หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จะมีผู้ไปเห็นพระพุทธเจ้าได้หรือไม่ ?

July 17, 2019 shantideva 0

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต. เกมส์ยิงปลา

บทสวดบูชาพระพิฆเนศ

July 16, 2019 shantideva 0

บทสวดมนต์และคาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้นในแบบดั้งเดิมโบราณ มีเป็นร้อยๆ กว่าบท… และแบบสมัยใหม่ ที่มีการดัดแปลงความหมายให้เหมาะสม ก็มีอีกหลายพันบทตามแต่ละประเทศ ลัทธิ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป (เช่นในประเทศไทย ก็มีการประพันธ์บทสวดพระพิฆเนศขึ้นมาใหม่หลายบทเช่นกัน) สามารถเลือกสวดบทใดๆ ได้ตามความสะดวก หรือเท่าที่จำได้ ควรเริ่มต้นจากการสวดบทเดียว จากนั้นให้ท่องจำ และศึกษาเพิ่มเติม จนสามารถสวดได้หลายๆ บทในแต่ละบทสวด จะสวดบูชาแค่รอบเดียวหรือสวด 3 , 5 , 7 , 9 จบ ก็สามารถทำได้ แต่ชาวฮินดูไม่มีการกำหนดตายตัวว่า มนต์บทใดจะต้องสวดกี่รอบ สามารถเลือกสวดมนต์บทใดๆ ก่อนหลัง ได้ด้วยตนเอง จากนั้นจึงขอพร ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบ แล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้ แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆ ที่นับถือเพิ่มเติม บทสวดบูชาพระพิฆเนศแบบโบราณ 17 บท สามารถเลือกบทใดบทหนึ่ง หรือจะสวดบูชาทั้ง 17 บทเรียงต่อกันก็จะเป็นสิริมงคล 1. โอม สุมุ-ขายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระพักตร์งดงามดั่งดวงจันทร์ 2. โอม เอกทันตะ ยะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีงาข้างเดียว 3. โอม กาปิ ลายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีผิวกายสีแดง 4. โอม คัชกรัณ กายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีใบหูกว้างใหญ่ 5. โอม ลัมโพ ทะรายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีท้องอันใหญ่โต 6. โอม วิกฏายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงประทานความผาสุข 7. โอม วิฆนะ รายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งปวง 8. โอม วินายะ กายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุด 9. โอม ธูมระ เกตะเว นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีกายดั่งเปลวไฟร้อนแรง 10. โอม คณาธยักษากะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งคณะบริวารแห่งพระศิวะเทพ 11. โอม ภาละ จันทรายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระขันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฎ 12. โอม คชานะ นายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีพระพักตร์เป็นช้าง 13. โอม วักระ ตุณ ดายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีงวงอันใหญ่โค้ง 14. โอม ศุรปะ กรณายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงมีใบหูอันกว้างใหญ่ 15. โอม เหรัมภายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงอำนาจสูงสุด 16. โอม สกันทะ ปูรวชายะ นมัช ขอน้อมบูชาต่อเทพผู้ทรงเป็นน้องชายพระขัณฑกุมาร 17. โอม มหาคณะปัตเย นมัช ขอน้อมบูชาต่อพระพิฆเณศผู้ยิ่งใหญ่ บทสวดขอพรพระพิฆเนศ 8 บท (สวดพร้อมคำขอพรภาษาไทย) โอม พูตายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม ภัคตะวิฆนะ วินาศิเน นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดทำลายความทุกข์ร้อนแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม วิฆะณะราชายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดขจัดอุปสรรคทั้งปวงอันจะเกิดแก่ชีวิตของข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม ศุธิปริยายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสติปัญญาในการประกอบอาชีพแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม ศริษายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานทรัพย์สมบัติและความอุดมสมบูรณ์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม สธิรายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความมั่นคงแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม สมาหิตายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานสุขภาพพลานามัยที่ดีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โอม สมุยายะ นะมะฮา ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความสงบสุขแก่ชีวิตข้าพเจ้าด้วยเถิด บทลงท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการสวดบูชาหรือประกอบพิธีกรรม

องค์ประกอบของศาสนาพุทธ

July 13, 2019 shantideva 0

การพิจารณาความหมายของศาสนา นักวิชาการได้แบ่งองค์ประกอบของศาสนาเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย 1. ผู้ก่อตั้ง หรือ ศาสดา ซึ่งผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบวชเป็นโยคีสิตธัตถะแล้วศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาโมกขธรรมจนค้นพบสัจธรรม ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย แล้วประกาศศาสนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 2. หลักคำสอน หรือศาสนธรรม ทุกศาสนาต้องมีหลักคำสอนเป็นสารัตถะ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัต ิในการดำเนินชีวิตในสังคมและหาเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ทางพุทธศาสนาเรียก นิพพาน หลักคำสอนของศาสนาพุทธเรียกว่า พระธรรม โดยมีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเป็นคัมภีร์ เรียกว่าพระไตรปิฎก นักบวช สาวก 3. นักบวช สาวก หรือ ศาสนบุคคล ศาสนาพุทธได้มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะการปฏิบัติ การศึกษาและการเผยแผ่ของพระสงฆ์ เป็นหลัก 4. ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ เราเรียกว่า พุทธศาสนิกชน หมายถึงผู้ที่เลื่อมใส พระรัตนตรัย แล้วศึกษาหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5. ศาสนสถาน ศาสานวัตถุ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หมายถึง สถานที่ที่ปรากฎในพุทธประวัติ อันได้แก่สังเวชชนียสถาน หรือสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น 6. พิธีกรรม หรือพุทธศาสนพิธี หมายถึงกิจกรรม ของพุทธบริษัทต้องปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา อาทิ การอุปสมบท การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การทำบุญตักบาตรในทุก ๆ วัน หรือในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น  

ปัญญาบารมี

July 12, 2019 shantideva 0

ในโพสที่แล้วเราพูดกันเกี่ยวกับการบรรยายธรรมของกุงกาซังโปริมโปเช เรื่องปัญญากับบารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศซึ่งได้ขอให้เขียนบทความต่างๆนี้ใหม่เป็นภาษาอังกฤษ ผมก็จะทำตามนั้น แต่คงหลังจากโพสเรื่องนี้เสร็จสักระยะหนึ่ง คาสิโนออนไลน์ ริมโปเชได้พูดถึง “ปัญญาในบารมีหกประการ” ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติบารมีหกประการอย่างมีปัญญา ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้ารวดเร็วบรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ บารมีหกประการของพระโพธิสัตว์ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา ในโพสนี้เราก็จะพูดถึงบารมีอีกสี่ประการที่เหลือ   ริมโปเชกล่าวว่าขันติบารมีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ฝึกฝนตนเองในแนวทางของพระโพธิสัตว์ หััวใจของการปฏิบัติตามเส้นทางนี้ก็คือ การมุ่งมั่นบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพื่อให้มีความสามารถเต็มเปี่ยมในการช่วยเหลือสัตว์โลกให้ก้าวข้ามพ้นจากสังสารวัฏเข้าไปสู่อีกฝั่งหนึ่ง อันได้แก่ฝั่งของพระนิพพาน การมีจิตใจที่มุ่งมั่นเช่นนี้เรียกว่า “โพธิจิต” และเนื่องจากเส้นทางเป็นเช่นนี้ สิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ก้ได้แก่การมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาและกรุณาแก่สรรพสัตว์ การมีจิตใจเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการฝึกปฏิบัติขันติบารมี ขันติบารมีได้แก่การที่เราฝึกฝนสั่งสมบ่มเพาะในจิตใจ ซึ่งจิตใจอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาและไม่ถือโกรธ ไม่มีจิตอาฆาตพยาบาทใดๆแม้แต่น้อยแตสัตว์โลก ไม่ว่าสัตว์โลกนั้นจะมาให้ร้ายหรือทำร้ายเรามากเพียงใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าขันติบารมีเป็นแก่นกลางของการปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ก็ว่าได้ ริมโปเชได้กล่าวถึงข้อเขียนของท่านศานติเทวะใน “วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์” ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า อันความโกรธนั้นหากเกิดขึ้นแม้เพียงชั่ววูบเดียว ก็อาจทำลายบุญบารมีที่ตนเองได้สั่งสมมาเป็นเวลาอันนับชาติไม่ถ้วน แต่หากความโกรธวูบเดียวนั้นก็จะเหมือนกับเพลิงที่เผาผลาญบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาให้หายไปหมดสิ้นในเวลาชั่วพริบตา ริมโปเชเล่าว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ก่อนที่ทิเบตจะแตกแก่จีนไม่นาน มีพระอาจารย์รูปหนึ่งปฏิบัติธรรมจนมองเห็นอนาคตได้ ท่านได้มองเห็นอนาคตอันน่ากลัวที่ทิเบตจะต้องได้รับและก็ได้กล่าวตักเตือนผู้คนถึงภัยคุกคามที่กำลังมาเยือน เมื่อท่านกล่าวเช่นนี้ก็มีคนผู้หนึ่งคนไม่ได้ที่ท่านกล่าวเช่นนี้ เมื่อเขาได้ยินว่าทิเบตจะประสบภัยหายนะอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็เกิดความโกรธเป็นกำลัง และก็ได้ลุกขึ้นมาชกหน้าพระอาจารย์ท่านนี้เข้าอย่างแรง พระอาจารย์มิได้ตอบโต้ใดๆ และก็มิได้มีความรู้โกรธเคืองใดๆ ตรงกันข้ามท่านกลับกล่าวขึ้นว่าท่านได้ปฏิบัติธรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ไม่มีโอกาสได้ฝึกขันติบารมีอย่างจริงๆจัง เพิ่งมีคราวนี้นี่แหละที่ได้มีโอกาสปฏิบัติบารมีข้อนี้อย่างจริงจัง การปฏิบัติขันติบารมีมิได้หมายความเพียงแค่ว่า เมื่อมีใครมาทำร้ายเรา เราจะไม่ทำร้ายตอบและข่มความโกรธขึ้นในใจไว้ แต่หมายความว่าเมื่อเกิดอะไรร้ายแรงหรือเจ็บปวดแก่ตัวเรา เราจะรับเอาความเจ็บปวดนั้นไว้ และมองความเจ็บปวดนั้นว่าเป็นครูของเรา ที่มาช่วยเหลือเราให้เดินทางไปบนเส้นทางแห่งโพธิจิตอย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายเรา แต่เมื่อเกิดเรื่องร้ายแรงหรือความเจ็บปวดขึ้น เราก็จะไม่เสียใจหรือร้องโวยวายว่าเหตุใดโรคร้ายกับความเจ็บปวดนี้จึงเกิดแก่เรา ทำไมคนอื่นถึงไม่เป็นบ้าง ทำไมต้องมาเป็นเรา การคิดเช่นนี้สวนทางกับการฝึกปฏิบัติขันติบารมีอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดว่าทำไมต้องเป็นเราที่เกิดมาเจ็บป่วยตรงนี้ เราก็คิดว่าความเจ็บป่วยและเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการกระทำในอดีต ซึ่งสัตว์โลกที่ยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏทุกตัวตนต้องประสบทั้งสิ้น แทนที่เราจะมาเสียใจหรือโกรธเคืองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราน่าจะมองความเจ็บปวดนี้ว่าเป็นบททดสอบที่มาทดสอบว่า เราผ่านการปฏิบัติหัวช้อขันติบารมีหรือยัง การปฏิบัติเช่นนี้ที่ประกอบไปด้วยความเข้าใจแจ้งถึงบทบาทหน้าที่และความสำคัญยิ่งของโพธิจิตและแนวทางของพระโพธิสัตว์ ก็คือการปฏิบัติขันติบารมีด้วยปัญญาอันยิ่งนั่นเอง

พระกุมารกัสสปเถระ พระธรรมกถึกที่สามารถเทศนากลับใจคน

July 12, 2019 shantideva 0

พระกุมารกัสสปเถระ เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในการเทศนากลับใจคนที่มีมิจฉาทิฐิให้เข้าใจถูกต้อง ท่านรูปนี้มีชีวิตค่อนข้างพิสดารก่อนที่จะมาบวช ท่านเป็นบุตรนางภิกษุณี นางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของท่านตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวมาก่อนบวช บวชมาแล้ว เมื่อครรภ์โตขึ้นปรากฏต่อสายตาประชาชน พระเทวทัตผู้ดูแลภิกษุณีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีมารดาของท่านรวมอยู่ด้วย ได้ตัดสินใจให้ท่านลาสิกขาโดยไม่สอบถามรายละเอียด นางภิกษุณีเชื่อมั่นว่าตนบริสุทธิ์ จึงอุทธรณ์เรื่องต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอุบาลีเป็นประธานพิจารณา ท่านพระอุบาลีจึงขอแรงนางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี ช่วยคลี่คลายคดี พระกุมารกัสสปเถระ นางวิสาชา จึงได้ตรวจสอบอย่างละเอียด และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีมติว่านางตั้งครรภ์ก่อนบวช นำความกราบเรียนพระเถระ พระเถระอาศัยข้อมูลนั้นเป็นหลักฐานประกอบคำวินิจฉัย ตัดสินให้นางภิกษุณีบริสุทธิ์ เมื่อนางคลอดบุตรมาก็เลี้ยงดูในวัดนั้นเอง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปพบเข้า จึงขอไปเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม กุมารน้อย จงมีชื่อว่า กุมารกัสสปะ (กัสสปะ ผู้เป็นพระกุมารในพระราชวัง) เมื่อเติบโตมารู้เบื้องหลังชีวิตของตนเอง จึงสลดใจไปบวชเป็นสามเณร ปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ข้างฝ่ายภิกษุณีมารดา มัวแต่คิดถึงลูก การปฏิบัติธรรมจึงมิได้ก้าวหน้าแม้แต่น้อย วันหนึ่งเห็นสามเณรบุตรชายขณะออกบิณฑบาต จึงรี่เข้าไปหา ร้องเรียกลูก สามเณรอรหันต์คิดว่า ถ้าพูดดีๆ กับแม่ แม่ก็จะไม่สามารถตัดความรักฉันแม่กับลูกได้ การปฏิบัติธรรมก็ไม่ก้าวหน้า จึงพูดอย่างเย็นชาว่า “อะไร จนป่านนี้แล้ว แค่ความรักระหว่างแม่กับลูกยังตัดไม่ได้ จะทำอะไรได้สำเร็จ” ว่าแล้วก็เดินจากไป ทิ้งให้ภิกษุณีผู้มารดาเป็นลมสลบ ณ ตรงนั้น ฟื้นขึ้นมาก็ “ตัดใจ” ว่า เมื่อลูกไม่รักเราแล้ว เราจะมัวคิดถึงเขาทำไม กลับสำนักภิกษุณีคร่ำเคร่งปฏิบัติภาวนา ไม่ช้าไม่นานก็บรรลุพระอรหัต เป็นอันว่าสามเณรหนุ่มได้ช่วยพามารดาของท่านลุถึงฝั่งแล้ว เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ฟังพระโอวาทของพระพุทธองค์เรื่องปริศนาธรรม ๑๕ ข้อ (วันมิกสูตร) ได้บรรลุพระอรหัต เข้าใจว่าในช่วงท้ายๆ พุทธกาล เพราะคัมภีร์บันทึกว่า หลังพุทธปรินิพพานไม่นานนัก มีเจ้านครเสตัพยะ นามว่า ปายาสิ มีความเห็นผิดอันเป็นภัยร้ายกาจต่อพระศาสนาและระบบศีลธรรมจรรยา คือ เธอเชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง บุญบาปไม่มี ชาติก่อนชาติหน้าไม่มี ปายาสิเธอเป็นนักพูด มีวาทะคารมคมคาย จึงสามารถหักล้างสมณพราหมณ์ได้เป็นจำนวนมาก พระเถระอรหันต์หลายต่อหลายรูป ท่านก็หมดกิเลสเท่านั้น ไม่มีปฏิภาณปัญญาจะไปโต้ตอบกับเธอได้ จึงถอยห่างออกไป พระกุมารกัสสปะจึงไปโต้วาทะกับปายาสิราชันย์ ใช้เหตุใช้ผลอธิบายประกอบอุปมาอุปไมย ในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ของปายาสิ ในที่สุดปายาสิยอมจำนน ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (ดูรายละเอียดใน ปายาสิราชัญญสูตร – ที.ม. ๑๐/๑๐๓-๑๓๐) เจ้าปายาสิเชื่อว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี โดยทดสอบจากชีวิตจริงของคน คือสั่งนักโทษประหาร (ที่แน่ใจว่าตายแล้วต้องตกนรกแน่ เพราะทำกรรมชั่วไว้มากมาย ดังสมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวสอนกัน) ว่า ถ้าตายไปตกนรกจริงก็ให้กลับมาบอก นักโทษคนนั้นรับปากแล้วก็ไม่เห็นกลับมาบอก จากนั้นก็ทดลองเช่นเดียวกันกับอุบาสกผู้มีศีลธรรมว่า หลังจากไปเกิดในสวรรค์แล้วให้กลับมาบอก ก็ไม่กลับมาบอกเช่นเดียวกัน โดยวิธีนี้เจ้าปายาสิจึงสรุปว่า นรกไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี พระเถระอธิบายโดยยกอุปมาอุปไมยว่า เพียงแค่นักโทษประหารจะขออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปสั่งเสียลูกเมีย แล้วจะกลับมาให้ประหารทางการก็ไม่อนุญาต นักโทษประหารมีมีอิสระเสรีภาพจะไปไหนได้ตามชอบใจ สัตว์นรกยิ่งกว่านั้น หาโอกาสจะไปไหนไม่ได้ ถึงเขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เขาก็ไม่สามารถกลับมาบอกได้ฉันใด ฉันนั้น ครั้นถูกแย้งว่า สัตว์นรกไม่มีอิสระก็พอฟังขึ้น แต่คนที่ตายไปเกิดบนสวรรค์มีอิสรเสรีเต็มที่ แต่ทำไมยังไม่มาบอก เหตุผลที่พระเถระยกมากล่าวในข้อนี้ คือ กำหนดระยะเวลาบนสรวงสวรรค์นั้นช้ากว่าในโลกมนุษย์ (ว่ากันถึงขนาดว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาเท่ากับหนึ่งร้อยปีของโลกมนุษย์) ถึงแม้เขาไม่ลืมคำมั่นสัญญา เพียงคิดว่า รอสักครู่ค่อยกลับไปบอก “สักครู่” ของเทวดา ก็เป็นสิบเป็นร้อยปี พระกุมารกัสสปะตอบคำถาม หักล้างความคิดเป็นของเจ้าปายาสิ ท่านใช้หลายวิธี เช่น อธิบายตรงๆ ยกอุปมาอุปไมย หรือใช้วิธีอนุมาน จึงสามารถทำให้นักปราชญ์อย่างเจ้าปายาสิยอมรับและถวายตนเป็นอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในเวลาต่อไป นัยว่าท่านพระกุมารกัสสปะ ได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล ท่านดำรงชีวิตจนถึงอายุขัยแล้วนิพพาน

นิยามและความเป็นมา ศาสนาพุทธ

July 11, 2019 shantideva 0

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า (๑) เป็นศาสดา มีพระธรรม (๒) คือ ธรรมะเกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ มีพระสงฆ์ (๓) คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย  เกมส์ยิงปลา ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันเรียกว่าพุทธคยา จากนั้นพุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาท และมหายาน พุทธศาสนา หรือศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้า เป็นศาสดา (คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือ ผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่) มีพระธรรม คือ ธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ (ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ) มีพระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนและกำหนดไว้ รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย

เทพของยุโรป แอรีส

July 10, 2019 shantideva 0

แอรีส หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส ด้วย แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า แอรีสเป็นบุตรของซีอุส มหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุาษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของรอมิวลุส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพีอโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่

ประวัติของอาจารย์ …ศานติเทวะ

July 9, 2019 shantideva 0

ก่อนที่จะเล่าถึงคำสอนของผู้รจนา เราควรมาทำความเข้าใจประวัติของอาจารย์ศานติเทวะโดยย่อกันก่อน ศานติเทวะเป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าชีวิตของท่านเริ่มต้นด้วยการเป็นเจ้าชาย ประสูติในเบงกอล(Bengal) แต่ต่อมาได้สละราชสมบัติและเริ่มออกแสวงหาคุรุทางจิตจิตวิญญาณ ได้เรียนรู้ศึกษาจากคุรุหลายท่าน จนในที่สุดก็ได้มาศึกษา ปฏิบัติ เรียนรู้ศาสตร์ทั้งหลายอย่างสมบูรณ์ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็น เกมส์ยิงปลา มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ดังทีสุดในยุคนั้น เล่ากันต่อว่าอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว โดยได้ร่ำเรียนถ่ายทอดวิชาโดยตรงจากพระโพธิสัตต์ซึ่งจะมาสอนในตอนกลางคืน และด้วยเหตุที่อาจารย์ศานติเทวะดำเนินชีวิตอย่างสมถะและถ่อมตัวที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีใครสนใจและไม่มีใครเห็นว่าอาจารย์ศานติเทวะเป็นบุคคลพิเศษที่บรรลุธรรมแล้วคนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยนาลันทาต่างพากันคิดว่า ศานติเทวะเป็นคนต่ำต้อย ไร้ค่า ไม่ทำตัวให้เกิดประโยชน์ อันใดต่อมหาวิทยาลัยสงฆ์เลย มีแต่จะทำให้อาหารของสงฆ์สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์เท่านั้น จนกระทั่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้มาประชุมกันและเห็นพ้องต้องกันว่า ” อาหารและปัจจัยของหมู่สงฆ์ต้องถูกจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่พระรูปนี้ (หมายถึงพระอาจารย์ศานติเทวะ) กลับทำตัวไร้ค่ามีแต่กินและนอนเท่านั้น แสดงว่าพระรูปนี้ต้องสะสมกรรมชั่วมานาน และกำลังจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้นเราต้องหาทางกำจัดเขาให้ออกไปจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ของเรา” ในทุก ๆ เดือนที่มีการประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ที่เหล่าอาจารย์จะต้องมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ด้วยความไม่รู้ที่ว่าแท้จริงแล้วอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว เนื่องจากลักษณะภายนอกที่ดูต่ำต้อยที่ท่านแสดงออก สงฆ์เหล่านั้นจึงวางแผนกันว่าจะนิมนต์ให้ศานติเทวะขึ้นอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ซึ่งเชื่อว่าอาจารยืศานติเทวะจะต้องทำไม่ได้ และจะต้องรู้สึกอับอายเป็นอย่างมาก สุดท้ายต้องออกไปจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จากการที่เหล่าสงฆ์ได้ร่วมกันวางแผนที่จะกลั่นแกล้งอาจารย์ศานติเทวะให้ได้รับความอับอาย ด้วยการนิมนต์ให้ท่านขึ้นมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม และเพื่อจะทำให้อาจารย์ศานติเทวะรู้สึกอับอายมากขึ้น สงฆ์เหล่านั้นก็จงใจตั้งธรรมาสน์ให้สูง แล้วนิมนต์อาจารย์ศานติเทวะขึ้นนั่งแสดงธรรม ซึ่งท่านก็ตอบรับคำนิมนต์นั้น แต่ทันทีที่ท่านเอื้อมมือไปแตะธรรมมาสน์นั่นเอง ธรรมาสน์ที่เคยสูงก็กลับค่อย ๆ เลื่อนลดต่ำลงมาให้อาจารย์ศานติเทวะขึ้นนั่งได้อย่างสะดวก แล้วก็หันกลับไปถามเหล่าสงฆ์ว่า ” พวกท่านต้องการจะฟังพระสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือ จะฟังอะไรใหม่ ๆ ” เหล่าสงฆ์พากันประหลาดใจอย่างมาก แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าอาจารย์ศานติเทวะไม่มีความรู้ใด ๆ จึงพากันขอให้ท่านแสดงอรรถกถาของตัวท่านเอง และ นี่คือจุดเริ่มต้นของคำสอนใน “โพธิสัตตวจรรยาวตาร” และ เมื่อท่านแสดงจนถึงบทที่ว่าด้วยปัญญา ตัวท่านก็ลอยสูงขึ้น สูงขึ้นไปในอากาศจนกระทั่งหายลับไป เมื่อเหล่าสงฆ์ได้ฟังคำสอนเรื่อง “โพธิสัตตวจรรยาวตาร” ก็รู้สึกเสียใจที่คิดและแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่ออาจารย์ศานติเทวะ จึงพากันออกตามหาท่านแต่ก็ล้มเหลว จนกระทั่งก็มีผู้ไปพบอาจารย์ศานติเทวะบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง ผู้คนและคณะสงฆ์ที่ออกตามหาก้พากันไปเฝ้าดู และสังเกตุเห็นว่ามีกวางตัวหนึ่งเดินหายเข้าไปในถ้ำที่อาจารย์ศานติเทวะพำนักอยู่ โดยไม่กลับออกมาอีกเลย ทุกคนจึงพากันคิดว่าอาจารย์ศานติเทวะต้องฆ่ากวางเพื่อเอาเนื้อมากินแน่ จึงพากันเดินขึ้นไปบนถ้ำเพื่อจะเข้าไปทำร้ายท่าน แต่เมื่อถึงปากทางเข้าถ้ำ ปรากฎว่ามีกวางจำนวนมากมายตบแต่งด้วยเครื่องประดับอันสวยงามพากันเดินออกมาจากถ้ำโดยมีอาจารย์ศานติเทวะเดินตามมารั้งท้าย แท้ที่จริงแล้ว การที่กวางเหล่านั้นหายเข้าไปในถ้ำเป็นเวลานาน ๆ ก็้้เพื่อไปฟังธรรมจากอาจารย์ศานติเทวะนั่นเอง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายและเหล่าสงฆ์ต่างก็รู้สึกละอายใจ และพากันไปสารภาพผิดต่ออาจารย์ศานติเทวะและขอให้อาจารย์ศานติเทวะเมตตาถ่ายทอดธรรมให้นับตั้งแต่นั้นมา สำหรับคำสอนในเรื่อง โพธิสัตตวจรรยาวตาร ของอาจารย์ศานติเทวะนี้ ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะคำสอนในเรื่องการสอนโพธิจิต อันเป็นรากฐานที่สำคัญสู่เส้นทางเดินแห่งโพธิสัตตมรรค ถึงยุคสมัยก่อนนั้น ไม่เคยมีใครได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย อย่างไรก็ตามคำสอนโพธิสัตตวจรรยาวตารก็มิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน เพียงแต่โพธิสัตตวจรรยาวตารนี้เป็นอรรถกถาอาจารย์ศานติเทวะตามความรู้และการปฏิบัติตามที่ท่านได้ทำมา ในบทนำของโพธิสัตตวจรรยาวตาร อาจารย์ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า ” อรรถกถาเหล่านี้อาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่อย่างน้อยที่สุดอรรถกถาเหล่านี้เอื้อประโยชน์อย่างสูงต่อตัวอาตมา และ สารธารแห่งจิตของอาตมา ” การที่อาจารย์ศานติเทวะกล่าวเช่นนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นวิถีแห่งอาจารย์เชิงพุทธธิเบตที่จะพยายามลดทิฐิมานะ ยึดมั่นในอัตตาตัวตนของตนเองออกเสียและยกย่องผู้อื่นด้วยความนอบน้อมถ่อมตนเพื่อเป็นหนทางในการช่วยขจัดทิฐิมานะหยิ่งทะนงในอัตตาตัวตนออกไปเสีย อรรถกถาโพธิสัตตวจรรยาวตาร จะประกอบไปด้วยทั้งสิ้น 10 บท คือ

เทพของยุโรปไดอะไนเซิล

July 8, 2019 shantideva 0

ไดอะไนเซิส ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนเซิส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เทพไดโอไนซูส เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว

ศาสดาของศาสนาพุทธ

July 6, 2019 shantideva 0

ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ และเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา มีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ จวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน

พระอสุรินทราหูเทวโพธิสัตตว์.

July 5, 2019 shantideva 0

ในบรรดาเทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ นั้นมีเพียงพระราหูพระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นพระโพธิสัตว์ และได้รับพระพุทธพยากรณ์แล้ว แม้พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ผู้มีบุญญาธิการอันสูงส่ง ก็มิได้เป็นพระบรมโพธิสัตตว์ ดังเช่น พระราหู เกมส์ยิงปลา ดังนั้นการนับถือ บูชา พระราหูจึงไม่ใช่การบูชาภูตผีปีศาจ แต่เป็นการบูชาพระโพธิสัตว์ ในรูปกายแห่งเทพอสูร อันเป็นคติสอนให้พิจารณาว่า อย่ามองที่รูปกายภายนอก แม้ว่ารูปกายแห่งพระราหูจะดูดุดันน่ากลัว แต่คุณธรรมภายในนั้นกลับตรงข้าม พระราหู เป็นเทพอสูรที่บำเพ็ญบารมี เพื่อบรรลุพระโพธิญาณมานับชาติไม่ถ้วน ภายในจิตใจนั้นมีแต่ความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ สิ่งเลวร้ายในชีวิตมนุษย์นั้นไซร้ ย่อมเกิดจากผลกรรมเก่า และใหม่ที่ตนก่อไว้ เมื่อถึงเวลา กรรมนั้นย่อมเป็นไปตามกลไกของมัน พระราหูเทพอสุรินทร์ เป็นเทพยุเจ้าผู้เป็นพยานแห่งการกระทำกรรมของมนุษย์ หาได้ให้ร้ายใครไม่ ! ️ ️ ส่วนเรื่องอิทธิฤทธิ์ของพระราหูนี้มีมากนัก แม้ว่าต่อมาจะเหลือร่างกายเพียงครึ่งเดียว แต่ก็ทรงตบะเดชะไม่เป็นสองรองใคร ซ้ำยังสามารถเข้าบดบังดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ได้ ซึ่งอำนาจในการบดบังดวงอาทิตย์นี้ ครูบาอาจารย์บางท่านได้กล่าวสรรเสริญไว้ว่า แม้ดวงอาทิตย์ที่ร้อนแรง ก็ยังมีพระราหูมาบดบังให้เยือกเย็น ท่านจึงว่าพระราหูนั้น มีคุณในการดับร้อนให้เป็นเย็น หรือมีอำนาจในการบังตาเป็นที่น่าอัศจรรย์ ! ในครั้งนั้น พระพุทธองค์ยังได้กล่าวถึงบุพกรรมแต่หนหลังของพระราหูว่า พระราหูเคยตั้งปณิธานไว้ว่า จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งการบำเพ็ญบารมีของพระราหู ทุกภพชาติที่ผ่านมานั้น พระพุทธเจ้าตรัสรับรองว่าจะสำเร็จแน่นอนในอนาคตกาล โดยจะบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทำให้พระราหูปลาบปลื้มโสมนัส และมีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ จนตั้งใจบำเพ็ญเพียรเพื่อพระโพธิญาณให้มากยิ่งขึ้น ในพระไตรปิฎกยังกล่าวอีกว่า พระราหูจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ” พระพุทธนารทตถาคตเจ้า” นับเป็นองค์ที่ ๕ ถัดจาก ” พระศรีอารยเมตไตรพุทธเจ้า” จากคติดังกล่าวนี้ จึงถือว่าพระอสุรินทราหู นั้นมีฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ และเป็นหน่อเนื้อพระพุทธางกูรแห่งองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่น่าเคารพบูชากราบไหว้ของชาวพุทธ ซึ่งการบูชาพระโพธิสัตว์ เป็นคตินิยมของมหายาน แต่ฝ่ายหินยานหรือในบ้านเรานั้น ก็รู้จักเรื่องพระโพธิสัตว์น้อยมาก ️ ️ พระโพธิสัตว์ บางครั้งมีรูปกายสวยงาม บางครั้งก็มีรูปกายน่ากลัว และสามารถบังเกิดในภพภูมิใดก็ได้ ดังเช่นพระราหู เป็นพระโพธิสัตว์ที่รูปกายน่ากลัว และเป็นพระโพธิสัตว์ ที่เกิดขึ้นในแดนอสูร ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระพุทธศาสนา ให้พรคนดี ย่ำยีคนชั่ว บำเพ็ญบารมีสร้างภพชาติ เพื่อสืบพระพุทธสันตติวงศ์มิให้สิ้นสูญ โปรดสรรพสัตว์ให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นมหาบารมี มหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นจึงสมควรที่จะได้รับการเคารพบูชาเช่นพระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เช่นกัน ในการอธิษฐานขอบารมีพระราหูที่ถูกต้องนั้น ให้อธิษฐานอ้างเอาคุณพระรัตนตรัยขึ้นก่อน จากนั้นอธิษฐานถึงพระราหูว่า ขออำนาจบารมี พระอสุรินทราหูเทวโพธิสัตว์เจ้า จงโปรดอำนวยอวยพรแด่ข้าพเจ้า แล้วจึงทำการอธิษฐาน ทั้งนี้เพราะพระราหูนั้น มีเพศเป็นแทตย์ และอยู่ในระดับอสูรเทพ และยังมีบารมีธรรมเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับพระพุทธพยากรณ์จากพระพุทธองค์ ว่าจะต้องสำเร็จมรรคผลโพธิญาณอย่างแน่แท้ พระโพธิสัตว์เจ้า ที่ได้รับพระพุทธพยากรณ์เช่นนี้จากพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์หน่อพุทธางกูรเที่ยงแท้ บำเพ็ญบารมีถึงขั้น “อจลภูมิ ” แล้วจึงได้รับการขนานพระนามเป็นเกียรติว่า “พระบรมโพธิสัตว์” การอธิษฐานอ้างถึงคุณงามความดีของพระราหูดังกล่าว จึงถือเป็นอาราธนาคุณของพระราหูทั้งด้านบุญฤทธิ์ และอิทธิฤทธิ์ พร้อมกันในตัว เป็นสิริมงคลแก่ผู้ระลึกถึงเป็นอย่างมาก

พระพุทธทาสภิกขุ

บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา(พระพุทธทาสภิกขุ)

July 4, 2019 shantideva 0

พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ เริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม ที่ อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา “พุทธทาส” แทนนามเดิมนับแต่นั้นมา ท่านพุทธทาสภิกขุอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงแก่มรภาพอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ ก.ค. ๒๕๓๖ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

July 3, 2019 shantideva 0

เป็นวันที่มีความสำคัญเพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา และยังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วยวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้  เกมส์ยิงปลา วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีไหนมีเดือนอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองครั้งก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันที่พระสงฆ์มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ 1,250 รูปโดยมิได้นัดหมายเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต และพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงโอวาทปาฎิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยพระธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ซึ่งเมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟังจนจบ ก็มีปัจวัคคีย์ท่านหนึ่งคือ อัญญาโกญฑัญญะ ได้เข้าถึงพระธรรมเทศนาและบรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอพระพุทธเจ้าขอบวชในพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงเป็นวันที่พุทธศาสนาครบองค์ 3 คือมีพร้อมทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พุทธศาสนากำหนดให้พระภิกษุสามเณรต้องอยู่จำพรรษาประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็นที่ไม่สามารถกลับมาในวันเดียวได้ก็อนุญาตให้ไปพักแรมข้ามคืนได้คราวละไม่เกิน 7 วัน เรียกกว่า สัตตาหะ วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาและเป็นวันเริ่มต้นกฐินกาล ซึ่งเป็นเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาในการทอดกฐินตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงช่วงเวลานี้เวลาเดียวเท่านั้น หากนอกเหนือจากนั้นจะไม่เรียกว่าทอดกฐิน พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย โดยมีหลักธรรมคำสั่งสอนและมีประเพณีที่สำคัญหลายอย่างที่เป็นสิ่งเตือนใจให้ชาวพุทธได้ตระหนักถึงความสำคัญของพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับพุทธศาสนาเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความสำคัญ

ครุฑกับนาคตำนานแค้นสองเผ่าพันธุ์

July 2, 2019 shantideva 0

ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เล่าว่า ในครั้งบรรพกาลยังมีมหาเทพฤษีองค์หนึ่งนามว่า พระกัศยปมุนี ซึ่งเป็นฤษีที่มีฤทธิ์เดชมากและเป็นผู้ให้กำเนิดเทพอีกหลายองค์จนถูกเรียก ขานว่า พระกัศยปเทพบิดร พระองค์มีชายาหลายองค์ โดยในบรรดาชายาทั้งหลายนั้นมีชายาสององค์ซึ่งเป็นพี่น้องกันนามว่า วินตาและกัทรุ นางทั้งสองได้ขอพรให้กำเนิดบุตรจากพระกัศยป โดยนางกัทรุได้ขอพรว่าขอให้มีบุตรจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอบุตรเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา ซึ่งเมื่อนางคลอดบุตร ก็ปรากฏว่าออกมาเป็นไข่สองฟอง ด้วยความทนรอดูหน้าบุตรไม่ไหว นางจึงทุบไข่ฟองหนึ่งและปรากฏเป็นเทพบุตรที่มีกายเพียงครึ่งบนชื่อ อรุณ อรุณเทพบุตรโกรธมารดาที่ทำให้ตนออกจากไข่ก่อนกำหนดจนมีร่างกายไม่ครบ จึงสาปให้มารดาของตนต้องเป็นทาสนางกัทรุโดยกำหนดให้บุตรคนที่สองของนางเป็น ผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่ฟองที่สองออกมาดู และรอจนถึงกำหนด จนเมื่อไข่ฟักออกมา ก็ปรากฏเป็น พญาครุฑ ซึ่งเมื่อแรกเกิดนั้นก็มีร่างกายขยายออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตายามกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกคราใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้ท้าพนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ (บางตำราก็ว่าม้าทรงรถของพระอาทิตย์) ที่เกิดเมื่อคราวกวนเกษียรสมุทรและเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาว ส่วนนางกัทรุทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้พ่นพิษใส่จนม้าเป็นสีดำ) นางวินตาไม่ทราบในอุบายนี้เลยยอมแพ้ จนต้องเป็นทาสของนางกัทรุถึงห้าร้อยปี ภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบถึงสาเหตุที่มารดาต้องตกเป็นทาส จึงไปเจรจาขอให้พวกนาคยอมปล่อยมารดาตน พวกนาคจึงสั่งให้พญาครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้เพื่อแลกกับอิสรภาพของนางวินตา พญาครุฑจึงบินไปสวรรค์ไปเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาและเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ ร้อนถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์ต้องมาช่วยขวางครุฑไว้และต่อสู้กัน ทว่าต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึก โดยพระวิษณุทรงให้พรแก่ครุฑว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะและให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่า พระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะเป็นพาหนะของพระวิษณุและเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปัก บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า จากนั้น พญาครุฑก็นำหม้อน้ำอมฤตลงมา ทว่าพระอินทร์ได้ตามมาขอคืน พญาครุฑก็บอกว่าตนจำต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้เหล่านาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้น จากการเป็นทาสและให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง จากนั้นครุฑได้เอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคาและได้ทำน้ำอมฤตหยดบน หญ้าคา 2-3 หยด (ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาให้เป็นอิสระ ขณะที่เหล่านาคพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อเตรียมมาดื่มน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็รีบมานำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้พวกนาคไม่ได้กิน พวกนาคจึงเลียที่ใบหญ้าคาด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว (เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้) แม้ว่าจะไถ่ตัวมารดากลับมาได้แล้ว แต่พญาครุฑยังแค้นใจที่พวกนาคใช้เล่ห์กลจนมารดาของตนต้องตกเป็นทาส ทำให้พญาครุฑและเหล่าลูกหลานรุ่นต่อมา ตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกนาค โดยเหล่าครุฑจะโฉบลงมายังมหาสมุทรและโฉบนาคไปฉีกท้องจิกกินมันเปลวและทิ้ง ร่างไร้ชีวิตของนาคตกลงมหานที ข้างฝ่ายพวกนาคนั้นแม้จะพยายามต่อสู้แต่ก็ไม่อาจสู้ไหวจึงพากันเลื้อยหนีไป หลบภัยยังสะดือทะเล แต่ก็ถูกครุฑใช้ปีกโบกสะบัดจนน้ำลดแห้งและจับนาคไปฉีกท้องกิน เหล่านาคจึงพยายามกลืนหินใหญ่ลงท้องเพื่อถ่วงตัวให้หนัก ครุฑตนใดไม่รู้อุบายเวลาโฉบลงจับนาคก็ถูกหินที่นาคกลืนลงไปถ่วงน้ำหนักจนบิน ขึ้นไม่ไหวและจมน้ำตายส่วนครุฑที่รู้อุบายนี้ก็จะจับนาคทางหางและเขย่าจนนาค ต้องคายหินออกมา และนี่เองคือเรื่องราวความพยาบาทของพญาครุฑและพญานาค สองเผ่าพันธุ์สัตว์เทพเจ้าในตำนาน

ประวัติพระพุทธศาสนา

July 1, 2019 shantideva 0

พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม  เกมส์ยิงปลา ความหมาย พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม ซึ่งเป็นองค์หนึ่งในบรรดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายที่ได้เคยตั้งพุทธบริษัทมาแล้ว และที่จะตั้งต่อไปในอนาคต ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากที่ตรัสรู้แต่ไม่มีบารมีพอให้ตั้งพุทธบริษัทได้ จึงให้ผลเฉพาะตัวเรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้า จึงเห็นได้ว่า จากความสำนึกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวพุทธมีใจกว้าง เพราะถือเสียว่าธรรมะมิได้มีในพระพุทธศาสนาของพระโคตมเท่านั้น แต่คนดีทั้งหลายก็อาจจะพบธรรมะบางข้อได้ และแม้แต่ชาวพุทธเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงปรารถนาให้แสวงหาและเข้าใจธรรมะด้วยตนเอง พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง คือ ผู้ช่วยเกื้อกูลให้แต่ละคนสามารถพึ่งตนเองในที่สุด “ตนของตนเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง” อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนิกที่แท้จริง คือ ผู้ที่แสวงหาธรรมะด้วยตนเองและพบธรรมะด้วยตนเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พยายามพัฒนาธาตุพุทธะในตัวเอง ลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนา ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ เป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ กล่าวคือ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ทั้งความเป็นจริงและข้อธรรมได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ เช่น วิเคราะห์จิตได้ละเอียดลอออย่างน่าอัศจรรย์ใจ วิเคราะห์ธรรมะออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุมและประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น หากจะพยายามอธิบายธรรมะข้อใดสักข้อหนึ่ง ก็จะต้องอ้างถึงธรรมะข้ออื่นๆ เกี่ยวโยงไปทั้งระบบ วิธีการวิเคราะห์ธรรมะอย่างนี้ บางสำนักของศาสนาฮินดูได้เคยทำมาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้เด่นชัดอย่างธรรมะที่สอนกันในพระพุทธศาสนา จึงควรยกย่องได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ และเมื่อกล่าวเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านอื่นๆ ทั้งมิได้หมายความเลยไปถึงว่าศาสนาอื่นๆ ไม่รู้จักวิเคราะห์ หามิได้ ต้องการหมายเพียงแต่ว่าพระพุทธศาสนาเด่นกว่าศาสนาอื่นๆ ในด้านวิเคราะห์เท่านั้น และถ้าหากศาสนาต่างๆ จะพึ่งพาอาศัยกันและกันก็พระพุทธศาสนานี่แหละสามารถให้ตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อธรรมะได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ศาสนาอื่นๆ อาจจะบริการด้านอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเด่นชัด เช่น ศาสนาพราหมณ์ในเรื่องจารีตพิธีกรรม ศาสนาอิสลามในเรื่องกฎหมาย เป็นต้น แต่ทั้งนี้แล้วแต่ว่าสมาชิกแต่ละคนของแต่ละศาสนาจะสนใจร่วมมือกันในทางศาสนามากน้อยเพียงใด บ่อเกิดของพระพุทธศาสนา แม้ชาวพุทธจะมีความสำนึกว่า สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีมาแล้วมากมายในอดีต และจะมีอีกมากมายต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม คำสอนของอดีตพระพุทธเจ้าไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาได้อีกแล้ว ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะมาในอนาคตก็ยังไม่มีใครรู้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจึงมาจากคำสอนของพระพุทธโคตมแต่องค์เดียว คำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ ทั้งในและนอกพระพุทธศาสนา อาจจะเสริมความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่ไม่อาจจะถือว่าเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า ความรู้ที่พระองค์ทรงรู้จากการตรัสรู้นั้นมีมากราวกับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่พระองค์นำมาสอนสาวกนั้นมีปริมาณเทียบได้กับใบไม้เพียงกำมือเดียว พระองค์ไม่อาจจะสอนได้มากกว่าที่ได้ทรงสอนไว้ ดังนั้น หากมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น ให้ตกลงกันด้วยสังคายนา (ร้องร่วมกัน) คือ ประชุมและลงมติร่วมกัน ส่วนในเรื่องธรรมวินัยปลีกย่อย หากจำเป็นก็ให้ประชุมตกลงปรับปรุงได้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งก็คือสังคายนา สังคายนาจึงกลายเป็นเครื่องมือให้เกิดการยอมรับร่วมกันในหมู่ผู้ยอมรับสังคายนาเดียวกัน แต่ก็เป็นทางให้เกิดการแตกนิกายโดยไม่ยอมรับสังคายนาร่วมกัน นิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น เพราะการยอมรับสังคายนาต่างกัน และนิกายต่างกันนั้นก็ยอมรับคัมภีร์และอรรถกถาที่ใช้ตีความคัมภีร์ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธแม้จะต่างนิกายกันก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน ทำบุญร่วมกันได้ และร่วมมือในกิจการต่างๆ ได้ ผู้ใดนับถือพระพุทธเจ้าและแม้จะนับถือสิ่งอื่นด้วย เช่น พระพรหม พระอินทร์ ไหว้เจ้า หรือภูตผีต่างๆ ก็ยังถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันกันแต่ประการใด ดังนั้น การที่จะมีบ่อเกิดเพิ่มเติมแตกต่างกันไปบ้าง ตราบใดที่ยังยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันเป็นส่วนมาก ก็ไม่ถือว่าต้องแตกแยกกัน คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุดเนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้ นิกายมหายาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่า แค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย และไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดลงไปว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ที่แน่ชัดก็คือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศต.1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกของฝ่ายเถรวาท ฝ่ายมหายานมิได้ปฎิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดมีความสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ ไม่อาจดับสูญ …..อ่านต่อ