ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา Authenticity of Early Buddhist Texts

October 12, 2020 shantideva edit 0

ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา Authenticity of Early Buddhist Texts พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในไตรปิฎกได้รับการกล่าวอ้างว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมากว่า 2,500 ปี แต่กระนั้นชิ้นส่วนคัมภีร์โบราณที่สุดที่เราค้นพบมีอายุเพียง 2,000 ปี และตามประวัติก็ระบุว่าเคยถูกทรงจำไว้ด้วยปากเปล่ามานาน 500 ปีก่อนจะได้รับการบันทึก มีอะไรที่พอจะยืนยันให้เราแน่ใจได้ว่านั่นเป็นคำสอนของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “พระพุทธเจ้า” จริง หรืออย่างน้อยก็บรรจุคำสอนของบุคคลท่านนี้โดยไม่ผิดเพี้ยนดังที่ประเพณีสืบทอดได้กล่าวอ้างไว้ อันที่จริงในพระไตรปิฎกนั้นมีคัมภีร์หลายชั้นซ้อนทับกันอยู่ และไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้าทั้งหมด แต่ด้วยวิธีวิทยา(Methodology) เราสามารถสืบย้อนได้ว่าคัมภีร์ใดเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมและคัมภีร์ใดเป็นรุ่นหลัง แม้ว่าเราจะไม่อาจทราบถ้อยคำที่พระองค์ตรัสโดยตรง แต่มีวิธีการที่ใช้สืบอันทำให้เชื่อได้ว่าคำสอนเหล่านี้มีที่มาย้อนไปถึงพระพุทธเจ้าและสมัยพุทธกาลโดยตรง โดยคัมภีร์ที่นับได้ว่าอยู่ในรุ่นดั้งเดิมพบในพระสุตตันตปิฎกใน 4 นิกายแรกเป็นหลัก(ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย) และบางส่วนของขุททกนิกาย(สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน เถรคาถา เถรีคาถา) รวมทั้งส่วนใหญ่แห่งพระวินัยปิฎก

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา”

October 10, 2020 shantideva edit 0

สรุปย่อ “ความดั้งเดิมแท้ของพระคัมภีร์พุทธศาสนา” • สำนวนท่องจำใช้คำและวลีซ้ำๆ ไม่ใช่สำนวนเขียนร้อยเรียง แสดงว่าเคยถูกใช้ท่องสวดมีมาตรฐานและมีคำร่วมความหมายเพื่อให้เนื้อความกระจ่าง • ประเพณีสืบทอดผ่านปากเปล่าและความทรงจำล้วนๆ (มุขปาฐะ) ถูกจัดตั้งขึ้นในอินเดียมายาวนานมากแล้ว มีมาตรฐานเพื่อความชัดเจนและระบบท่องสวดเป็นหมู่เพื่อความแม่นยำ (ปัจจุบันยังมีพระสงฆ์ที่ท่องจำครบทั้งไตรปิฎกอยู่) • ภาษาบาลีเป็นภาษาอินเดียเหนือแม้จะถูกจารในลังกาเป็นคราแรกแต่ไม่ปรากฏอิทธิพลภาษาอินเดียใต้และลังกา (แสดงถึงท่าทีอนุรักษ์สูง) • เนื้อหาสอดคล้องกับสภาพสังคมอินเดียยุคศตวรรษที่ 5-4 ก่อนศักราชสากล (ซึ่งถือว่าเป็นสมัยพุทธกาล) ไม่มีเค้ารอยเอ่ยถึงเทคโนโลยีและศิลปวิทยาการในยุคหลังกว่านั้นเพียงไม่กี่ศตวรรษ เช่น การก่อสร้างด้วยหิน การเขียน ไม่รู้จักเทพฮินดูที่นิยมในรุ่นหลังและไม่เอ่ยถึงดินแดนที่ห่างออกไปทางใต้ • เนื้อหาที่ชัดเจนและสมจริงในชีวิตประจำวัน ไม่มีอภินิหารที่เกินเลยชีวิตธรรมดามากเกินไปอย่างตำนานยุคหลัง • มีเนื้อหาบางประการที่แปลกประหลาดและสวนกับแนวคิดของคนทั่วไป แสดงความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต เช่นปัญหาด้านสุขภาพของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการบริหารคณะสงฆ์ พระสาวกที่ไม่เชื่อฟัง พระพุทธะดูไม่ต่างจากภิกษุทั่วไป ฯลฯ (ซึ่งหากคัมภีร์ถูกแต่งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สร้างศรัทธาก็ไม่น่าจะใส่เนื้อหาเช่นนี้เข้ามา หรือถ้ามีการแก้ไขดัดแปลงก็น่าจะตัดเนื้อหาพวกนี้ออกไป แต่การคงไว้สื่อถึงความอนุรักษ์อย่างจริงใจ) • สภาพการเมืองในพระคัมภีร์ อินเดียแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ต่างๆ เช่น มคธ โกศล วัชชี อวันตี วังสะ ฯลฯ ต่างจากสมัยพระเจ้าอโศกเหลือเพียงอาณาจักรมคธที่รวบรวมอินเดียเป็นแผ่นเดียวสมบูรณ์ใน 2 ศตวรรษให้หลัง (แต่แคว้นโกศลกับวัชชีหลังพุทธกาลทันทีก็ไม่เหลือ ได้กลายเป็นมคธไปแล้ว) *เนื้อหาจึงไม่อาจเกิดหลังยุคพุทธกาลได้* • เปรียบเทียบภายในพุทธศาสนาระหว่างนิกายซึ่งแยกไปนานกว่า 2,300 ปี รักษาในต่างภาษาคือบาลีและจีน รวมทั้งทิเบต สันสกฤต และอื่นๆที่ค้นพบใหม่ในโบราณคดี แม้เป็นของนิกายต่างกัน ต่างสายการสืบทอด แต่กลับปรากฏคัมภีร์ร่วมกัน หลักธรรมคำสอนและ พระสูตรเดียวกัน พระวินัยมีสาระเดียวกัน อันจะสืบสาวไปได้ว่าเป็นสิ่งที่มีมาก่อนยุคแยกนิกายและใกล้เคียงต้นกำเนิดพุทธที่สุด (ซึ่งก็มีเนื้อความสาระไม่ต่างไปจากพระสูตรและพระวินัยที่อยู่ในสายเถรวาทบาลี) • ความสมานสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวของคำสอนจำนวนมากสื่อว่าต้องมาจากบุคคลเดียวเท่านั้น หรือต่อให้มีหลายผู้รวบรวมเรียบเรียงก็จะต้องมาจากแหล่งเดียวกัน

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts

October 8, 2020 shantideva edit 0

มติของนักวิชาการสากลว่าด้วยพระคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม Scholarly opinion on Early Buddhist Texts วงการพุทธศาสนศึกษา(Buddhist studies) หรือการศึกษาพุทธศาสนาเชิงวิชาการในโลกตะวันตกมีความแปลกแตกต่างจากวงการศึกษาคริสตศาสนา เนื่องจากนักวิชาการผู้ที่ศึกษาคริสต์เชิงวิชาการนั้นส่วนมากมีที่มาจากวงใน กล่าวคือเป็นศาสนิกชนชาวคริสต์ที่ต้องการหาเหตุผลและข้อมูลหลักฐานยืนยันรับรองข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์และเนื้อหาในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ส่วนวงการศึกษาพุทธศาสนาส่วนใหญ่มาจากวงนอกคือเป็นนักวิชาการชาวตะวันตกที่มิใช่ชาวพุทธแต่มีความสนใจใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์และคำสอนของประเพณีทางจิตวิญญาณตะวันออกโดยปราศจากความพยายามที่จะยืนยันความจริงแท้แต่อย่างใด นักวิชาการเหลานี้มีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่โดยรวมนักวิชาการมีมติร่วมกันว่าส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์พุทธดั้งเดิมเป็นเนื้อหาเดิมแท้จริง(authentic) ส่วนนักวิชาการบางท่านที่ตั้งข้อสงสัยแบบสุดโต่งนั้นเป็นผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนายุคหลังหรือประวัติศาสตร์ในถิ่นอื่นเช่นเส้นทางสายไหม (มิใช่ผู้ชำนาญการด้านพุทธศาสนาดั้งเดิมโดยเฉพาะ) ที่ทำให้ข้อคิดเห็นข้ามพื้นที่ชำนาญการของตน สำหรับผู้สนใจศึกษาที่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและมีข้อสงสัย การรับฟังมติของผู้ที่อุทิศตนค้นคว้าในเนื้อหาเฉพาะด้านจึงเป็นแนวทางที่ดีในการหาข้อสรุปเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือกว่าผู้ที่ไม่ชำนาญการเฉพาะ อนึ่ง นักวิชาการที่ได้ค้นคว้าทางพุทธาศาสนาระดับสากลที่รับรองความสมจริงดั้งเดิมของพุทธคัมภีร์ส่วนใหญ่มิได้เป็นชาวพุทธหรือไม่ประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ บางท่านเป็นนักบวชในคริสตศาสนาด้วยซ้ำ เช่น ศ.ลามอตต์ จึงมีความน่ารับฟังในแง่ที่ปราศจากอคติส่วนตน

สาระเรื่องสาละ (ต้นไม้ในพุทธกาล)

October 6, 2020 shantideva edit 0

สาระเรื่องสาละ บทความนี้จะกล่าวถึงต้นสาละอินเดียจริงๆ ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ต้นลูกปืนใหญ่( Couroupita guianensis) บางครั้งเรียกว่า สาละลังกา ที่เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สาละ เป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง ถิ่นกำเนิดของต้นสาละ พบใน คือทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยจากพม่าทางตะวันออกไปยังประเทศเนปาล พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และบังคลาเทศ ในอินเดียครอบคุมเขตรัฐอัสสัม,เบงกอล,โอริสสาและรัฐฌารขัณฑ์ไปทางตะวันตก จดแถบรัฐหรยาณา บริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำยมุนา และทางตะวันออกรัฐมัธยประเทศ เดิมไม่พบในไทย ปัจจุบันมีการนำเข้ามาปลูกกันมากขึ้น ป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้สาละหรือ ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า ต้นสาละ เป็นพืชเศรฐกิจมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย ส่วนยางนั้นสามารถนำมาทำยาและเครื่องหอมได้อีกด้วย สาละในพุทธศาสนาปรากฎอยู่บ่อยๆในพระไตรปิฎก และเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติอยู่มาก ที่สำคัญคือพุทธประวัติตอน ประสูติ – ตรัสรู้ – ปรินิพพาน  ตอนประสูติ  พระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดประสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีประสูติการที่กรุงเทวทหะ ตามธรรมเนียม เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่สวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้สาละ พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท ขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละและได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร “ ตอนตรัสรู้ เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำแม่น้ำเนรัญชลา เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฎว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ตอนปรินิพพาน เมื่อพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในเวลาต่อมา เดิมทีความเข้าใจเกี่ยวกับต้นสาละหรือต้นซาล ของชาวไทยยังค่อนข้างสับสนกันอยู่ เดิมเข้าใจว่าต้นสาละ เป็นต้นเดียวกันกับ ต้นรัง(ไทย) ต่อมาก็สับสนกับต้นลูกปืนใหญ่ อีก รูปต้นสาละกำลังออกดอกบานเต็มต้น   ผลของต้นสาละ

ภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤต

September 24, 2020 shantideva edit 0

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) โดยมีระดับวิวัฒนาการเก่าแก่ในระดับใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียนด้วยกัน คือภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ วรรณกรรมภาษาสันสกฤตพบการใช้ที่หลากหลาย ตั้งแต่เป็นวรรณคดี บทกวี บทละคร เป็นตำราทางวิชาการหลากหลายสาขา และเป็นใช้ทางศาสนา บันทึกบทสวด ปรัชญา หลักการทางศาสนา ทั้งในพบเอกสารทั้งใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธ เชน และ ซิกข์ ซึ่งในส่วนของ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูถือว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ คำว่า สันสกฤต แปลว่า “กลั่นกรองแล้ว” ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่า “ปรากฤต” ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด ภาษา ภาษาพระเวท (Vedic Sanskrit) ที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท เมื่อราว 1,200 ปีก่อน ค.ศ. อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้น ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ราว 57 ปีก่อน พ.ศ. พราหมณ์ชื่อ “ปาณินิ” ชาวแคว้นคันธาระ ท่านเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามา หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้จะคละกับภาษาถิ่น ปาณินิได้ศึกษาและจัดเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บท ชื่อว่า “อัษฏาธยายี” ภาษาที่ปรับปรุงใหม่นี้เรียกว่า “ตันติสันสกฤต” หรือ สันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit) วรรณคดีสันสกฤตแบบแผนที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมากคือ มหาภารตะ และ รามายณะ ภาษาสันสกฤตอีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า ภาษาสันสกฤตผสม หรือ ภาษาสันสกฤตผสมในพุทธศาสนา (Buddhist Hybrid Sanskrit or Mixed Sanskrit) เป็นภาษาสันสกฤตยุคหลังถัดจากภาษาสันสกฤตแบบแผน พบในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งในนิกายสรรวาสติวาทและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน วรรณกรรมภาษาสันสกฤตพบการใช้ที่หลากหลาย มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องสามารถ แบ่งประเภทตามเนื้อหาได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆคือ อาคม(āgama) มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญา อิติหาส(itihāsa) มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือวีรชนและประเพณีที่สืบทอดกันมา ศาสตร์(śāstra) มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวิทยาการและงานวิชาการ กาวยะ(kāvya) กวีนิพนธ์หรือบทประพันธ์ที่อยู่ในรูปของศิลปะ ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรสำหรับเขียนชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง แต่จะเขียนด้วยอักษรหลายชนิด อักษรเก่าแก่ที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น อักษรขโรษฐี อักษรพราหมี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันโดยทั่วไปนิยมเขียนภาษาสันสกฤตด้วยอักษรเทวนาครี ส่วนอักษรอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมในแต่ละท้องถิ่นในอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากอักษรที่ใช้ในอินเดีย มักจะเป็นตระกูลเดียวกัน จึงสามารถดัดแปลงและถ่ายทอด (Transliteration) ระหว่างชุดอักษรได้ง่าย แม้กระทั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชุดอักษรท้องถิ่นที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตได้ ยังมีจารึกโบราณภาษาสันสกฤตที่ใช้ อักษรปัลลวะ อักษรขอมโบราณ ในระดับสากลยังใช้อักษรโรมันเขียนภาษาสันสกฤตโดยมีมาตรฐานแตกต่างกันออกไปด้วย ตัวอย่างลักษณะการบันทึกแบบอักษรต่างๆ

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต

September 21, 2020 shantideva edit 0

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต คัดจากบางส่วนจาก ธรรมจักรประวรรตนสูตร พระคัมภีร์ลลิตวิสตร อัธยายที่ ๒๖ ธรรมจักรประวรรตนปริวรรต “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หรือ “ธรรมจักรประวรรตนสูตร” มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา นับเป็นพระสูตรที่สำคัญมากต่อพระพุทธศาสนา เพราะแม้จะเกิดความเห็นที่ไม่ตรงกันในการสังคายนาพระธรรมวินัยจนเกิดการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ ถึง 18-20 นิกายในช่วงตั้งแต่ราว 100 ปีหลัง พุทธกาลเป็นต้นมาก็ตาม แต่พระสูตรนี้ยังคงสืบทอดต่อกันมาในคัมภีร์ของนิกายต่างๆจนถึงในปัจจุบัน โดยนักวิชาการสามารถรวบรวมได้ถึง 23 คัมภีร์ ปรากฏทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน และต้นฉบับภาษาบาลี สันสกฤต จีนและธิเบต อีกทั้งแปลออกไปในภาษาอื่นๆอีกทั่วโลก ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต หรือ ธรรมจักรประวรรตนสูตร ที่จะนำเสนอนี้ คัดจากบางส่วนจาก พระคัมภีร์ลลิตวิสตร ซึ่งแต่เดิมพระคัมภีร์นี้เป็นพุทธประวัติฝ่ายสาวกยาน นิกายสรรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำเป็นเป็นคัมภีร์ศักสิทธิ์ของตน

คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ของหริวรมันภิกษุ

คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ของหริวรมันภิกษุ

September 19, 2020 shantideva edit 0

บทนำ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของหริวรมันภิกษุ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ คัมภีร์นี้รจนา โดยพระภิกษุชาวอินเดียกลาง นามว่า หริวรมัน เป็นศิษย์ของพระกุมารริละภัตตะ ซึ่งเป็นพระเถระของนิกายเสาตรานติกะ มีช่วงชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 9 หลังพุทธกาล พระหริวรมันไม่เห็นด้วยในคำสอนที่ของอาจารย์ท่านในหลายละเอียดเรื่องต่างซึ่งอาจจะเป็นมติต่างๆ นิกายเสาตรานติกะเอง ท่านจึงได้แต่งคัมภีร์นี้เพื่อจะประมวลข้อคิดคำสอนและคำอธิบายพระธรรมของฝ่ายสาวกยานสำนักต่างๆ ในอินเดียครั้งนั้น ให้เข้ารูป เข้ารอยอันเดียวกัน และเป็นการรวมเอาของคำสอนเด่นๆ ของฝ่ายสาวกยานไว้มากที่สุด นักวิชาการให้ความเห็นว่า คัมภีร์นี้เป็นความพยายามที่จะรวมนิกายในฝ่ายสาวกยานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างนิกาย หลังจากเกิดการแตกแยกและโจมตีกันทางปรัชญาอย่างหนัก ซึ่งก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์นี้ไปใช้ ส่วนพระหริวรมันนั้นไม่แน่ชัดว่าท่านสังกัดอยู่ในนิกายใด บางว่า สังกัดนิกายพหุศรุติกะ สำนักเสาตรานติกะ สำนักธรรมคุปต์ หรือ มะหีสาสกะ ที่เรียกว่า “สัตยสิทธิ” ก็เพราะทำความจริงให้ปรากฎ คือความจริงอันแน่นอนว่า อาตมันเป็นศูนย์ ธรรมเป็นศูนย์ อีกประการคือกล่าวถึงความจริงสูงสุด หรือ อริยสัจ 4 เช่นนี้จึงเรียกว่า ประสิทธิประสาท (สิทธิ) ความจริง (สัตย์) ให้สัมฤทธิ์ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ รจนาเป็นภาษาสันสกฤตแบบผสมในพุทธศาสนา โดยมีเนื้อหา 5 บท (สกันธะ) แต่ละบทจะประกอบหัวข้อย่อย(วรรค) ดังที่จะนำเสนอดังนี้ สกันธะที่ 1 ปฺรถมะ ปฺรสฺถานสฺกนฺธะ บทแรกว่าหนทางการดำเนินในสัตยสิทธิ มี 35 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 1-35 สกันธะที่ 2 ทุะขสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งทุกข์ มี 59 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 36-94 สกันธะที่ 3 สมุทยสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ มี 46 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 95-140 สกันธะที่ 4 นิโรธสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งนิโรธ คือ ความดับทุกข์ มี 14 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 142-154 สกันธะที่ 5 มารฺคสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งมรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มี 48 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 155-202 ส่วนผู้ทำให้คัมภีร์นี้เป็นที่รู้จัก ต่อมาคือ ท่านกุมารชีพหรือกุมารชีวะ” ซึ่งเป็นคณาจารย์ชาวเตอร์กีสถาน ได้เดินทางมา ในจีนเหนือ ท่านผู้นี้ได้นำเอานิกายศูนยวาท ของพระนาคารชุนอันเป็นคณาจารย์ใหญ่ของฝ่ายมหายาน มาประดิษฐานในเมืองจีน โดยได้แปลผลงานของท่านนาคารชุนเอาไว้ พร้อมๆกับท่านได้นำนิกายศูนยวาทมหายานมาเผยแพร่นั้น ท่านกุมารชีพได้แปลคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง คือคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ จากผลงานที่แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาจีน ก็ทำให้สานุศิษย์ของท่านกุมารชีพในเมืองจีนนั้น ตั้งนิกายใหม่ อีกนิกายหนึ่ง เพื่อจะประกาศคติธรรมในคัมภีร์นี้โดยเฉพาะ ให้ชื่อว่านิกายสัตยสิทธิ ประกาศคติธรรมในคัมภีร์ปกรณ์นี้เป็นหลักใหญ่ เป็นนิกายที่แพร่ไปในจีนและญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน

อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน

September 17, 2020 shantideva edit 0

อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน อารฺยตฺริรตฺนานุสฺมฤติสูตฺรมฺ พระสูตรว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัยอันประเสริฐ อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร แปลเป็นภาษาไทย พร้อมเสียงอ่านภาษาสันสกฤต บทระลึกถึงพระรัตนตรัยหรือคนไทยเรียกบทอิติปิโสนั้น ปรากฎมีอยู่โดยทั่วๆไปปนในพระสูตรอื่นๆ ทั้งฝ่ายบาลีและสันสกฤต ทั้งสาวกยานและมหายาน เนื้อหาก็ใกล้เคียงกัน แต่บางพระสูตรอาจจะขยายความมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นพระสูตรเอกเทศแต่อย่างใด ในฝ่ายมหายานนั้นมี พระสูตรที่ว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย เป็นเอกเทศอยู่พระสูตรหนึ่งชื่อ อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร มีเนื้อหาใกล้เคียงกับบทอิติปิโสของฝ่ายบาลี แต่ในส่วนระลึกถึงพระพุทธคุณ มีส่วนขยายมีเนื้อหาคล้ายใน สมาธิราชสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรมหายานในยุคแรก ๆ ซึ่งส่วนท้ายของพระพุทธคุณ จะปรากฏมติที่เป็นหลักข้อเชื่อใหญ่ของมหายานโดยเฉพาะ ที่เกียวกับคุณลักษณะและการดำรงอยู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และลักษณะแห่งพระนิพพานในแบบมหายาน อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร นี้เป็นฉบับที่ธิเบตเก็บรักษาไว้ ชื่อในภาษาธิเบต ชื่อ ’phags pa dkon mchog gsum rjes su dran pa’i mdo และยังมีเนื้อหาภาษาสันสกฤตปรากฏในรายการดัชนีศัพท์ของคัมภีร์อภิธานศัพท์ ชื่อคัมภีร์มหาวยุตปัตติ เป็นอภิธานศัพท์สันสกฤต-ธิเบต-จีน อีกด้วย ปัจจุปันมีการแปลออกเป็นหลายฉบับหลายภาษา มีอรรถาธิบายไว้หลายฉบับเช่นกัน ในชื่อภาษาอังกฤษว่า The sutra of the recollection of the noble three jewels นิรวาณในมหายาน มหายานมี นิรวาณ หรือ นิพพาน 2 ประเภท 1.ประเภทแรก นิรฺวาณ คือ นิพพานสภาวะอันดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หมดสิ้นเชื้อที่จะทำให้มาเกิดอีกในสังสารวัฏ ในทางเถรวาทมีเพียงนิพพานชนิดนี้เพียงอย่างเดียว และหลักข้อเชื่อของเถรวาทนั้นเชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระอรหันต์ทั้งปวงต่างก็บรรลุพระนิพพานนี้ ส่วนมหายานนั้นเชื่อว่า นิพพานชนิดนี้เป็นสภาวะที่พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสาวกคือ พระอรหันต์บรรลุเท่านั้น ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบรรลุพระนิพพานอีกประเภท 2. ประเภทสอง อปฺรติษฺฐิต นิรฺวาณ คือ สภาวะการไม่เข้านิพพาน หรือ นิพพานไม่หยุดนิ่ง (non-abiding nirvana) หมายความว่า เป็นพระนิพพานที่ไม่ได้ตัดขาดออกจากสังสารวัฏ การบรรลุพระนิพพานแบบนี้ทางมหายานมีความเชื่อว่า ผู้บรรลุตัดขาดกิเลสทั้งหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว จะประกอบไปด้วยจิตตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ จะอยู่ในนิพพานแบบแรกก็ย่อมได้ [ดูเพิ่มเติมเรื่อง เรื่อง ยาน (มหายาน)] แต่ท่านไม่ทำเช่นนั้นเนื่องจากยังมีจิตที่ปรารถนาจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ สัตว์ที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ที่บรรลุพระโพธิสัตว์ภูมิที่ 10 แล้ว[ดูเพิ่มเติมเรื่อง โพธิสัตว์ทศภูมิ(มหายาน)] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้เหล่านี้จะดำรงอยู่ [ดูเพิ่มเติมเรื่อง ตรีกาย(มหายาน)] และปณิธานว่าจะช่วยเหลือดูแลสรรพสัตว์ ว่าตราบใดที่สัตว์โลกสุดท้ายยังไม่บรรลุพระนิพพานประเภทแรก ตราบนั้นก็จะยังอยู่ในสังสารวัฏเพื่อช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นต่อไป นิพพานประเภทนี้เถรวาทและพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ สรุปคำสอนของเถรวาทกับมหายานนั้น ทั้งสองฝ่ายเข้าใจพระนิพพานตรงกัน จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือนิพพานประเภทแรกเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์และวิธีการนั้นต่างกัน สังฆะมหายาน สังฆะมหายาน หรือสงฆ์ แบ่งไว้ 2 ประเภท ได้แก่ ภิกฺษุสํฆ อารฺยสํฆ ภิกฺษุสํฆ ( भिक्षुसंघ , bhikṣusaṃgha) บาลีเรียก ภิกขุสงฆ์ หรือ สมมุติสงฆ์ คือ ชุมชนสงฆ์ หรือหมู่ภิกษุทีทำสังฆกรรมต่างๆ ร่วมกัน อารฺยสํฆ ( आर्यसंघ , āryasaṃgha ) บาลีเรียก อริยสงฆ์ หรือ สาวกสงฆ์ ในฝ่ายสาวกยานหมายถึง เฉพาะพระอริยบุคคล 4 ประเภท ในพระสูตรนี้ ฉบับแปลอังกฤษ แปลว่า สงฆ์แห่งมหายาน เหตุเพราะพระสูตรนี้เป็นพระสูตรมหายาน คำว่า อารฺยสํฆ นี้ในมหายานจึงนับพระโพธิสัตว์ในภูมิทั้ง 10 เข้าไปด้วยเป็นอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายถึง สาวกสงฆ์ เพียงอย่างเดียว

เลิกเหล้าเพราะนั่งสมาธิ ธรรมะจากหลวงปู่ดู่ พรหมปญฺโญ

March 30, 2020 shantideva edit 0

หลวงปู่ดู่ พรหมปญโญ เป็นพระมหาเถระที่มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ ไม่จำเพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นบ้านเกิดและที่ตั้งของวัดสะแก อันเป็นสถานพำนักของท่านเท่านั้น ตอนที่ท่านแรกบวช ท่านมิได้ปรารถนามรรคผลนิพพานแต่อย่างใด หากต้องการเรียนรู้วิชาคงกะพันชาตรีและเวทมนตร์ คาถา เพื่อสึกออกไปแก้แค้นโจรที่ปล้นบ้านโยมพ่อโยมแม่ของท่าน ถึงสองครั้งสองครา แต่ต่อมาท่านได้คิด นึกสลดสังเวชใจที่ปล่อยให้ความอาฆาตพยาบาทครอบงำจิตใจนานนับสิบปี ในที่สุดท่านได้ตั้งอโหสิกรรมแก่คนเหล่านั้น แล้วมุ่งเจริญสมณธรรมอย่างจริงจัง ในวัยฉกรรจ์ท่านได้เดินธุดงค์ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี จนในที่สุดได้มาพำนักที่วัดสะแก นับแต่นั้นก็ได้เป็นที่พึ่งทางใจแก่ญาติโยมมาโดยตลอด ต่อมาราว ๆ ปี พ.ศ. 2490 คือเมื่ออายุได้ 43 ปี ท่านตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์นอกวัด ใครที่ตั้งใจมากราบนมัสการหรือฟังธรรมจากท่าน แม้จะเดินทางไกลเพียงใดก็ไม่ผิดหวังเลย เพราะเมื่อมาถึงวัดสะแก จะเห็นท่านนั่งรับแขกหน้ากุฏิตั้งแต่เช้าจรดค่ำ แม้กระทั่งเมื่อท่านชราภาพมากแล้ว มีลูกศิษย์จัดทำป้ายกำหนดเวลารับแขกเพื่อถนอมสุขภาพของท่าน แต่ไม่นานท่านก็ให้นำป้ายออกไป ด้วยความเมตตาที่ท่านมีต่อญาติโยมทัังหลายนั้นเอง ท่านมีวิธีสอนธรรมะแก่ญาติโยมอย่างแยบคาย คราวหนึ่งมีศิษย์มากราบท่านโดยพาเพื่อนซึ่งเป็นนักเลงเหล้าตามมาด้วย เมื่อสนทนากับหลวงปู่ได้พักหนึ่ง ศิษย์ผู้นั้นได้ชักชวนเพื่อนให้สมาทานศีล 5 พร้อมกับทำสมาธิภาวนา นักเลงเหล้าผู้นั้นแย้งต่อหน้าหลวงปู่ว่า “จะให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ” หลวงปู่ดู่แทนที่จะคาดคั้นหรือคะยั้นคะยอเขา กลับตอบว่า “เอ็งจะกินก็กินไปสิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละห้านาทีก็พอ” ชายผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละห้านาทีไม่ใช่เรื่องยาก จึงรับคำหลวงปู่ นับแต่วันนั้น เขาก็นั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอตามที่รับปากเอาไว้ ไม่ขาดแม้แต่วันเดียว บางวันถึงกับงดกินเหล้ากับเพื่อน ๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติพอดี เมื่อได้สัมผัสกับความสงบจากสมาธิภาวนา เขาก็มีความสุข จึงโหยหาเหล้าน้อยลง จนในที่สุดก็เลิกเหล้าไปโดยไม่รู้ตัว หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ละชีวิตทางโลกอุปสมบทเป็นพระภิกษุและมุ่งมั่นกับการปฏิบัติธรรม หลวงปู่รู้ดีว่าการขอร้องให้เขาเลิกเหล้านั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้นแทนที่จะห้ามเขากินเหล้า ท่านกลับขอให้เขาทำสิ่งที่ง่ายกว่านั้น คือนั่งสมาธิแค่วันละห้านาที ท่านรู้ดีว่าใครที่ทำสมาธิภาวนาทุกวัน แม้จะไม่กี่นาที ไม่นานก็จะเห็นอานิสงส์ของการปฏิบัติ และปฏิบัตินานขึ้นเอง จนเลิกเหล้าได้ในที่สุด

นิ่งสงบสยบปัญหา ธรรมะเตือนสติโดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

March 27, 2020 shantideva edit 0

มีพุทธประวัติตอนหนึ่ง ทำให้เราเข้าใจสำนวนที่ว่า ‘พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง’ ครั้งหนึ่งกลุ่มปริพาชกหรือนักบวชนอกศาสนาพุทธ มีความคิดอยากทำลายชื่อเสียงพระพุทธเจ้า จึงส่งนางจิญจมาณวิกา ไปที่วัดเชตวันตอนรุ่งเช้าบ่อยๆ จากนั้นก็ให้นางสรรหาผ้ามาพันท้อง แกล้งว่าท้องทีละนิด เมื่อเวลาผ่านไปท้องของนางก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนมีคนทักถามว่าเธอท้องกับใคร นางจิญจมาณวิกาจึงตอบไปว่าท้องกับพระพุทธเจ้า เรื่องนี้พระองค์ทรงทราบความจริงดี แต่พระองค์ทรงเงียบเฉย ไม่ชี้แจงอะไร กระทั่งท้องของนางจิญจมาณวิกาขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนครบ 9 เดือน นางจิญจมาณวิกา จึงทูลต่อพระพุทธเจ้าหน้าที่ธารกำนัลว่า ทำไมพระพุทธเจ้าทำเธอท้องแล้วไม่ทรงรับผิดชอบ พระพุทธเจ้าทรงได้ยินดังนั้นก็แย้มพระสรวล ก่อนตรัสสั้นๆ ว่า เรื่องนี้มีแค่เธอกับเราเท่านั้นแหละที่รู้ความจริง จากนั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงอธิบายขยายความต่อ นั่นทำให้นางจิญจมาณวิกา โกรธมาก และพยายามโต้เถียงจนผ้าที่พันท้องของนางอยู่หลุดออกมา ความจริงจึงเปิดเผยในที่สุด จากนั้น กรณีเช่นนี้ก็ยังคงเกิดขึ้นอีก เมื่อครั้งที่กลุ่มปริพาชกได้สังหารนางสุนทรีแล้วเอาศพไปทิ้งไว้ใกล้กุฏิของพระพุทธเจ้า เมื่อมีคนมาพบศพนางสุนทรีเข้า ข่าวลือว่าพระพุทธเจ้าทรงอยู่เบื้องหลังการตายของนางก็แพร่สะพัดออกไป พระสงฆ์ทั้งหลายร้อนใจมากจึงได้ทูลให้พระพุทธเจ้าทรงหนีออกจากเมืองนั้นไปเสีย แต่พระองค์ตรัสตอบว่า ขอทุกท่านจงนิ่งสัก 7 วัน เดี๋ยวเรื่องนี้จักเงียบสงบไปเอง เจ็ดวันผ่านไปปรากฏว่าข่าวลือนั้นก็เงียบสงบไปจริงๆ ความจริงปรากฏว่า ฆาตกรที่ฆ่านางสุนทรีเกิดเมาแล้วทะเลาะกับเพื่อน เลยเปิดเผยว่าตนเองเป็นคนฆ่านางสุนทรี จากนั้นเขาถูกจับได้และโดนสำเร็จโทษถึงชีวิต ในบางสถานการณ์ การพูดหรือชี้แจงอาจจะไม่เป็นประโยชน์ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในอารมณ์ที่รุ่มร้อน พูดไปเขาก็ไม่ฟัง เมื่อคนเราถูกใส่ร้าย ส่วนใหญ่เรามักจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบทันที แต่การด่าหรือเถียงกลับนั้น มีแต่จะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลง สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารอังกฤษที่ประจำการอยู่ที่พม่าต้องไปลาดตระเวนในป่าเพื่อต้านทานการบุกรุกของทหารญี่ปุ่น เย็นวันหนึ่ง ทหารลาดตระเวนมาแจ้งข่าวกับหัวหน้าว่า ข้างหน้ามีกองทัพทหารญี่ปุ่นโอบล้อมไว้ทุกด้าน บรรดาทหารอังกฤษก็คิดว่าถึงฝ่ายตนเองจะมีกำลังน้อยกว่า อย่างไรก็ต้องสู้ เพราะถ้าสู้แล้วอาจสามารถลดจำนวนทหารญี่ปุ่นได้เล็กน้อย ก็ยังดีเสียกว่าตายเปล่า แต่หัวหน้ากลับบอกว่าให้อยู่นิ่งๆ และยังให้ชงชาดื่มกันด้วย ถึงลูกน้องจะสงสัย แต่ทุกคนก็ปฏิบัติตามที่หัวหน้าสั่ง ชงชารอ ผลปรากฏว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทหารญี่ปุ่นก็เดินผ่านไป กลายเป็นว่าทุกคนที่นั่นก็รอดตาย บางครั้ง การอยู่นิ่งๆ สามารถช่วยชีวิตเราได้ เวลาเรือเจอพายุคลื่นลม แล้วก็เรือเกิดรั่ว ถ้าคนในเรือตื่นตกใจ ทำโน่นทำนี่ เรือก็คว่ำง่าย ที่จริงแล้ว การอยู่เฉยๆ อาจเกิดผลดีเสียกว่า หรือยามเมื่อคนที่เรารักใกล้เสียชีวิต แทนที่จะให้ท่านจากไปอย่างสงบ กลับบอกให้หมอทำโน่นทำนี่ เจาะคอบ้าง ใส่ท่อบ้าง ซึ่งยิ่งทำให้ท่านทุกข์ทรมาน ลูกๆ หลายคนรู้สึกเสียใจภายหลังว่า ทำไมไม่ให้พ่อหรือแม่ของตนจากไปอย่างสงบ ทำไมต้องทำนู่นต้องทำนี่ด้วย เพราะว่าไม่รู้จักนิ่ง ไม่รู้จักปล่อยวาง เมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ ขอให้ใช้สติ ใช้ปัญญา อย่าคิดแต่จะทำนู่นทำนี่อย่างเดียว การไม่ทำอะไรเลย บางทียังเป็นการดีเสียกว่า

อนาคาริกธรรมปาล ผู้กอบกู้พุทธคยา

March 25, 2020 shantideva edit 0

สมัยก่อน พ.ศ. 2505 เมื่อผู้เขียนเดินทางไปอินเดียครั้งแรกแล้วในยุคนั้นมีการเดินทางคนไทยไปจาริกแสวงบุญที่อินเดียเข้าใจว่ามีเพียงเจ้าเดียวคือการเดินทาง จุดที่เป็นไปได้ของสมาคมเป็นสิ่งที่มีค่า คนไทยที่ไปอินเดียในสมัยนั้นก็ถือคารวะชนชาติเช่นกัน ที่สมาคมมหาโพธิ์เป็นจุดเริ่มต้นของชาวพุทธตอนที่ผู้เขียนทั้งเยาว์และโง่เขลา แต่ก็รู้ว่าผู้ที่เริ่มต้นสมาคมมหาวิหารนี้ชื่ออนาคาริกริกธรรมปาล ที่จะต้องกลับมาเขียนถึงท่านอีกครั้งที่ได้รับการประชุมที่สมาคมมหาเศรษฐีที่จัดขึ้นเมื่อสองปีที่แล้วมาประชุมงานที่สมาคมแห่งประเทศไทย เพราะท่านธัมมนันทารับนิมนต์ร่วมเป็นกรรมการจัดประชุมทางวิชาการประจำปีของสมาคมมหาโพธิ์ค่ะ เมื่อต้องไปทำงานอย่างต่อเนื่องที่สมาคมมหาเศรษฐีก็ยังคงเป็นที่มาของสิ่งที่ต้องบอกถึงการมาของสมาคมนี้ คุณเกิดที่ศรีลังกาเมื่อ 1864 ชื่อเดิมดอนดอนเหวา ท่านเข้าเรียนในโรงเรียนที่บริหารโดยพวกมิชชันนารีของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เล่ากันว่าใครเป็นคนที่มีความทรงจำที่ดี การที่ได้อบรมและได้รับการปลูกฝังตามระบบของอังกฤษนี้ ได้ส่งผลที่ดีแก่ท่านอย่างมากในงานที่ท่านต้องรับผิดชอบต่อมา ใน ค.ศ.1880 ท่านมีอายุเพียง 16 แต่ได้มีโอกาสพบกับคนสำคัญในการขับเคลื่อนพุทธศาสนาในศรีลังกา คนหนึ่งคือนายทหารที่ชื่อ เฮนรี่ สตีล โอลคอต คนนี้คือคนที่รับผิดชอบทำให้เกิดธงพุทธที่นิยมใช้กันที่ศรีลังกา และมาดามบลาวัตสกี ที่เป็นผู้ก่อนตั้งสมาคมทีโอโซฟี เพื่อสนับสนุนพุทธศาสนา ใน ค.ศ.1881 เริ่มใช้ชื่อธรรมปาล ซึ่งแปลว่าผู้ปกป้องพระธรรม และใน ค.ศ.1884 ได้รับพิธีเข้าร่วมเป็นสมาชิกและได้ติดตามมาดามไปเยี่ยมศูนย์ของสมาคมที่อินเดีย ที่นั่น ธรรมปาลได้รับการสนับสนุนจากสมาคมให้เรียนภาษาบาลีและเลือกวิถีชีวิตพรหมจรรย์เป็นอนาคาริก (แปลว่าผู้ไม่มีบ้านเรือน หรือออกจากบ้านเรือน) ซึ่งถ้าอยู่ที่ศรีลังกามีรูปแบบการใช้ชีวิตทางศาสนาก็ต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น ภายใต้ชื่ออนาคาริกธรรมปาล ท่านศึกษาพระธรรม เช่นเดียวกับพระภิกษุ แต่ยังทำงานทางสังคมได้คล่องตัวกว่า ท่านเป็นอิสระจากเงื่อนไขทางพระวินัยของสงฆ์ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถเดินทางและเคลื่อนไหวเพื่อทำงานกอบกู้พระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศบ้านเกิดของพุทธศาสนาเองได้อย่างคล่องตัวมากกว่า อนาคาริกธรรมปาล เป็นนักปฏิรูปสังคม เป็นนักศาสนาชาตินิยม พยายามพัฒนาการศึกษาในชนบท ขณะเดียวกันก็ปฏิรูปพุทธศาสนาโดยพยายามปลดเปลื้องศาสนาพุทธออกจากการถูกครอบงำโดยพิธีกรรมและความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่แฝงเข้ามาในการนับถือพุทธศาสนาของชาวพุทธศรีลังกา ทั้งนี้ เพื่อยกระดับสังคมชาวสิงหลและเพื่อเอกราชของศรีลังกาที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ใน ค.ศ.1891 ที่ท่านได้ไปเยือนพุทธคยาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้นั้น ท่านตะลึงกับสภาพความเสื่อมโทรมของพุทธคยาที่ถูกครอบงำโดยพระมหันต์ที่เป็นฮินดูที่เข้ามาครอบครองพุทธคยาโดยปริยาย เพราะพุทธคยาถูกทิ้งร้างมาเนิ่นนาน สิ่งแรกที่อนาคาริกธรรมปาลทำคือ จับกลุ่มชาวศรีลังกาที่มีความรู้จัดตั้งสมาคมมหาโพธิ์ขึ้น ตอนนั้นท่านอายุ 27 ข้อมูลตรงนี้ ผู้เขียนประทับใจมากที่ชีวิตของท่านเป็นชีวิตที่อุทิศให้งานพระศาสนาโดยตรงตั้งแต่แรก เข้าใจว่า ท่านมาจากครอบครัวผู้มีอันจะกิน ท่านจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำงานหาเลี้ยงบิดามารดา แต่อุทิศชีวิตให้กับงานพระศาสนาได้ตั้งแต่ต้น และเพื่อมิให้เวลาสูญเสียไปเปล่ากับการมีครอบครัว ท่านจึงได้สมาทานวิถีชีวิตแบบพรหมจรรย์ตั้งแต่แรก นี่ไม่ใช่ชีวิตของปุถุชนธรรมดาเลยแม้แต่น้อย จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ คือการกอบกู้พุทธคยา ท่านเดินทางไปหาแนวร่วมในประเทศต่างๆ และเป็นตัวแทนชาวพุทธเข้าร่วมในการประชุมครั้งสำคัญ คือ สภาศาสนาโลก (Parliament of World”s Religions) ที่จัดขึ้นใน ค.ศ.1883 ที่เมืองชิคาโก ครั้งนั้น ท่านร่วมกับวิเวกนันทะ ปราชญ์หนุ่มจากอินเดีย สร้างความประทับใจและตื่นตะลึงให้แก่ชาวตะวันตกอย่างยิ่ง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ศาสนาที่ชาวตะวันออกสองคนสามารถพลิกความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาของชาวตะวันออกให้ปรากฏแก่สายตาของชาวตะวันตกที่หลงว่าศาสนาของตนนั้นสูงสุด อนาคาริกธรรมปาลต้องต่อสู้กับพวกมหันต์ที่เข้ามาครอบครองวัดมหาโพธิ์ ขึ้นโรงขึ้นศาลหลายครั้ง แม้กระนั้น ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ท่านเสียชีวิต ค.ศ.1933 หลังจากที่ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบั้นปลายชีวิตไม่นาน ท่านใช้ฉายาว่า พระภิกษุเทวมิตต์ แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จักท่านในนามอนาคาริกธรรมปาล โชคดีที่ท่านเลี้ยงลูกบุญธรรมไว้คนหนึ่ง ชื่อ วาลีสิงห์ วาลีสิงห์เป็นชาวศรีลังกา แต่มาเติบโตในอินเดีย ท่านธรรมปาลส่งไปเรียนที่ศานตินิเกตัน หรือที่เรียกเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยวิศวภารตี สร้างโดยท่านกวีและปราชญ์รพินทรนาถ ฐากูร ที่คนไทยรู้จักกันดีพอควร วาลีสิงห์จึงเติบโตขึ้นมาเยี่ยงชาวเบงกอลี และได้รับงานของท่านธรรมปาลต่อจนกระทั่งในที่สุดใน ค.ศ.1949 วัดมหาโพธิ์จึงเป็นอิสระจากการครอบครองของพวกมหันต์ วาลีสิงห์ทำงานทั้งเป็นเลขาธิการของสมาคมมหาโพธิ์และเป็นตัวแทนในการฟ้องร้องเพื่อขอวัดมหาโพธิ์ให้กลับคืนมาอยู่ในปกครองของชาวพุทธ ในความสำเร็จที่ใช้เวลายาวนานนี้ มีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เราต้องจารึกและจดจำด้วยความขอบคุณ คือ ท่านนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ท่านเยาวหราล เนห์รู ในช่วง ค.ศ.1950 มีอำนาจจากกลุ่มคนสามฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินชะตาของวัดมหาโพธิ์ กลุ่มแรก คือมหาโพธิ์ที่ตอนนั้นนำโดยท่านวาลีสิงห์ เลขาธิการของสมาคมมหาโพธิ์ที่ฟ้องร้องขอความชอบธรรมในการดูแลวัดมหาโพธิ์ กลุ่มที่สอง คือพระฮินดูนิกายมหันต์นำโดยหริหารคิรี พวกมหันต์เป็นเจ้าของที่ดินในแถบนั้นมากถึง 30,000 เอเคอร์ เรียกว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่ง กลุ่มที่สาม คือรัฐบาลโดยเยาวหราล เนห์รู ทางฝั่งรัฐบาลนั้นมีประเด็นสำคัญคือเห็นความสำคัญของพุทธคยาที่มีต่อชาวพุทธทั่วโลก นั่นหมายถึงรายได้จำนวนมหาศาลที่จะได้จากการท่องเที่ยว ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่ในใจรัฐบาล คือความพยายามที่ต้องจัดสรรระบบการครอบครองที่ดิน ที่เนห์รูต้องการจะรื้อฟื้นใหม่เพื่อลดอำนาจของพวกมหันต์ลง ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเห็นภาพอีกภาพหนึ่งที่ซ้อนขึ้นมา ในส่วนตัวของเนห์รูนั้น ท่านมีความใกล้ชิดกับศาสนาพุทธมาก ในบ้านของท่านเอง ที่ตอนนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมได้ เราจะเห็นว่า มีรูปพระพุทธเจ้า แทบจะทุกห้อง โดยเฉพาะที่โต๊ะหัวนอนของท่านเองก็มีรูปพระพุทธเจ้า ในช่วงที่ถูกจองจำ ระหว่าง ค.ศ.1942-1944 หนังสือที่ท่านเขียนในช่วงนั้น บรรยายว่า เรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องราวที่ประทับใจท่านเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียที่ท่านเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ประพันธ์ก็ยังเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ท่านชอบเป็นพิเศษ ด้วยเหตุที่ประกอบกันขึ้นนี้ ในที่สุดวัดมหาโพธิ์ จึงเป็นวัดที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลโดยงบฯ ของรัฐบาล มีกรรมการเป็นชาวพุทธกว่าครึ่ง ที่ดินบริเวณโดยรอบพุทธคยา 30,000 ไร่นั้น ถูกจัดสรรใหม่ พวกมหันต์มีสิทธิ์ครอบครองเพียง 100 ไร่ เป็นการจำกัดอำนาจของพวกมหันต์ไปโดยปริยาย บรรดาร้านรวงที่พวกเราไปซื้อของนั้น เห็นมาตั้งแต่ ค.ศ.1962 อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เพิ่งเข้าใจว่า ที่แท้เป็นพื้นที่เช่าจากนายทุนมหันต์ทั้งสิ้น กว่าจะมาเป็นพื้นที่ให้พวกเราได้ไปนมัสการทั้งพระศรีมหาโพธิ์ และพระพุทธรูปในพระวิหาร ล้วนเป็นผลงานที่ริเริ่มโดยท่านธรรมปาลตั้งแต่ ค.ศ.1891 ขอคารวะท่านธรรมปาลผู้มีหัวใจของพระโพธิสัตว์อย่างแท้จริงที่เห็นความสำคัญในการที่จะต้องต่อสู้เพื่อให้ได้พื้นที่ส่วนนี้คืนมา เพื่อให้ชาวพุทธได้เข้าถึงหนึ่งในสังเวชนียสถานที่สำคัญ วัดแรกที่เกิดขึ้นที่พุทธคยา คือ สมาคมมหาโพธิ์ เพราะชาวพุทธเมื่อไปที่พุทธคยาไม่มีที่พัก วัดที่สองที่ตามมาคือวัดพม่า และวัดที่สาม คือวัดไทย ที่รัฐบาลไทยให้งบประมาณจัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2500 ต่อจากนั้น พุทธคยาบูมมากที่วัดหลายชาติหลายนิกายไปสร้างตามๆ …..อ่านต่อ

เหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธของข้าพเจ้า

March 20, 2020 shantideva edit 0

หนึ่งในคำถามที่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าสนใจที่สุดคำถามหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้าและตอบยากมากที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า คือ “เหตุใดข้าพเจ้าจึงนับถือศาสนาพุทธ” คำถามนี้เป็นประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นทั้งจากผู้คนที่รู้จักซึ่งพยายามชักชวนให้ข้าพเจ้าเข้ารีตในความเชื่อของเขา ไปจนถึงรุ่นพี่ที่น่าเคารพนับถือซึ่งไม่มีความเชื่อในศาสนา

แตกต่างแต่เหมือนกัน : 5 เทพกรีก ปะทะ 5 เทพฮินดูที่เหมือนกันยิ่งกว่าแฝด!

March 4, 2020 shantideva edit 0

ชาวบ้านทุกคนถ้าพูดถึงตำนานเทพเจ้าหลายคนคงนึกถึงเทพปกรณัมกรีกบางคนนึกถึงเทพเจ้าชาวฮินดูเหมือนกัน พี่ชายเวลาพูดถึงเทพเจ้าทีไรพี่ชอบนึกถึงเทพจากฝั่งฮินดูเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะเวลาที่มีเรื่องร้อนใจที่ต้องใช้บนบานศาลกล่าว

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

February 25, 2020 shantideva edit 0

ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑. ข้าพเจ้าครั้นน้อมนมัสการพระสุคตเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมกาย พร้อมทั้งพระสาวกทั้งมวลด้วยความเคารพแล้ว จะขอกล่าวถึงความตั้งมั่นแห่งการเป็นบุตรของพระสุคตเจ้าตามเนื้อความที่นํามาจากคัมภีร์อันได้รวบรวมไว้

ตำนานพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ องค์เจ้าแม่กวนอิม

February 25, 2020 shantideva edit 0

เทพเจ้าแห่งเซียวหลินผู้เป็นประมุขของประเทศมาซิโดเนียในนามของพระเจ้าเซียวหลิน ผู้มีสติปัญญาล้ำยุคยิ่งกว่านั้นท่านเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ข. ทั้ง 2 จึงเป็นที่ปรึกษาที่สำคัญของพระเจ้าเหมี่ยวจวงในการต่อสู้สงคราม