ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา Authenticity of Early Buddhist Texts

October 12, 2020 shantideva edit 0

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา Authenticity of Early Buddhist Texts พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในไตรปิฎกได้รับการกล่าวอ้างว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมากว่า 2,500 ปี แต่กระนั้นชิ้นส่วนคัมภีร์โบราณที่สุดที่เราค้นพบมีอายุเพียง 2,000 ปี และตามประวัติก็ระบุว่าเคยถูกทรงจำไว้ด้วยปากเปล่ามานาน 500 ปีก่อนจะได้รับการบันทึก มีอะไรที่พอจะยืนยันให้เราแน่ใจได้ว่านั่นเป็นคำสอนของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “พระพุทธเจ้า” จริง หรืออย่างน้อยก็บรรจุคำสอนของบุคคลท่านนี้โดยไม่ผิดเพี้ยนดังที่ประเพณีสืบทอดได้กล่าวอ้างไว้ อันที่จริงในพระไตรปิฎกนั้นมีคัมภีร์หลายชั้นซ้อนทับกันอยู่ และไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้าทั้งหมด แต่ด้วยวิธีวิทยา(Methodology) เราสามารถสืบย้อนได้ว่าคัมภีร์ใดเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมและคัมภีร์ใดเป็นรุ่นหลัง แม้ว่าเราจะไม่อาจทราบถ้อยคำที่พระองค์ตรัสโดยตรง แต่มีวิธีการที่ใช้สืบอันทำให้เชื่อได้ว่าคำสอนเหล่านี้มีที่มาย้อนไปถึงพระพุทธเจ้าและสมัยพุทธกาลโดยตรง โดยคัมภีร์ที่นับได้ว่าอยู่ในรุ่นดั้งเดิมพบในพระสุตตันตปิฎกใน 4 นิกายแรกเป็นหลัก(ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย) และบางส่วนของขุททกนิกาย(สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน เถรคาถา เถรีคาถา) รวมทั้งส่วนใหญ่แห่งพระวินัยปิฎก

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

October 10, 2020 shantideva edit 0

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา” • สำนวนท่องจำใช้คำและวลีซ้ำๆ ไม่ใช่สำนวนเขียนร้อยเรียง แสดงว่าเคยถูกใช้ท่องสวดมีมาตรฐานและมีคำร่วมความหมายเพื่อให้เนื้อความกระจ่าง • ประเพณีสืบทอดผ่านปากเปล่าและความทรงจำล้วนๆ (มุขปาฐะ) ถูกจัดตั้งขึ้นในอินเดียมายาวนานมากแล้ว มีมาตรฐานเพื่อความชัดเจนและระบบท่องสวดเป็นหมู่เพื่อความแม่นยำ (ปัจจุบันยังมีพระสงฆ์ที่ท่องจำครบทั้งไตรปิฎกอยู่) • ภาษาบาลีเป็นภาษาอินเดียเหนือแม้จะถูกจารในลังกาเป็นคราแรกแต่ไม่ปรากฏอิทธิพลภาษาอินเดียใต้และลังกา (แสดงถึงท่าทีอนุรักษ์สูง) • เนื้อหาสอดคล้องกับสภาพสังคมอินเดียยุคศตวรรษที่ 5-4 ก่อนศักราชสากล (ซึ่งถือว่าเป็นสมัยพุทธกาล) ไม่มีเค้ารอยเอ่ยถึงเทคโนโลยีและศิลปวิทยาการในยุคหลังกว่านั้นเพียงไม่กี่ศตวรรษ เช่น การก่อสร้างด้วยหิน การเขียน ไม่รู้จักเทพฮินดูที่นิยมในรุ่นหลังและไม่เอ่ยถึงดินแดนที่ห่างออกไปทางใต้ • เนื้อหาที่ชัดเจนและสมจริงในชีวิตประจำวัน ไม่มีอภินิหารที่เกินเลยชีวิตธรรมดามากเกินไปอย่างตำนานยุคหลัง • มีเนื้อหาบางประการที่แปลกประหลาดและสวนกับแนวคิดของคนทั่วไป แสดงความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต เช่นปัญหาด้านสุขภาพของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการบริหารคณะสงฆ์ พระสาวกที่ไม่เชื่อฟัง พระพุทธะดูไม่ต่างจากภิกษุทั่วไป ฯลฯ (ซึ่งหากคัมภีร์ถูกแต่งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สร้างศรัทธาก็ไม่น่าจะใส่เนื้อหาเช่นนี้เข้ามา หรือถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงก็น่าจะตัดเนื้อหาพวกนี้ออกไป แต่การคงไว้สื่อถึงความอนุรักษ์อย่างจริงใจ) • สภาพการเมืองในพระคัมภีร์ อินเดียแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ต่างๆ เช่น มคธ โกศล วัชชี อวันตี วังสะ ฯลฯ ต่างจากสมัยพระเจ้าอโศกเหลือเพียงอาณาจักรมคธที่รวบรวมอินเดียเป็นแผ่นเดียวสมบูรณ์ใน 2 ศตวรรษให้หลัง (แต่แคว้นโกศลกับวัชชีหลังพุทธกาลทันทีก็ไม่เหลือ ได้กลายเป็นมคธไปแล้ว) *เนื้อหาจึงไม่อาจเกิดหลังยุคพุทธกาลได้* • เปรียบเทียบภายในพุทธศาสนาระหว่างนิกายซึ่งแยกไปนานกว่า 2,300 ปี รักษาในต่างภาษาคือบาลีและจีน รวมทั้งทิเบต สันสกฤต และอื่นๆที่ค้นพบใหม่ในโบราณคดี แม้เป็นของนิกายต่างกัน ต่างสายการสืบทอด แต่กลับปรากฏคัมภีร์ร่วมกัน หลักธรรมคำสอนและ พระสูตรเดียวกัน พระวินัยมีสาระเดียวกัน อันจะสืบสาวไปได้ว่าเป็นสิ่งที่มีมาก่อนยุคแยกนิกายและใกล้เคียงต้นกำเนิดพุทธที่สุด (ซึ่งก็มีเนื้อความสาระไม่ต่างไปจากพระสูตรและพระวินัยที่อยู่ในสายเถรวาทบาลี) • ความสมานสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวของคำสอนจำนวนมากสื่อว่าต้องมาจากบุคคลเดียวเท่านั้น หรือต่อให้มีหลายผู้รวบรวมเรียบเรียงก็จะต้องมาจากแหล่งเดียวกัน

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

October 8, 2020 shantideva edit 0

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts วงการพุทธศาสนศึกษา(Buddhist studies) หรือการศึกษาพุทธศาสนาเชิงวิชาการในโลกตะวันตกมีความแปลกแตกต่างจากวงการศึกษาคริสตศาสนา เนื่องจากนักวิชาการผู้ที่ศึกษาคริสต์เชิงวิชาการนั้นส่วนมากมีที่มาจากวงใน กล่าวคือเป็นศาสนิกชนชาวคริสต์ที่ต้องการหาเหตุผลและข้อมูลหลักฐานยืนยันรับรองข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์และเนื้อหาในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ส่วนวงการศึกษาพุทธศาสนาส่วนใหญ่มาจากวงนอกคือเป็นนักวิชาการชาวตะวันตกที่มิใช่ชาวพุทธแต่มีความสนใจใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์และคำสอนของประเพณีทางจิตวิญญาณตะวันออกโดยปราศจากความพยายามที่จะยืนยันความจริงแท้แต่อย่างใด นักวิชาการเหลานี้มีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่โดยรวมนักวิชาการมีมติร่วมกันว่าส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์พุทธดั้งเดิมเป็นเนื้อหาเดิมแท้จริง(authentic) ส่วนนักวิชาการบางท่านที่ตั้งข้อสงสัยแบบสุดโต่งนั้นเป็นผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนายุคหลังหรือประวัติศาสตร์ในถิ่นอื่นเช่นเส้นทางสายไหม (มิใช่ผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนาดั้งเดิมโดยเฉพาะ) ที่ทำให้ข้อคิดเห็นข้ามพื้นที่ชำนาญการของตน สำหรับผู้สนใจศึกษาที่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและมีข้อสงสัย การรับฟังมติของผู้ที่อุทิศตนค้นคว้าในเนื้อหาเฉพาะด้านจึงเป็นแนวทางที่ดีในการหาข้อสรุปเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือกว่าผู้ที่ไม่ชำนาญการเฉพาะ อนึ่ง นักวิชาการที่ได้ค้นคว้าทางพุทธาศาสนาระดับสากลที่รับรองความสมจริงดั้งเดิมของพุทธคัมภีร์ส่วนใหญ่มิได้เป็นชาวพุทธหรือไม่ประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ บางท่านเป็นนักบวชในคริสตศาสนาด้วยซ้ำ เช่น ศ.ลามอตต์ จึงมีความน่ารับฟังในแง่ที่ปราศจากอคติส่วนตน

สาระเรื่องสาละ (ต้นไม้ในพุทธกาล)

October 6, 2020 shantideva edit 0

สาระเรื่องสาละ บทความนี้จะกล่าวถึงต้นสาละอินเดียจริงๆ ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ต้นลูกปืนใหญ่( Couroupita guianensis) บางครั้งเรียกว่า สาละลังกา ที่เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สาละ เป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง ถิ่นกำเนิดของต้นสาละ พบใน คือทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยจากพม่าทางตะวันออกไปยังประเทศเนปาล พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และบังคลาเทศ ในอินเดียครอบคุมเขตรัฐอัสสัม,เบงกอล,โอริสสาและรัฐฌารขัณฑ์ไปทางตะวันตก จดแถบรัฐหรยาณา บริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำยมุนา และทางตะวันออกรัฐมัธยประเทศ เดิมไม่พบในไทย ปัจจุบันมีการนำเข้ามาปลูกกันมากขึ้น ป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้สาละหรือ ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า ต้นสาละ เป็นพืชเศรฐกิจมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย ส่วนยางนั้นสามารถนำมาทำยาและเครื่องหอมได้อีกด้วย สาละในพุทธศาสนาปรากฎอยู่บ่อยๆในพระไตรปิฎก และเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติอยู่มาก ที่สำคัญคือพุทธประวัติตอน ประสูติ – ตรัสรู้ – ปรินิพพาน  ตอนประสูติ  พระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดประสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีประสูติการที่กรุงเทวทหะ ตามธรรมเนียม เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่สวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้สาละ พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท ขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละและได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร “ ตอนตรัสรู้ เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำแม่น้ำเนรัญชลา เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฎว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ตอนปรินิพพาน เมื่อพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในเวลาต่อมา เดิมทีความเข้าใจเกี่ยวกับต้นสาละหรือต้นซาล ของชาวไทยยังค่อนข้างสับสนกันอยู่ เดิมเข้าใจว่าต้นสาละ เป็นต้นเดียวกันกับ ต้นรัง(ไทย) ต่อมาก็สับสนกับต้นลูกปืนใหญ่ อีก รูปต้นสาละกำลังออกดอกบานเต็มต้น   ผลของต้นสาละ

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต

October 4, 2020 shantideva edit 0

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตมักใช้ในการบันทึกวรรณกรรม วรรณคดีโบราณ ศิลปวิทยาการต่างๆ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาในอินเดีย และเป็น ภาษาที่มักใช้แปลคัมภีร์อื่นนอกอินเดีย ตัวอย่างเช่น คัมภีร์เต้าเต๋อจิง และ คัมภีร์ไบเบิล หรือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ อินเดียเป็นพื้นที่มีศาสนิกต่างศาสนามารวมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องด้วยเป็นชุมทางการค้าขายทั้งทางบกและทะเล แม้แต่ศาสนาเก่าแก่อย่าง ยูดาย และโซโรอัสเตอร์ ก็มีหลักฐานในอินเดียอย่างยาวนาน อย่างศาสนาคริสต์ไม่ใช่เพิ่งเข้ามาตอนในอินเดียช่วงตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีชุมชนคริสเติยนในอินเดียมานานแล้ว โดยมากเป็นแถวอินเดียใต้ กล่าวกันว่า ศาสนาคริสต์เข้ามาอินเดีย พอๆกับ ศาสนาคริสต์เข้าไปในกรีกและยุโรป คือใน 100 ปีแรกหลังจากพระคริสต์ถูกตรึงกางเขน ในประวัติศาสตร์คริสเตียน กล่าวถึง โธมัสอัครทูต ได้ออกเทศนาสั่งสอนในแถบเปอร์เชีย มีเดีย และล่วงเลยเข้าไปในประเทศอินเดีย ชาวคริสเตียนในอินเดียเชื่อว่า โธมัสอัครทูต เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 72 ใกล้เมืองเชนไนในประเทศอินเดีย คัมภีร์ไบเบิล หรือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางส่วนมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของคัมภีร์ของชาวยิว คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว แต่เป็นชุดหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคนและหลายช่วงเวลา โดยแยกเป็น 2 ส่วนคือ พันธสัญญาเดิม (The Old Testament) เป็นคัมภีร์ของชาวยิว เป็นชุดหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นก่อนการประสูติของพระเยซู มีจำนวน 39 เล่ม (นับเฉพาะคัมภีร์ฮีบรู ที่ทุกนิกายเห็นตรงกัน ไม่รวมคัมภีร์อธิกธรรมในนิกาย โรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์) พันธสัญญาใหม่ (The New Testament) เป็นชุดหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นภายหลังจากการการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซู มีจำนวน 27 เล่ม คัมภีร์ไบเบิล ถือว่าเป็นหนังสือที่ถูกแปลในภาษาอื่นๆ และภาษาท้องถิ่น มากที่สุด และเป็นหนังสือที่มีการปรับปรุงการแปลให้เหมาะกับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา แม้แต่แต่ภาษา Emoji สัญลักษณ์น่ารักๆ ที่เรามักใช้สื่อสารแทนการแสดงอารมณ์ ก็มีการแปลแล้ว ( พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ Scripture 4 Millenials) และอีกหนึ่งภาษาในนั้นก็คือ ภาษาสันสกฤต ทว่าคัมภีร์ไบเบิลภาษาสันสกฤต ไม่ใช่ฉบับดังเดิมที่ใช้ในชุมชนคริสต์ดังเดิมในอินเดีย แต่เป็นการแปลขึ้นมาใหม่

ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท)

อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต

September 30, 2020 shantideva edit 0

อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต อนันตริยกรรม หรือ กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ๕ ประการ ปรากฏในอยู่ในพุทธศาสนา ในธรรมข้อนี้ ทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายาน กล่าวไว้ตรงกัน ส่วน กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ในธรรมข้อนี้ มีการกล่าวถึงในฝ่ายสาวกยานบางนิกาย อย่าง นิกายสรรวาสติวาท และ ฝ่ายมหายานได้นำไปขยายความต่อ ไม่ปรากฏในฝ่ายเถรวาท โดยมีรายละเอียดที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้ อนันตริยกรรม ๕ ประการ และ กรรมอันเสมือนกับอนันตริยกรรม ๕ ประการ ฝ่ายสันสกฤต ซึ่ง อนันตริยกรรม ๕ ประการ ได้แก่ ๑. ฆ่ามารดา ป. มาตุฆาต (mātughāta) ส. มาตฤวธ (मातृवध : mātṛvadha) หรือ มาตฤฆาต (मातृघात : mātṛghāta) ๒.ฆ่าบิดา ป. ปิตุฆาต (pitughāta) ส. ปิตฤวธ (पितृवध : pitṛvadha) หรือ ปิตฤฆาต (पितृघात : pitṛghāta) ๓.ฆ่าพระอรหันต์ ป.อรหนฺตฆาต (arahantaghāta) ส. อรฺหทฺวธ (अर्हद्वध ; arhadvadha) หรือ อรฺหทฺฆาต (अर्हद्घात : arhadghāta) ๔. ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต ป. โลหิตุปฺปาท (lohituppāda) [ทำพระโลหิตให้ห้อ] ส. ตถาคตทุษฺฏจิตฺตรุธิโรตฺปาท (तथागतदुष्टचित्तरुधिरोत्पाद : tathāgataduṣṭacittarudhirotpāda) [จิตประทุษร้ายพระตถาคตเจ้า ทำพระโลหิตให้ห้อ] ความเชื่อในพุทธศาสนา เชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อยู่ในฐานะ และโอกาสที่ผู้อื่นจะทำร้ายให้สิ้นพระชนม์ได้ ผู้มีจิตคิดประทุษร้ายให้สิ้นพระชนม์ ทำได้อย่างยิ่งเพียงให้พระองค์ห้อพระโลหิตเท่านั้น ข้อนี้พ้นสมัยที่จะทำได้แล้ว ๕.ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท) ป. สงฺฆเภท (saṅghabheda) หรือ สํฆเภท (saṃghabheda) ส. สํฆเภท (संघभेद : saṃghabheda) ข้อนี้ทำได้เฉพาะพระภิกษุ คือ พระภิกษุที่เป็นอธรรมวาที สร้างความร้าวรานแห่งสงฆ์ ยุแยงให้สงฆ์ให้บาดหมางกัน ดูหมิ่นซึ่งกันและกัน จนขับไล่กัน หากทำสำเร็จ จนคณะสงฆ์ไม่ยอมทำอุโบสถร่วมกันอีก แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม ถึงจะเป็นสังฆเภท ข้อนี้มีรายละเอียดมาก ในที่นี้กล่าวแต่เพียงเท่านี้

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต

September 26, 2020 shantideva edit 0

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต คาถาว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐได้แก่พระรัตนตรัย หากท่านใดเคยทำวัตรสวดมนต์ หรือเห็นในหนังสือสวดมนต์ทั่วไป ก็คงจะรู้จักเขมาเขมสรณทีปิกคาถา หรืออาจจะผ่านตากันมาบ้างนะครับ เขมาเขมสรณทีปิกคาถา เนื้อหาเกี่ยวกับ ที่พึ่งอันประเสริฐ ได้แก่พระรัตนตรัย เป็นพระคาถาหนึ่ง ที่ปรากฎในคัมภีร์พุทธศาสนาทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายาน เท่าที่ผมค้นหามีปรากฎในคัมภีร์ดังต่อไปนี้ – คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔ ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก นิกายเถรวาท – ปราติหารยสูตร ในคัมภีร์ทิวยาวทาน นิกายสรรวาสติวาท – คัมภีร์อภิธรรมโกศะ เป็นพระอภิธรรมของ นิกายสรรวาสติวาท ประพันธ์โดย พระวสุพันธุ แต่ภายหลังท่านย้ายไปเป็นฝ่ายมหายาน ในสำนักคิดโยคาจาร – คัมภีร์ศรณคมนเทศนา ซึ่งเป็นคัมภีร์ในหมวดศาสตรปิฏก ของฝ่ายมหายาน สำนักคิดมัธยมกะ ประพันธ์โดย พระทีปังกรศรชญาณ ภายหลังเมื่อมหายานพัฒนาเต็มรูป แล้ว ฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาท(รวมถึงนิกายมูลสรวาสติวาท) ไปใช้ด้วย จะเห็นได้ชัดที่สุด โดยเฉพาะพุทธศาสนามหายานฝ่ายธิเบตซึ่งภายหลังพัฒนาเป็น วัชรยาน ปัจจุบันภิกษุเหล่านี้ยังใช้วินัยกรรมของฝ่ายนิกายสรวาสติวาทอยู่

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต

September 21, 2020 shantideva edit 0

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต คัดจากบางส่วนจาก ธรรมจักรประวรรตนสูตร พระคัมภีร์ลลิตวิสตร อัธยายที่ ๒๖ ธรรมจักรประวรรตนปริวรรต “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หรือ “ธรรมจักรประวรรตนสูตร” มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นับเป็นพระสูตรที่สำคัญมากต่อพระพุทธศาสนา เพราะแม้จะเกิดความเห็นที่ไม่ตรงกันในการสังคายนาพระธรรมวินัยจนเกิดการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ ถึง 18-20 นิกายในช่วงตั้งแต่ราว 100 ปีหลัง พุทธกาลเป็นต้นมาก็ตาม แต่พระสูตรนี้ยังคงสืบทอดต่อกันมาในคัมภีร์ของนิกายต่างๆจนถึงในปัจจุบัน โดยนักวิชาการสามารถรวบรวมได้ถึง 23 คัมภีร์ ปรากฏทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน และต้นฉบับภาษาบาลี สันสกฤต จีนและธิเบต อีกทั้งแปลออกไปในภาษาอื่นๆอีกทั่วโลก ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต หรือ ธรรมจักรประวรรตนสูตร ที่จะนำเสนอนี้ คัดจากบางส่วนจาก พระคัมภีร์ลลิตวิสตร ซึ่งแต่เดิมพระคัมภีร์นี้เป็นพุทธประวัติฝ่ายสาวกยาน นิกายสรรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำเป็นเป็นคัมภีร์ศักสิทธิ์ของตน

บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา !!

March 19, 2020 shantideva edit 0

พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาสอินทปัญโญ) พุทธทาสภิกขุหรือพระธรรมโกศาจารย์ นามเดิมเงาะพานเกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในวันอาทิตย์ที่ ๒๙๔ พ.ย. ๔๔ พรรษาพานเรียงอ. ไชยาจ. สุราษฎร์ธานีอุปถัมภ์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคมพ. ศ. .๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้นน. ธ . เอก, ป.ธ. ๓ ได้รับการจัดสวนที่อ. ไชยาเมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา “พุทธทาส” แทนนามเดิม แต่ท่านมาแล้วพุทธทาสภิกขุอุทิศตนรับการปล่อยตัวจากการแผ่รังสีแห่งศาสนาอิสลาม วันพฤหัสบดีที่ ๓ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) พระโพธิญาณเถระ หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านก่อ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อุปสมบทแล้วท่านได้อุทิศตนศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง แล้วจึงจาริกออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร จนเมื่อได้เวลาอันสมควร คือ พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกลับมาก่อตั้งวัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสีที่บ้านเกิด โดยมีท่านเองเป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้เริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา แก่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้ก่อตั้งวัดป่านานาชาติเพื่อเป็นวัดนานาชาติสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา นับแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันวัดหนองป่าพงมีสาขาอยู่ทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐ สาขา หลวงปู่ชามรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ นับว่าเป็นพระมหาเถระที่มีผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ) พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ) นามเดิม พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อ เมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์ ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้ เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสิ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เมื่ออายุ 16 ปี หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ รอนแรมไปในป่า เป็นเวลาเดือนกว่า จึงถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ไปบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์ลุย บ้านดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมชั้นตรี ได้ในปีที่มีอายุครบ ๒๐ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง อุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี นับเป็นลูกศิษย์ ที่สำคัญยิ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต องค์หนึ่ง ท่านได้อุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญธรรมด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน หลวงปู่ฯ ได้บำเพ็ญกรณียกิจ …..อ่านต่อ

ทำอารมณ์พระนิพพานให้เต็มอยู่ในใจเสมอ

February 7, 2020 shantideva edit 0

ความดีหรือความชั่วก็เป็นเหมือนคำอธิบายที่แตกต่างกันขึ้นมาเอง? พระอาจารย์กล่าวว่าการเดินทางไปพระนิพพานนั้นเป็นการสั่งสมความดีในการล้างบาปในระดับสูงได้อย่างไร? แล้วสภาพจิตใจก็จะถูกวางลงไปเองรู้สึกว่าเต็มแล้วพอแล้วเมื่อถึงเวลาที่ดีก็ไม่สามารถยึดไว้ได้และก็ไม่ได้เอาไว้ ติก็ไม่เอาก็จะแล่นกลางไปเอง ถึงวาระนั้นก็เป็นคนธรรมดายิ่งกว่าคนธรรมดารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ดังนั้น … ผู้ดีที่ประสบความสำเร็จ ก็มาถึงพระนิพพานด้วยตัวเองเป็นตัวตนอยู่ที่ไหนก็เป็นพระนิพพานพระนิพพานก็ไม่ได้อยู่ที่ใจเรานี่แหละเพียงแต่ว่าช่วยให้เข้าถึงได้ง่าย แต่ก็ต้องผจญภัยทางโลกเขาว่าอะไรดีเราก็ไปทำอะไรไม่ได้ ถาม: สิ่งที่เรียกว่าดีจริงหรือความจริงก็เหมือนกัน ตอบ: ถ้าอย่างนั้นเราต้องมีนักสู้ไหมเล่า? ไม่เคารพเขาก็ตื้บเราสิ เห็นว่าสิ่งที่ดีจริง ๆ เป็นเรื่องไร้สาระรู้ว่าอะไรดีจริง ๆ แล้วรู้ว่าสิ่งที่ชั่วร้ายก็จริง หลวงปู่มหาอำพันคุณป้อนบาตรทุกเช้าถ้าอาตมาอยู่ด้วยก็ต้องเตรียมข้าวเหนียวและนิมนต์พระทากี้พอมาถึงหลาย ๆ คน แต่ก็ไม่ได้ทำเช่นนี้ กินไม่ไหวใช้ไม่หมดแล้วยังต้องไปทำกันอีกไหมครับ? “ ท่านบอก “อะไรกันคุณ..? คนที่สามารถไต่ขึ้นมาจนถึงปากเหวได้ มีแต่ต้องตะกายใปให้ไกล ๆ จะได้ไม่หล่นตุ้บกลับลงไปอีก” แล้วก็พยายามสร้างความดีต่อไปโดยไม่ประมาท พ้นไปด้วยดีแล้ว แต่ในเมื่อทางสมมติโลกเขาถือว่าดีก็ทำไปเรื่อย อันดับแรก…เพื่อความไม่ประมาท อันดับที่สอง…เป็นแบบอย่างให้กับลูกศิษย์หลานศิษย์ทั้งหลายได้ทำตาม หลวงตามหาบัวทำไมต้องตั้งโครงการช่วยชาติ ? ทำไมพระท่านโน้นสร้างโรงพยาบาล พระท่านนี้สร้างโบสถ์ พระท่านโน้นสร้างสำนักปฏิบัติธรรม ? บางท่านเราก็รู้ว่าท่านพ้นแล้ว แต่ท่านก็ยังทำอยู่ ท่านทำเพราะว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี ทำเพราะว่าสิ่งนั้นเป็นหน้าที่ ทำเพื่อให้ลูกศิษย์หลานศิษย์ได้เห็นเป็นแบบอย่างจะได้ทำตาม

กัลยาณมิตรกับความเป็นพระโพธิสัตว์

November 18, 2019 shantideva 0

พระบรมโพธิสัตว์แต่ละพระองค์ กว่าจะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านต้องสร้างบารมี ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันทีเดียว ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเองและคนอื่นเรื่อยมา ด้วยปณิธานอันยิ่งใหญ่และมุ่งมั่นนั้น ท่านจึงยอมสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งทรัพย์สินภายนอก และทรัพย์ภายใน คือ อวัยวะ เลือด เนื้อ แม้กระทั่งชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ คือ ญาณหยั่งรู้ ในสรรพศาสตร์ ที่เป็นเหตุให้รู้แจ้งโลกทั้งปวง การสร้างบารมีของท่านถึงกับมีอุปมาไว้ว่า ในเส้นทางการสร้างบารมี แม้จะมีถ่านเพลิงร้อนระอุตลอดเส้นทางมาขวางกั้น หรือจะมีทะเลเพลิง ลุกโพลงโชติช่วงจนมองไม่เห็นฝั่ง แต่หากรู้ว่าจุดหมายปลายทางข้างหน้า คือ ฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นบรมสุข ท่านก็จะอดทนฝ่าฟันข้ามไป เพื่อแลกกับการได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะยอมสละทุกสิ่ง เพื่อพระสัทธรรมอันประเสริฐ” ตั้งแต่นั้นมาก็สร้างบารมีเรื่อยมาโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากจนได้บรรลุอภิสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นศาสดาเอกของโลก การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งปรารถนาพุทธภูมิอยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งนิพพานนั้น เพียงแค่คิดก็ยากแล้ว ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร จากนั้นต้องยํ้าคิด ยํ้าพูด ยํ้าทำ หมั่นตอกยํ้าซํ้าเดิม ในมโนปณิธาน ที่แน่วแน่ ไม่ได้คำนึงถึงเวลาว่าอีกกี่เดือน กี่ปี กี่ภพ กี่ชาติจึงจะสมปรารถนา ท่านสร้างบารมี อย่างไร้กาลเวลา บารมีแก่รอบเมื่อไรก็สมปรารถนาเมื่อนั้นพระโพธิสัตว์จึงเป็นบุคคลที่มีใจเหนือกว่ามนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะทำทานก็ทำแบบทุ่มเทสุดหัวใจ ชาวโลกส่วนใหญ่นั้นอยากได้ แต่ท่านอยากให้ ให้ได้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิตเป็นทาน พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุดยอดนักเสียสละของโลกและจักรวาล การรักษาศีลหรือเจริญภาวนา ก็ทุ่มเทจนตลอดชีวิต เพียรพยายามมานับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้รู้ว่าหนทางสู่ความเป็นพระพุทธเจ้านั้นยัง อีกยาวไกล อย่างไรก็ตามขณะที่สร้างบารมีอยู่นั้น มีพระโพธิสัตว์จำนวนไม่น้อยที่เกิดท้อถอยในระหว่างทาง เพราะยังเป็นประเภทอนิยตโพธิสัตว์ คือ เห็นว่าการรื้อสัตว์ขนสัตว์ช่างยากเย็นแสนเข็ญจริงๆ จึงปรารถนาเป็นเพียงพระอัครสาวกบ้าง พระอริยสาวกบ้าง ซึ่งการสร้างบารมีไม่ยาวนานมาก เพียงให้ได้หมดกิเลสเป็นพระอสีติมหาสาวกใช้เวลาอย่างน้อย 100,000 กัป พระอัครสาวกก็ใช้เวลา 1 อสงไขย กับ 100,000 กัป ท่านได้สร้างบารมีเช่นนั้นมายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกระทั่งเกิดอุปมาว่า ท่านได้สละเลือดเนื้อและชีวิต เฉพาะที่เป็นเลือดก็มากกว่าน้ำในท้องทะเลมหาสมุทร สละเนื้อเป็นทานมากกว่าแผ่นดิน บนพื้นชมพูทวีป ที่ควักลูกนัยน์ตาก็มากกว่าดวงดาวบนท้องฟ้า และที่ตัดศีรษะบูชาธรรม มากยิ่งกว่าผลมะพร้าวในชมพูทวีป นั่นคือข้อความที่อุปมาไว้ ท่านทำเช่นนั้นนับภพนับชาติกันไม่ถ้วน จากการศึกษาประวัติ การสร้างบารมีของท่านที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติอันยาวนานของ พระพุทธองค์เท่านั้น อันที่จริง พระพุทธองค์ทรงสร้างบารมีมานานถึง 20 อสงไขย แสนมหากัป โดย 8 อสงไขยแรก เพียงคิดอยากเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ยังไม่กล้าบอกใคร เมื่อความคิดดี ติดแน่นอยู่ที่ศูนย์กลางกายมากเข้า ก็เปล่งวาจาบอกคนรอบข้าง เมื่อพบพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ท่านจะเข้าไปกราบนมัสการ ทำบุญกุศลกับ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วกราบทูลถึงความปรารถนาดีของตัวท่านเองว่า อยากจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตบ้าง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็จะทรงชื่นชมอนุโมทนา และทรงอวยพรให้ท่านสมหวังดัง ใจปรารถนาเรื่อยมา ท่านได้พบพระพุทธเจ้ามามากมายหลายพระองค์ แต่ยังไม่ได้รับคำยืนยันหรือ คำพยากรณ์ใดๆ อย่างไรก็ตามท่านก็สร้างบารมีอย่างไม่ย่อท้อ ครั้นครบ 16 อสงไขย ในสมัยที่ท่านเป็นสุเมธดาบส ท่านได้นอนทอดร่างเป็นสะพาน เพื่อให้พระทีปังกรพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตขีณาสพเดินข้ามโคลนตมไป ท่านจึงได้รับ คำพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าพระองค์แรกว่า อีก 4 อสงไขยแสนมหากัป สุเมธดาบสจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สมณโคดมและหลังจากนั้นมาอีก 4 อสงไขยแสนมหากัป เมื่อบารมีของท่านเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ก็สมปรารถนา ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นยอดกัลยาณมิตรของโลก สมดังพุทธพยากรณ์ทุกประการ ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ต้องรักในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเป็นชีวิตจิตใจควบคู่ไปด้วย จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย ในขณะเดียวกัน ผู้ที่รักในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร มีใจประกอบด้วยมหากรุณา คอยทำหน้าที่แนะนำมหาชนให้เดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง ชักชวนให้ละจากบาปอกุศล ทำความดีทุกอย่าง และชักชวนให้มาประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสมาธิเจริญภาวนา แสดงว่าเป็นผู้มีหัวใจของพระบรมโพธิสัตว์ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ มีสิทธิ์ปรารถนาพุทธภูมิ และดำเนินตามปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายในปางก่อน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาจะสูงส่งหรือยิ่งใหญ่สักเพียงใด ก็จะได้เท่า

วันอัฏฐมีบูชา

October 7, 2019 shantideva 0

  วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำแห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”     ประวัติความเป็นมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่ ความสำคัญ โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล พิธีอัฏฐมีบูชา การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, …..อ่านต่อ

วันอาสาฬหบูชา

October 5, 2019 shantideva 0

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา     ดังนั้นธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้น ชมพูทวีปในสมัยโบราณกำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภท ทั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียนในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘    ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา …..อ่านต่อ

พระโพธิสัตว์ หัวใจของโพธิสัตว์ ที่สุดของความเสียสละ

September 20, 2019 shantideva 0

บทบารมี 30 ทัศ คือ คุณสมบัติของ พระโพธิสัตว์ ตามคติเถรวาทซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ศรีลังการวมทั้งบังกลาเทศ และตอนนี้ก็ถูกรื้อฟื้นคืนกลับมาใหม่ในประเทศอินเดีย ประเทศในแถบที่เราเรียกกันว่าสุวรรณภูมิหรืออินโดจีน เป็นประเทศที่โอบกอดเอาพระพุทธศาสนาไว้หลังจากที่สูญหายไปจากผืนแผ่นดินมาตุภูมิ คือประเทศอินเดีย พระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ในแถบเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทยเรานี้ เป็นพระพุทธศาสนาสายเถรวาท และในคติแบบเถรวาท ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องผ่านการบำเพ็ญบารมี ซึ่งช่วงที่บำเพ็ญบารมีนั้นเราเรียกว่าเป็นพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรัสรู้ ผู้ที่ตั้งปณิธานว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันหนึ่งข้างหน้า และทันทีที่ตั้งปณิธานและได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จากนั้นเป็นต้นไปจนกระทั่งถึงนาทีก่อนตรัสรู้ เราเรียกท่านว่า “พระโพธิสัตว์” เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ก็จะต้องมีจรรยาของพระโพธิสัตว์ อะไรคือจรรยาของพระโพธิสัตว์ คำตอบก็คือบารมี 10 ทัศนั่นเอง บารมี 10 ทัศหรือบารมี 10 ประการนั้น แต่ละประการจะต้องบำเพ็ญ 3 ระดับ คือระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงสุด เช่น ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี ทานบารมีหรือบารมีขั้นต้น เช่น ให้ข้าวให้ของ ให้เงินให้ทอง ให้เสื้อผ้า ให้ข้าวปลาอาหาร ทานอุปบารมี เช่น ให้อวัยวะ บริจาคดวงตา บริจาคเลือด บริจาคไตอุทิศร่างกายหลังจากตัวเองล่วงลับดับขันธ์ ทานปรมัตถบารมีเป็นบารมีขั้นอุกฤษฏ์หรือขั้นสูงสุด เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน ได้แก่การยกชีวิตตัวเองให้เป็นทานเพื่อความอยู่รอดของคนอื่น ซึ่งทำได้ยากมาก เพราะต้องวางชีวิตของตัวเองเป็นเดิมพัน ฉะนั้น ในทุกภพทุกชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยชาตินั้น ท่านก็จะบำเพ็ญบารมีเหล่านี้จึงได้เห็นบางภพบางชาติที่ท่านอุทิศชีวิตของตัวเองเพื่อให้ผู้ที่ยังเหลือมีชีวิตรอด อาตมภาพขออธิบายเรื่องพระโพธิสัตว์ผ่านนิทานเรื่องหนึ่ง ดังนี้ พระชาติหนึ่งได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร ณ ที่แห่งนี้มีต้นมะม่วงอยู่ต้นหนึ่งในปีหนึ่งมะม่วงจะสุกหนึ่งครั้ง พญาวานรก็พาหมู่คณะขึ้นไปเด็ดมากิน อยู่มาวันหนึ่ง มะม่วงผลหนึ่งหลุดตกลงไปในลำธาร ไหลละล่องท่องน้ำไปจนถึงปลายน้ำ พระราชาสรงสนานอยู่กับข้าราชบริพาร ทรงพบเห็นมะม่วงจึงหยิบมาเสวยทันทีที่พระชิวหากระทบรสชาติของมะม่วงก็ถึงกับทรงรำพึงออกมาว่า “ทำไมช่างโอชารสถึงเพียงนี้” จึงมีรับสั่งให้เสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารส่งจารบุรุษตามน้ำขึ้นไปจนถึงถิ่นของพญาวานร เมื่อเจอแล้วทรงยกกองทัพยาตราขึ้นไป เพื่อจะไปดูว่าต้มะม่วงที่มีผลแสนโอชารสนั้นอยู่ตรงไหน เมื่อขึ้นไปถึง เหล่าวานรพากันแตกตื่นตกใจหนีไม่ทัน กองทัพของพระราชาแวดล้อมต้นมะม่วงไว้ เหล่านายทหารง้างคันศรปล่อยลูกธนูหลุดจากแล่งพุ่งไปทิ่มแทงวานรตายไปกว่าครึ่ง พระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้นตัดสินใจบำเพ็ญปรมัตถบารมีให้ชีวิตเป็นทานเห็นว่าถ้าปล่อยให้หนีกันตามสัญชาตญาณคงจะตายกันทั้งหมดเป็นแน่ พระโพธิสัตว์จึงทรงตัดสินใจใช้พละกำลังของตัวเองกระโดดข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อจะขึงเถาวัลย์กับคาคบไม้ของฝั่งนั้น แต่ปรากฏว่าเถาวัลย์สั้นขึงไม่ถึง เหลืออีกประมาณสักหนึ่งช่วงตัวตีว่าหนึ่งวา พญาวานรก็เลยเอาตัวเองทำเป็นเชือกหนึ่งช่วงตัวนั้น โดยใช้ขาข้างหนึ่งเกาะกิ่งไม้ฝั่งโน้นไว้ และใช้มืออีกสองข้างขึงเชือกดึงจนตึงจนสุดศักยภาพของเชือกเส้นนั้น แล้วก็ร้องเรียกให้บริษัทบริวารห้อยโหนผ่านเส้นเชือกนั้นข้ามแม่น้ำจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่ง ทรงอุทิศตนด้วยการวางชีวิตเป็นเดิมพัน ให้บริษัทบริวารเหยียบตัวเองแทนเส้นเชือก ระหว่างนั้นพระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นความเสียสละของพระโพธิสัตว์ เกิดธรรมสังเวชอันใหญ่หลวงว่า “เราเป็นถึงพระราชาก็ยังไม่มีภาวะผู้นำถึงขนาดนี้ ดูพญาวานรตัวนี้สิ ยังมีภาวะผู้นำสูงกว่าเราซึ่งเป็นพระราชามหากษัตริย์เสียอีก” พระราชาทรงสลดพระทัยเหลือประมาณ จึงมีรับสั่งให้ข้าราชบริพารหยุด ประหัตประหารพญาวานร และนี่ก็คือพระชาติหนึ่งที่พระโพธิสัตว์อุทิศชีวิตเป็นทานเรียกว่า บำเพ็ญปรมัตถบารมี ฉะนั้น ที่เรามาสวดมนต์กันทุกเช้าทุกเย็นนี้ ถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีและปฏิบัติให้เป็น เราทุกคนก็กำลังเดินอยู่บนหนทางของพระโพธิสัตว์แล้ว ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติบารมีครบทั้ง 10 ประการก็ได้ ปฏิบัติเพียงทานข้อเดียว ก็ทำให้ได้รับอานิสงส์กว้างไกลไพศาล ทานในเบื้องต้นเป็นการกำจัดความตระหนี่ ในเบื้องกลางจะช่วยยกระดับคุณภาพจิต และในเบื้องสูงทำให้เราลอยพ้นจากการเห็นแก่ตัว การให้โดยไม่มีอัตตาของตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องในทุกมิตินับเป็นทานบารมีขั้นสูง เพราะเป็นการให้โดยไม่หวังว่าจะได้รับอะไรตอบแทน ดังหนึ่งต้นจันทน์หรือไม้จันทน์หอมนั่นเอง ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มงคล ปราชญ์ท่านหนึ่งเขียนว่า อันธรรมดาของไม้จันทน์-หอมนั้น เมื่อยังยืนต้นเป็นไม้ใหญ่ไพรระหงก็ให้ร่มให้เงาแก่มนุษย์และนกหนูหูปีกที่ได้บินมาพึ่งพาอาศัย ครั้นใครคนใดคนหนึ่งที่ได้มาพึ่งพาร่มเงานั้นเกิดอึดอัดขัดเคืองมีความโกรธต่อต้นจันทน์ ยกขวานขึ้นมาจามสองสามฉับ แล้วแบกขวานหนีไปแทนที่ต้นจันทน์จะโกรธเคือง ก็ยังอุตส่าห์ ให้กลิ่นหอมติดขวานไปอีก…นี่ละคือจรรยาของพระโพธิสัตว์ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งนิยามจรรยาของพระโพธิสัตว์เอาไว้ง่าย ๆ ว่าอัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาคือลักษณะของมหาบุรุษ ใครก็ตามที่เห็นคนอื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอดรนทนไม่ได้ ต้องลุขึ้นมาหาทางช่วยเหลือเกื้อกูลโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คนคนนั้นเราเรียกว่ามีอัชฌาศัย ของมหาบุรุษ มหาบุรุษก็คือคนที่เป็นมหาษัทก็คือผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์ เราทุกคนสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้ในชีวิตนี้ ขอเพียงเรามีจิตวิญญาณของการเป็นพระโพธิสัตว์ นั่นคือ เห็นคนอื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอดรนทนไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือตามแต่ศักยภาพของตัวเองจะทำได้ ที่เรามาสวดมนต์กันทุกเช้าทุกเย็นนี้ถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีและปฏิบัติให้เป็นเราทุกคนก็กำลังเดินอยู่บนหนทางของพระโพธิสัตว์แล้ว

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

September 19, 2019 shantideva 0

การพิจารณาความหมายของศาสนา นักวิชาการได้แบ่งองค์ประกอบของศาสนาเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย 1. ผู้ก่อตั้ง หรือ ศาสดา ซึ่งผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบวชเป็นโยคีสิตธัตถะแล้วศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาโมกขธรรมจนค้นพบสัจธรรม ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย แล้วประกาศศาสนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 2. หลักคำสอน หรือศาสนธรรม ทุกศาสนาต้องมีหลักคำสอนเป็นสารัตถะ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัต ิในการดำเนินชีวิตในสังคมและหาเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ทางพุทธศาสนาเรียก นิพพาน หลักคำสอนของศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม โดยมีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นคัมภีร์ เรียกว่าพระไตรปิฎก นักบวช สาวก 3. นักบวช สาวก หรือ ศาสนบุคคล ศาสนาพุทธได้มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการปฏิบัติ การศึกษาและการเผยแผ่ของพระสงฆ์ เป็นหลัก 4. ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน หมายถึงผู้ที่เลื่อมใส พระรัตนตรัย แล้วศึกษาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5. ศาสนสถาน ศาสานวัตถุ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ที่ปรากฎในพุทธประวัติ อันได้แก่สังเวชชนียสถาน หรือสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น 6. พิธีกรรม หรือพุทธศาสนพิธี หมายถึงกิจกรรม ของพุทธบริษัทต้องปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อาทิ การอุปสมบท การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน หรือในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น