแหล่งเดียวกัน

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

October 8, 2020 shantideva edit 0

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts วงการพุทธศาสนศึกษา(Buddhist studies) หรือการศึกษาพุทธศาสนาเชิงวิชาการในโลกตะวันตกมีความแปลกแตกต่างจากวงการศึกษาคริสตศาสนา เนื่องจากนักวิชาการผู้ที่ศึกษาคริสต์เชิงวิชาการนั้นส่วนมากมีที่มาจากวงใน กล่าวคือเป็นศาสนิกชนชาวคริสต์ที่ต้องการหาเหตุผลและข้อมูลหลักฐานยืนยันรับรองข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์และเนื้อหาในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ส่วนวงการศึกษาพุทธศาสนาส่วนใหญ่มาจากวงนอกคือเป็นนักวิชาการชาวตะวันตกที่มิใช่ชาวพุทธแต่มีความสนใจใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์และคำสอนของประเพณีทางจิตวิญญาณตะวันออกโดยปราศจากความพยายามที่จะยืนยันความจริงแท้แต่อย่างใด นักวิชาการเหลานี้มีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่โดยรวมนักวิชาการมีมติร่วมกันว่าส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์พุทธดั้งเดิมเป็นเนื้อหาเดิมแท้จริง(authentic) ส่วนนักวิชาการบางท่านที่ตั้งข้อสงสัยแบบสุดโต่งนั้นเป็นผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนายุคหลังหรือประวัติศาสตร์ในถิ่นอื่นเช่นเส้นทางสายไหม (มิใช่ผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนาดั้งเดิมโดยเฉพาะ) ที่ทำให้ข้อคิดเห็นข้ามพื้นที่ชำนาญการของตน สำหรับผู้สนใจศึกษาที่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและมีข้อสงสัย การรับฟังมติของผู้ที่อุทิศตนค้นคว้าในเนื้อหาเฉพาะด้านจึงเป็นแนวทางที่ดีในการหาข้อสรุปเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือกว่าผู้ที่ไม่ชำนาญการเฉพาะ อนึ่ง นักวิชาการที่ได้ค้นคว้าทางพุทธาศาสนาระดับสากลที่รับรองความสมจริงดั้งเดิมของพุทธคัมภีร์ส่วนใหญ่มิได้เป็นชาวพุทธหรือไม่ประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ บางท่านเป็นนักบวชในคริสตศาสนาด้วยซ้ำ เช่น ศ.ลามอตต์ จึงมีความน่ารับฟังในแง่ที่ปราศจากอคติส่วนตน

สาระเรื่องสาละ (ต้นไม้ในพุทธกาล)

October 6, 2020 shantideva edit 0

สาระเรื่องสาละ บทความนี้จะกล่าวถึงต้นสาละอินเดียจริงๆ ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ต้นลูกปืนใหญ่( Couroupita guianensis) บางครั้งเรียกว่า สาละลังกา ที่เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สาละ เป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง ถิ่นกำเนิดของต้นสาละ พบใน คือทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยจากพม่าทางตะวันออกไปยังประเทศเนปาล พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และบังคลาเทศ ในอินเดียครอบคุมเขตรัฐอัสสัม,เบงกอล,โอริสสาและรัฐฌารขัณฑ์ไปทางตะวันตก จดแถบรัฐหรยาณา บริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำยมุนา และทางตะวันออกรัฐมัธยประเทศ เดิมไม่พบในไทย ปัจจุบันมีการนำเข้ามาปลูกกันมากขึ้น ป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้สาละหรือ ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า ต้นสาละ เป็นพืชเศรฐกิจมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย ส่วนยางนั้นสามารถนำมาทำยาและเครื่องหอมได้อีกด้วย สาละในพุทธศาสนาปรากฎอยู่บ่อยๆในพระไตรปิฎก และเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติอยู่มาก ที่สำคัญคือพุทธประวัติตอน ประสูติ – ตรัสรู้ – ปรินิพพาน  ตอนประสูติ  พระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดประสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีประสูติการที่กรุงเทวทหะ ตามธรรมเนียม เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่สวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้สาละ พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท ขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละและได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร “ ตอนตรัสรู้ เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำแม่น้ำเนรัญชลา เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฎว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ตอนปรินิพพาน เมื่อพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในเวลาต่อมา เดิมทีความเข้าใจเกี่ยวกับต้นสาละหรือต้นซาล ของชาวไทยยังค่อนข้างสับสนกันอยู่ เดิมเข้าใจว่าต้นสาละ เป็นต้นเดียวกันกับ ต้นรัง(ไทย) ต่อมาก็สับสนกับต้นลูกปืนใหญ่ อีก รูปต้นสาละกำลังออกดอกบานเต็มต้น   ผลของต้นสาละ

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต

October 4, 2020 shantideva edit 0

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตมักใช้ในการบันทึกวรรณกรรม วรรณคดีโบราณ ศิลปวิทยาการต่างๆ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาในอินเดีย และเป็น ภาษาที่มักใช้แปลคัมภีร์อื่นนอกอินเดีย ตัวอย่างเช่น คัมภีร์เต้าเต๋อจิง และ คัมภีร์ไบเบิล หรือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ อินเดียเป็นพื้นที่มีศาสนิกต่างศาสนามารวมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องด้วยเป็นชุมทางการค้าขายทั้งทางบกและทะเล แม้แต่ศาสนาเก่าแก่อย่าง ยูดาย และโซโรอัสเตอร์ ก็มีหลักฐานในอินเดียอย่างยาวนาน อย่างศาสนาคริสต์ไม่ใช่เพิ่งเข้ามาตอนในอินเดียช่วงตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีชุมชนคริสเติยนในอินเดียมานานแล้ว โดยมากเป็นแถวอินเดียใต้ กล่าวกันว่า ศาสนาคริสต์เข้ามาอินเดีย พอๆกับ ศาสนาคริสต์เข้าไปในกรีกและยุโรป คือใน 100 ปีแรกหลังจากพระคริสต์ถูกตรึงกางเขน ในประวัติศาสตร์คริสเตียน กล่าวถึง โธมัสอัครทูต ได้ออกเทศนาสั่งสอนในแถบเปอร์เชีย มีเดีย และล่วงเลยเข้าไปในประเทศอินเดีย ชาวคริสเตียนในอินเดียเชื่อว่า โธมัสอัครทูต เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 72 ใกล้เมืองเชนไนในประเทศอินเดีย คัมภีร์ไบเบิล หรือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางส่วนมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของคัมภีร์ของชาวยิว คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว แต่เป็นชุดหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคนและหลายช่วงเวลา โดยแยกเป็น 2 ส่วนคือ พันธสัญญาเดิม (The Old Testament) เป็นคัมภีร์ของชาวยิว เป็นชุดหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นก่อนการประสูติของพระเยซู มีจำนวน 39 เล่ม (นับเฉพาะคัมภีร์ฮีบรู ที่ทุกนิกายเห็นตรงกัน ไม่รวมคัมภีร์อธิกธรรมในนิกาย โรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์) พันธสัญญาใหม่ (The New Testament) เป็นชุดหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นภายหลังจากการการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซู มีจำนวน 27 เล่ม คัมภีร์ไบเบิล ถือว่าเป็นหนังสือที่ถูกแปลในภาษาอื่นๆ และภาษาท้องถิ่น มากที่สุด และเป็นหนังสือที่มีการปรับปรุงการแปลให้เหมาะกับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา แม้แต่แต่ภาษา Emoji สัญลักษณ์น่ารักๆ ที่เรามักใช้สื่อสารแทนการแสดงอารมณ์ ก็มีการแปลแล้ว ( พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ Scripture 4 Millenials) และอีกหนึ่งภาษาในนั้นก็คือ ภาษาสันสกฤต ทว่าคัมภีร์ไบเบิลภาษาสันสกฤต ไม่ใช่ฉบับดังเดิมที่ใช้ในชุมชนคริสต์ดังเดิมในอินเดีย แต่เป็นการแปลขึ้นมาใหม่