เหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธของข้าพเจ้า

March 20, 2020 shantideva edit 0

หนึ่งในคำถามที่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าสนใจที่สุดคำถามหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้าและตอบยากมากที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า คือ “เหตุใดข้าพเจ้าจึงนับถือศาสนาพุทธ” คำถามนี้เป็นประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นทั้งจากผู้คนที่รู้จักซึ่งพยายามชักชวนให้ข้าพเจ้าเข้ารีตในความเชื่อของเขา ไปจนถึงรุ่นพี่ที่น่าเคารพนับถือซึ่งไม่มีความเชื่อในศาสนา

วันอัฏฐมีบูชา

October 7, 2019 shantideva 0

  วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำแห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”     ประวัติความเป็นมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่ ความสำคัญ โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล พิธีอัฏฐมีบูชา การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, …..อ่านต่อ

วันอาสาฬหบูชา

October 5, 2019 shantideva 0

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา     ดังนั้นธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้น ชมพูทวีปในสมัยโบราณกำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภท ทั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียนในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘    ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา …..อ่านต่อ

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

September 19, 2019 shantideva 0

การพิจารณาความหมายของศาสนา นักวิชาการได้แบ่งองค์ประกอบของศาสนาเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย 1. ผู้ก่อตั้ง หรือ ศาสดา ซึ่งผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบวชเป็นโยคีสิตธัตถะแล้วศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาโมกขธรรมจนค้นพบสัจธรรม ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย แล้วประกาศศาสนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 2. หลักคำสอน หรือศาสนธรรม ทุกศาสนาต้องมีหลักคำสอนเป็นสารัตถะ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัต ิในการดำเนินชีวิตในสังคมและหาเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ทางพุทธศาสนาเรียก นิพพาน หลักคำสอนของศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม โดยมีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นคัมภีร์ เรียกว่าพระไตรปิฎก นักบวช สาวก 3. นักบวช สาวก หรือ ศาสนบุคคล ศาสนาพุทธได้มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการปฏิบัติ การศึกษาและการเผยแผ่ของพระสงฆ์ เป็นหลัก 4. ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน หมายถึงผู้ที่เลื่อมใส พระรัตนตรัย แล้วศึกษาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5. ศาสนสถาน ศาสานวัตถุ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ที่ปรากฎในพุทธประวัติ อันได้แก่สังเวชชนียสถาน หรือสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น 6. พิธีกรรม หรือพุทธศาสนพิธี หมายถึงกิจกรรม ของพุทธบริษัทต้องปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อาทิ การอุปสมบท การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน หรือในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

ศีล 5 หลักปฏิบัติสำคัญของชาวพุทธ

August 18, 2019 shantideva 0

ศีล 5นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะในบ้านเรา หรือแม้แต่ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ศีล 5 นั้นถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สุด ตามมาด้วย ศีล 8 ศีล 10 ไปจนถึง ศีล 227 ข้อสำหรับผู้ที่ถือครองสมณะเป็นพระ ก่อนที่เราจะไปอ่านรายละเอียดของศีลทั้ง 5 ข้อ เรายังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำเนิดหลักปฏิบัติดังกล่าวตั้งแต่เมื่อครั้งพุทธกาล ที่ถือว่าหลักปฏิบัตินี้มีความเชื่อมโยงกัน และครอบคลุมการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างครบถ้วน ประวัติของศีล 5 จากหลักฐานที่ถูกค้นพบด้านประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั้น พบว่า “ศีล” เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสมสติราช ซึ่งมิอาจระบุช่วงปีที่เกิดได้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากแล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นการเกิดขึ้นของศีลข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์ จากนั้นศีลข้อที่ 3 จึงเกิดตามมา คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม ซึ่งเมื่อเกิดการประพฤติผิดในศีลทั้ง 2 ข้อแล้วจึงเกิดเป็นการโกหก หลอกลวง ไม่ยอมรับ ไม่ยอมสารภาพผิดต่อขึ้นมา จึงเกิดเป็นศีลข้อที่ 4 คือ ห้ามพูดเท็จ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากขึ้นถึงกับมีการฆ่าแกงกัน จึงเป็นที่มาของศีลข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์ ส่วนศีลข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา ตามตำนานเล่าว่าเป็นการประพฤติที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ได้มีคนเดินทางไปพบน้ำขังบริเวณตามง่ามไม้ เมื่อสังเกตไปยังนก นกได้ดื่มน้ำนั้นเข้าไปแล้วเกิดอาการเมา พยายามจะตะเกียกตะกายบินขึ้นบนฟ้าไปให้ได้ คนที่พบจึงทดลองดื่มดูรู้สึกว่าสนุกดี จึงได้น้ำที่พบนั้นไปศึกษาส่วนประกอบ ต่อมาเมื่อศีลทั้ง 5 ข้อก็ได้กลายมาเป็นบทบัญญัติของบ้านเมือง และของเหล่าบัณฑิต ในบางยุค บางสมัยที่โลกนั้นได้เจริญขึ้นในด้านจิตใจ ศีล 5 ก็กลายเป็นธรรมะ ที่เรียกว่า กุรุธรรม หมายถึง ธรรมะของชาวแคว้นกุรุ ที่อยู่ในชมพูทวีปได้ยึดถือปฏิบัติกัน   เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะ พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงนำบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท โดยเริ่มต้นจากอุบาสก อุบาสิกา นับว่าศีล 5 นั้นเป็นเรื่อง่ายที่ยากต่อการปฏิบัติในหมู่ชาวไทย อาจเป็นเพราะว่าคนไทยนั้นมีความคุ้นเคยกับการปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับศีล 5 ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องมาจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ทำให้เมื่อมายึดถือศีล 5 ก็ไม่สามารถทำได้ทุกข้อ หรืออาจทำไม่ได้เลย ความหมายของศีล เมื่อเรารู้ความเป็นมาของหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ศีล 5 แล้ว ในความเป็นจริง เรารู้กันบ้างรึเปล่าว่า “ศีล” นั้น มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง ศีล คือ “เจตนาŽ” ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ) ศีล คือ “เจตสิกŽ” หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต 3 (ความโลภอยากได้ของผู้อื่น, มีจิตคิดพยาบาท, มีความเห็นผิด) ศีล คือ ความสำรวมระวังŽ ปิดกั้นความชั่ว ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามŽ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วทำให้ศีล 5 นั้นมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นการกำหนดหลักต่างๆ ขึ้นจากสามัญสำนึกที่รู้สึกตัวว่า เมื่อเรามีความรักตัวเอง ต้องการความสุข รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต คนอื่นๆ ก็ย่อมต้องรู้สึกและมีความต้องการเช่นเดียวกับเรา เหตุนี้เองถึงแม้ว่าโลกใบนี้จะไม่มีพุทธศาสนา หรือแม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ศีล 5 ก็มีอยู่ในการดำเนินชีวิตของเราอยู่แล้ว ฉะนั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีเหตุมีผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่สัตว์เดียรัจฉานไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงอาจเห็นได้ว่า เมื่อใดที่มนุษย์มีศีล 5 อย่างครบถ้วน ความเป็นมนุษย์จึงสมบูรณ์ กายเป็นปกติ วาจาก็เป็นปกติ เมื่อใดที่มนุษย์ขาดศีล 5 ไป ความเป็นมนุษย์ก็ลดลง   การประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 เห็นได้ว่า ศีล 5 นั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยสามารถแบ่งการประพฤติปฏิบัติได้เป็น 5 ข้อที่สามารถจำแนกความเป็นมนุษย์และสัตว์ได้อย่างชัดเจนได้ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1 ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ : ซึ่งโดยปกติของมนุษย์แล้วเราจะไม่ฆ่าแกงกันเอง นั่นเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ อาทิ เสือ หรือสิงโต ที่เวลาหิวก็จะไล่ล่าสัตว์อื่นเพื่อนำมาเป็นอาหารทันที นั่นจึงทำให้เราสามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ได้อย่างชัดเจน ข้อที่ 2 ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย : โดยปกติของมนุษย์แล้วจะไม่คิดขโมย หรือลักทรัพย์สินของใคร ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปธรรมจับต้องได้ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เพราะมนุษย์มีความรอบรู้ในเรื่องของ กรรมสิทธิ์ ว่านั่นของเรา ว่านี่ของเรา แต่กับสัตว์เดียรัจฉานนั้นไม่รู้ ยกตัวอย่าง เวลาที่สุนัขกำลังเห็นแมวกินปลาอยู่ ถ้ามันมีความคิดที่อยากได้มันก็จะเข้าไปแย่งเลยทันที ฉะนั้น ถ้าใครลักขโมย หรือจี้ปล้นทรัพย์สินของคนอื่นก็แสดงว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาได้สูญเสียไปแล้ว ข้อที่ 3 ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม : มนุษย์เป็นผู้ที่รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเอง รู้ถูกผิด …..อ่านต่อ

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

July 13, 2019 shantideva 0

การพิจารณาความหมายของศาสนา นักวิชาการได้แบ่งองค์ประกอบของศาสนาเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย 1. ผู้ก่อตั้ง หรือ ศาสดา ซึ่งผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบวชเป็นโยคีสิตธัตถะแล้วศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาโมกขธรรมจนค้นพบสัจธรรม ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย แล้วประกาศศาสนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 2. หลักคำสอน หรือศาสนธรรม ทุกศาสนาต้องมีหลักคำสอนเป็นสารัตถะ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัต ิในการดำเนินชีวิตในสังคมและหาเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ทางพุทธศาสนาเรียก นิพพาน หลักคำสอนของศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม โดยมีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นคัมภีร์ เรียกว่าพระไตรปิฎก นักบวช สาวก 3. นักบวช สาวก หรือ ศาสนบุคคล ศาสนาพุทธได้มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการปฏิบัติ การศึกษาและการเผยแผ่ของพระสงฆ์ เป็นหลัก 4. ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน หมายถึงผู้ที่เลื่อมใส พระรัตนตรัย แล้วศึกษาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5. ศาสนสถาน ศาสานวัตถุ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ที่ปรากฎในพุทธประวัติ อันได้แก่สังเวชชนียสถาน หรือสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น 6. พิธีกรรม หรือพุทธศาสนพิธี หมายถึงกิจกรรม ของพุทธบริษัทต้องปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อาทิ การอุปสมบท การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน หรือในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น  

นิยามและความเป็นมา ศาสนาพุทธ

July 11, 2019 shantideva 0

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า (๑) เป็นศาสดา มีพระธรรม (๒) คือ ธรรมะเกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ มีพระสงฆ์ (๓) คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย  เกมส์ยิงปลา ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันเรียกว่าพุทธคยา จากนั้นพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาท และมหายาน พุทธศาสนา หรือศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้า เป็นศาสดา (คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือ ผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่) มีพระธรรม คือ ธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ (ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ) มีพระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย

ศาสดาของศาสนาพุทธ

July 6, 2019 shantideva 0

ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ และเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา มีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ จวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน

สุดยอดคุณธรรม”พระมหากัสสป”

June 18, 2019 shantideva 0

1.เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา บุตรที่ดีต้องเคารพเชื่อฟังบิดามารดา พระมหากัสสปะขณะเป็นปิปผลิมาณพถึงแม้ยังไม่อยากแต่งงาน แต่เมื่อเป็นความประสงค์ของบิดามารดาก็พยายามปฏิบัติตาม shantideva.net 2.เป็นผู้มีสัจจะ เมื่อได้ลั่นวาจาว่า ถ้าบิดามารดาสามารถหาสตรีที่สวยงามดุจรูปหล่อทองคำก็ยินยอมแต่งงานด้วย ครั้งเมื่อมีสตรีที่งดงามเช่นนั้นจริงท่านก็ปฏิบัติตามสัญญาไม่ยอมคืนคำ 3.เป็นผู้ที่ความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง ข้อนี้ปรากฏชัดแจ้งเมื่อครั้งที่ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้ยินพระหลวงตารูปหนึ่งกล่าวดูหมิ่นพระพุทธเจ้า ท่านนึกสลดใจว่าต่อไปภายหน้าจะเป็นเช่นไร เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้วท่านจึงเป็นกำลังสำคัญในการสังคายนาพระธรรมวินัย จัดการชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์ เป็นการตอบแทนพระคุณพระพุทธเจ้า 4.มีชีวิตเรียบง่าย ท่านชอบปลีกตัวไปอยู่สงบตามลำพังในป่า ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร อยู่ป่าเป็นวัตร สมเป็น “สมณะ”(ผู้สงบ)อย่างแท้จริง การมีชีวิตเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นนี้ ชาวบ้านสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้ตามเหมาะสม 5.เป็นตัวอย่างในทางที่ดีงาม ความเป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย การประพฤติขัดเกลาตนเองด้วยการถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด ซึ่งความจริงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องขัดเกลาตนเองอีกต่อไปแล้ว แต่ที่ท่านเน้นความเคร่งครัดเป็นพิเศษ ก็เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนภายหลังแบบอย่างอีกประการหนึ่งที่ท่านวางไว้ก็คือ “ความมีวิญญาณ” แห่งการสืบทอดพระศาสนาเมื่อคราวพระพุทธศาสนามัวหมองเพราะถูกหมิ่นหรือบิดเบือนความจริง แม้ท่านเป็นผู้สงบโดยนิสัยก็นิ่งดูดาย ได้ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องทำความจริงให้ปรากฏและความเข้าใจให้กระจ่าง ดังได้เป็นการเป็นประธานในการสังคายนาพระธรรมวินัยดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผลงานของท่านทำให้มีพระไตรปิฏกที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์สืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ starvegas-slot.com

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย

May 23, 2019 shantideva 0

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ศิลปะศรีวิชัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือ ประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว สำริด สูง ๖๓.๕ เซนติเมตร พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประติมากรรมนี้เหลือเพียงส่วนองค์ท่อนบน ลักษณะยืนเอียง พระวรกาย ทรงศิราภรณ์ ซึ่งส่วนบนหักหายไป พระเนตรเหลือบ ลงต่ำ ทรงเครื่องประดับต่างๆ อาทิ สร้อยประคำ กรองศอ ครองผ้าเฉวียงพระอังสาหรือไหล่ซ้าย คาดทับด้วยสายยัชโญปวีตหรือสายธุรำ อันเป็นสายมงคลที่พราหมณ์หรือนักบวชใช้คล้อง โดยมีหัวกวางประดับอยู่บนสายนั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นรูปเคารพของพุทธศาสนานิกายมหายาน เชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้คุ้มครองชาวพุทธที่นับถือนิกายดังกล่าวในยุคปัจจุบัน พระนาม “อวโลกิเตศวร” แปลว่า “พระผู้มองลงต่ำ” หรือ “พระผู้มีแสงสว่าง” ส่วนพระนาม “ปัทมปาณี” แปลว่า “ผู้ถือดอกบัว” ดังนั้น จึงพบว่ารูปเคารพของพระองค์มักมีดอกบัวอยู่ในพระหัตถ์เสมอ รูปเคารพนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือ พุทธศาสนานิกายมหายานของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว

พระมหาโพธิสัตว์กษิติครรภ์ ผู้ยิ่งยวดด้วยมหาปณิธาน

May 22, 2019 shantideva 0

พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศานานิกายมหายาน เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงได้รับการเคารพนับถือและมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าพระโพธิสัตว์อื่นๆ ทรงปรากฏชื่อในพระสูตรชื่อ “ตี่จั่งอ๊วงพู่สักบึ้งง่วนเก็ง” โดยแปลจากภาษาสันสกฤต พระสูตรนี้กล่าวถึงพระมหาปณิธานของพระองค์ท่าน โดยมีปณิธานดังนี้ คือ “ตราบใดที่นรกยังไม่สูญ คือ ไม่ว่างจากสัตว์นรก ตราบนั้นก็จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ” พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงโปรดสัตว์ในภพภูมิต่างๆ คือ มนุษย์ เทวดา อสูร เปรต และสัตว์เดรัจฉาน รวมทั้งสัตว์ในนรกภูมิ ทรงเต็มไปด้วยความเมตตา ทรงปฏิบัติพระองค์เพื่อช่วยสรรพสัตว์ทั้ง 6 เหล่า โดยทรงแผ่กุศลปัตติทานให้ อันเป็นผลกรรมนำสรรพสัตว์ไปสู่สุคติ ได้บรรลุมรรคผลไปแล้วมากมายเกินจะนับได้ ตลอดระยะเวลานานเป็นอสงไขยกับป์อันประมาณมิได้  คาสิโนออนไลน์ การถืออุบัติ​ กำเนิดของพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์มีการกล่าวถึงเป็น 2 นัย นัยหนึ่งกล่าวว่าชาติกำเนิดเดิมของพระองค์เป็นธิดาพราหมณ์ อีกนัยหนึ่งเล่าเป็นเชิงตำนานว่าพระองค์เกิดเป็นราชกุมารแห่งอาณาจักรซิลลา ซึ่งภายหลังได้ออกผนวชเป็นเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา กำเนิดในฐานะธิดาพราหมณ์ พระกษิติครรภโพธิสัตว์ทรงเคยถือกำเนิดเป็นบุตรีในสกุลพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง บิดาฃื่อ “ชีรชิณณพราหมณ์” มารดาชื่อ “ยัฏฐีลีพราหมณี” บิดาได้ถึงแก่กรรมก่อนมารดา จึงทำให้อาศัยอยู่กับมารดาตลอดมา พระองค์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพราหมณี เป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นคนใจดีมีเมตตา อยู่ในศีลในธรรม ส่วนมารดานั้นกลับประพฤติตรงข้ามกับบุตรี ไม่นับถือพระรัตนตรัย ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์หรือนรก แม้ว่าพราหมณีบุตรีจะชักชวนหรือโน้มน้าวจิตใจอย่างไร เพราะนางยัฏฐีลีพราหมณีมีมิจฉาทิฐฐิรุนแรง ต่อมา นางยัฏฐีลีพราหมณี ได้ถึงแก่กรรมลง ผลกรรมที่นางทำไว้ทำให้นางไปตกนรกอเวจี ฝ่ายทางนางพราหมณีบุตรี เมื่อมารดาได้ถึงแก่กรรมลง นางมีความโศกเศร้าเสียใจ เพราะรู้แน่ว่า มารดาคงไม่ไปสู่สุคติ นางอยากช่วยเหลือมารดา แม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติมีค่า หรือชีวิตของนางก็ตาม นางจึงได้ขายบ้านเรือน และของมีค่าทั้งหมดที่มี โดยรวบรวมเงินทั้งหมดไปซื้อดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องสักการะบูชาต่างๆ ไปสักการะบูชาตามวัดวาอารามต่างๆ และนำไปบริจาคทานแก่คนยากจน และสัตว์ที่อดอยากหิวโหย เพื่อเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้นางพราหมณีบุตรี ยังเป็นผู้ถือศีล บำเพ็ญเพียรภาวนา บูชากราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธปัทมอิศวรชาตตถาคต) โดยนางภาวนาขอให้ผลของการบริจาคทานของนาง จงเกิดเป็นกุศลผลบุญไถ่บาปให้กับมารดาและพ้นจากนรก และไปสู่สคติ เนื่องจากการปฏิบัติธรรมอย่างเสมอต้นเสมอปลายเรื่อยมา ทำให้วันหนึ่งนางพราหมณีบุตรีได้ยินเสียงทิพย์กระซิบบอกนางว่า “ดูกร พราหมณี จงหยุดเศร้าโศกเถิด ตถาคตจะชี้ทางให้” นางพราหมณี เกิดความยินดีอย่างมาก ก้มลงกราบและอธิษฐานว่า “ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระเมตตา โปรดบอกที่อยู่ของมารดาของข้าพระองค์ด้วยเถิด เนื่องจากข้าพระองค์ได้ตั้งจิตไว้ว่า จะขอพบมารดาเพื่อทราบความเป็นอยู่ของท่านว่ามีสุขทุกข์อย่างไรบ้าง แม้จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ยินดี หากจะช่วยเหลิอมารดาของข้าพระองค์ให้มีความสุขได้” แต่หลังจากนั้น เนื่องจากไม่มีเสียงตอบรับใดๆ อีกเลย นางจึงบังเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้จนเป็นลมไป พอนางฟื้นขึ้นมา นางก็ได้ยินเสียงทิพย์เข้ามาที่หูว่า “ดูกร พราหมณี จงหยุดเศร้าโศกเถิด บุญกุศลที่เจ้าทำทั้งการสักการะบูชาพระพุทธ และการบริจาคทานนั้น บุญกุศลแรงนัก จงหมั่นปฏิบัติบำเพ็ญต่อไป จะบังเกิดผลแก่มารดาดังความปรารถนา” ทำให้นางดีใจและปิติสุขอย่างมาก และอธิษฐานขอให้นางได้พบมารดาดังที่หวังไว้ ต่อมานางพราหมณีบุตรีได้นั่งเจริญวิป้สสนากรรมฐานอย่างแน่วแน่ บุญกุศลได้ดลบันดาลให้วิญญาณของนางออกจากร่างไปสู่ยังมหาสมุทรแห่งหนึ่ง ซึ่งน่ากลัวมาก น้ำทะเลที่นั่นเป็นน้ำเดิอด และมีอสูรกายตัวใหญ่น่ากลัวกำลังไล่จับมนุษย์ที่ลอยคออยู่ในน้ำจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เพื่อฉีกกินเป็นอาหาร น่ากลัวมากจนนางไม่กล้าหันไปมองด้วยความกลัวและสงสารมนุษย์เหล่านั้น ในระหว่างนั้นเอง ได้มีเทพอสูร นามว่า “บ่อตั๊ก” และบริวาร ได้เดินตรงเข้ามาหานางและพนมมือไหว้ และกล่าวว่า “สาธุ พระโพธิสัตว์ผู้เจริญ ท่านมาถึงแดนนรกนี้ ด้วยเหตุใด” นางพราหมณีบุตรีจึงตอบว่า “ข้าพเจ้ามีความประสงต์อยากทราบความเป็นอยู่ของมารดา ชื่อ ยัฏฐีลีพราหมณี ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อไม่นานมานี้ ไม่ทราบว่าตอนนี้วิญญาณของนางไปอยู่ที่แห่งใด ข้าพเจ้าเป็นห่วงมารดามาก ขอโปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้พบมารดาด้วยเถิด” เทพอสูรเมื่อได้ฟัง จึงกล่าวตอบว่า “ข้าแต่พระโพธิสัตว์ผู้เจริญ มารดาของท่านนามว่า ยัฏฐีลีพราหมณี ได้เคยตกลงมาในดินแดนนรกภูมินี้ แต่เนื่องจากนางได้รับบุญกุศลอันประเสริฐและยิ่งใหญ่จากการที่ท่านได้บำเพ็ญกุศลมาให้ มารดาของท่านได้ไปพ้นจากแดนนรกไปสู่สุคติแล้ว” พร้อมกับยกมือพนมพร้อมกับก้มลงแล้วจากไป เมื่อนางได้ทราบดังนั้น นางจึงมีความยินดีและหมดห่วงในตัวมารดา แต่นางกลับเกิดความสงสารบรรดามนุษย์ที่ตกนรกและได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสเหล่านั้น จึงเกิดความเมตตาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ในนรกเหล่านั้น นางพราหมณีบุตรี จึงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูป ขอถือศีลภาวนา บำเพ็ญทานบารมี เพื่อโปรดสรรพสัคว์ในนรกอเวจีตลอดจนถึงอนาคต ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อย่าได้เบื่อหน่ายต่อการบำเพ็ญกุศลกรรมดังกล่าว ด้วยเหตุที่ทรงบำเพ็ญบารมีเช่นนี้ จึงทำให้นางพราหมณีบุตรี เมื่อนางถึงแก่กรรม ได้กลับชาติมาเกิดเป็นบุรุษ และบำเพ็ญเพียรสร้างบารมี จนสำเร็จมรรคผลกลายเป็นพระโพธิสัตว์ พระนามว่า พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ กำเนิดในฐานะราชกุมาร​ อีกตำนานหนึ่งกล่าว่า พระกษิติครรภโพธิสัตว์เดิมมีพระนามว่า “กิมเคียวกัก” ประสูติวันที่ 30 เดือนเจ็ดจีน พ.ศ. 1239 เป็นมกุฎราชกุมารแห่งซินลอก๊ก (อาณาจักรซิลลา ปัจจุบันอยู่ในเกาหลีใต้) เจ้าชายกิมทรงผนวชเมื่อ 24 ชันษา ชอบความสงบและนั่งฌาณสมาธิ ไปแสวงหาความสงบวิเวกตามป่าเขา โดยนั่งเรือใบตามลำพังกับสุนัขแสนรู้สีขาว แล่นเลียบไปตามชายฝั่งลุถึงปากแม่น้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน จนเรือเกยตื้น จึงสละเรือแล้วเดินเท้า กระทั่งเขตอำเภอชิงหยางเสี้ยน มณฑลอันฮุยเสิ่น มีภูเขาจิ่วหัวซัน ทัศนียภาพแปลกตา มีที่ราบกลางหุบเขา จึงเลือกปากถ้ำแห่งหนึ่งใกล้ที่ราบเป็นที่พำนัก …..อ่านต่อ

ความสำคัญของศาสนาพุทธ

May 19, 2019 shantideva 0

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก เเละเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาเป็นเวลาช้านาน มีอิทธิพลต่อโครงสร้างของวัฒนธรรมไทยมากที่สุด เเละในปัจจุบันประเทศไทยนับว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาใยโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรการพุทธศาสนิกสัมพันธ์เเห่งโลกสรุปเนื้อหาสำคัญ1.ความหมายของศาสนาศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของพระศาสดาที่มุ่งให้มนุษย์ละเว้นความชั่ว กระทำความดีและรู้จักควบคุมดูแลตนเองให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี โดยมิต้องให้ผู้อื่นคอยว่ากล่าวตักเตือน2.ความสำคัญของศาสนา1.ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข2.ช่วยให้บุคคลมีหลักในการดำเนินชีวิตที่ดี3.ช่วยให้บุคคลรู้จักเหตุผลผิดชอบ ชั่วดี ด้วยตนเอง4.ช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่ราบรื่นและสงบสุข5.ช่วยให้มนุษย์มีอิสระสามารถควบคุมตนเองได้

“ไตรลักษณ์” คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ตามหลักศาสนาพุทธ

April 29, 2019 shantideva 0

วันนี้ถึงคิวการคิดเป็นตามนัยพุทธธรรมข้อที่ 3 คือ คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดาหรือคิดแบบไตรลักษณ์“ไตรลักษณ์” คืออะไร บางท่านอาจถามขึ้นมาอย่างนี้ไม่แปลกดอกครับเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนา แม้ง่ายกว่าเรื่องนี้เยอะคนยังไม่รู้จักเลยเมื่อเอ่ยคำยากๆ เช่น ไตรลักษณ์ ไตรสิกขา ย่อมจะ “เป็นงง” เป็นธรรมดา งงแล้วถามก็ดีไปอย่าง จะได้อธิบายให้หายงง แต่ส่วนมากงงแล้วเฉยนี่สิครับ ไม่รู้จะช่วยให้หายสงสัยได้อย่างไร คนไทยไม่มีนิสัยช่างซักช่างถามเสียด้วยลักษณะ 3 ประการที่ปรากฏแก่สังขารทั่วไปเหมือนๆ กันหมด ไม่มีสังขารไหนได้รับการยกเว้น เรียกว่า “ไตรลักษณ์”

“พุทธทำนาย” ของแท้: ศาสนาพุทธจะล่มสลายใน “500 ปี” โดยมี “ผู้หญิง” เป็นต้นเหตุสำคัญ

April 27, 2019 shantideva 0

“หมอดูเขาว่าคู่กับหมอเดา” สำนวนไทยที่มักถูกใช้เพื่อลดคุณค่าของโหราศาสตร์ ซึ่งจะได้ยินบ่อยๆ เมื่อคำทำนายออกมาไม่ตรงใจ หรือเมื่อเวลาผ่านไปแล้วผลของคำทำนายไม่เกิดขึ้น แต่โหราศาสตร์ก็อยู่คู่กับคนไทยมาโดยตลอด ในฐานะที่พึงทางใจ ที่แม้ผลทำนายออกมาไม่ดีแต่ก็ล้วนมีทางแก้ ซึ่งบางครั้งกลายเป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์จนเกินส่วนของผู้ทำนายไปด้วย

ศาสนาพุทธ

April 26, 2019 shantideva 0

พระพุทธศาสนา โดยความหมายแล้ว หมายถึงศาสนาแห่งความรู้แจ้ง เป็นศาสนาที่มีพระรัตนตรัย เป็นสรณะอันสูงสุด อันได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ โดยพระรัตนตรัยทั้ง ๓ นี้ย่อมมีคุณเกี่ยวพันเป็นอันเดียวกัน จะแยกออกจากกันโดยเฉพาะไม่ได้ ด้วยพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมก่อนแล้วสอนให้พระสงฆ์รู้ธรรม พระธรรมนั้น